เราเชื่อว่า หลายคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 หรืออีก 31 วันที่กำลังมาถึง จะเป็นวันที่เราชาวไทยจะต้องออกไปใช้สิทธิ์ออกเสียงเพื่อลง 'ประชามติ' รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 อันเป็นผลงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ซุ่มทำมานานหลายเดือนหลังจากที่ตัวเองฉีกฉบับเก่าทิ้งไปเมื่อ 2 ปีก่อน
.
บางคนอาจโอดครวญว่า เอาอีกแล้วว เลือกตั้งอะไรอีกแล้ว คราวที่แล้วก็วุ่นวายจนกลายเป็นโมฆะ เบื่อแล้ว นักการเมืองก็ยังงี้ ประเทศไทยก็ยังงั้น นู่นนี่นั่น ฯลฯ แต่อันที่จริง การโหวตครั้งนี้นับว่าเป็นการโหวตครั้งสำคัญ ไม่แพ้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรครั้งไหน เพราะรัฐธรรมนูญที่ว่านี้เป็นสิ่งที่อยู่กับเราต่อจากนี้ไปอีกเป็นสิบปี (เอาน่า ถึงผู้มีอำนาจบ้านเราจะฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งกันเป็นว่าเล่นก็ตาม) เป็นกฎหมายสูงสุดที่ไม่ว่าใครก็จะต้องปฏิบัติตาม เป็นทั้งประโยชน์ เป็นทั้งโทษแก่ตัวเราเอง
.
30 วันก่อนจะถึงวันลงประชามติครั้งนี้ The MATTER ด้วยความร่วมมือจาก iLaw ชวนให้ทุกคนมาทำความเข้าใจและทำความรู้จักการลงประชามติเบื้องต้นที่ควรรู้ เช่น มันคืออะไร / โหวตไปเพื่ออะไร / โหวตแล้วยังไง / ทำไมมันดูยากเย็นและไม่น่าสนใจ / มันมีข้อดีหรือข้อเสียยังไงบ้าง / หรือบางคนอาจบอกว่ามันช่างน่ากลัวกว่าการลงประชามติครั้งไหนๆ / เอ้อ ทำไมล่ะ / ฯลฯ
.
ผ่าน 30 ข้อมูลร่วมกับ 30 โจทย์สนุกๆ ประจำแต่ละวันที่ชวนให้ทุกคนลองทำดูเพื่อความเข้าใจสถานการณ์ในแต่ละข้อมูลมากขึ้น (ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก This Diary Will Change Your Life อันโด่งดังนั่นแหละ) ที่รวมๆ แล้วเราคิดว่ามันน่าจะเปลี่ยนแปลงความคิดหรือชีวิตไปได้ หรืออย่างน้อยที่สุด ก็หวังจะทำให้เห็นคุณเห็นว่า ประชามติครั้งนี้จะเปลี่ยนชีวิตเราไปยังไงบ้าง โดยพวกเราเองนี่แหละที่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงมันเนาะ
.
ประเดิมกันด้วยการนับถอยหลัง 7 วันก่อน เดี๋ยวจะมีมาเพิ่มเรื่อยๆ จนครบ 30 วันนะ โปรดติดตาม
http://thematter.co/big-matter/vote-will-change-life/5125
Credit ILAW
The MATTER FB
...
ตัวอย่าง
day 29
TODAY IS VERY TIGHT
วันนี้เป็น ‘วันแห่งความรัด’ ทดลองใส่เสื้อให้เล็กลงหนึ่งไซส์ เพื่อให้เกิดสุญญากาศภายในร่างกายของท่าน เป็นการแสดงถึงสิ่งที่ความรัดกระทำกับเราจนอึดอัด ไม่มั่นใจ ไม่สามารถทำอะไรต่อได้ ความโปรดัคทีฟเท่ากับศูนย์ ใส่ออกมาจากบ้านแล้วด้วย จะกลับไปเปลี่ยนก็ลำบาก ต้องอดทนต่อไปอย่างนี้น่ะ…หรือ
มันก็เสมือนสุญญากาศทางการเมือง ช่วงที่รัฐบาลที่ไม่สามารถก่อประโยชน์อะไรได้เพราะทำอะไรไม่ได้ เต็มไปด้วยความอึดอัด กินไม่เข้า คายไม่ออก เป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องลองพิจารณาใหม่ว่าไอ้เสื้อตัวที่สวมอยู่นี่มันทำให้อึดอัดเพราะอะไร เพราะเราเองที่โง่เลือกมา กินเยอะขึ้นจนอ้วนเผละ หรือเป็นเพราะตัวเสื้อที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่พอดีกับเรา เฮ่อ
ภาวะสุญญากาศทางการเมืองคืออะไรอะ?
ภาวะสุญญากาศทางการเมือง ก็คล้ายๆ กับภาวะสุญญากาศจริงๆ นั่นแหละ คือเวลาเราไม่มีอากาศหายใจ มันก็อึดอัด คับข้อง เดินไปข้างหน้าก็ไม่ได้ ขยับไปทางไหนก็ไม่ได้ ทีนี้ถ้าเป็นทางการเมือง สุญญากาศทางการเมืองมันก็แล้วแต่ว่าใครจะบอกว่าสภาวะแบบไหนนะที่เรียกว่ามันก้าวไปข้างหน้าไม่ได้แล้ว ในทางเทคนิคการที่รัฐจะเข้าสู่ภาวะสุญญากาศ (คือแบบโคตรวิกฤตสุดๆ แล้ว วิกฤตกว่านี้ไม่ได้) ก็คือรัฐที่ไม่มีใครบริหาร ลองนึกถึงประเทศที่คนมักบอกว่าเป็นเหมือนเรือ เรือที่ไม่มีกัปตันก็เป็นเรือที่ไม่สามารถแล่นไปทางไหนได้ ภาวะโหดสุดอันนี้เรียกว่าภาวะอนาธิปไตย คือเป็นบริษัทที่ไม่มีผู้บริหาร ต่างคนต่างไปคนละทาง ไม่มีการสั่งการดูแลที่เป็นเอกเทศ
สำหรับสถานการณ์ทางการเมืองของไทยเองก็มีวิกฤติที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้น เริ่มจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 เรื่องที่มาของ สว. ที่จะตัด สว. แบบสรรหาออกไป ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการบริหารประเทศที่ละเลยเสียงข้างน้อย เกิดความวิตกกังวลว่าเมื่อรัฐบาลได้เสียงส่วนใหญ่แล้วจะทำอะไรตามอำเภอใจก็ได้ ซึ่งต่อมาเกิดการกรณี พรบ. นิรโทษกรรมแบบสุดซอยขึ้น มีการเปลี่ยนเนื้อหาจากการนิรโทษแค่นักโทษทางการเมืองเพื่อลดทอนความขัดแย้งในประเทศกลับมีการหมกเม็ดนิรโทษไปยังคดีที่อยู่นอกเหนือความผิดทางการเมือง พรบ. สุดซอยนี้เองที่เป็นสิ่งที่ทำให้ข้อวิจารณ์ว่ารัฐบาลเสียงข้างมากทำสิ่งต่างๆ ตามอำเภอใจจนเกินไป ผนวกกับข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตต่างๆ เช่น กรณีจำนำข้าว ทำให้เกิดการชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านขึ้น
ผลคือศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ พ.ร.ฎ.ยุบสภา เฉพาะส่วนการกำหนดวันเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย มากกว่าโมฆะอ่ะ เพราะถ้าบอก 2 ก.พ. โมฆะมันจะเลือกตั้งใหม่ได้ แต่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมันมีลักษณะ ‘แทงกั๊ก’ เลยทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองขึ้น ตรงนี้เองทำให้ในทางเทคนิคแล้วไทยเข้าสู่ภาวะสุญญากาศอย่างเต็มตัวเพราะไม่สามารถจัดเลือกตั้งเพื่อแต่งตั้งรัฐบาลต่อไปได้ จุดนี้เองที่ทหารเข้ามามีส่วนร่วมโดยการจัดการพูดคุยให้กับขั้วการเมืองทุกฝ่ายเพื่อหาทางออกให้กับประเทศ แต่ก็พบกับความล้มเหลว และตัดสินใจทำรัฐประหารในท้ายที่สุด เหตุผลหลักๆ ในประกาศ คสช. ฉบับแรก คือเพื่อระงับความรุนแรงและความวุ่นวายต่างๆ ที่เกิดขึ้น
.....
day 28
WRITE YOUR LAW DAY
วันนี้คุณต้อง ‘รับบทเป็นผู้ร่างกฎหมาย’ บ้านเมืองต้องมีขื่อมีแป ไม่ต้องไปไกลหรอก เอาแค่เฉพาะห้องนอนของคุณเองนี่แหละ คิดเสียว่าใครที่ก้าวเข้ามาในห้องนอนของคุณจะต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายดังต่อไปนี้ ใครฝ่าฝืนจะโดนอะไร ทำเตียงยับต้องโดนตบ, หนังสือไม่เก็บเข้าที่ต้องถูกปรับ 15 บาท ฯลฯ และเมื่อร่างกฎหมายเสร็จคุณก็ต้องเคารพในกฎเกณฑ์ที่ร่างขึ้นมาด้วยนะ! หรือจะปฏิวัติรัฐประหารก็…ลองดู
เสมือนการร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ร่างก็ควรจะรู้ว่าประเทศของตัวเองเหมาะกับอะไร โทษแบบไหนถึงเหมาะสม อะไรเป็นสิ่งที่ควรอะลุ่มอะหล่วย แล้วถ้าลองสลับกันว่าเราไม่ได้เป็นผู้ที่ร่างกฎหมายนั่น ก็ควรจะได้รับรู้ว่าเพราะอะไรถึงมีกฎนี้ ทำไมโทษจะต้องเป็นยังงี้ยังงั้น และแน่นอนว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้ร่างหรือผู้ถูกร่าง ในบ้านเมืองที่ใหญ่โตกว่าห้องนอนมหาศาล เราต่างต้องเคารพกฎหมายด้วยกันทั้งนั้นแหละ ยกเว้นแต่จะมีคนมาฉีกมันในที่สุด
ว่าแต่รัฐธรรมนูญนี่มันคืออะไร อันเดียวกับกฎหมายปะ
ลองนึกถึงสมัยก่อน การปกครองประเทศมันมักจะเป็นของคนๆ เดียว ซึ่งมันก็มักจะเป็นปัญหาเพราะพอมีอำนาจแล้วก็มักจะเจ๊ง มักจะปกครองไปตามอำเภอใจ รัฐธรรมนูญ เลยเป็นเสมือนข้อตกลงหรือหลักการใหญ่ๆ ของประเทศที่บอกความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้การปกครอง หลักๆ คือบอกว่าประชาชนมีสิทธิอะไรบ้างและรัฐบาลจะมีที่มายังไง คือพอมันเป็นเหมือนข้อตกลงที่เป็นทางการในระดับที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐธรรมนูญเลยเป็นเหมือนกฎหมายพี่เบิ้มที่ใหญ่ที่สุดในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ
รัฐธรรมนูญแห่งราขอาณาจักรไทยก็มีลักษณะเหมือนที่พูดมานั่นแหละ เป็นตัวบทกฏหมายที่บอกว่ารัฐบาลจะมีที่มายังไง ประชาชนจะมีสิทธิอะไรบ้าง ควรได้อะไรบ้าง ทำอะไรได้บ้าง พวกนี้คือหลักการใหญ่ๆ ระหว่างผู้ปกครองและผู้ปกครองที่ถูกบัญญัติหรือรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ปกติก็จะกำหนดไปตามแนวคิดที่เป็นประชาธิปไตย นับตั้งแต่ปี 2475 ราชอาณาจักรไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 19 ฉบับ (ที่กำลังร่างกันอยู่คือเป็นลำดับที่ 20) โดยมีร่างฉบับที่ 1 ปี 2475 มีอายุสั้นที่สุดคือ 5 เดือน 3 วัน และที่อายุยาวที่สุดคือฉบับถัดมา ประกาศในเดือนธันวาคม 2475 มีอายุ 13 ปี 5 เดือน
แต่ไทยก็ยังไม่ได้ครองแชมป์ร่างรัฐธรรมนูญบ่อยสุดนะ เสียใจด้วย
แล้วรัฐธรรมนูญไม่มีได้มั้ย ทำไมจะต้องมี แล้วตอนที่ไม่มีทำยังไงมาตลอด คำตอบคือ จริงๆ ไม่มีก็ได้นะ แต่คงต้องมีกติกาบางอย่างที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการเข้าสู่อำนาจของคนที่จะมาบริหารประเทศ จะเขียนไว้ในรูปแบบไหนก็ได้ หรือถ้าทั้งสังคมตกลงเห็นชอบร่วมกันแล้ว จะไม่เขียนไว้เป็นตัวหนังสือก็ได้ แต่เอาเป็นว่ามันต้องมีกติกาที่ยอมรับกัน ก็มีบางประเทศที่ไม่ได้ใช้รัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ใช้จากหลักการทั่วไปและหลักจากคำพิพากษาของศาล เช่น อังกฤษ ซึ่งก็ถือว่ามีรัฐธรรมนูญนะ หรือประเทศที่กษัตริย์ปกครอง กษัตริย์สั่งอะไรก็ได้ แบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญ
ตัวอย่าง
day 29
TODAY IS VERY TIGHT
วันนี้เป็น ‘วันแห่งความรัด’ ทดลองใส่เสื้อให้เล็กลงหนึ่งไซส์ เพื่อให้เกิดสุญญากาศภายในร่างกายของท่าน เป็นการแสดงถึงสิ่งที่ความรัดกระทำกับเราจนอึดอัด ไม่มั่นใจ ไม่สามารถทำอะไรต่อได้ ความโปรดัคทีฟเท่ากับศูนย์ ใส่ออกมาจากบ้านแล้วด้วย จะกลับไปเปลี่ยนก็ลำบาก ต้องอดทนต่อไปอย่างนี้น่ะ…หรือ
มันก็เสมือนสุญญากาศทางการเมือง ช่วงที่รัฐบาลที่ไม่สามารถก่อประโยชน์อะไรได้เพราะทำอะไรไม่ได้ เต็มไปด้วยความอึดอัด กินไม่เข้า คายไม่ออก เป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องลองพิจารณาใหม่ว่าไอ้เสื้อตัวที่สวมอยู่นี่มันทำให้อึดอัดเพราะอะไร เพราะเราเองที่โง่เลือกมา กินเยอะขึ้นจนอ้วนเผละ หรือเป็นเพราะตัวเสื้อที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่พอดีกับเรา เฮ่อ
ภาวะสุญญากาศทางการเมืองคืออะไรอะ?
ภาวะสุญญากาศทางการเมือง ก็คล้ายๆ กับภาวะสุญญากาศจริงๆ นั่นแหละ คือเวลาเราไม่มีอากาศหายใจ มันก็อึดอัด คับข้อง เดินไปข้างหน้าก็ไม่ได้ ขยับไปทางไหนก็ไม่ได้ ทีนี้ถ้าเป็นทางการเมือง สุญญากาศทางการเมืองมันก็แล้วแต่ว่าใครจะบอกว่าสภาวะแบบไหนนะที่เรียกว่ามันก้าวไปข้างหน้าไม่ได้แล้ว ในทางเทคนิคการที่รัฐจะเข้าสู่ภาวะสุญญากาศ (คือแบบโคตรวิกฤตสุดๆ แล้ว วิกฤตกว่านี้ไม่ได้) ก็คือรัฐที่ไม่มีใครบริหาร ลองนึกถึงประเทศที่คนมักบอกว่าเป็นเหมือนเรือ เรือที่ไม่มีกัปตันก็เป็นเรือที่ไม่สามารถแล่นไปทางไหนได้ ภาวะโหดสุดอันนี้เรียกว่าภาวะอนาธิปไตย คือเป็นบริษัทที่ไม่มีผู้บริหาร ต่างคนต่างไปคนละทาง ไม่มีการสั่งการดูแลที่เป็นเอกเทศ
สำหรับสถานการณ์ทางการเมืองของไทยเองก็มีวิกฤติที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้น เริ่มจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 เรื่องที่มาของ สว. ที่จะตัด สว. แบบสรรหาออกไป ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการบริหารประเทศที่ละเลยเสียงข้างน้อย เกิดความวิตกกังวลว่าเมื่อรัฐบาลได้เสียงส่วนใหญ่แล้วจะทำอะไรตามอำเภอใจก็ได้ ซึ่งต่อมาเกิดการกรณี พรบ. นิรโทษกรรมแบบสุดซอยขึ้น มีการเปลี่ยนเนื้อหาจากการนิรโทษแค่นักโทษทางการเมืองเพื่อลดทอนความขัดแย้งในประเทศกลับมีการหมกเม็ดนิรโทษไปยังคดีที่อยู่นอกเหนือความผิดทางการเมือง พรบ. สุดซอยนี้เองที่เป็นสิ่งที่ทำให้ข้อวิจารณ์ว่ารัฐบาลเสียงข้างมากทำสิ่งต่างๆ ตามอำเภอใจจนเกินไป ผนวกกับข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตต่างๆ เช่น กรณีจำนำข้าว ทำให้เกิดการชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านขึ้น
ผลคือศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ พ.ร.ฎ.ยุบสภา เฉพาะส่วนการกำหนดวันเลือกตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย มากกว่าโมฆะอ่ะ เพราะถ้าบอก 2 ก.พ. โมฆะมันจะเลือกตั้งใหม่ได้ แต่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมันมีลักษณะ ‘แทงกั๊ก’ เลยทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองขึ้น ตรงนี้เองทำให้ในทางเทคนิคแล้วไทยเข้าสู่ภาวะสุญญากาศอย่างเต็มตัวเพราะไม่สามารถจัดเลือกตั้งเพื่อแต่งตั้งรัฐบาลต่อไปได้ จุดนี้เองที่ทหารเข้ามามีส่วนร่วมโดยการจัดการพูดคุยให้กับขั้วการเมืองทุกฝ่ายเพื่อหาทางออกให้กับประเทศ แต่ก็พบกับความล้มเหลว และตัดสินใจทำรัฐประหารในท้ายที่สุด เหตุผลหลักๆ ในประกาศ คสช. ฉบับแรก คือเพื่อระงับความรุนแรงและความวุ่นวายต่างๆ ที่เกิดขึ้น
.....
day 28
WRITE YOUR LAW DAY
วันนี้คุณต้อง ‘รับบทเป็นผู้ร่างกฎหมาย’ บ้านเมืองต้องมีขื่อมีแป ไม่ต้องไปไกลหรอก เอาแค่เฉพาะห้องนอนของคุณเองนี่แหละ คิดเสียว่าใครที่ก้าวเข้ามาในห้องนอนของคุณจะต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายดังต่อไปนี้ ใครฝ่าฝืนจะโดนอะไร ทำเตียงยับต้องโดนตบ, หนังสือไม่เก็บเข้าที่ต้องถูกปรับ 15 บาท ฯลฯ และเมื่อร่างกฎหมายเสร็จคุณก็ต้องเคารพในกฎเกณฑ์ที่ร่างขึ้นมาด้วยนะ! หรือจะปฏิวัติรัฐประหารก็…ลองดู
เสมือนการร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ร่างก็ควรจะรู้ว่าประเทศของตัวเองเหมาะกับอะไร โทษแบบไหนถึงเหมาะสม อะไรเป็นสิ่งที่ควรอะลุ่มอะหล่วย แล้วถ้าลองสลับกันว่าเราไม่ได้เป็นผู้ที่ร่างกฎหมายนั่น ก็ควรจะได้รับรู้ว่าเพราะอะไรถึงมีกฎนี้ ทำไมโทษจะต้องเป็นยังงี้ยังงั้น และแน่นอนว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้ร่างหรือผู้ถูกร่าง ในบ้านเมืองที่ใหญ่โตกว่าห้องนอนมหาศาล เราต่างต้องเคารพกฎหมายด้วยกันทั้งนั้นแหละ ยกเว้นแต่จะมีคนมาฉีกมันในที่สุด
ว่าแต่รัฐธรรมนูญนี่มันคืออะไร อันเดียวกับกฎหมายปะ
ลองนึกถึงสมัยก่อน การปกครองประเทศมันมักจะเป็นของคนๆ เดียว ซึ่งมันก็มักจะเป็นปัญหาเพราะพอมีอำนาจแล้วก็มักจะเจ๊ง มักจะปกครองไปตามอำเภอใจ รัฐธรรมนูญ เลยเป็นเสมือนข้อตกลงหรือหลักการใหญ่ๆ ของประเทศที่บอกความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้การปกครอง หลักๆ คือบอกว่าประชาชนมีสิทธิอะไรบ้างและรัฐบาลจะมีที่มายังไง คือพอมันเป็นเหมือนข้อตกลงที่เป็นทางการในระดับที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐธรรมนูญเลยเป็นเหมือนกฎหมายพี่เบิ้มที่ใหญ่ที่สุดในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ
รัฐธรรมนูญแห่งราขอาณาจักรไทยก็มีลักษณะเหมือนที่พูดมานั่นแหละ เป็นตัวบทกฏหมายที่บอกว่ารัฐบาลจะมีที่มายังไง ประชาชนจะมีสิทธิอะไรบ้าง ควรได้อะไรบ้าง ทำอะไรได้บ้าง พวกนี้คือหลักการใหญ่ๆ ระหว่างผู้ปกครองและผู้ปกครองที่ถูกบัญญัติหรือรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ปกติก็จะกำหนดไปตามแนวคิดที่เป็นประชาธิปไตย นับตั้งแต่ปี 2475 ราชอาณาจักรไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 19 ฉบับ (ที่กำลังร่างกันอยู่คือเป็นลำดับที่ 20) โดยมีร่างฉบับที่ 1 ปี 2475 มีอายุสั้นที่สุดคือ 5 เดือน 3 วัน และที่อายุยาวที่สุดคือฉบับถัดมา ประกาศในเดือนธันวาคม 2475 มีอายุ 13 ปี 5 เดือน
แต่ไทยก็ยังไม่ได้ครองแชมป์ร่างรัฐธรรมนูญบ่อยสุดนะ เสียใจด้วย
แล้วรัฐธรรมนูญไม่มีได้มั้ย ทำไมจะต้องมี แล้วตอนที่ไม่มีทำยังไงมาตลอด คำตอบคือ จริงๆ ไม่มีก็ได้นะ แต่คงต้องมีกติกาบางอย่างที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการเข้าสู่อำนาจของคนที่จะมาบริหารประเทศ จะเขียนไว้ในรูปแบบไหนก็ได้ หรือถ้าทั้งสังคมตกลงเห็นชอบร่วมกันแล้ว จะไม่เขียนไว้เป็นตัวหนังสือก็ได้ แต่เอาเป็นว่ามันต้องมีกติกาที่ยอมรับกัน ก็มีบางประเทศที่ไม่ได้ใช้รัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ใช้จากหลักการทั่วไปและหลักจากคำพิพากษาของศาล เช่น อังกฤษ ซึ่งก็ถือว่ามีรัฐธรรมนูญนะ หรือประเทศที่กษัตริย์ปกครอง กษัตริย์สั่งอะไรก็ได้ แบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญ