วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 04, 2567

การต่อสู้คดีพ่นสีกำแพงวังของ “บังเอิญ”


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
9 hours ago
·
Behind the wall: การต่อสู้คดีพ่นสีกำแพงวังของ “บังเอิญ” กับคำถามว่าด้วยสถานะโบราณสถาน
.
.
กำแพงก่อจากอิฐขึ้นมา เว้นช่องกำแพงก่อนจะฉาบปูนเข้าไป ทาสีเข้าไป แล้วจำเลยเอาสีมาพ่นทับ แต่ภายในนั้นน่าจะมีหลายชั้นมาก ๆ กว่าจะไปถึงพระบรมหาราชวัง ทั้งหมดทั้งมวล ก็แค่ก้อนอิฐอีกก้อนในกำแพงใหญ่
.
ในวันเกิดอายุครบ 25 ปี ของ ‘บังเอิญ’ ศิลปิน Art Punk เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2566 เขาตัดสินใจเดินทางจากขอนแก่นเพียงลำพังเข้ากรุงเทพฯ เพื่อไปแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ถึงการให้ยกเลิกมาตรา 112 และเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้กับนักโทษทางการเมืองที่กำลังอดอาหารประท้วงขออิสรภาพคืน
.
เวลาประมาณ 17.50 น.ของวันนั้นขณะกำลังใช้สีสเปรย์พ่นกำแพงพระบรมมหาราชวังได้เพียงตัวอักษร P และสัญลักษณ์สองอย่าง เจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย ที่อยู่ละแวกนั้นพอดีก็เข้าจับกุม ก่อนถูกควบคุมตัวไป สน.พระราชวัง และถูกแจ้ง 2 ข้อกล่าวหา ในชั้นสอบสวนเขาให้การปฏิเสธ ก่อนได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในวันถัดมา ด้วยหลักทรัพย์ 50,000 บาท พร้อมเงื่อนไขห้ามกระทำการใดในลักษณะเดียวกันนี้อีก
.
ราว 3 เดือนต่อมา วันที่ 10 พ.ค. 2566 พนักงานอัยการส่งฟ้องระบุเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ มาตรา 32 และ พ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาตรา 12 บังเอิญยืนยันให้การปฏิเสธอีกครั้ง ก่อนได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวโดยใช้หลักทรัพย์เดิม กระทั่งศาลอาญานัดสืบพยานระหว่างวันที่ 28-29 พ.ค. 2567 โดยสืบพยานโจทก์ไป 6 ปาก เป็นตำรวจ 5 ปาก และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรอีก 1 ปาก และสืบพยานจำเลยคือตัวบังเอิญเอง 1 ปาก
.
สำหรับแนวทางการต่อสู้คดี บังเอิญยอมรับในข้อหาขีดเขียนกำแพงในที่สาธารณะ ตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ ส่วนประเด็นเรื่อง พ.ร.บ.โบราณสถานฯ สู้ว่า พระบรมหาราชวังไม่ได้เป็นโบราณสถาน เพราะไม่อยู่ในประกาศรายชื่อโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร ตามที่กรมศิลปากรได้จัดทำขึ้นเมื่อปี 2566 และสิ่งที่จำเลยทำไม่ใช่การทำลายโบราณสถาน เป็นเพียงการพ่นสีสัญลักษณ์ข้อเรียกร้องให้ปรากฏต่อสาธารณชน ที่ทำให้เกิดความเลอะเทอะเปรอะเปื้อน แต่กำแพงนั้นยังคงอยู่ไม่ได้เสียหายหรือพังทลาย ทั้งนี้ศาลนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 4 ก.ค. 2567
.
.
อ่านรายงานสืบพยานประมวลสถานการณ์คดีทั้งหมดก่อนฟังคำพิพากษา : https://tlhr2014.com/archives/68387