วันอังคาร, กรกฎาคม 19, 2559

'พร้อมเพย์' ที่แบงค์ชาติบอกว่า มี 2 ประเทศที่ใช้ ไม่เป็นความจริง? ชาวเน็ตมีคำถาม + 'พร้อมเพย์' วุ่น! เพราะปชช.ไม่เชื่อใจรัฐบาล




ภาพจาก ฐานธุรกิจ

เรื่อง : พันทิป

'พร้อมเพย์' ที่แบงค์ชาติบอกว่า มี 2 ประเทศที่ใช้ ไม่เป็นความจริง?


update เนื่องจากมีการ forward ไลน์ว่า มีบริษัทที่ทำแบบนี้ที่เรียกบริการว่า Faster Payments ในอังกฤษ ซึ่งอ้างด้วยว่าบริการ PayM (ซึ่งถือว่าล้มเหลว?) เป็นหนึ่งในบริการของ Faster Payment เลยขอให้ข้อมูลเพิ่มครับ เพราะพวก forward ทางไลน์สมัยนี้ เป็นแนว propaganda และใช้ช่องโหว่ตรงที่คนไม่อ่านรายละเอียด แล้วอ้างว่า มีการใช้งานในต่างประเทศมาแล้ว (ถ้าโปร่งใสจริงคงไม่เล่นโฆษณาชวนเชื่อแบบ forward ไลน์ ที่หาต้นตอ source แทบไม่เจอว่าใครปล่อยออกมา)

มันคนละ concept กับของ prompt pay เลยครับ ในแง่การจัดการ และจุดประสงค์หลัก (ไม่ใช่เรื่องเก็บภาษี) ไม่ได้รวมศูนย์เหมือนแบบไทย คนควบคุมเป็นบริษัทเอกชนครับคือ APACS หรือ UK Payments Administration (https://en.wikipedia.org/wiki/UK_Payments_Administration) จะว่าไป รัฐบาลก็ผูกมัดตัวเองแต่ต้นว่าเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้ แต่มาอ้าง site reference เพื่อจะเลี่ยงการประมูลหรือไม่? (แต่ของอังกฤษใช้เวลาประมูล 1 ปีนะครับ อ้างอิงจาก https://www.vocalink.com/payment-processing/faster-payments/faster-payments-timeline)

และไม่มีการเก็บ id ด้วย ใช้มือถือเพื่อความสะดวก ซึ่งระบบแบบนี้มีมานานมาก และทำกันเยอะ แล้วแต่ว่า ธนาคารไหนต้องการร่วมวง อีกอย่างเป็นทางเลือกในการจ่ายเงินครับ แต่ของเรา ถ้าฟังจากสรรพากรที่ออกข่าว ต่อไปต้องมี prompt pay ทุกคน ในทางปฏิบัติ ถ้าเก็บหรือคืนภาษี ก็คือ บังคับต้องทำครับ

faster payment เป็นเหมือนบริการเอกชนรายหนึ่งเท่านั้นครับ มีอีกหลายราย อ้างอิงจาก http://www.fasterpayments.org.uk/sites/default/files/Monthly%20Payment%20Statistics%20Nov%202015.pdf

หรือถ้าไม่เชื่อดูมูลค่า transaction ปี 2015 บ่งบอกว่า อยู่ในวงจำกัดในการหมุนเวียนเงิน แค่ 1 พันล้านปอนด์เอง (ระบบ PayM เป็นส่วนเล็กๆในนี้อีกที)

ที่สำคัญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เวลาหลายปีกว่าระบบจะ implement ได้ ที่สำคัญ เขามีขั้นตอนการประมูลครับ กว่าจะรู้ผลชัดเจนก็ 1 ปี

https://www.vocalink.com/payment-processing/faster-payments/faster-payments-timeline

พูดง่ายๆคือ เชื่อว่า แบงค์ชาติอ้างผลงานบริษัทที่ตัวเองเลือกมา vocalink ที่น่าจะ supply เทคโนโลยีให้ NITMX อันนี้ไม่ยืนยันนะครับ ว่า ดีลผ่าน NITMX ไหม (ไม่น่าจะประมูลด้วย) เพื่อจะได้มาอ้างได้ว่า เคยทำระบบนี้มาก่อน แต่จริงๆแล้ว เป็นเพียงโครงการจ่ายเงินผ่านมือถือเท่านั้นเอง ไม่มีการใช้ ID ด้วย เท่าที่ผมอ่านดู และไม่เกี่ยวกับเรื่องภาษีเลย

เกิดคำถามว่า

1. บริษัทที่เลือกมาไม่ผ่านการประมูลหรือไม่? แต่ใช้ผลงานเป็นข้ออ้างในการเลือก

2. ขั้นตอนต่างๆทำไม ทำกันเงียบๆและรวดเร็วมาก ของอังกฤษใช้เวลา 5 ปีกว่า กว่าจะสรุปว่า vocalink ได้งานระบบนี้ และเป็นระบบที่คล้าย แต่ไม่ใช่แบบ prompt pay

3. บริการที่คล้าย prompt pay เป็นแค่บริการที่เรียกว่า PayM ซึ่งถือว่าล้มเหลว ตามที่อธิบายใต้เส้นประข้างล่าง เพราะคนสมัครแค่ 3 ล้านคน มีการใช้เฉลี่ยแค่คนละ 1 ครั้งต่อปี และลดลงเรื่อยๆ แบบนี้ถือว่า ผลงานเหมาะสมในการนำมาอ้างอิงเพื่อเลือก system integrator หรือไม่?

-------

จากที่ติดตามเรื่องนี้มาพอสมควร ผมพบว่า ข้อมูลที่แบงค์ชาติให้ในเว็บเกี่ยวกับ Prompt Pay หรือ พร้อมเพย์ ไม่น่าจะเป็นความจริง

https://www.bot.or.th/Thai/Attachment/FAQ_PromptPay.pdf

(อ้างอิงจาก link แบงค์ชาติเอง ในหน้า 2 ย่อหน้าที่ 3)

คือ แบงค์ชาติบอกว่า ประเทศสิงคโปร์ใช้มา 2 ปี แต่เท่าที่ตรวจเช็คกับธนาคารของผมเองในสิงคโปร์ และสมาชิกพันทิปหลายท่านที่อยู่สิงคโปร์มาเกือบ 20 ปี และเพื่อนของผมคนอื่นๆ พบว่า ไม่มีการใช้ระบบนี้ หรืออาจจะมีให้ใช้ แต่ไม่มีใครใช้

อยากทราบว่ามันคือ ระบบอะไร คล้ายหรือเหมือนเลย?

และสิงคโปร์ก็เพิ่งเริ่มพิจารณาระบบคล้ายกันนี้ เดือนเมษายนที่ผ่านมานี่เอง (ข้อมูลจากคุณ comment 2)

https://www.finextra.com/newsarticle/28702/singapore-ponders-paym-style-payments-platform

ส่วนที่อังกฤษ ที่แบงค์ชาติบอกว่าใช้มา 8 ปีแล้ว ตรวจสอบพบว่า มีระบบเดียวที่ใกล้เคียง ใช้มาแค่ 2 ปีกว่าๆ ไม่ใช่ 8 ปีอ้างที่แบงค์ชาติอ้าง(ถ้าเป็นบริษัทนี้) โดยผูกกับเบอร์โทรศัพท์ แต่ไม่ใช่แบบ prompt pay คือ PayM ประสบความล้มเหลว เพราะมีคนสมัครแค่ 3 ล้านคน มีการใช้เฉลี่ยเพียง 1 ครั้ง/ปี เท่านั้น เหมือนแทบไม่มีการใช้งานเลย (อาจจะตอนแรกๆ) และการใช้งานก็ลดลงเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง จนนักข่าวเริ่มเขียนข่าวถึงความล้มเหลวของระบบนี้ แต่เนื่องจากมีคนใช้น้อย จึงไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่อังกฤษ

อ้างอิงจากบทความปี 2016 นี้เลย https://www.finextra.com/newsarticle/28457/is-paym-a-failure

ผมกำลังคิดว่า มันคือระบบของเอกชนมากกว่า แบบพวก AIS mPay อะไรพวกนี้?

แล้วไม่ทราบแบงค์ชาติเอาข้อมูลมาจากไหนครับ อยากให้ชี้แจ้ง ซึ่งมันส่งผลในเรื่องต่อจากนี้ครับ

1. ที่อ้างว่า บริษัท NITMX ที่ดูแลระบบ prompt pay ในไทย มีประสบการณ์ในการพัฒนาระบบนี้ อยากทราบว่า ระบบอะไรครับ ระบบ PayM ที่อังกฤษ? แล้วผลออกมามันล้มเหลว แบบนี้จะว่าไงครับ

2. ที่เลือกมา คือ เลือกมาเลย ไม่มีการประมูล?

3. ระบบนี้จะต่อยอดไปอีกยาว จนถึงระบบ e-payment ตามที่ผมอ่านข่าวมาจากที่ปรึกษาโครงการ National E-Payment แบบนี้ถือว่า ล็อคสเปคตั้งแต่ต้นไหม?

เพราะมูลค่า e-payment ทั้งระบบนี่ก็มหาศาลแล้ว เอาแค่เครื่องอ่านบัตรทั่วประเทศ ทุกร้าน ร้านใหญ่ ร้านเล็ก ร้านอาหารตามสั่ง เพราะรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังบอกว่า ถ้าใช้เงินสดจะเก็บ VAT 10% แต่ถ้าใช้ e-payment จะเก็บ VAT 7% ฉะนั้นถ้าไม่อยากต้นทุนเพิ่มหรือถูกบังคับสำหรับเจ้าของกิจการ แค่รถเข็นขายผลไม้ก็ต้องมี เครื่องรูดบัตรเครดิตบัตรแบบ wireless และต่อสาย ที่ตอนนี้ธนาคารกสิกรเก็บเดือนละ 450 บาท หรืออย่างต่ำ ถูกสุดบางธนาคารเก็บ 160 บาท (ถ้ายอดไม่ถึงเกณฑ์) ไม่รวมค่ามือถือและ landline ที่ต่อระบบ อีกเดือนละ 100-200 บาทสำและถ้ามีค่าประกันเครื่องอีกจะทำยังไง ที่สำคัญมีค่าธรรมเนียมต่อ order ด้วยนะครับ ตอนนี้อยู่ที่ 1.9-2.5% เขาจะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายครับ

จริงๆมีเรื่องที่ทำให้ระบบ e-payment เป็นไปได้ยากมากๆ ปัญหาในทางปฏิบัติเยอะมากๆ และงบประมาณสูงทั้งทางรัฐบาลและประชาชน

ที่สำคัญ ยังไม่มีใครในโลกใช้ เพราะปัญหามันเยอะ มีแค่สวีเดนที่กำลังยกเลิกระบบเงินสด ก็คนเขามีเงินทั้งประเทศ ประชากรก็น้อย 9.9 ล้านคน (ปี 2016) ทุกอย่างมันทำได้ง่ายครับ แต่ประเทศรวยกว่าก็ยังไม่ทำกันเลย แต่ผมก็ไม่ทราบว่า ตอนนี้สวีเดนเขาจะใช้ระบบอะไรมาแทน ซึ่งจริงๆแบงค์ชาติน่าจะอ้างอิงสวีเดนมากกว่า เพราะจะไม่ใช้เงินสดเหมือนกัน แล้วทำไมไม่พูดถึงเลย?

อยากให้รัฐบาลและแบงค์ชาติ ออกมาชี้แจงเรื่องพวกนี้ด้วย เพราะอยู่ๆระบบนี้ก็โผล่ออกมาเลย ทำเรียบร้อยแล้ว ไม่มีใครสงสัยที่มาที่ไปของโครงการบ้างเหรอครับ (ไม่ขอพูดในเรื่องอื่นๆที่พูดไปแล้ว เช่น ความปลอดภัย Privacy การเอาข้อมูลไปขายต่อ การเก็บภาษี ฯลฯ)

ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ธนาคารต่างๆสูญเสียรายได้ไปรวมกันปีละ 1 หมื่นล้านบาท ทำไมเงียบกันจัง? อ้างอิงจาก http://www.dailynews.co.th/economic/508575

.....


ความเห็นจากพันทิป


cashless society

ขนาดสวีเดน ที่ว่าไฮเทค มีการศึกษาดี ทุกอย่างพร้อม

แบงค์ชาติสวีเดน ก็ยังบอกว่า ยังทำไม่ได้ทั้งหมด อย่างเร็วก็ปี 2030 เงินสดยังจำเป็นอยู่
We think that cash will stick around until the 2030s
http://www.thelocal.se/20160304/swedes-predict-death-of-cash-in-five-years
.....

บางคนบอกว่าเป็นทางเลือก ไม่ใช้ก็ได้ ....
เมื่อคืน ดูโทรทัศน์ มีฝ่ายรัฐบาลออกมาบอกว่า ต่อไป เงินที่โอนจากทางรัฐบาล เช่นเบี้ยคนชรา
เงินเดือน และ ภาษีคืน บัญชีต้องลงทะเบียน ประเภท พร้อมเพย์ เท่านั้น .... แบบนี้ จะเรียกทางเลือกหรือ
.....


เฮ้ย ! นอกจากคุณบวรศักดิ์ ออกมาพูดคนเดียว ครั้งเดียวแล้ว ไม่เห็นนักวิชาการการเงิน การธนาคาร การสื่อสาร ออกมาพูดไรมั่งเลย กลัวอะไร? หรือใครห้ามไว้หรือ?

นี่มันยิ่งกว่าการสมคบคิดอย่างที่ความเห็นบนว่าไว้อีกนะ ไม่มีการประกวดราคา ไม่มีการประกาศสเปคที่ควรเป็น ไม่มีการระดมความคิดจากภาคส่วนไหน (อย่างเปิดเผย) เลย อย่างนี้จะให้คิดอย่างไร แล้วข้อมูล(ไม่ค่อยตรงความจริง)ที่ BOT ออกมาพูดนั้น จะให้ใครรับผิดชอบ คนพูด หรือคนหาข้อมูลมาให้พูด แต่ไงก็ต้องมีคนรับผิดชอบ

ทำไมไม่มีใครที่บารมีมากพอและกล้า ๆ หน่อย สอบถามอย่างเป็นทางการไปที่สถานทูตสิงคโปร์และสถานทูตอังกฤษอย่างเป็นทางการ ให้มันรู้ดำรู้แดงไปเลย

แล้วอย่างนี้จะไม่มีใครร้องไปทางผู้ตรวจการแผ่นดินให้สอบรายละเอียดและที่มาที่ไป(ความเร่งด่วน)อย่างไม่ชอบมาพากลนี้บ้างเลยหรือ?


ooo


ชี้ 'พร้อมเพย์' วุ่น! เพราะปชช.ไม่เชื่อใจรัฐบาล






อดีตรมว.พลังงาน ชี้ "พร้อมเพย์" วุ่น เพราะประชาชนไม่ไว้ใจและไม่เชื่อใจรัฐบาล


โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 17 กรกฎาคม 2559

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรมว.พลังงาน กล่าวว่า โดยหลักการแล้ว พร้อมเพย์เป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นไปตามกระแสของโลกที่จะชำระเงินผ่านบัตร ทิศทางของโลกที่จะใช้ธนบัตรน้อยลง และยังเป็นการส่งเสริม Digital economy ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่ปัญหาที่ประชาชนยังไม่มั่นใจที่จะเข้าระบบน่าจะเกิดจากความไม่เชื่อใจ และความไม่มั่นใจในรัฐบาล

เนื่องจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลทำจนเป็นปกติ ไม่ว่าจะกับนักการเมือง นักวิชาการ นักศึกษา หรือประชาชน อีกทั้งรัฐบาลยังขู่ว่าจะออกมาตรการแกมบังคับว่าจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เท่าเดิมสำหรับผู้เข้าระบบ แต่จะเก็บ 10% สำหรับผู้ที่ไม่เข้าระบบ ซึ่งไม่น่าจะทำได้ เพราะระบบภาษีสรรพากรจะไม่สามารถรองรับภาษีมูลค่าเพิ่มสองอัตราได้