วันจันทร์, มกราคม 09, 2566

PRIDI Talks #19: 111 ปี ชาตกาล ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ "สิทธิมนุษยชนกับความเท่าเทียมทางเพศในรัฐธรรมนูญไทย"


PRIDI Talks #1PRIDI Talks #19: 111 ปี ชาตกาล ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ "สิทธิมนุษยชนกับความเท่าเทียมทางเพศในรัฐธรรมนูญไทย"

PRIDI Institute

Streamed live 14 hours ago


ชานันท์ ยอดหงษ์
ผู้รับผิดชอบนโยบายด้านอัตลักษณ์และความหลากหลายทางเพศ พรรคเพื่อไทย
.
บทบาททางเพศกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เพราะเวลาเราพูดถึงห้วงเวลาเหล่านี้ก็จะมองไม่ออกว่าสตรีนั้นอยู่ตรงไหน ส่วนหนึ่งก็เพราะคณะราษฎรเองเป็นกลุ่มชายล้วนด้วย แต่ก่อนหน้านี้ก็มีกระแสธารการเคลื่อนไหวของขบวนการของผู้หญิงมาก่อนหน้านี้ รวมถึงสภาพสังคมในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มราษฎรอยู่แล้ว ไม่ว่าจะทั้งเพศชายและเพศหญิงในด้านความคิด เพศ และการต่อสู้กับสภาพสังคมที่มีลักษณะเป็นปิตาธิปไตยอยู่แล้วด้วย...
.
เมื่อมองกลับไปในช่วง 90 ปี ที่เราผ่านมา จะเห็นว่าผู้หญิงมีบทบาทอย่างมาก และเมื่อมองกลับมาในปัจจุบัน การเกิดขึ้นของกลุ่มคณะราษฎร 2563 ที่พวกเราเรียกกันเองด้วยและถูกนิยามด้วยนั้น มีผู้หญิงจำนวนมาก มีคนหลากหลายทางเพศเป็นคนรุ่นใหม่ เป็นคนที่ชูสามนิ้ว ซึ่งเป็นข้อที่น่าดีใจตรงที่ว่าจากคณะราษฎร 2475 ที่เสนอหลัก 6 ประการที่ทำให้ประเทศเรามีพัฒนาการขึ้นมาเรื่อยๆ ในตอนนี้เหลือเพียง 3 ประการ ซึ่งสามข้อนี้ก็มีเพดานความคิดที่สูงขึ้นเข้าใจปัญหาเชิงโครงสร้างสังคมมากขึ้น เข้าใจบริบททางสังคมและการเมืองที่เข้มข้นมากขึ้น แม้ว่าเราจะมองว่าเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่พวกเธอเองก็เป็นแกนนำด้วย..


ศ.ดร.ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น
อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
University of Wisconsin-Madison สหรัฐอเมริกา
.
15 ปี ก่อน เป็นครั้งที่มีกลุ่มนักกฎหมายเฟมินิสต์แคนาดาที่ตั้งตัวเป็น Women's Court of Canada แม้ว่าในศาลสูงสุดในแคนาดาก็มีผลักให้รัฐสภาเปลี่ยนกฎหมายเพื่อเอาความเท่าเทียมกันอยู่ในกฎหมาย ในความเป็นจริงทางปฏิบัติ ศาลไม่ค่อยดึงหรือตราความเท่าเทียมมาใช้ แม้ว่ากฎหมายที่มีก็พอใช้ได้ ศาลก็ยังอยุติธรรม ศาลก็ได้เลือกคำพิพากษามา 6 อันที่ออกมาเรียบร้อยแล้ว แล้วก็กลับไปคิดว่า "ถ้าจะเขียนใหม่ในเชิงที่มีความเท่าเทียมกันและเพื่อต่อสู้กับปิตาธิปไตย ศาลจะเขียนอย่างไร" และศาลจะใช้กฎหมายที่มีอยู่ตอนนี้อย่างไร
.
หนทางไปสู่ความเท่าเทียม ฉันนึกถึงกวีเฟมินิสต์คนหนึ่งพูดว่า "ไม่มีทางที่จะเปลี่ยนโลกของเรา ถ้าหากเราไม่ได้จินตนาการว่าอยากเห็นอะไรบ้าง" ในแง่หนึ่งคิดว่าการร่างคำวินิจฉัยใหม่ การให้ประชาชนเขียนคำวินิจฉัยใหม่เป็นวิธีการจินตนาการถึงสังคมที่อยากจะให้เกิดขึ้น นี่เป็นวิธีหนึ่งทั้งการผลักดัน การเคลื่อนไหว และการเยียวยาหลังจากการถูกกดขี่ ต้องจินตนาการว่าอยากเห็นอะไรนี่เป็นส่วนที่ทำให้โลกแบบนั้นเกิดขึ้นได้จริง


ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล
ประธานคณะกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
.
สิทธิมนุษยชนตั้งต้นมาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (universal declaration of human rights) ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ไม่ว่ามนุษย์จะเกิดปัญหาอะไรหรือโลกเปลี่ยนไปแค่ไหน สิทธิขั้นพื้นฐานก็ยังคงเดิม ปัญหาสิทธิมนุษยชนจึงไม่ใช่แค่เทรนด์แต่มันมีราก เพียงแต่อาจมีบางเรื่องเด่นชัดขึ้นมาในบางช่วงเวลา บางสถานที่ แต่ละประเทศจึงมีจุดมุ่งเน้นแตกต่างกันตามบริบทสังคม [ที่มา The101.world]


ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์
อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกลและผู้กำกับภาพยนตร์ไทย
.
สิ่งที่ไม่หลุดจากพี่เลยแล้วเรารู้สึกผิดตั้งแต่เด็กจนโต คือความรู้สึกผิดที่เราเป็นกะเทย มันเป็นคำถามตั้งแต่เด็กตลอดเวลา ตั้งแต่เรียนหนังสือ หรือประเทศนี้มันผิดที่บอกว่าเราไม่เหมือนคนอื่น แล้วเราเลยกลายเป็นสิ่งที่ผิด
.
เราก็พยายามหาคำตอบนั้นอยู่ตลอดเวลา มันเกิดป็น passion ในการที่เราพยายามมากที่จะต่อสู้กับความเข้าใจของสังคม อคติของสังคม ผลักดันให้ตัวพี่พยายามที่จะแก้กฎหมายพยายามที่จะออกมาบอกสังคมว่า เราไม่ผิดที่เราเป็นกะเทย เพราะเมื่อเราเกิดมาเราบอกตัวเองเหมือนกันว่า เราเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากคนอื่น แล้วทำไมกฎหมายถึงไม่ยอมรับ ถึงไม่เอื้อให้เรามีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเหมือนกับคนอื่น...นี่คือเป็นอุดมการณ์แรกว่าทำไมถึงมาสมัครเป็น ส.ส. และเป็นอุดมการณ์ที่เมื่อทำหนังเรื่องแรกของเรา "Insects in the Backyard" (แมลงรักในสวนหลังบ้าน)
.
มันคือหนังที่พี่ต้องการจะ educate โลกใบนี้ ว่าโลกใบนี้มีกำแพงที่มองไม่เห็น ทำให้ทุกคนน่ะไม่เข้าใจในความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ต้องการบอกโลกใบนี้ว่าเราก็เป็นมนุษย์ไม่แตกต่างจากทุกคนเหมือนกัน


ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล
กลุ่มราษฎร
.
หนูมักจะถูกสังคมมองและตั้งคำถามว่าเป็นผู้หญิงเป็นผู้นำได้เหรอ เป็นผู้หญิงทำแบบนั้นไหวเหรอ แต่ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชาย หรือว่าเป็นเพศทางเลือกไหนๆ ทุกคนมีสิ่งเดียวที่เท่าเทียมกันคือศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ที่เหมือนกัน
.
เราทุกคนคือแกนนำ เพราะฉะนั้นราษฎรทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการจะเรียกร้องและในการที่จะพูดส่งเสียงถึงปัญหาของตัวเอง มีจุดประสงค์ร่วมกัน มีข้อเรียกร้องร่วมกัน... มีหลายเรื่องในสังคมที่คนเริ่มเห็นว่าไม่เมคเซนส์ มันไม่ถูกต้อง คนก็เริ่มเข้าใจแล้วว่าในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศที่บอกว่าเป็นประชาธิปไตย


ธนกร วงษ์ปัญญา
บรรณาธิการข่าวในประเทศ
สำนักข่าว THE STANDARD
.
"สื่อมวลชน มีส่วนสำคัญที่จะช่วยขยายเสียงของความเท่าเทียมทางเพศในประเทศนี้ให้ดังขึ้น เป็นลำโพงที่ช่วยสื่อสารความเข้าใจ ให้พื้นที่ความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ได้เบ่งบาน และเติบโตอย่างลงหลักปักฐานมั่นคงในสังคมของเรา"