วันพุธ, ตุลาคม 07, 2558

ขอแสดงความยินดีกับคุณมุทิตา เชื้อชั่ง ผู้สื่อข่าวประชาไท คว้ารางวัลเอเอฟพี จากการรายงานคดี 112



Thai journalist Mutita Chuachang, pictured at Prachatai's Bangkok office on October 5, 2015, has won the 2015 AFP Kate Webb Prize for her reporting of royal defamation cases

AFP award recognises Thai journalist for recording lese-majeste cases

Source: AFP
06 Oct 2015

Thai journalist Mutita Chuachang has won the 2015 Agence France-Presse Kate Webb Prize for her powerful and persistent reporting of royal defamation cases that have multiplied under the country's military rulers.

The prize honours journalists working in difficult conditions in Asia, and is named after a crusading AFP reporter who died in 2007 at the age of 64 after a career covering wars and other historic events.

Mutita, 33, was recognised for her dogged efforts to record cases of alleged lese majeste for the online newspaper Prachatai, which publishes in Thai and English.

In Thailand anyone found guilty of defaming the king, queen, heir or regent faces up to 15 years in jail on each count -- and both the number of prosecutions and the length of sentences have surged under the military.


Cases are often cloaked in secrecy with many defendants tried in military courts -- without the right to appeal -- since the arch-royalist Thai junta seized power in 2014.

The offence also carries widespread social opprobrium in the sharply hierarchical society where reverence to the monarchy -- led by 87-year-old King Bhumibol Adulyadej -- is a given.

As a result, many Thai journalists and media outlets prefer to avoid the associated risks of reporting.

But Mutita refuses to allow cases to go unnoticed or unrecorded, pestering the courts for trial dates and documents to give publicity to cases that are otherwise easily buried.

She has followed cases including students performing an allegedly anti-monarchist play to a man accused of daubing defamatory graffiti in a toilet.


"She has been on the front line in the fight for freedom of expression in Thailand by persistently reporting on lese-majeste cases," said Andrea Giorgetta of the International Federation of Human Rights (FIDH).

Mutita's articles, which do not carry a byline, are a key source of information and data on lese-majeste sentences and convictions, said Human Rights Watch, hailing the "valuable work" done by the reporter.

In her reporting she strives to speak to those convicted and tell their stories.

And as punishments get increasingly severe -- in August, a man was sentenced to 30 years and a mother of two young children got 28 years in prison for posting alleged defamatory messages online -- her work gets harder.


Veteran foreign correspondent
Kate Webb pictured at
Agence France-Presse's
Jakarta bureau in August 2001

The law, known by a shorthand of "112" from the relevant section of the criminal code, "is an issue that Thai society and media do not want to report on," Mutita told AFP.

A graduate of Thammasat University in Bangkok, which has a strong pro-democracy tradition, Mutita has been raising awareness of the bizarre nature of the trials: she often cannot even repeat the alleged offence without risking falling foul of the law herself.

With new restrictions imposed on prison visits by the military, Mutita cannot visit detainees as she did previously, to hear "their stories from their own mouth."

Kate Webb, after whom the prize is named, was one of AFP's finest correspondents. She earned a reputation as a fearless reporter but was equally known for her kindness and compassion and became a mentor to young Asian journalists.

ooo

มุทิตา เชื้อชั่ง ผู้สื่อข่าวประชาไท คว้ารางวัลเอเอฟพี จากการรายงานคดี 112


ประชาไท
Tue, 2015-10-06 16:00

6 ต.ค. 2558 สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า มุทิตา เชื้อชั่ง ผู้สื่อข่าวประชาไทวัย 33 ปีได้รับรางวัล Agence France-Presse Kate Webb ประจำปี 2015 จากการรายงานข่าวที่ทรงพลังและมุ่งมั่นในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งเกิดขึ้นถี่ขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้รัฐบาลทหาร

รางวัลนี้มอบให้แก่ผู้สื่อข่าวที่ทำงานในสถานการณ์ที่ยากลำบากในภูมิภาคเอเชีย โดยชื่อรางวัลตั้งขึ้นตามชื่อของ เคท เวบบ ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีที่อุทิศตนทำงานข่าวสงครามและในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ต่างๆ เธอเสียชีวิตเมื่อปี 2550 ขณะอายุ 64 ปี เธอมีชื่อเสียงในฐานะนักข่าวที่ไม่เกรงกลัวสิ่งใดๆ และมีความเมตตาและเห็นอกเห็นใจ อีกทั้งยังเป็นพี่เลี้ยงที่ปรึกษาให้กับนักข่าวรุ่นใหม่ๆ ในภูมิภาคเอเชีย

มุทิตาได้รับการยกย่องจากความทุ่มเทในการติดตามและบันทึกคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ซึ่งมีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ

“เธออยู่แนวหน้าในการต่อสู้เรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประเทศไทยด้วยการรายงานข่าวคดีความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างต่อเนื่อง” แอนเดรีย จิโอเกตโต้ แห่งสมาพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) กล่าว

องค์กรฮิวแมนไรท์วอชท์ระบุว่า งานของมุทิตาเป็น “ผลงานที่มีคุณค่า” และถือเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารสำคัญเกี่ยวกับการตัดสินและลงโทษคดีหมิ่นฯ

มุทิตา กล่าวกับ "ประชาไท" ว่า สาเหตุที่เลือกทำข่าวประเด็น 112 เพราะเห็นว่าเป็นประเด็นข้อถกเถียงสำคัญในสังคม การลงโทษก็หนักมาก แต่ไม่ค่อยมีใครทำจริงจัง อาจเพราะเกรงว่าจะเดือดร้อน หรือไม่ก็เห็นตรงกันกับที่รัฐเห็นว่าเป็นภัยความมั่นคง แต่ส่วนตัวยังสงสัยอยู่ เลยติดตามดู

เมื่อถามถึงความยากในการรายงานข่าวประเด็นนี้ มุทิตาบอกว่า จริงๆ โจทย์ที่ทำนั้นต่ำมาก คือ แค่อยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในคดี กระบวนการดำเนินคดีทั้งหมดเป็นยังไง และต้องการรู้เหตุผลจากปากผู้ต้องหา แต่ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยเวลา ความต่อเนื่องในการติดตาม ความกลัวมักครอบงำผู้ต้องหาและคนรอบข้างอย่างมาก

“มันไม่ได้เป็นความกล้าหาญอะไร การนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งที่ใครก็ทำได้และน่าทำ เพราะเราจะเข้าใจความขัดแย้งในสังคมและผู้อยู่ร่วมสังคมที่เห็นไม่ตรงกันกับเราได้อย่างไร ถ้าไม่เปิดใจรับฟังและกล้าเผชิญกับความจริง เพื่อนำไปสู่ทางออก โดยภาพรวมการนำเสนอขององค์กรก็พยายามขยับเพดานให้การถกเถียงด้วยเหตุด้วยผลมีพื้นที่มากขึ้นอยู่แล้ว แต่ถึงที่สุดก็ยังอยู่ใต้เพดานนั้นแหละ (หัวเราะ)” มุทิตากล่าวและว่า

“ที่ผ่านมาปัจเจกชนธรรมดาๆ ที่ตระหนักเรื่องนี้ก็ทำในสิ่งต่างๆ ในหลากรูปแบบ หลายองค์กรก็พยายามทำเต็มที่ทั้งเก็บข้อมูลพื้นฐาน สร้างความเข้าใจในสังคม หรือแม้แต่ช่วยในการต่อสู้คดีเพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้าถึงความเป็นธรรม แต่อาจเพราะเราทำงานมายาวจึงพอทำให้เห็นชัด ซึ่งจะทำอย่างนี้ได้มาจากองค์ประกอบขององค์กรและเพื่อนร่วมงานที่สนับสนุนด้วย รวมถึงความขี้สงสัย ชอบฟังและชอบเล่าเรื่อง”

ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2014 ผู้ได้รับรางวัลนี้ได้แก่ เพทริเซีย เอวานเจลิสตา ผู้สื่อข่าวฟิลิปปินส์ ที่ทำข่าวมัลติมีเดียให้กับเว็บ Rappler และนิตยสาร Esquire จากการนำเสนอข่าวความขัดแย้งระหว่างกองทัพฟิลิปปินส์กับกลุ่มกบฏ และผลกระทบหลังไต้ฝุ่นไหเยียน