วันอาทิตย์, พฤษภาคม 10, 2558

We Shall Overcome Someday...Soon.

กาย คาราวาน ร้องเพลง We shall overcome. กับผู้ประท้วงในมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๖๐
หมายเหตุ โดยที่ไทยอีนิวส์ใช้ motif ถ้อยโสลกจั่วหัวเว็บบล็อกว่า "We shall overcome." และประจวบเหมาะคุณ Pipob Udomittipongได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของวลีนี้ไว้อย่างลุ่มลึก เราเห็นว่าควรที่จะเผยแพร่ต่อผู้อ่านที่นี่ จึงได้หยิบฉวยมาตีพิมพ์ซ้ำ ทั้งที่มิได้แจ้งหรือขออนุญาติจากผู้เขียน ด้วยเห็นว่าแหล่งตีพิพม์ดั้งเดิมเป็นเวทีสาธารณะซึ่งเปิดเสรีสำหรับการขยายผลอยู่แล้ว (ไม่ใช่การจองโต๊ะสังสรรค์อย่างที่เซเล็บวงการสื่อบางคนอ้าง แต่อย่างใด) ถึงกระนั้นเราก็ยินดีขอบคุณและคำนับเจ้าของผลงานอย่างจริงใจ


“We Shall Overcome” อาจเป็นเพลงปฏิวัติที่มีคนร้องหรือรู้จักมากสุดในโลกก็ได้ คนที่ทำให้เพลงนี้เป็นที่รู้จักในแวดวงแอคติวิสต์อเมริกันคือ Guy Carawan ซึ่งเพิ่งตายไปเมื่อต้นเดือนนี้เอง (87 ปี)

เขาเป็นนักดนตรีเชี่ยวชาญเครื่องสาย รักชอบดนตรีพื้นเมือง เคยเป็นทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่สอง แต่กลับตัวกลับใจยึดเอาการไม่ใช้ความรุนแรงเป็นสรณะแทนรถถัง หลังจากเลิกเป็นทหาร เขาไปเรียนต่อ และเดินทางเก็บสะสมเพลงพื้นบ้าน เขาต้องการใช้เป็นสื่อปลุกเร้าให้คนสนใจปัญหาสังคม จนกระทั่งมาเจอ “We Shall Overcome” ที่ Highlander Folk School โรงเรียนฝึกผู้นำสร้างเครือข่ายของนักกิจกรรมฝ่ายซ้ายในยุคนั้น (ป้า Rosa Parks ก่อนเหตุการณ์ Freedom Rider ก็เคยเรียนที่นี่มาก่อน)

ในแง่ท่วงทำนอง เขาว่าเพลงนี้มีที่มาจาก “O, Sanctissima” hymn ตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 18 ตอนหลังเบโธเฟนใส่เนื้อร้องจนทำนองคล้ายกับ “We Shall Overcome” ฉบับปัจจุบันมาก (https://youtu.be/tKXhZ3XDohE)

ในแง่เนื้อร้อง เขาว่าก่อนจะเป็น “We Shall Overcome” มันเป็น “We Will Overcome” มาก่อน (แต่ทำนองไม่เหมือนกัน) เป็นเนื้อเพลงที่กรรมกร สหภาพแรงงานร้องกันมาช่วงทศวรรษ 1950 แล้ว และก่อนจะเป็น “Oh deep in my heart, I do believe. We shall overcome someday!” มันเคยเป็น “If in my heart I do not yield, I’ll overcome some day.”

กาย คาราวานไม่เคยเคลมว่าเขาเป็นเจ้าของเพลงนี้ แต่ต้องให้เครดิตเขาในฐานะที่สอนให้แอคติวิสต์ผิวดำรู้จักเพลงนี้เป็นคนแรกเมื่อปี 1960 และต่อมามีการนำไปร้องอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ยาจกยันประธานาธิบดี
ประธานาธิบดีโอบาม่าร่วมกับกลุ่มสิทธิมนุษยชนผิวดำ เดินข้ามสะพานที่เซลม่า อลาบาม่า เป็นสัญญลักษณ์การเอาชนะเรื่องเหยียดผิวในอเมริกา

เป็นเพลงที่เหมาะกับยุคเผด็จการโคตรๆ จงมีความหวัง ๆ ๆ ๆ ๆ มันแพ้เราแน่่ 

“We Shall Overcome” เวอร์ชันของ Guy Carawan (1927-2015) https://youtu.be/Tftdes9dp-A


Guy Carawan Dies at 87; Taught a Generation to Overcome, in Song http://nyti.ms/1F8ShqS

The Surprising History of 'We Shall Overcome' http://www.theatlantic.com/…/2…/05/we-shall-overcome/392837/