วันอาทิตย์, เมษายน 24, 2565
iLaw ชวนแสดงความคิดเห็นเรื่อง ศาลควรเปิดเผยชื่อจริงของผู้พิพากษาที่ออกคำสั่ง/คำพิพากษา ในแต่ละคดีหรือไม่ ?
iLaw
13h ·
ชวนแสดงความคิดเห็น! คุณคิดว่าศาลควรเปิดเผยชื่อจริงของผู้พิพากษาที่ออกคำสั่ง/คำพิพากษาในแต่ละคดีหรือไม่
.
กด เพื่อโหวต ไม่ควร กรณีเห็นว่ากระทบสิทธิความเป็นส่วนตัว
กด เพื่อโหวต ควร กรณีเห็นว่าต้องโปร่งใสต่อสาธารณะ
กด เพื่อโหวต ไม่แน่ใจ กรณีเห็นว่าควรจะแล้วแต่กรณี
.
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 ในการนัดไต่สวนเงื่อนไขประกันตัวของลูกเกด ชลธิชา นักกิจกรรมที่ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามมาตรา 112 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีดังกล่าวได้ตักเตือนว่าศาลและผู้บริหารทุกคนถูกคุกคามจากโพสต์สาธารณะที่มีการระบุถึงชื่อผู้พิพากษา ทั้งนี้ศาลได้มีแนวทางในการจัดการในกรณีที่ทนายความเป็นคนโพสต์ โดยจะแจ้งให้สภาทนายความทราบ ส่วนถ้าเป็นประชาชนเป็นคนทำทางสำนักงานของศาลจะดำเนินคดี
.
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การพิจารณาคดีของศาลเป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้องเที่ยงธรรม และเพื่อรับประกันว่าจำเลยจะได้รับสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเท่าเทียม มีหลักกฎหมายสำคัญอย่างหนึ่งที่เรียกว่า การพิจารณาคดีโดยเปิดเผย (Public Trial) เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (Right to Fair Trial)
.
หมายความว่า ระหว่างการพิจารณาคดีไม่ว่าในข้อหาใดก็ตาม ครอบครัว ญาติ เพื่อนฝูง องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน หรือประชาชนคนทั่วไปที่สนใจอยากทราบรายละเอียดในการพิจารณาคดี ต้องสามารถเข้าไปร่วมรับฟังกระบวนการไต่สวนในศาลได้ การพิจารณาคดีโดยเปิดเผย จะช่วยรับรองว่า หากมีการใช้กฎหมาย หรือกระบวนการพิจารณาคดีดำเนินไปอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีการดำเนินคดีที่ลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างโจ่งแจ้ง ความไม่ถูกต้องนั้นจะปรากฏต่อสายตาสาธารณะ อาจจะเป็นข่าวหรือถูกวิพากษ์วิจารณ์ต่อไปได้
.
อย่างไรก็ดี ในกรณีพิเศษศาลอาจสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับก็ได้ แต่จะทำได้เมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น และต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายให้อำนาจไว้ โดยหลักการดังกล่าวต่างก็ถูกรับรองไว้ทั้งในกฎหมายไทยและเป็นหลักสากลที่ทั่วโลกใช้ https://ilaw.or.th/node/5881
.
เมื่อการพิจารณาคดีของศาลจะต้องเป็นไปอย่างเปิดเผยแล้ว จึงเกิดข้อสงสัยว่า เมื่อสังคมต้องการรับรู้ ศาลก็ควรจะเปิดเผยรายชื่อผู้พิพากษาที่พิจารณาและออกคำสั่งต่างๆ นั้นหรือไม่ เพื่อให้ทั้งกระบวนการพิจารณาเป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ปราศจากข้อครหาใดๆจากสังคม
.
คุณมีความเห็นว่าอย่างไร ร่วมแสดงความเห็นกับเราได้เลย!