...
เครือข่ายชาวเชียงใหม่ต้านบ้านศาล ไม่เอา ม.44 แก้ปัญหาหมู่บ้านป่าแหว่ง
BUSABA SIVASOMBOON/BBC THAI
คำบรรยายภาพเครือข่ายภาคประชาชนชาวเชียงใหม่แสดงจุดยืนเพื่อปกป้องและขอคืนผืนป่าดอยสุเทพจากกรณีการก่อสร้างบ้านพักตุลาการริมดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่
29 เมษายน 2018
ที่มา บีบีซีไทย
ชาวเชียงใหม่แสดงจุดยืนขอคืนผืนป่าดอยสุเทพ ต้องการให้รื้อบ้านพักตุลาการ ยืนยันไม่ได้ออกมากดดันให้หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อให้ยกเลิก
ตั้งแต่ช่วงเช้า ประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่ได้รวมตัวกันที่บริเวณลานประตูท่าแพ ก่อนเดินทางไปยังอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ แสดงจุดยืนเพื่อปกป้องและขอคืนผืนป่าดอยสุเทพจากกรณีการก่อสร้างบ้านพักตุลาการริมดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ขบวนของประชาชนต่างผูกริบบิ้นสีเขียวเป็นสัญลักษณ์การต่อต้าน พร้อมตะโกนว่า "ตุ๊บขว้าง เตขว้าง" หรือ "ทุบทิ้ง รื้อทิ้ง" ก่อนจะอ่านประกาศเจตนารมณ์ ที่บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์และสลายตัวเมื่อเวลา 10.00 น.
29 เมษายน 2018
ที่มา บีบีซีไทย
ชาวเชียงใหม่แสดงจุดยืนขอคืนผืนป่าดอยสุเทพ ต้องการให้รื้อบ้านพักตุลาการ ยืนยันไม่ได้ออกมากดดันให้หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อให้ยกเลิก
ตั้งแต่ช่วงเช้า ประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่ได้รวมตัวกันที่บริเวณลานประตูท่าแพ ก่อนเดินทางไปยังอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ แสดงจุดยืนเพื่อปกป้องและขอคืนผืนป่าดอยสุเทพจากกรณีการก่อสร้างบ้านพักตุลาการริมดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ขบวนของประชาชนต่างผูกริบบิ้นสีเขียวเป็นสัญลักษณ์การต่อต้าน พร้อมตะโกนว่า "ตุ๊บขว้าง เตขว้าง" หรือ "ทุบทิ้ง รื้อทิ้ง" ก่อนจะอ่านประกาศเจตนารมณ์ ที่บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์และสลายตัวเมื่อเวลา 10.00 น.
"บ้านศาลในป่าแหว่ง" บทสะท้อนความย้อนแย้งนโยบายทวงคืนผืนป่า คสช.
อังกฤษเตรียมเสนอเครือจักรภพยกเลิกใช้หลอดพลาสติก-คอตตอนบัดส์ เพื่อลดขยะพลาสติก
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ตำรวจประมาณการณ์ว่ามีผู้เข้าร่วมชุมนุมประท้วงราว 1,250 คน และเป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งตั้งแต่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เข้ายึดอำนาจเมื่อปี 2014 และมีการประกาศห้ามชุมนุมมากกว่า 5 คนขึ้นไป
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอีกว่า ตำรวจในพื้นที่ระบุว่า นี่เป็นการชุมนุมเพื่อประเด็นทางสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่การเมือง และผู้จัดก็ได้ทำหนังสือขออนุญาตชุมนุมประท้วงอย่างถูกต้อง และก็ทำความสะอาดสถานที่หลังจากกิจกรรมเสร็จสิ้น
เจตนิพิฐ (ขอสงวนนามสกุล) วัย 20 ปี บอกกับบีบีซีไทยว่า "เราเป็นคนเชียงใหม่เกิดและเติบโตที่นี่ ถ้าเรานิ่งเฉยคือการยอมรับ ต้องออกมาแสดงพลังร่วมว่าจะต้องรื้อ ถ้าเราปล่อยไปก็อาจจะเกิดโครงการที่ 2-3-4 ต่อไป"
BUSABA SIVASOMBOON/BBC THAI
ด้านนายธีระศักดิ์ รูปสุวรรณ ประธานเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ซึ่งเป็นการรวมตัวของภาคประชาชน 44 องค์กร กล่าวกับบีบีซีไทยว่า การชุมนุมในวันนี้เป็นการแสดงพลังของชาวเชียงใหม่และคนทั่วประเทศที่บอกว่าเราไม่ต้องการโครงการบ้านตุลาการ และยืนยันที่จะรอฟังคำตอบของนายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้า คสช. ในการแก้ไขปัญหานี้
อย่างไรก็ตาม นายธีระศักดิ์กล่าวว่าเครือข่ายฯ ไม่ได้ต้องการให้นายกฯ ใช้อำนาจมาตรา 44 สั่งให้ยกเลิก แต่จะให้เวลานายกฯ อีก 7 วันเพื่อที่จะตอบว่าจะดำเนินการอย่างไร ก่อนที่จะยกระดับการเรียกร้องขึ้นไปอีก
BUSABA SIVASOMBOON/BBC THAI
การเรียกร้องจะกระทำในทุกมิติ โดยจะเริ่มในวันที่ 6 พ.ค. มีการแสดงงานศิลปะต่อต้านบ้านศาลและจะเดินหน้าคัดค้านไปจนกว่าจะได้รับคำตอบ
บีบีซีไทยได้สอบถามไปทางศาลอุทธรณ์เชียงใหม่ที่มีพื้นที่โครงการตั้งอยู่ แต่ศาลปฏิเสธที่จะให้ความเห็น
การเรียกร้องจะกระทำในทุกมิติ โดยจะเริ่มในวันที่ 6 พ.ค. มีการแสดงงานศิลปะต่อต้านบ้านศาลและจะเดินหน้าคัดค้านไปจนกว่าจะได้รับคำตอบ
บีบีซีไทยได้สอบถามไปทางศาลอุทธรณ์เชียงใหม่ที่มีพื้นที่โครงการตั้งอยู่ แต่ศาลปฏิเสธที่จะให้ความเห็น
BUSABA SIVASOMBOON/BBC THAI
ศาลขอให้ได้พิสูจน์ด้านอนุรักษ์ธรรมชาติ
ก่อนหน้านี้นายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ ประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา ซึ่งอดีตเคยเป็นประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในช่วงเริ่มโครงการบ้านพักตุลาการ ได้กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสว่า "การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ต้องรื้ออย่างเดียว เราทำให้สิ่งที่มีอยู่แล้ว มาปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ไหม ขอเวลาสัก 10 ปีแล้วค่อยว่ากัน ถ้า 10 ปีแล้ว บริเวณแถบนี้ยังคงเป็นทะเลทราย อย่างนั้นก็ค่อยมาดูกันอีกที"
และนายชำนาญก็ยังได้ย้ำว่า "ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้มีภาคประชาชนใดมาพูดคุย ผมไม่เห็นเลยเครือข่ายที่ว่านี้" เพื่อตอบคำถามที่ว่าเมื่อเริ่มโครงการมีเครือข่ายใดในเชียงใหม่ออกมาคัดค้านหรือไม่
GOOGLE/เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ
ศาลขอให้ได้พิสูจน์ด้านอนุรักษ์ธรรมชาติ
ก่อนหน้านี้นายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ ประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา ซึ่งอดีตเคยเป็นประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในช่วงเริ่มโครงการบ้านพักตุลาการ ได้กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสว่า "การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ต้องรื้ออย่างเดียว เราทำให้สิ่งที่มีอยู่แล้ว มาปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ไหม ขอเวลาสัก 10 ปีแล้วค่อยว่ากัน ถ้า 10 ปีแล้ว บริเวณแถบนี้ยังคงเป็นทะเลทราย อย่างนั้นก็ค่อยมาดูกันอีกที"
และนายชำนาญก็ยังได้ย้ำว่า "ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้มีภาคประชาชนใดมาพูดคุย ผมไม่เห็นเลยเครือข่ายที่ว่านี้" เพื่อตอบคำถามที่ว่าเมื่อเริ่มโครงการมีเครือข่ายใดในเชียงใหม่ออกมาคัดค้านหรือไม่
GOOGLE/เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ
คำบรรยายภาพโครงการก่อสร้างบ้านพักตุลาการซึ่งเชื่อว่ารุกล้ำเข้าแนวเขตป่าดั้งเดิม (เส้นประ)
ในขณะเดียวกัน นายนิคม พุทธา ประธานกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มแม่น้ำปิง กล่าวกับบีบีซีไทยว่า ตัวเขาจะใช้วิธีการอดข้าว และสวดมนต์ทางด้านหน้าศาลอุทธรณ์ภาค 5 ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีโครงการในวันที่ 25 เป็นต้นไป
"ผมว่าทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับข้อผิดพลาดของตนเอง ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ทางฝ่ายเครือข่ายประชาชนก็ต้องพร้อมจะหารือพูดคุยรับฟังศาล ทางด้านศาลเองก็อย่าไปยืนยันว่าได้มาโดยถูกกฎหมาย เพราะโครงการนี้ก็เหมือนกลัดกระดุมเม็ดแรกไม่ตรง เม็ดที่สองที่สามมันก็ไม่ตรงตามมา" นายนิคมกล่าว
เขาเคยมีส่วนร่วมในการอดข้าวและสวดมนต์ประท้วงเรื่องความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างเสื้อเหลืองเสื้อแดงในเมืองเชียงใหม่มาแล้ว รวมทั้งเคยทำวิธีนี้เพื่อประท้วงการระเบิดแก่งหินในแม่น้ำโขงของบริษัทจีนมาก่อนหน้านี้ด้วย