วันอังคาร, มกราคม 10, 2566

สรุปประเด็น ช้อปปิ้งงานวิจัยเพื่อใส่ชื่อตัวเอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต้นสังกัด take action แล้ว


Poetry of Bitch
18h

สรุปประเด็น ช้อปปิ้งงานวิจัยเพื่อใส่ชื่อตัวเอง
:
1- นักวิชาการไทยในต่างประเทศคนหนึ่งออกมาแฉว่า เดี๋ยวนี้มีการซื้อขายออนไลน์เพื่อให้ได้ใส่ชื่อตัวเองเป็นผู้แต่งงานวิจัยโดยไม่ต้องทำจริง ขั้นตอนคือเข้าไปอ่านงานวิจัยในเว็บขาย แล้วก็เลือกว่าอยากให้มีชื่อตัวเองอยู่ในงานไหน

2- จากนั้นก็เลือกว่าอยากให้ชื่อตัวเองอยู่ในลำดับที่เท่าไหร่ (งานวิจัยที่มีผู้แต่งหลายคนจะเรียงชื่อตามลำดับความสำคัญและการมีส่วนร่วม) ถ้าอยู่ลำดับแรกก็แพงหน่อย ลำดับถัดมาก็ราคาลดหลั่นลงไป เลือกได้แล้วก็กด “ซื้อ” และชำระเงิน

3- เมื่อได้ผู้แต่งครบแล้ว งานวิจัยผีนี้ก็จะถูกส่งไปตีพิมพ์ แล้วคนที่จ่ายเงินก็ไปเอามาเคลมเป็นผลงานวิชาการของตัวเองได้เลย

4- ผลประโยชน์ที่ตามมาคือ คนซื้อสามารถเอางานวิจัยนี้มาเป็นโปรไฟล์ของตัวเองได้, ใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการได้, เอาไปขอทุนจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อถอนทุนคืนที่จ่ายไปได้

5- ปรากฏว่ามีชื่อนักวิจัยไทยไปปรากฏอยู่ในงานวิจัยประเภทนี้หลายสิบชิ้น เช่น งานวิจัยเรื่องวัสดุนาโน ชื่อผู้แต่งลำดับที่ 1 คือ “อาจารย์เอ” (นามสมมุติ) จากมหาวิทยาลัยชื่อดังทางภาคเหนือ และชื่อที่ 3 “อาจารย์บี” (นามสมมุติ) จากวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง

6- ข้อสังเกตเกี่ยวงานวิจัยผีพวกนี้คือ ผู้แต่งร่วมจะมาจากหลายประเทศคนละมุมโลก เช่นงานวิจัยวัสดุนาโนมีผู้แต่ง 9 คน มาจาก 5 ประเทศ คือไทย, อินเดีย, อิรัก, อิหร่าน, ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งแน่นอนว่าส่วนใหญ่พวกเขาไม่รู้จักกัน แค่มากด F งานวิจัยชิ้นเดียวกัน

7- ข้อสังเกตอีกอย่างสำหรับงานวิจัยประเภทนี้คือ นักวิจัยมักทำวิจัยข้ามศาสตร์เหมือนช้อปไปเรื่อย เช่น เมื่อเอาชื่ออาจารย์เอไปค้นหาในฐานข้อมูลพบว่าทำวิจัยข้ามศาสตร์แบบโหดมาก เช่น วิจัยการเกษตร, คริปโตเคอเรนซี, เศรษฐศาสตร์การเงิน, จริยธรรมอิสลามในอินโดนีเซีย, อุตสาหกรรมการศึกษาในรัสเซีย ฯลฯ แต่อาจารย์เอกลับไม่เคยเขียนบทความภาษาไทยเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้เลย

8- เรื่องนี้นำไปสู่การตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับอาจารย์เอว่า เดิมทีในปี 2019 อาจารย์เอมีงานวิจัยแค่ชิ้นเดียว แต่จู่ ๆ ในปี 2020 มีเพิ่มเป็น 40 ชิ้น และในปี 2021 มีเพิ่มเป็น 90 ชิ้น

9- ต่อมามีคนในแวดวงวิชาการออกมาแฉเพิ่มอีกว่า อาจารย์เอจ่ายเงินซื้อชื่อผู้แต่งลำดับที่ 1 ในราคา 900 ดอลลาร์ (ประมาณ 30,000 บาท) แล้วนำงานวิจัยไปเบิกเงินกับมหาวิทยาลัย 1.2 แสนบาท ได้เงินส่วนต่าง 90,000 บาท

10- เรื่องนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงร้อนแรงในแวดวงวิชาการและการวิจัย เหล่านักวิชาการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบและจัดการขั้นเด็ดขาดเพราะถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง

—————
อ่านโพสต์ที่เกี่ยวข้อง

- ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา (ไบโอเทค สวทช.): https://m.facebook.com/100000897943637/posts/6274033299303206/?d=n&mibextid=qC1gEa

- รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ (ม.เกษตรศาสตร์): https://m.facebook.com/100002409589575/posts/5813120082111587/?d=n&mibextid=qC1gEa

- รศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (ม.เชียงใหม่): https://m.facebook.com/100001112120990/posts/5865170866863259/?d=n&mibextid=qC1gEa

- ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร (ศิริราชพยาบาล): https://twitter.com/manopsi/status/1611961412301230080...

- นิภา คาสึยะ เตชะวิทยโยธิน (นักวิชาการไทยในต่างประเทศ): https://www.facebook.com/Nipha.../posts/538263081656070