‘อียู’ เรียกร้องรัฐบาลไทยเปิดให้มีการอภิปรายการลงประชามติอย่างเปิดกว้าง
ที่มา มติชนออนไลน์
15 ก.ค. 59
คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยเผยแพร่บทความแสดงความคิดเห็น เรื่อง ‘ข้อเรียกร้องให้มีการอภิปรายการลงประชามติได้อย่างเปิดกว้าง’ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีการอภิปรายการลงประชามติอย่างเปิดกว้าง
แถลงการณ์ระบุว่าบทความดังกล่าวได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย อันได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สาธารณรัฐสโลวัก สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร พร้อมทั้งเอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย และเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โดยบทความมีใจความระบุว่า
ข้อเรียกร้องให้มีการอภิปรายการลงประชามติได้อย่างเปิดกว้าง
ราชอาณาจักรไทยมีความหมายพิเศษในใจประชาชนของประเทศที่พวกเราเป็นผู้แทนมาเป็นเวลาหลายชั่วคน ชาวไทยรักอิสระเป็นอย่างยิ่งพร้อมทั้งกล้าเริ่มสิ่งใหม่ๆ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาค รวมทั้งการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และนั่นคือเหตุผลที่รัฐบาลของพวกเราปรารถนาที่จะเห็นประเทศไทยผ่านพ้นระยะการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปัจจุบันไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืน เศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรือง และวิสัยทัศน์ที่เป็นเอกภาพต่ออนาคตของประเทศในเร็ววัน
รายงานการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศสมาชิกสหประชาชาติครั้งล่าสุด (Universal Periodic Review หรือ UPR) เป็นการมอบโอกาสที่มีค่าสำหรับการหารือถึงประเด็นท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยกำลังเผชิญ เราหวังว่ารัฐบาลไทยจะให้ความสำคัญแก่ข้อมูลที่ได้รับและจะดำเนินการตามพันธกรณีที่มีต่อนานาชาติภายใต้กรอบ UPR เพื่อปรับปรุงแก้ไขตามข้อห่วงกังวลที่ประชาคมระหว่างประเทศหยิบยกขึ้นมา
ช่วงเวลาหลังการรับฟังข้อเสนอแนะตามกระบวนการ UPR รัฐบาลไทยได้ดำเนินการคืบหน้าหลายประการในการเปิดพื้นที่ทางการเมือง ซึ่งรวมถึงการยกเลิกคำสั่งห้ามเดินทางต่อบุคคลต่างๆ การอนุญาตให้มีการเดินขบวนอย่างสันติเนื่องในวันครบรอบการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม และการอนุญาตให้จัดอภิปรายทางวิชาการเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการดำเนินการหลายประการที่น่ากังวล เช่น การจับกุมนักเคลื่อนไหว การปิดสื่อของฝ่ายค้าน และการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก
ขณะนี้เหลือเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือนก่อนวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เราเชื่อว่าการอภิปรายอย่างเปิดกว้างถึงประโยชน์ของร่างรัฐธรรมนูญในช่วงเวลาที่เหลืออยู่นี้เป็นสิ่งสำคัญต่อการบรรลุซึ่งเป้าหมายที่รัฐบาลประกาศไว้ในการสร้างประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพและความมั่นคงกว่าเดิม ในขณะที่เราจะประณามความพยายามใดๆ ที่จะใช้กระบวนการลงประชามติเพื่อยั่วยุให้เกิดความรุนแรง เราก็มีความกังวลว่า การห้ามการแสดงความคิดเห็นในที่ชุมชนอย่างสันติจะเป็นการยับยั้งการอภิปรายและเพิ่มความตึงเครียด
การอภิปรายในที่ชุมชนอย่างมีสำนึกรับผิดชอบและตรงไปตรงมาไม่ได้เป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพ เมื่อไม่นานมานี้สหประชาชาติได้กล่าวว่า “การเคารพสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน” และย้ำว่า “การร่วมพูดคุยอย่างเปิดกว้างและรับฟังทุกฝ่ายเป็นสิ่งจำเป็นในการส่งเสริมประชาธิปไตยและสนับสนุนการสร้างความปรองดองของชาติ” รัฐบาลของพวกเรามีความเห็นเช่นเดียวกับสหประชาชาติที่เน้นถึงความสำคัญของหลักการเหล่านี้ว่าเป็นเส้นทางที่จะนำไปสู่ฉันทามติที่จะรวมคนไทยทุกคนให้เป็นหนึ่งเดียวกันในอนาคต
การที่ประชาชนมีฉันทามติอย่างเสรีถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการสร้างเสถียรภาพระยะยาว ซึ่งสำคัญต่อการปกครองที่ยั่งยืนและพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้เจริญเติบโต นักลงทุนย่อมแสวงหาเสถียรภาพ สภาวะที่คาดการณ์ได้ ธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม
ในฐานะมิตรและประเทศคู่ความร่วมมือ พวกเราปรารถนาที่จะเห็นราชอาณาจักรไทยมีความเสรี ความเข้มแข็งและเอกภาพในการเดินหน้าผ่านทั้งสิ่งท้าทายและโอกาสแห่งศตวรรษที่ 21 นี่คือเหตุผลที่พวกเราห่วงใยเป็นอย่างยิ่งต่อกระบวนการการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปัจจุบันของไทย พวกเราขอให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้ประชาชนไทยได้มีโอกาสพูดคุยอย่างเปิดกว้าง สร้างความเชื่อมโยงในสิ่งที่มีคล้ายกัน และบรรลุฉันทามติที่จำเป็นต่อการสร้างอนาคตที่เข้มแข็ง และบทความนี้ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยดังต่อไปนี้
ออสเตรีย เบลเยียม สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมาเนีย สาธารณรัฐสโลวัก สเปน สวีเดน สหราชอาณาจกัร พร้อมทั้งเอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย และเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
ooo
A call for an open dialogue on the referendum
The Kingdom of Thailand has for generations occupied a special place in the hearts of the peoples we represent. Fiercely independent and enterprising, Thailand has traditionally played an important role in strengthening regional cooperation, boosting international trade, and promoting shared global values.
That is why our governments aspire for Thailand to emerge quickly from the current period of political transition with a sustainable democracy, a thriving economy, and a united vision for the future.
The recent UN Universal Periodic Review (UPR) offered a valuable opportunity to discuss the current human rights challenges facing Thailand. We hope the Thai government values the inputs it received and will implement its international commitments under the UPR framework to address the concerns raised by the international community.
In the weeks following the UPR, the Thai government took several positive steps to open political space, including lifting travel bans on individuals, allowing peaceful demonstrations on the May 22 coup anniversary, and permitting academic discussions of the draft constitution. However, more recently, we have seen several troubling actions, including the arrest of activists, the shutdown of opposition media, and restrictions on freedom of expression.
With less than one month to go before the constitutional referendum, we believe an open discussion on the merits of the draft in the time remaining is critical to the success of the government’s announced goal of establishing a stable, more secure democracy.
While we would condemn any efforts to use the referendum process to promote or provoke violence, we are concerned that prohibitions on the peaceful public expression of views inhibit debate and increase tensions.
Responsible and robust public discussion is not a threat to stability. The UN recently stated that “respect for human rights and the rule of law are important elements for sustainable development” and emphasized “the need for open and inclusive dialogue to promote democracy and support national reconciliation.” Our governments join the UN in stressing the importance of these principles in finding a consensus uniting all Thai people for the future.
That freely arrived at consensus is needed to foster the long-term stability essential to sustainable governance, and to successfully growing Thailand’s economy. Investors seek stability, predictability, good governance, and the rule of law.
As friends and partners of Thailand, we want the Kingdom to be free, strong, and united as it navigates the challenges and opportunities of the 21st century. That is why we care deeply about the process of Thailand’s current political transition. We urge the government to allow the Thai people to engage in open dialogue, forge common links, and find the consensus needed to build a strong and sustainable future for all.
This editorial is endorsed by Heads of the EU Member States missions in Thailand – Austria, Belgium, Czech Republic, Denmark, Finland, France, Germany, Greece, Hungary, Ireland, Italy, Luxembourg, the Netherlands, Poland, Portugal, Romania, Slovak Republic, Spain, Sweden, the United Kingdom – Head of the European Union Delegation, Ambassador of Canada, and Ambassador of the United States.
Source: https://drive.google.com/file/d/0B1FJBeBMhUCFZ2dPV004WnQ0bzA/view