วันเสาร์, กรกฎาคม 09, 2559

เสรีภาพการแสดงอออก: 'อารยะที่(ต้อง)ขัดขืน'





เสรีภาพการแสดงอออก: 'อารยะที่(ต้อง)ขัดขืน' 

ที่มา
iLaw


วันนี้(8 กรกฎาคม 2559) ที่โรงแรมขอนแก่น โฮเต็ล จังหวัดขอนแก่น สำนักข่าวเดอะอิสาน เรคคอร์ด จัดเวทีสาธารณะ เรื่องสิทธิเสรีภาพการแสดงออกในอีสาน ช่วงเช้าเจ้าหน้าที่ทหารจาก มทบ.23 พูดคุยกับผู้จัดโดยแจ้งว่าจัดได้ แต่ห้ามพูดเรื่องการเมือง นอกจากนี้มีเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบกว่าสิบนายสังเกตการณ์และบันทึกวิดีโอตลอดงาน

ไฮท์ไลต์เวทีช่วงเช้าอยู่ที่ผู้เข้าร่วมอภิปรายซึ่งมีที่มาหลากหลายทั้งจากส่วนกลางและในภูมิภาค ได้แก่ ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสข่าวสดอิง
ลิช , ดร.เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อานนท์ ชวาลาวัณย์ ตัวแทน iLaw ,และ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิฯ โดยมี อ.พฤกษพรรณ บรรเทาทุกข์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

'คนที่ไม่ถูกละเมิดจะไม่รู้สึก'

หมอนิรันดร์ เริ่มเปิดฟลอร์ด้วยการกล่าวถึง คำปรารภในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มนุษย์ต้องเป็นอิสระจากสี่ประการ ความกลัวทำให้เกิดความเงียบ เกิดจากการใช้อำนาจและความคิดของรัฐ

เรื่องเสรีภาพการแสดงออก มีปัญหาคือหนึ่งรัฐมองว่าประชาชนโง่ เลยพยายามปิดบังข้อมูลข่าวสาร ไม่ชอบให้มีการรวมตัว มักอ้างเรื่องความมั่นคง รัฐไม่ยอมรับสิทธิในการมีส่วนร่วมเห็น การทำความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน

ต้องทำไปพร้อมกันทั้งกับรัฐบาลและกับประชาชน รัฐมองว่าคนที่มองเห็นต่างเป็นศัตรู และรัฐบาลเป็นคนรู้และเข้าใจ ยอมรับสิทธิมนุษยชนน้อย

ตั้งแต่ปี 2540 มีการรับรองเสรีภาพในการแสดงออกและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารไว้แล้ว แต่หน่วยงานของรัฐไม่เคารพกฎหมายในส่วนนี้ คำร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หลังรัฐประหารอย่างกรณีการละเมิด

เสรีภาพในวิชาการ อาทิ จากการแทรกแซงกิจกรรมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ส่วนที่รัฐมักอ้างว่า ‘ถ้าไม่ได้ทำผิดจะไปกลัวอะไร’ คือเห็นว่าคนที่ไม่ถูกละเมิดจะไม่รู้สึก คนมีอำนาจในสังคมไทยไม่ได้รับผลกระทบ เพราะในสังคมไทยอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์

หมอนิรันดร์ยังบอกว่า ย้ำกับชาวบ้าน/ประชาชนเสมอว่าเสรีภาพจะได้มาเฉพาะด้วยการต่อสู้ อย่างกรณีเหมืองโปแตช อะไรเป็นสิทธิของประชาชน ก็เป็นหน้าที่ของรัฐในการปกป้องคุ้มครอง หน้าที่ของประชาชนคือไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นและการเรียกร้องสิทธิของตัวเองต้องไม่ถูกมองว่าเป็นผู้ก่อความวุ่นวาย

เสรีภาพการแสดงออกมีราคาที่ต้องจ่าย ?

อานนท์ ตัวแทนจากศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ เห็นว่า ไม่ใช่เฉพาะรัฐที่ละเมิดเสรีภาพการแสดงออก แต่บริษัทเอกชนก็มีละเมิดประชาชนด้วย เพราะมีกฎหมายหลายอย่างเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่

เจตนารมณ์แรกเริ่ม มุ่งปกป้องธุรกรรมออนไลน์ แต่เมื่อเข้า'กฤษฎีกา' กลับขยายจากข้อมูลปลอมเป็นข้อมูลเท็จ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ทำให้มีการใช้กฎหมายซ้ำซ้อน และเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ยอมความไม่ได้ หลายครั้งผู้ใช้ ไม่ได้ใช้เพราะได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิ แต่เพื่อปิดปาก เช่น หากบริษัท บริษัทหนึ่งไปฟ้องหมิ่นประมาท พ.ร.บ.คอมฯกับชาวบ้านที่ขอนแก่น แต่บริษัทเลือกไปฟ้องที่กรุงเทพฯ เป็นการเพิ่มความยากลำบาก คนที่ไม่มีกำลังก็ลำบากก็อาจจะยอมยุติการเคลื่อนไหวเพื่อแลกกับการไม่

ถูกดำเนินคดี ถือว่าใช้ข้อกฎหมายปิดปากจากเทรนด์ที่รัฐใช้มาตรา '116' อานนท์เห็นว่ากฎหมายยุยงปลุกปั่นตามม. 116 ที่ถูกใช้ปิดปากประชาชนมากขึ้น ซึ่งมีปัญหามาก นอกจากประกาศคำสั่งคสช.ที่ 37/2557 ทำให้คดีนี้ต้องขึ้นศาลทหาร ปัญหาอีกอย่างคือ อะไรคือนิยามของยุยงปลุกปั่น แชร์ข่าวลือผังราชภักดิ์ บุคคลสำคัญโอนเงินไปต่างประเทศ นิยามกว้างทำให้ประชาชนกลัวไม่กล้าใช้เสรีภาพในการแสดงออก ในฐานะเจ้าหน้าที่ของไอลอว์ที่ทำเพจให้ความรู้เรื่องกฎหมาย และมีคนติดตามกว่าแสนไลก์ ก็มีความหวั่นกลัวโดน พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ บ้างจากเนื้อหาบางอย่างที่ล่อแหลม แต่ก็มีกองบรรณาธิการ คุมเนื้อหาของเรา ประเด็นสำคัญคือไม่สามารถจัดการคอมเมนต์ในเพจซึ่งเยอะมาก แต่เราก็พยายามยืนยันหลักการเสรีภาพในการแสดงออกที่เรายึดถือ

อานนท์ทิ้งท้ายว่า การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก เป็นผลร้ายต่อความมั่นคงของรัฐ อย่างกรณีการดำเนินการกับ กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์ คนแสดงออกอย่างสันติไม่ได้ เพราะถูกจำกัด เป็นระเบิดเวลาที่อาจทำให้คนเลือกใช้ความรุนแรง ความมั่นคงไม่ได้เป็นคู่ตรงข้ามกับเสรีภาพอีกทั้งไม่ใช่เส้นขนาน หากคงแบบนี้ต่อไปความมั่นคงที่พยายามสร้างมาอาจพังทลายในพริบตาจากน้ำผึ้งหยดเดียว

'สู้สิครับจะรออะไร'

ประวิตรเริ่มพูดอย่างฉะฉาน ต่อการต่อของเสรีภาพการแสดงออกว่า "สู้สิครับจะรออะไร" "ส่วนตัวเกือบจะโดนคดี 116 เหมือนกัน แต่คณะกรรมการฯ ใน คสช. ให้'ใบชมพู' ไปก่อน" เสรีภาพการแสดงออก เป็นสิ่งมีเท่าที่มีเท่าที่สื่อและประชาชนยืนหยัดที่จะสู้ เป็นสิ่งที่ต้องสร้างร่วมกัน ยุคสฤษดิ์ถ้า

สื่อไหนไม่ถูกใจ อาจถูกยิงเป้า แต่ปัจจุบันรัฐบาลใช้มาตรา ปรับทัศนคติ อย่างไรก็ตามอำนาจเบ็ดเสร็จของ คสช.ก็ไม่สามารถใช้ได้โดยสมบูรณ์ เพราะความกดดันและห่วงใยของประชาคมระหว่างประเทศ และยืนหยัดของสื่อ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะประวิตรและประชาชน สื่อไทยก้าวมาไกลจากยุคสฤษดิ์แล้ว

ทุกวันนี้สังคมไทยเงียบและมืดแต่ยังมีการต่อต้านขัดขืนอย่างอีสานใหม่ที่ไปเดินขบวน ถือเป็นอารยะขัดขืนภาคปฏิบัติ อย่างการจัดงานวันนี้ ที่จัดได้แม้ทหารตำรวจมานั่งในห้อง

"ผมไม่เห็นด้วยกับการที่สื่อไทยรายงานไปด้านเดียว แม้อย่างการพร้อมใจกันต่อต้าน คสช.ก็ตาม แต่ขอให้รายงานให้รอบด้านและเก็บข้อเท็จจริงไปเสนอให้ครบ" อาทิ ไม่(ค่อย)มีสื่อใดรายงานการเข้าร่วมสังเกตการณ์ ของตัวแทนสถานทูต ในชั้นพิจารณาคดีของศาลทหารในกรณีนักโทษประชามติ

นอกจากนี้ ประวิตรยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับการผูกขาดการนำเสนอข้อเท็จจริงผ่านการรายงานข่าวโดยสำนักข่าวในกรุงเทพฯ สื่อประชาชน สื่อทางเลือกก็กระจุกแต่ในกรุงเทพฯ ฉะนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับอีสานของคนไทยจึงถูกบิดเบือน

'คนอีสานเว้าบ่แจบ'

ดร.เสาวนีย์ พูดถึงสังคมไทยเป็นสังคมแห่งความกลัว ใครมีเสียงกรุงเทพฯ พูดแทนคนไทย ภาษาไทยกลาง เสียงจะมีน้ำหนักกว่า ทั้งที่หากพิจารณาในแง่ภาษาศาสตร์มีภาษา 70 กว่าภาษาในไทย ภาษาไทย/ภาษากลาง อยู่บน

ยอดพีระมิด 'คนอีสานเว้าบ่แจบ' คนพูดภาษาอีสานอยู่ล่างของพีระมิด เราถูกทำให้เชื่อว่าเราต่ำต้อยกว่า มาจากการหล่อหลอม เมื่อพูดภาษากลางก็ดูมีราคา ในฐานะทุนทางสังคมและเมื่อหลายๆ สิ่งกระจุกอยู่ที่ส่วนกลางก็เป็นปัญหาเพราะเสียง'อีสาน' (คนที่มีภาษาลาวในไทยเป็นภาษาแม่) กว่า

17 ล้านเสียง ถูกทำให้เงียบ ไม่มีค่า ภาษาก็นับว่าเป็นตัวแทนปัญหาอื่นได้ นอกจากนี้ภาษาอีสานเป็นอุปสรรคในการสื่อสารปัญหาของตน พูดภาษาต่างกันย่อมทำให้รู้สึกห่างเหิน ข้าราชการที่มาประจำที่นี่ ก็ไม่เคยถูกเทรนให้ฝึกพูดภาษาบ้านเรา เมื่อมีข้าราชการพูดภาษาลาวได้ ชาวบ้านกลับรู้สึกชื่นชม ว่าเขาลดตัวมาพูดภาษาตัว

ประวิตรเสริมประเด็นนี้ว่า ปัญหาหลักอยู่ที่ทัศนคติไม่เฉพาะภาษา สตริงเงอร์ในท้องถิ่นซึ่งมีอาชีพอื่น ส่งข่าวให้เอเจนซีในภาคกลาง บ้างทำเพื่อบารมีตัวเอง สำนักข่าวส่วนกลางไม่ค่อยลงทุนกับการเข้าถึงแหล่งข่าวตัวจริงในภูมิภาคบ่อยครั้งเรื่องราวเกี่ยวกับชนบทในไทยถูกนำเสนอโดยสื่อต่างประเทศ

ในภาคบ่ายยังคงเป็นประเด็นที่ต่อเนื่องจากภาคเช้า แต่ถ่ายทอดด้วยประสบการณ์ตรงของผู้ถูกจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก ได้แก่ ดีเจวิทยุคนเสื้อแดง แกนนำคนเสื้อแดงขอนแก่น อาจารย์ธีรพล อันมัย จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สองผู้ถูกฟ้องจากคดีชุมนุมต่อต้านการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสาร ขอนแก่น

แม้ประเด็นหลักอยู่ที่เรื่องราวเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก แต่เมื่อดำเนินรายการไปเพียงไม่นาน หลังช่วงแบ่งปันมุมมองว่าด้วยนิยามของเสรีภาพและความสำคัญต่อชีวิตของพวกเขา ผู้อภิปรายต่างเล่าถึงสภาพปัญหาและผลกระทบจากการละเมิดสิทธิประการอื่นๆ ที่ได้เผชิญ อย่างสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ฯลฯ จนนำไปสู่ความกดดันและต้องการแสดงออกเพื่อบอกเล่าปัญหาของตน ก่อนลงเอยด้วยการจำกัดเสรีภาพหลากหลายรูปแบบ ทั้งการถูกดำเนินคดีและเรียกไปปรับทัศนคติ