วันศุกร์, กรกฎาคม 12, 2567

รัฐบาลเศรษฐา ที่ยืนยันว่า "เราจะวิ่งสู้เพื่ออนาคต..." อ่านโพสต์นี้หรือยัง "ประเทศไทยกำลังตกขบวน? สินค้าส่งออกไทยติดอยู่ในโลกเก่า แทบไม่มีส่วนร่วมใด ๆกับการผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ ของโลก แถมต่างประเทศลดการลงทุน..."


Reporter Journey
12 hours ago

Part 1/3
.
ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการเผยแพร่บทความ ‘การส่งออกไทยจะก้าวข้ามปัญหาเชิงโครงสร้างได้อย่างไร?’ บทความดังกล่าวมีการพูดถึงความสำคัญและการเติบโตของการส่งออกในอดีต กลับมามองที่ภาพปัจจุบัน ไปจนถึงอนาคตการส่งออกของประเทศไทย
.
โดย ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่าภาคการส่งออกของประเทศไทยกำลังเผชิญ ‘ปัญหาเชิงโครงสร้าง’ และความเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้
.
1 สินค้าส่งออกของไทยยังติดอยู่กับโลกเก่า ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดโลกน้อยลง
.
ประเทศไทยยังส่งออกหน่วยความจำ HDD เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ในขณะที่ปัจจุบันหน่วยความจำ HDD กำลังถูกแทนที่ด้วยหน่วยความจำแบบ SSD แทน ถึงแม้ว่าสินค้าประเภทนี้จะยังตอบสนองความต้องการใช้งานของกลุ่มธุรกิจ cloud computing และ data center ได้ แต่ก็ไม่สามารถชดเชยมูลค่าที่ลดลงจากการเข้ามาแทนที่ของ SSD ในกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปได้ (ขนาดผู้เขียนเองยังใช้โน้ตบุคที่เป็นหน่วยความจำ SSD)
.
2 สินค้าส่งออกของไทยเชื่อมโยงกับการค้าโลกน้อยลง
.
ประเทศไทยมีส่วนร่วมในห่วงโซ่การผลิตเซมิคอนดักเตอร์น้อยมาก (เซมิคอนดักเตอร์ เป็นวัสดุที่ใช้ทำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์) มีส่วนร่วมเพียงช่วงปลายน้ำแค่นิดเดียว ในขณะที่ต้นน้ำและกลางน้ำจะเป็นประเทศ ‘เวียดนาม’ ที่มีส่วนร่วมมากกว่าจากการมีบริษัทระดับโลกเข้าไปร่วมลงทุน
.
นอกจากนี้ในขณะที่โลกกำลังหมุนไปข้างหน้าพร้อมกับกระแสปัญญาประดิษฐ์ (Ai) แต่ประเทศไทยไม่ได้มีส่วนร่วมใด ๆ เลยกับการผลิตหรืออยู่ในสายป่านการผลิตสินค้าประเภทนี้เลย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง


Part 2/3
.
3 เศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญอย่างจีนอยู่ระหว่างปรับเปลี่ยนนโยบายด้านเศรษฐกิจและการค้า เพื่อเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้าง
.
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 ที่จีนดำเนินยุทธศาสตร์ Dual Circulation เพื่อเพิ่มอุปสงค์ในประเทศ ลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ และเพิ่มบทบาทสินค้าส่งออกของจีนในตลาดโลก ตรงนี้เองที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบเต็ม ๆ เห็นได้จาก สัดส่วนการส่งออก ‘ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์’ จากไทยไปจีนลดลงเกือบ 10% ในปี 2566 ไม่เพียงเท่านั้นการส่งออกสินค้าประเภทนี้ไปในอาเซียนก็ทำได้ยากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากจีนร่วมมือกับตะวันออกกลางเข้าไปลงทุนผลิตในประเทศอาเซียน อย่างมาเลเซีย
.
ไม่เพียงเท่านั้นยังมีสถานการณ์ overcapacity ของจีนที่ก่อให้เกิดการไหลทะลักของสินค้าจีนเข้าสู่ตลาดโลก สถานการณ์ดังกล่าวกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์
.
4 ความท้าทายจากปัญหา climate change และ geopolitics
.
ในเรื่องร้าย ยังมีเรื่องดี แต่ก็ยังไม่วายเจอสภาพอากาศซะอีก
.
สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารของไทยยังพอมีแรงที่จะทำให้การส่งออกสินค้าของไทยในปีนี้ฟื้นตัวและกลับมาเป็นบวกได้ (เช่นทุเรียน) ทว่าผลผลิตจากเกษตรกรไทยแย่ลงจากปัญหาสภาพภูมิอากาศ และต้นทุนที่ปรับสูงขึ้น (ก่อนหน้านี้ทีมงาน Reporter Journey เคยรายงานถึงสถานการณ์เกษตรกรสวนทุเรียนเจอต้นทุนกดดันรายได้)
.
ถึงแม้ประเทศกลุ่มอาเซียนจะได้รับอานิสงส์จากการย้ายฐานผลิตออกจากจีน แต่ผลบวกนี้ยังต้องติดตามว่าจะยั่งยืนแค่ไหน
.
5 นโยบายสนับสนุนการลงทุนและการส่งออกที่ไม่สอดคล้องกับบริบทโลกยุคใหม่
ในหัวข้อนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยชี้ให้เห็นถึงปัญหาของภาคการส่งออกไทยที่มีที่มาจาก 3 ปัจจัย ได้แก่
.
1)การชะลอตัวของการลงทุนจากต่างประเทศ เห็นได้จากเม็ดเงินลงทุนจาก FDI (Foreign Direct Investment หรือ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ) ที่ไหลเข้าไทยในปี 2566 มีเพียง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยอาเซียนอยู่ที่ 32,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจัยที่ 2)ข้อจำกัดด้านทักษะแรงงาน ที่ทักษะไม่สอดคล้องกับความต้องการของโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และ 3)การใช้สิทธิประโยชน์และการขยายความร่วมมือทางการค้าที่ยังทำได้จำกัด เห็นได้จาก ประเทศที่ไทยตกลงทำการค้าเสรีมี ‘น้อยกว่า’ เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน
.

Part 3/3
.
[จากนี้ประเทศไทยต้องทำอย่างไรต่อในสมรภูมิการส่งออก]
.
ประการแรก ประเทศไทยต้องพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตและความสามารถในการแข่งขัน ผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
.
ประการที่สอง ทบทวนการให้สิทธิประโยชน์จากเขตการค้าเสรี และขยายความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเข้ามาลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น
.
ประการที่สาม เพิ่มประสิทธิภาพแรงงานและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากต่างประเทศ เพื่อให้ไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในห่วงโซ่การผลิตสินค้าสำคัญของโลก
.
อ้างอิง: ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย
(https://www.bot.or.th/.../articles/article-2024jun25.html)
.....


.....