เรื่อง ‘ด้านได้’ ไม่มีใครเกินพวกกำอำนาจในไตแลนเดีย เมื่อหนึ่งในเมนูงานเลี้ยงกาล่าดินเนอร์สำหรับผู้นำประเทศที่มาร่วมประชุมเอเป็คคือ ‘ปลากุเลาเค็มตากใบ’ ใช้อ้างเป็น ‘soft power’ ผลิตผลอาหารทะเลโดดเด่นภาคใต้
ที่ไหนได้ ชาวประมงพื้นบ้านบ่น “เค้าเอาปลาจากที่อื่นมาใช้” ทั้งที่ “ผลผลิตของชาวบ้านได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI ถึง ๙ เเห่ง เเต่กลับไม่มีใครถูกสั่งซื้อเพื่อนำขึ้นโต๊ะ จึงไม่อยากให้นำชื่อ ‘ตากใบ’ มาใช้”
พิชญา เพชรเเก้ว เจ้าของร้านป้าเบญปลากุเลาเจ้าเก่า เผยว่า “พวกเราที่ทำปลาเค็มก็คุยกันว่า ไม่มีเจ้าไหนที่ถูกสั่งไปขึ้นโต๊ะ คือเราไม่ได้ติดใจ” แต่ว่า “ถ้าเอามาจากที่ไหนก็ควรจะไปใช้เรื่องราวของที่นั้นนี่เค้าเอาเรื่องปลาเค็มตากใบไปโปรโมท”
อีกราย ศิริพร อับดุลมาดิน ชาวมุสลิมที่ได้รับการถ่ายทอดการทำปลากุเลาเค็ม จากสูตรของชาวจีนโพ้นทะเลและบุพชนในท้องที่แต่โบราณกาล ยืนยันว่าปลากุเลาตากใบ “ไม่มีใครเหมือน รสชาติก็เเตกต่าง เมื่อคนกินเเล้วเค้าก็รู้ เราทำมาหลายรุ่น” อย่างใส่ใจ
ด้านชาวบ้านชุมชนโอรังปันตัย จังหวัดปัตตานี “ที่ถูกใช้ภาพในการเผยแพร่ผ่านสื่อ ชี้ว่าทางกลุ่มก็ไม่ได้ถูกสั่งซื้อปลากุเลาเค็มเช่นกัน แต่มีการนำภาพของกลุ่มที่มีลายน้ำของสมาคม ชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานีชัดเจน ไปใช้”
ฤๅว่า ซ้อฟพาวเวอร์แท้จริง คือนิสัยประจำชาติของผู้มีอำนาจและศักดินา มาจากสันดอนเดียวกัน ดังได้เห็นภาพโพสต์ของ Somsak Jeamteerasakul เป็นโปสเตอร์การแสดงดนตรีซิมโฟนี่ สองสวี้ท หนึ่งออร์เคสตร้า กับหนึ่งคอนแชร์โต
โดยวงบางกอกซิมโฟนี่ ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ วันศุกรที่ ๒๕ กับเสาร์ที่ ๒๖ พฤศจิกา มีลดราคา ๕๐% สำหรับนักเรียนและผู้สูงอายุด้วยนะ แต่ความวิเศษสุดอยู่ที่ ซิมโฟนี่คอนเสิร์ทมเหาฬารครั้งนี้ Compositions by HRH Princess ล้วนๆ เลยละ
“โถ แม่คุณ เก่งอะไรจะปานนั้น” สศจ.ชื่นชมซะ น้ำหูน้ำตาแทบจะไหล
(https://www.facebook.com/tichila.phutthasaraphan/posts/pfbid02vq9Ts)