วันพุธ, กรกฎาคม 27, 2559

จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ : 7 สิงหาคม 2559 วันกำหนดชะตา อนาคตชาติ ว่าอำนาจประชาชนมีอยู่จริง เดินออกมา กาโหวด No + Red USA เชิญชวน March for Democracy July 30 5 PM


https://www.facebook.com/DaruneeOfficial/videos/1122127674518986/

ooo


https://www.facebook.com/ThaiRedUSA.LA/videos/1033632283394406/

March for Democracy
พบกันที่สถานกงสุลไทย LA
5 โมงเย็น

เวอร์ชั่นจาก Thai Voice Media:

เรียนเชิญ ผู้รักประชาธิปไตยทั่วอเมริกา ร่วมเดิน"Vote No"เพื่อสร้างประชาธิปไตยไทย


https://www.youtube.com/watch?v=nNp3k6jQCmg&spfreload=5

jom voice

Published on Jul 26, 2016

วันที่ 30 กรกฎาคม 2559 นี้ กลุ่มคนไทยผู้รักประชาธิปไตย ทั่วอเมริกา ร่วมจัดกิจกรรม รณรงค์โหวตโน (Vote No)ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญโจร โดยมี 2 กิจกรรมหลักคือ เวลา 17.00 น.(เวลาแอลเอ.) การแสดงกิจกรรมต่อต้านเผด็จการทหารคสช.พร้อมประกาศแถลงการณ์ หน้าสถานกงสุลใหญ่ นครลอสแองเจอลิส จากนั้นเวลา 18.00 น.(เวลาแอลเอ.) กิจกรรมเดินรณรงค์เพื่อประกาศให้ชาวโลกได้รับรู้ว่า คนไทยผู้รักประชาธิปไตยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ ไม่ต้องการรัฐบาลเผด็จการคสช. โดยนัดรวมพลกันที่ บนถนนฮอลลีวู้ด หน้าไชนิสเธียเตอร์ จากนั้นจะเดินขบวนบนถนนฮอลลีวู้ดย่านธุรกิจสำคัญของแอลเอ. แคลิฟอร์เนีย และสามารถติดตามการรายงานสดผ่านเฟสบุ๊ค และช่องทางต่าง ๆของสื่อผู้รักประชาธิปไตยในโซเชียลมีเดีย ตลอดทั้งงาน

ooo





'หมวดเจี๊ยบ' จวกรัฐ จับ 'เด็กฉีกบัตร' ทำเอาเป็นเอาตาย แต่ 'คนฉีกรธน.' กลับได้นิรโทษฯ


'หมวดเจี๊ยบ' ชี้ เด็ก 8 ขวบ และ ม1.-ม.2 ไม่ควรถูกดำเนินคดี กรณีฉีกทำลายบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์ออกเสียงประชามติ เพราะจะเป็นการทำร้ายเด็กเกินกว่าเหตุ และส่งเป็นการสร้างตราบาปให้เด็กไปตลอดชีวิต แต่ทีพวกผู้ใหญ่ฉีกรัฐธรรมนูญ สร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อประเทศ กลับได้นั่งชูคอหน้าสลอน

ร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าผู้มีอำนาจไม่ควรสร้างตราบาปในชีวิตของเด็ก 8 ขวบ รวมทั้งเด็ก ม.1 และ ม.2 ที่ฉีกทำลายบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติเพราะความซุกซนและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งนี้ เด็กๆ ทั้งหมดไม่ควรถูกดำเนินคดีและไม่ควรจะถูกสั่งฟ้อง เพราะเด็กๆ อาจไม่มีเจตนาเล็งเห็นผล คือ ไม่ได้เล็งเห็นว่า การฉีกทำลายกระดาษเหล่านั้น จะส่งผลกระทบอย่างไร เช่น ไม่ทราบว่าจะทำให้มีผู้เสียสิทธิ์ในการออกเสียงประชามติ เป็นต้น ดังนั้น ในเมื่อเด็กไม่ได้มีเจตนาที่จะล้มหรือขัดขวางการลงประชามติ แต่ฉีกกระดาษเพียงเพราะความซุกซน จึงอาจไม่ครบองค์ประกอบความผิดอาญาตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่จึงไม่ควรสั่งฟ้องเด็ก เพราะแม้จะไม่มีการลงโทษเด็กจริงๆ ก็ตาม แต่เมื่อเกิดเป็นคดีแล้ว เด็กก็จะมีคดีความติดตัวไปตลอดชีวิต

ทั้งนี้ รัฐควรดำเนินการเรื่องนี้ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่ออนาคตของเด็ก และควรใช้หลักรัฐศาสตร์เข้ามาพิจารณาด้วย ไม่ใช่ยึดหลักนิติศาสตร์อย่างเดียว ทั้งยังไม่ควรปิดคดีแบบง่ายๆ หรือปัดสวะให้พ้นตัว โดยโยนบาปไปให้เด็ก หรือบีบให้ผู้ปกครองยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อให้เรื่องจบๆ ไปง่ายๆ และผู้ปกครองก็ไม่ควรจะยอมด้วยและควรยื่นอุทธรณ์ในเรื่องนี้ เพราะมันไม่เป็นธรรมต่อเด็ก ที่สำคัญ สิ่งที่เกิดขึ้นจะโทษเด็กฝ่ายเดียวไม่ได้ แต่สะท้อนว่าการประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ เกี่ยวกับการลงประชามติอาจทำไม่ทั่วถึง เพราะผลสำรวจโพลก็ระบุว่า คนส่วนใหญ่ไม่ทราบเช่นกันว่า จะมีการทำประชามติ ในวันที่ 7 ส.ค. ดังนั้น การที่เด็กยืนยันว่าไม่รู้ว่ากระดาษที่ฉีกคือเอกสารอะไร จึงเป็นคำชี้แจงที่มีเหตุผลและเป็นไปได้ นอกจากนี้ ก็ต้องดูด้วยว่าสถานที่ติดประกาศดังกล่าว อยู่ในจุดที่เหมาะสมหริอไม่ ตั้งอยู่ในจุดที่ลับตาคนเกินไปไหม เหตุใด เด็กจึงนำประกาศออกมาฉีกเล่นได้ตั้งนาน โดยไม่มีใครเห็น ดังนั้น อย่าเพิ่งโทษเด็กอย่างเดียว

ทั้งนี้ หากรัฐบาลมีความจริงใจและมีความปราณีต่อเด็ก ก็น่าจะหาทางออกที่ดีกว่าการทำให้เด็กมีคดีติดตัวไปชั่วชีวิต และรัฐบาลก็อย่ามาอ้างเลยว่าต้องทำไปตามกฎหมาย เพราะจะถูกชาวบ้านย้อนได้ว่า แค่เด็กฉีกกระดาษไม่กี่แผ่นเพราะความไม่รู้ ผู้มีอำนาจกลับจะเอาเป็นเอาตาย ถึงกับจะส่งเด็กไปเข้าสถานพินิจฯ แต่ทีพวกผู้ใหญ่ฉีกรัฐธรรมนูญ สร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อประเทศ กลับได้นั่งชูคอหน้าสลอน แถมยังนิรโทษกรรมให้ตัวเองไม่ต้องรับโทษได้อีก ก็ไม่เห็นมีใครถูกจับส่งโรงเรียนดัดสันดานสักหน่อย ดังนั้น ผู้ใหญ่จึงควรคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเหล่านี้ในอนาคตด้วย มิฉะนั้น จะเป็นการทำร้ายเด็กเกินกว่าเหตุ
..

ขอบคุณภาพและคำบรรยายจาก "การเมืองไทย ในกะลา"
.....





โหวตโนชนะแล้วอย่างไรต่อ? 'ปิยบุตร' ชี้ประเด็นนี้อาจยังไม่ถึงเวลาที่ต้องมาพูด

ปิยบุตร ระบุเหตุที่ต้องออกไปโหวตโน 1. เนื้อหาของร่างรธน.เอง 2. เป็นการไม่ยอมรับรัฐประหารและคสช. พร้อมข้อเสนอหลังโหวตโนเราอาจหารธน.ก่อนรัฐประหารมาจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ แล้วรัฐบาลจากการเลือกตั้งก็ไปหาทางตั้ง สสร. พร้อมทั้ง คสช.ต้องออกไปจากกระบวนการร่างฯ

https://youtu.be/Wi9waInCzBQ

คลิปเสวนา "ทางเลือกประเทศไทย หลัง 7 สิงหา 59 การเสนออนาคตทางเลือกของประเทศไทย" ผู้ดำเนินรายการ คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำเสนอโดย บดินทร์ สายแสง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) และ ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดยอภิปรายนี้เป็นส่วนหนึ่งของงาน ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญ กำหนดอนาคตประชาชน ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อ 24 ก.ค. 2559

อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล หนึ่งในกลุ่มนิติราษฎร์ นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ กล่าวถึง ข้อเสนอหลังโหวตโน ต่อ คสช.และประชาชน ที่ หอประชุมศรีบูรพา (หอเล็ก มธ.) ท่าพระจันทร์ ในเวทีเรื่องประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่จัดโดย 43 องค์กรภาคประชาชน สรุปได้ดังนี้

ทำไมเราถึงต้องออกไปโหวตโน เหตุผลหลักคือ 1. เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญเอง 2. เป็นการไม่ยอมรับรัฐประหารและคสช. โดย ข้อแรก ตัวร่างรัฐธรรมนูญ ปัญหาให้ต้องโหวตไม่รับ โดยสรุปคือ 1) การยกร่างไม่ได้มาจากประชาชน แต่มาจากรัฐประหาร 2) เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญไม่มีความเป็นประชาธิปไตย หากผ่านเราจะได้สภาพสังคมการเมืองถอยหลังไปอย่างน้อย 40 ปี สมัยรัฐบาลพลเอเปรม ติณสูลานนท์ 3) ร่างนี้จะทำให้ระบอบรัฐประหาร การใช้อำนาจของคสช. ถูกทำให้กลายเป็นสถาบันอยู่ภายใต้รธน. จากสิ่งที่ผิดกลายเป็นถูกรับรองอยู่ในร่างนี้ 4) หากร่างนี้ผ่านจะแก้ไขไม่ได้เลยในทางปฏิบัติ

และ 5) ถ้าร่างนี้ผ่านไป แรกๆ อาจเหมือนไม่มีปัญหา แต่สักระยะจะนำมาซึ่งความขัดแย้งและน่าอาจจะรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะร่างนี้ปิดกั้น กดขี่ คนจำนวนมากด้วยกติกาของระบอบรัฐประหาร ถ้าร่างนี้ผ่านไปได้ และคนกลุ่มใหญ่ส่งเสียงเรียกร้องไม่เอาร่างนี้ อยากแก้ตามกระบวนการก็ทำไม่ได้ ก็เหลือวิธีเดียวคือ วิธีนอกรัฐธรรมนูญ

ข้อที่สอง การโหวตโนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเป็นการแสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารและ คสช. อย่างไร เราจะเห็นคนจำนวนมากที่แสดงออกอย่างเปิดเผยว่าไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร แต่ก็มีกลุ่มอีกมากที่ไม่ได้แสดงออก อาจเพราะถูกกดไว้อยู่ด้วยอำนาจปืนและปืนในกฎหมาย เราปฏิเสธว่ามีคนจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารและการใช้อำนาจคสช. ภายใต้ข้อจำกัดของระบอบปัจจุบัน ภายใต้กติกาที่เขาขีดเส้น มันจะเหลือหนทางอะไรให้เราแสดงออกได้อีกว่าเราไม่เอารัฐประหารและอำนาจของ คสช. เพราะเราไม่สามารถชุมนุมหรือแสดงออกได้ หากท่านอยู่เฉยๆ ไม่แสดงออก คสช.จะเคลมว่า ทุกคนโอเค มันจึงเหลือช่องเดียวที่จะแสดงออกได้ ไม่ถูกจับ มีผลนับเป็นตัวเลข

ประเด็นว่า โหวตโนชนะแล้วจะทำอย่างไรต่อ ประเด็นนี้อาจยังไม่ถึงเวลาที่ต้องมาพูด เพราะประชามติจะเกิดหรือเปล่ายังไม่รู้ชัด ต่อให้เกิดเราก็ยังไม่รู้ว่าโหวตโนจะชนะหรือไม่ แต่เนื่องจากคณะรณรงค์ต่างๆ เห็นว่านี่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพูด ผมจึงต้องขอออกตัวก่อนว่าเป็นความเห็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับนิติราษฎร์ เพราะทางกลุ่มยังไม่ได้คุยกันเรื่องนี้

ขอแยกตรงนี้เป็นสองประเด็น ประเด็นแรก พิจารณาสภาพเหตุปัจจัยทางการเมืองอย่างไม่หลอกตัวเอง ถ้าโหวตโนชนะ ผมคิดว่า คสช.ก็ยังอยู่ในอำนาจต่อไป หาคนมาล้ม คสช.ฉับพลันทันทีคงทำไม่ได้ เพราะดูแล้วเหตุผลของรัฐประหารยังไม่เสร็จ เขาต้องอยู่ต่อแน่นอน พลังฝ่ายต่อต้านรัฐประหารยังไม่มากเพียงพอ มีคนจำนวนมากที่อาจไม่ชอบ คสช.แล้ว แต่ยอมทน เพราะกลัวว่าเลือกตั้งแล้วจะได้พรรคที่เขาไม่ชอบ ประเมินดุลกำลังแล้วเรายังไม่สามารถหาฐานความชอบธรรมที่ชัดแจ้งจนคสช.อยู่ไม่ได้ การล้มเผด็จการที่ผนึกทุกอย่างอย่างเหนียวแน่นเช่น คสช. เราไม่สามารถใช้กำลังของฝ่ายเราอย่างเดียว มันต้องเอาคนอื่นมาเติมด้วย อย่างไรก็ตาม หากโหวตโนชนะ คสช.จะอยู่ต่อในสภาวการณ์ที่ไม่เหมือนเดิม อย่างน้อยจะทำลายความชอบธรรมของ คสช.ไม่มากก็น้อย

ประเด็นที่สอง ข้อเสนออย่างกว้างที่สุดหากโหวตโนชนะ คือ คสช.ต้องยุติและออกไปจากกระบวนการทำรัฐธรรมนูญใหม่ ท่านอาจจะถามต่อ คสช.เกี่ยวอะไร เพราะ กรธ.เป็นคนร่าง จริงๆ แล้ว คสช.เกี่ยวอย่างยิ่ง ดูตัวบทก็ได้ ร่างนี้เกิดจากรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ที่วางกลไกการร่างรัฐธรรมนูญไว้ และรัฐธรรมนูญชั่วคราวเกิดมาหลังการฉีกรัฐธรรมนูญ 2550 โดยคสช.

ดูตัวรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 มาตรา 35 บอกไว้ว่า ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะเกิดต้องมีเนื้อหา 10 ข้อดังต่อไปนี้ ผู้ร่างไม่มีทางร่างอย่างเป็นอิสระ ดังนั้น ร่างมีชัย ฤชุพันธุ์ ก็คือการร่างตามกรอบของมาตรา 35 ตัวกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ คสช.ก็เลือกตอนสุดท้าย นอกจากนี้ คสช.ยังมีบทบาทหลังทำร่างเสร็จต้องส่งเวียนไปแม่น้ำห้าสาย แม้ไม่ได้ร่างแต่เกี่ยวทุกกระบวนการ

แล้วจะยุติบทบาท คสช.ได้อย่างไร
ปิยบุตร กล่าวว่า ร่างที่กำลังทำนั้นถูกชักใยจากรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ถ้ามันยังอยู่ ร่างยังไงก็ถูกล็อค จึงต้องหาทางยกเลิก รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ให้ได้ ถามว่าใครจะเป็นคนร่าง โรดแม็พพล.อ.ประยุทธ์ยืนยันว่ายังไงก็ต้องเลือกตั้งจะตามเดิมไม่ว่าเยสหรือโนชนะ ดังนั้น เราอาจหารัฐธรรมนูญก่อนรัฐประหารมาจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ แล้วรัฐบาลจากการเลือกตั้งก็ไปหาทางตั้ง สสร. และวิธีการร่างรัฐธรรมนูญต่อไป อย่างไรก็แล้วแต่ คสช.ต้องออกไปจากกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ

“ข้อเสนอนี้อาจดูเป็นอุดมคติ ให้ตายคสช.ท่านก็ไม่ออก ผมเข้าใจภารกิจของ คสช. ในการยึดอำนาจ และภารกิจท่านก็ยังไม่เสร็จ แต่ข้อเสนอให้ท่านออกจากากรทำรัฐธรรมนูญมันมีประโยชน์ต่อทั้งประเทศชาติ และ คสช.เองด้วย หากเราลองศึกษาประสบการณ์ประเทศต่างๆ ที่เปลี่ยนผ่านจากเผด็จการเป็นประชาธิปไตยสำเร็จ มี 2 แบบ แบบหนึ่งเผด็จการรู้แล้วว่าถอยดีกว่า จึงเปิดโต๊ะเจรจากับฝ่ายประชาธิปไตยแล้วลงแบบสวยๆ ตัวอย่างนี้เกิดในหลายประเทศในละตินอเมริกา หรือเกาหลีใต้ หรือสเปน อีกแบบคือเผด็จการที่ประเมินตัวเองสูง คิดว่าใครก็ล้มไม่ได้ วันหนึ่งประชาชนก็ลุกขึ้นมาไล่เผด็จการออกไป การไล่แบบนี้เผด็จการจบไม่สวยสักราย ถ้าวันที่ 7 ส.ค.โหวตโนชนะ มันมีทางออกของ คสช.แบบสวยๆ เลย คือ ออกไปด้วยตัวคุณเอง แล้วเปิดโอกาสให้ประชาชนทำรัฐธรรมนูญของเขาเองจริงๆ มันจะไม่เกิดความรุนแรง ไม่ต้องล้างโต๊ะกัน แต่ถ้าคสช.อยู่ต่อไปเรื่อยๆ วันหน้าต้องมาถึงแน่นอน ทุกคนอาจไม่รู้ว่าวันไหน แต่มันต้องมาถึงแน่ มันเป็นไปตามประวัติศาสตร์ของโลก เรากำลังหมุนเวลาย้อนกลับขณะที่โลกเดินหน้า ถ้าวันนั้นมาถึงมันจะมีลักษณะรุนแรง” ปิยบุตร กล่าว

“การโหวตโนคือการปฏิเสธ Dead hand มือที่(เขียนรัฐธรรมนูญ)ตายแล้ว พวกเขาตายไปแล้วยังปิดช่องทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยคนรุ่นใหม่ๆ ที่ต้องการกำหนดชะตากรรมตัวเองอีก” ปิยบุตร กล่าว

ที่มา FB
การเมืองไทย ในกะลา