วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 21, 2559

Indonesia’s Mass Killings of 1965 Were Crimes Against Humanity, International Judges Say + อาชญากรรมรัฐในอุษาคเนย์: เสวนาหลังฉาย The Act of Killing/The Look of Silence





Source: TIME
By Yenni Kwok

The panel listed the murder of an estimated 400,000 to 500,000 people, inhumane imprisonment, enslavement, torture and sexual violence during the 1965 massacres


An international panel of judges has declared that Indonesia committed crimes against humanity during the 1965–66 mass killings and that the U.S., the U.K. and Australia were complicit in the crimes.

Eight months after the International People’s Tribunal on 1965 Crimes Against Humanity in Indonesia (IPT 1965) held November in The Hague, presiding head judge Zak Yacoob — a former South African Constitutional Court Justice — read its findings on Wednesday.

“The state of Indonesia is responsible for and guilty of crimes against humanity … particularly by the military of that state through its chain of command, of the inhumane acts detailed below,” Yacoob said via video link from South Africa that was broadcast to Indonesia, Australia, the Netherlands, Cambodia and Germany. He listed the brutal murder of an estimated 400,000 to 500,000 people; inhumane imprisonment of around 600,000 people; enslavement in labor camps; torture; forced disappearance; sexual violence; and depriving hundreds of thousands of citizenship.

The 1965–66 bloodbath was triggered by the murders of six generals and other officers on the night of Sept. 30, 1965 and in the early hours of Oct. 1. General Suharto put the blame on the Indonesian Communist Party, better known as the PKI. Helped by Muslim organizations and paramilitary groups, the Indonesian army led a massive witch hunt targeting PKI members and sympathizers, suspected communists and leftists, as well as ethnic Chinese.

The final judgment also goes into detail the role of Suharto in the massacres and draws to attention the false propaganda that “was spread to prepare the ground for violence.”

It also says that “the United States of America, the United Kingdom and Australia were all complicit to differing degrees in the commission of these crimes against humanity.”

The judges recommend that the Indonesian government apologize to the victims, survivors and their families, and to investigate the crimes against humanity.

But Indonesia immediately rejected the IPT 1965’s recommendations. “Our country is a great nation,” Chief Security Minister Luhut Panjaitan told journalists Wednesday. “We acknowledge and we will resolve this problem [the 1965 tragedy] in our way and through universal values.”

Even before the release of its ruling, those involved with the tribunal have recognized its limitations. “The ruling doesn’t have a binding effect or is enforceable,” Todung Mulya Lubis, prominent human-rights lawyer who served as the lead prosecutor at the tribunal, told TIME on Tuesday. “The 1965 tragedy happened more than 50 years ago, it is time for the state to take accountability and break the chain of impunity,” he added.

The panel held a four-day hearing from Nov. 10 to 13 in The Hague, listening to 20 witnesses as well as scholars. Some victims of sexual violence gave evidence behind a screen to protect their identity.

Nursyahbani Katjasungkana, a human-rights lawyer and coordinator of IPT 1965, calls on the U.S., the U.K. and Australia to “admit their complicity because it’s been proved from their various diplomatic communications and can’t be denied anymore.”

The first ever government-backed symposium on the 1965 tragedy was held in April. The organizers gave its recommendations to Chief Security Minister Luhut behind closed doors and they have yet to be released in entirety to the public.

For survivors of the 1965 tragedy and their families, the ruling gives them not only a revelation but also validation of their grievances. Says journalist Febriana Firdaus, whose grandfather disappeared half a decade ago: “The final ruling of the IPT 1965 judges have opened my eyes, and maybe the young generation, that the events in 1965 need to be discussed so that we get a complete picture of what happened at that time.”

....

Related story:

Read: The Look of Silence and Indonesia’s Quest for Truth and Reconciliation

Read: There Were No Apologies at Indonesia’s First Hearing Into the Savage Killings of 1965

ooo

อาชญากรรมรัฐในอุษาคเนย์: เสวนาหลังฉาย The Act of Killing/The Look of Silence



https://www.youtube.com/watch?v=6GYmc20xAXg

prachatai

Published on Feb 15, 2016

บางส่วนของการเสวนา“อาชญากรรมรัฐในอุษาคเนย์” โดย Film Kawan อภิปรายโดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ | พวงทอง ภวัครพันธุ์ ดำเนินรายการโดย ชนม์ธิดา อุ้ยกูล 13 กุมภาพันธ์ 2559 | SFW CentralWorld

การเสวนาดังกล่าวจัดประกอบการฉายภาพยนตร์ The Act of Killing และ The Look of Silence โดย Documentary Club

ooo


"อาชญากรรมรัฐ" ในอุษาคเนย์ เหยื่อในความเงียบ ไม่เคยลืม




Documentary Club นำสารคดี 2 เรื่องเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ The Act of Killing : ฆาตกรรมจำแลง และ The Look of Silence : ฆาตกรเผยกาย ภาพยนตร์เกี่ยวกับนักฆ่าในเหตุการณ์สังหารหมู่ และเหยื่อที่ยังคงต้องเร้นกายในความเงียบจนถึงปัจจุบัน โดยผู้กำกับ Joshua Oppenheimer ชาวอเมริกันที่ลงพื้นที่ทำสารคดีเรื่องนี้หลายปี


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
22 ก.พ. 2559

โดย วจนา วรรลยางกูร 
นสพ.มติชนรายวัน

ความขัดแย้งในสังคมเป็นสิ่งธรรมดา แต่ความผิดพลาดจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเริ่มต้นใช้ความรุนแรง โดยเฉพาะความรุนแรงที่รัฐใช้กับคนเห็นต่างในสังคม จนกลายเป็นการสังหารหมู่และจะน่าเศร้ากว่านั้นหากผู้คนในสังคมยังคงเชื่อว่าเป็นสิ่งถูกต้อง หรือมีการลบความทรงจำของคนรุ่นใหม่ไม่ให้จดจำเรื่องนี้ได้ จนกลายเป็นเหตุการณ์เล็กๆ ที่สังคมลืมเลือน

ดินแดนในอาเซียนก็เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่หลายครั้ง เช่นเดียวกับภูมิภาคอื่นทั่วโลก เหตุการณ์โหดร้ายที่ชัดเจนคงเป็นยุคเขมรแดงของกัมพูชา (1975-1979) แต่ช่วงก่อนหน้านั้นสิบปีที่ดินแดนอินโดนีเซียก็เกิดเหตุสังหารหมู่อันน่าเสะเทือนใจไม่แพ้กัน

ปี 1965-1966 เกิดเหตุการณ์กวาดล้างคอมมิวนิสต์ในอินโดนีเซีย จุดเหตุในวันที่ 30 กันยายน 1965 ทหารระดับสูง 6 คนถูกสังหารโดยเกสตาปู หรือขบวนการ 30 กันยายน นายพลซูฮาร์โตปราบปรามกลุ่มเกสตาปูใน 2 วัน แล้วออกมาประกาศว่าเบื้องหลังการรัฐประหารที่ล้มเหลวครั้งนี้มีพรรคคอมมิวนิสต์อยู่เบื้องหลัง ภายหลังท่าทีของนายซูการ์โน ประธานาธิบดี ที่บอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องภายในกองทัพ ทำให้คะแนนนิยมของเขาลดฮวบ จนถูกบีบออกจากตำแหน่ง และนายพลซูฮาร์โตขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนที่สอง นำสู่กระบวนการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ในอินโดนีเซีย

นายพลซูฮาร์โตจัดตั้งกลุ่มยุวชนปัญจศิลา (Pancasila Youth) กองกำลังชาวบ้านชาตินิยมกึ่งทหาร และให้ใบอนุญาตฆ่า ส่งผลให้มีการสังหารหมู่คอมมิวนิสต์ในอินโดนีเซีย จำนวนผู้เสียชีวิตไม่แน่นอน โดยมีการคาดการณ์ตัวเลขตั้งแต่ 5 แสนถึง 2 ล้านคน

ไม่มีที่ทางให้ความทรงจำของเหยื่อ

พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในปี 1965-1966 โดยมีคนเสียชีวิต 5 แสนถึง 1 ล้านคน มีคนถูกคุมขังมากกว่า 1 ล้านคน ถูกขังตั้งแต่ไม่กี่ปีจนสูงสุด 32 ปี โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม

"การมีประชาธิปไตยในอินโดนีเซียตั้งแต่ซูฮาร์โตลงจากอำนาจ ไม่เกี่ยวข้องกับการเอาคนผิดมาลงโทษ ไม่มีความพยายามรื้อฟื้นความยุติธรรม จึงเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่เรื่อยๆ จึงอาจเรียกได้ว่าเป็น Illiberal Democracy ก็ได้ ผลกระทบของคนที่ถูกจับเมื่อได้รับการปล่อยตัวกลับถูกลงโทษซ้ำจากชุมชน ไม่สามารถเข้ารับราชการได้ ต้องรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเป็นประจำ ยิ่งครอบครัวที่เป็นคอมมิวนิสต์เด็กที่เกิดมาใหม่ในครอบครัวจะโดนผลกระทบด้วย

"ความทรงจำของเหยื่อไม่มีที่ทางในสังคม ถูกปราบให้อยู่ในความเงียบ ซ้ำผู้กระทำยังไม่รู้สึกผิด เพราะผู้ชนะยังอยู่ในอำนาจอีก 32 ปี และยังบอกว่านี่เป็นการกระทำของคอมมิวนิสต์ ถ้าปล่อยให้อินโดนีเซียเป็นคอมมิวนิสต์ก็คือการทำลายชาติ การกระทำกองทัพและประชาชนที่เกี่ยวข้อง เป็นการรักชาติ ปกป้องชาติ เกิดการผลิตภาพยนตร์และแบบเรียนที่ทำให้คนเชื่อว่าคอมมิวนิสต์เป็นพวกโรคจิต ไม่มีศาสนา มั่วคู่นอน เลวร้าย ซึ่งเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้กับความรุนแรงในปี 1965"





ภาพยนตร์อาจทำให้คนดูรู้สึกว่าคนอินโดนีเซียเป็นพวกกระหายเลือด ซึ่งพวงทองมองว่ามีคำอธิบายได้มากกว่านี้ ไม่ได้มีแค่กลไกรัฐหรือทหารที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ยังมีมวลชนที่เป็นชาวบ้านด้วย มีการจัดตั้งกลุ่มปัญจศิลาที่มีสมาชิกราว 3 ล้านคน สูงสุดถึง 10 ล้านคน คนเหล่านี้อาจเทียบได้กับลูกเสือชาวบ้านหรือกระทิงแดง โดยปัญจศิลามีกองทัพหนุนหลังชัดเจน กลุ่มปัญจศิลาเข้าไล่ล่าคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ รางวัลที่ได้คือ สถานะทางการเมืองและสังคม ตั้งตัวเป็นแก๊งสเตอร์รีดไถคนทำธุรกิจโดยรัฐทำเอาหูไปนาเอาตาไปไร่

"ระบอบซูฮาร์โตไม่ต้องการให้คนลืมเหตุการณ์นี้ แต่ต้องการให้จำในแบบที่เขาต้องการ ทำให้เหยื่อรู้สึกว่า คอมมิวนิสต์ถูกล่าและพร้อมจะถูกลงโทษเสมอ เมื่อเหยื่อไม่สามารถทำอะไรได้ สิ่งที่ดีที่สุดคือการลืม แต่รัฐบาลอินโดนีเซียต้องการให้เรื่องนี้ฝังลึกในความทรงจำของเหยื่อ ซึ่งโหดร้ายมาก




(ซ้าย) ฉากจาก The Act of Killing นำอดีตนักฆ่ามาสวมบทบาทเหยื่อ จำลองฉากการฆ่าในปี 1965-1966 (ขวา) ฉากจาก The Look of Silence เผยเรื่องราวของครอบครัวเหยื่อที่กลับมาเผชิญหน้ากับกลุ่มนักฆ่าและผู้เกี่ยวข้อง


"มีการสำรวจพบว่านักศึกษาในมหาวิทยาลัยกว่าครึ่งไม่รู้จักเหตุการณ์นี้เลย และไม่มีการขอโทษอย่างตรงไปตรงมา มีเพียงการแสดงเชิงสัญลักษณ์ นำเหยื่อมาจัดงานร่วมกับกลุ่มมุสลิมเพื่อแสดงถึงความเท่าเทียม เป็นการแสดงให้เห็นการต่อสู้ของเหยื่อเพื่อกลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง แม้แต่โจโก วิโดโด ประธานาธิบดีปัจจุบัน ก็ไม่ขอโทษในเรื่องนี้ เพราะระบอบซูฮาร์โตยังมีชีวิตและอิทธิพลทางการเมืองมาจนปัจจุบัน จึงยากจะคืนความยุติธรรมให้กับเหยื่อ เป็นปัญหาร่วมในหลายสังคมรวมถึงไทย ในกรณีที่คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงยังมีชีวิตอยู่" พวงทองกล่าว

ตราบใดมีวิชาประวัติศาสตร์ จะมีการรื้อฟื้น

อีกความเห็นหนึ่งจากนักประวัติศาสตร์ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ให้ความเห็นภายหลังจากดูภาพยนตร์เรื่อง The Act of Killing จบว่า มีหนังบางเรื่องที่เราดูแล้วคิดอะไรไม่ออก เหมือนโดนสะกดจิต เช่นเดียวกับ The Act of Killing นี่คือส่วนหนึ่งของอาชญากรรมที่รัฐก่อในดินแดนอุษาคเนย์ ในไทยเองก็มีเหตุการณ์ที่รัฐก่ออาชญากรรมมากมาย เช่น 14 ตุลาคม 2516-6 ตุลาคม 2519-พฤษภาคม 2535-พฤษภาคม 2553

"อาชญากรรมรัฐใกล้ตัวที่เห็นได้ในประเทศไทยน่าจะใกล้เคียงกับเรื่องรามายณะหรือรามเกียรติ์ ที่มีการแบ่งความดีความชั่วชัดเจน แต่ The Act of Killing มีความซับซ้อน เรื่องในอินโดนีเซียเป็นมหาภารตะ มีความซับซ้อน ไม่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ การสังหารหมู่ในกรณีอินโดนีเซียซับซ้อนใกล้เคียงกันกับเหตุการณ์เขมรแดงในกัมพูชา บ้านเราอาจไม่ซับซ้อนขนาดนั้น แม้อนาคตอันใกล้เคียง เราอาจมีอะไรคล้ายคลึงกับเขามากขึ้น"

ชาญวิทย์ไล่ลำดับเหตุการณ์กับความทรงจำในชีวิตของเขาว่า เรื่องนี้เริ่มต้นในปี 1965 เกิดรัฐประหารในอินโดนีเซีย เป็นปีที่เขาออกจากกรุงเทพฯไปอยู่ลอสแองเจลิส พอถึงปี 1967 เขาไปคอร์แนลพบกับ อาจารย์เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เพิ่งกลับมาจากอินโดนีเซีย และเพิ่งเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเสร็จ ยังไม่ถูกถีบออกจากอินโดฯ โดยซูฮาร์โต

"ผมพบอาจารย์เบนครั้งแรกในปีนั้น ขอให้อาจารย์เป็น Minor Professor ให้ เพราะผมอยากเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องอินโดนีเซีย ขณะนั้นอาจารย์เบนเขียนวิเคราะห์การรัฐประหารในอินโดนีเซียปี 1965

′A Preliminary Analysis of the October 1, 1965 Coup in Indonesia′ หรือ Cornell Paper บอกว่า เหตุการณ์รัฐประหารปี 1965 เป็นปัญหาภายในของอินโดนีเซียเองแล้วโยนปัญหาให้ PKI (Partai Komunis Indonesia) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินโดนีเซียที่ถูกกฎหมาย มีสมาชิกพรรคมากที่สุดในโลกนอกเหนือจากประเทศคอมมิวนิสต์

"คอร์แนลเปเปอร์ชิ้นนั้นเป็นที่ฮือฮาทั่วโลกในหมู่ผู้ศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่รัฐบาลอินโดนีเซียรับไม่ได้ ทำให้อาจารย์เบนไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าอินโดฯ ซูฮาร์โตขึ้นครองอำนาจแทนซูการ์โน แล้วในปี 1997 ต้องลงจากอำนาจเพราะปัญหาต้มยำกุ้ง อาจารย์เบนถูกแบนจากประเทศอินโดนีเซียกว่า 20 ปี จนกว่าจะกลับไปได้ และเสียชีวิตที่สุราบายา"

ชาญวิทย์กล่าวว่า อินโดนีเซียต่างจากสังคมไทยที่ว่าซูฮาร์โตอยู่ยาว 32 ปี จนจัดการกับหนังสือเรียนและความเชื่อได้ แม้ในไทยจะมีการทำหนังโฆษณาชวนเชื่อ อย่างช่วง 6 ตุลาคม 2519 แต่เหตุการณ์ 6 ตุลาคม แม้คนที่ขึ้นสู่อำนาจคือ ธานินทร์ กรัยวิเชียร มีแผนอยู่ยาว 12 ปี แต่เพียงปีเดียวก็ถูกรัฐประหารซ้ำ

"ผู้กุมอำนาจรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมรัฐ เมื่อไม่สามารถอยู่ได้นานก็ไม่สามารถสร้างความทรงจำให้ประชาชนได้ กรณีของไทยเองอาจไม่นานเกินรอ การปรองดองสมานฉันท์จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีผู้รับผิด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือการทำให้ลืม ซึ่งไม่มีทางลืมได้ ตราบใดที่ยังมีวิชาประวัติศาสตร์ที่ไม่ใช่วิชาพงศาวดาร จะมีการรื้อฟื้นขึ้นมาในวันหนึ่งแน่นอน

"ในอินโดนีเซีย ′เวลา′ อยู่กับคนมีอำนาจ แต่ของเราไม่ใช่"