วันจันทร์, มกราคม 09, 2566

“โป๊ะแตกวงวิชาการอาจารย์มหา’ลัย” ซื้องานวิจัย ๓ หมื่น เบิกคืนได้แสนสอง

“โป๊ะแตกวงวิชาการอาจารย์มหาลัย” มันเป็นอย่างที่ Chattiya Waenphet เค้าว่าเสียด้วย “วงการวิชาการไทยนี่ตกต่ำดำมืด จมดิ่งลงไปเรื่อยๆ ในวิชามาร จริงๆ นะครับ” Jessada Denduangboripant เน้นหนักเข้าไปอีก

ดูเหมือนว่า Weerachai Phutdhawong รายนี้เปิดฉากเรื่อง “มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่คนหนึ่ง ไปตีพิมพ์ในเรื่องของวัสดุนาโนเป็นชื่อที่หนึ่งโดยจ่ายค่าตีพิมพ์ไป ๓๐,๐๐๐ บาท โดยที่สายงานอยู่เทคนิคการแพทย์ ไม่ใช่วัสดุศาสตร์

แล้วนำบทความที่ตีพิมพ์นั้นมาเบิกกับมหาวิทยาลัยจำนวน ๑๒๐,๐๐๐ บาท นี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต้องสืบสวนสอบสวนครับ เพราะตอนนี้มีเว็บไซต์ที่ขายการเอาชื่อไปแปะในวารสารวิชาการ กำลังเป็นประเด็นอยู่” #CHES ศูนย์ประสานงานบุคคลากรอุดมศึกษาไล่คุ้ย

Pinkaew Laungaramsri อาจารย์ มช.ช่วยแฉ “ถ้าเข้าไปเสิร์ชชื่ออาจารย์ มช.ที่กำลังเป็นที่พูดถึงอยู่ในขณะนี้ ดูประวัติการตีพิมพ์บทความภาษาอังกฤษใน academia edu และ loop.frontiersin.org เราจะพบเรื่องที่น่าประหลาดใจยิ่งขึ้นไปอีก” เพราะ

“ไม่ได้มีแค่บทความข้ามศาสตร์เกี่ยวกับวิศวกรรม ที่ไม่ใช่ field ของเขาเท่านั้น แต่ยังมีบทความเกี่ยวกับเกษตร crypto-currency เศรษฐศาสตร์การเงิน...บางบทความก็เป็นการวิจัยในรัสเซีย ในอินโดนีเซีย ในโลกมุสลิม ฯลฯ นี่แสดงว่าทำมานานแล้ว”

@manopsi อธิบายเพิ่ม “เรื่องการซื้อ authorship ไม่ได้มีประโยชน์แค่การนำไปใช้ขอตำแหน่งวิชาการ แต่มีการนำไปหาประโยชน์เป็นตัวเงินได้ด้วย ตัวอย่างรายนี้คือรางวัลตีพิมพ์กำไรเห็น ๆ บางแห่งมีรางวัล citation ด้วย

ปีนึงได้เงินเยอะมาก เก็บกินเป็น passive income ได้เลย” manopsi ยังบอกด้วยว่า “ถือเป็นเรื่องร้ายแรงมากระดับเดียวกับ data fabrication และ plagiarism ซึ่ง ผู้บริหารต้องจัดการครับ สิ่งนี้ถือเป็น unforgivable sin ในวงการวิจัย”

สาเหตุส่วนหนึ่งตามที่ อจ.เจษฎาว่า “มาจากการที่แต่ละสถาบันการศึกษา เอาแต่บ้า ranking นับจำนวนผลงานตีพิมพ์แข่งกันอยู่ได้ เลยไปเกิดแรงกดดันมาที่คณาจารย์ ให้ต้องทำอะไรร้ายๆ ไปด้วย หึๆๆ” แต่รายที่จับโป๊ะกันได้ทำอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

“มีผลงานตีพิมพ์เกินครึ่งร้อยภายในไม่กี่ปี ลองคูณด้วยแสนต่อชิ้น ก็จะรู้ว่าร่ำรวยกันขนาดไหน” อจ.ปิ่นแก้วแฉต่อ “คำอธิบายหนึ่งคือระบบนี้ออกแบบมาเพื่อควบคุมคุณภาพของราชภัฏ” อจ.พวงทอง เสริม “แต่ที่แน่ๆ คือมหาลัยดังๆ นี่แหละที่เละตุ้มเป๊ะ”

ด้าน Pavin Chachavalpongpun ก็มา “ย้ำอีกที มหาลัยไทยเน้นที่เปลือก ไม่เน้นเนื้อใน เน้นพิธีกรรม ไม่เน้นการพัฒนาการศึกษาและองค์กร มหาลัยจะเป็นจะตายเมื่อเด็กนักศึกษาเลิกหมอบกราบรูปปั้นผู้ก่อตั้งมหาลัย” แต่เฉยกับการผิดจริยธรรม

(https://www.facebook.com/phutdhawong/posts/2Z2auyeVPl และ https://twitter.com/manopsi/status/1611961412301230080)