วันอังคาร, พฤศจิกายน 08, 2565

หลายคนอาจสงสัยว่าการประชุม COP27 ที่ถูกพูดถึงในช่วงนี้ จริง ๆ แล้วมันคือการประชุมเรื่องอะไร ❓และทำไมมันถึงส่งผลต่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ?



#ClimateJustice #ความเป็นธรรมทางภูมิอากาศ 🌏 ทุกคนอาจกำลังสงสัยว่าการประชุม COP27 ที่ถูกพูดถึงอย่างมากในช่วงนี้ จริง ๆ แล้วมันเป็นการประชุมในเรื่องอะไร และทำไมมันถึงยังสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยอีกด้วย?

ตัวแทนฝั่งภาครัฐ เหล่านักการเมือง นักวิทยาศาสตร์จากหลากหลายแขนง นักเคลื่อนไหวสิทธิ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ภาคธุรกิจจากทั่วทุกมุมโลกซึ่งรวมถึงกลุ่มบริษัทผู้ค้าน้ำมันขนาดใหญ่ของโลก องค์กรระหว่างประเทศ และองค์กรอื่น ๆ ได้เดินทางมายังเมืองติดทะเลอย่างเมืองชาร์มเอลซีค ประเทศอียิปต์เพื่อมาเข้าร่วมงานประชุม COP27: การประชุมภาคี (Conference of Parties) ครั้งที่ 27 ซึ่งเป็นการประชุมที่รัฐภาคีต่าง ๆ ที่ได้ลงนามภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้ว่าการประชุมระดับสูงนี้จะนำทางไปสู่การพัฒนาดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศในอนาคต แต่ในขณะเดียวกันกลับกลายเป็นเวทีสำหรับการฟอกเขียว (Greenwashing) การรับเรื่องประเด็นปัญหาแค่ในนาม และการจำกัดพื้นที่ของภาคประชาสังคม

อย่างไรก็ตาม ในการหารือกันเรื่องสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อสิทธิมนุษยชนของทั้งชุมชนในประเทศไทยอย่างไร?

➡️ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเขตร้อนและอาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ในเร็ววัน ชุมชนในประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องมีประชาคมระหว่างประเทศในที่ประชุม COP27 เพื่อดำเนินการอย่างจริงจังและกระตือรือร้นเพื่อจัดการต่อภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ (Climate Emergency)ในขณะเดียวกัน สิทธิมนุษยชนต้องถูกนำมาเป็นศูนย์กลางของขั้นตอนการดำเนินการดังกล่าว เพื่อเป็นการยืนยันว่าชุมชนท้องถิ่นในไทยจะไม่ได้รับผลกระทบทางลบในการดำเนินกระบวนการนี้ ซึ่งนี่กลับเป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยมักไม่รับฟังและยังส่งเสริมให้อนุญาตให้มีการฟอกเขียวโดยภาครัฐและ วิธีแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างไม่ถูกต้อง!

➡️ในการประชุม COP26 ของปีที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศเป้าหมายที่ผ่านการแก้ไขใหม่ในเรื่องความเป็นกลางของคาร์บอน (2050) และ net-zero (2065) และได้เน้นย้ำว่าประเทศไทยจะต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลได้จริง ในปีนี้ คณะผู้แทนรัฐบาลไทยยังคงมุ่งหน้าแสวงหาแหล่งทุนและการสนับสนุนการดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ผิดพลาดของพวกเขา ในการประชุม COP27 เราจะต้องได้ทราบถึงแหล่งที่มาของทุนที่จ่ายให้แก่รัฐบาลไทยซึ่งเป็นการสนับสนุนทางอ้อมในการบังคับขับไล่ชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนที่อยู่อาศัยในป่า: ชุมชนผู้พิทักษ์ป่า อีกทั้งยังทำเสมือนกับพวกเขาเป็นอาชญากรและทำให้ชาวบ้านมีคดีติดตัว!

➡️ ภาคประชาสังคมซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมาจากทางฝั่งทางใต้ กำลังมุ่งหน้าผลักดันให้เกิดแหล่งทุนสำหรับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนแห่งใหม่ต่อเรื่องการสูญเสียและความเสียหาย: ผลกระทบด้านลบของน้ำท่วม พายุไซโคลน การกลายเป็นทะเลทราย ฯลฯ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แหล่งทุนดังกล่าวจะมีความสำคัญอย่างมากในการสนับสนุนชุมชนในประเทศไทยที่กำลังเผชิญปัญหาสภาพอากาศที่รุนแรง ที่พวกเขากลับเป็นกลุ่มที่ส่งผลให้เกิดภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศที่น้อยที่สุด!

อ่านต่อ http://bit.ly/3t7TpaI

ที่มา Manushya Foundation
.....

รอบโลก by กรุณา บัวคำศรี
10h

WMO เผย 8 ปีที่ผ่านมาเป็น 8 ปีร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์
.
เมื่อวานนี้องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ WMO หน่วยงานด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศฉบับใหม่ โดยหวังว่ารายงานจะมีส่วนทำให้บรรดาผู้นำเร่งดำเนินการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างจริงจังในการประชุม COP27 หรือ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 27 ที่เปิดฉากแล้วเมื่อวานนี้ที่เมืองชาร์ม เอล ชีค ประเทศอียิปต์
.
รายงานของ WMO ฉบับนี้เปิดเผยว่า ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา เป็นช่วง 8 ปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
.
และเมื่อเทียบกับยุคอุตสาหกรรมในช่วงปี 1850-1900 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปีนี้สูงขึ้นที่ 1.15 องศาเซลเซียสแล้ว มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
.
โดยยังห่างไกลจากเป้าหมายที่ประชาคมโลกจะจำกัดอุณหภูมิไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาฯ นับตั้งแต่ลงนามในความตกลงปารีสเมื่อปี 2015 ซึ่งหากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงเกิน 2 องศาฯ จะทำให้สิ่งมีชีวิตทั่วโลก รวมถึงมนุษย์เองจะได้รับผลกระทบร้ายแรง
.
ก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้นในชั้นบรรยากาศส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเกือบ 10 มิลลิเมตร นับตั้งแต่ปี 2020 เป็นระดับสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์
.
ขณะที่การสูญเสียมวลน้ำแข็งของธารน้ำแข็งก็มากเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ของยุโรป อย่างในสวิตเซอร์แลนด์ ปริมาณน้ำแข็งธารน้ำแข็งในช่วงปี 2021-2022 หายไปมากถึงร้อยละ 6
.
นอกจากนี้ยังระบุถึงผลกระทบจากสภาพอากาศสุดขั้วที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ
.
ทั้งแอฟริกาตะวันออกที่ต้องเผชิญภัยแล้งยาวนานที่สุดในรอบ 40 ปี และทำให้ประชาชนกว่า 10 ล้านคนต้องเผชิญกับวิกฤตความไม่มั่นคงทางอาหาร
.
หรือวิกฤตน้ำท่วมในปากีสถานที่ทำให้คน 1,700 รายเสียชีวิต ส่วนอีก 7.9 ล้านคนต้องพลัดถิ่น ตลอดจนคลื่นความร้อน โดยเฉพาะในยุโรปที่นำไปสู่วิกฤตไฟป่าและระดับน้ำในแม่น้ำที่ลดลงอย่างมาก
.
สถานการณ์โลกร้อนในปัจจุบันและรายงานที่ถูกปล่อยออกมาของ WMO ชี้ให้เห็นว่าประชาคมโลกยังพยายามไม่มากพอในการแก้ไขปัญหา
.
ติดตามเพิ่มเติมได้ในรายการ #รอบโลกDaily คืนนี้ เวลา 20.30-21.40 น. ทางช่อง #PPTVHD36 #ข่าวต่างประเทศ #รอบโลกbyกรุณาบัวคำศรี