เอ สถานีตำรวจนี่ไปเผือกเรื่องเพิกถอนพ้าสปอร์ตได้เหรอ คนที่พ้าสปอร์ตหมดอายุไปนานแล้วสงสัย รึว่าตำหวดไทยยุคที่ทำคดีความผิด ม.๑๑๒ มากๆ เข้าแล้วเกิดศักดาแก่กล้า กลายเป็นผู้ชำนาญการ ‘เพิกถอน’ แบบเดียวกับศาลเพิกถอนประกัน
เหตุจาก พรรณิการ์ วานิช กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า จะไปทำพ้าสปอร์ตใหม่ เจ้าหน้าที่สำนักงานปทุมวันแจ้งว่าไม่สามารถทำให้ได้ เพราะมีหนังสือจาก สน.พญาไท สั่งเพิกถอนไว้ พร้อมกับของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และปิยบุตร แสงกนกกุล
อ้างว่าบุคคลทั้งสามเป็นผู้ต้องหาคดีอาญา มาตรา ๑๑๖ (ก่อการร้าย สร้างความวุ่นวาย) เมื่อถูกซักถามลงรายละเอียด เจ้าหน้าที่ผู้นั้นบอกให้ไปสอบถามกับฝ่ายตรวจสอบประวัติ กรมการกงสุล กต. ตนชี้แจงอะไรไม่ได้ แม้แต่เนื้อความในหนังสือคำสั่ง
‘ช่อ’ เผยว่าจะไปถามที่ สน.เองเลย ออกคำสั่งได้อย่างไร “ทั้งที่คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการ ยังไม่มีคำสั่งศาลห้ามเดินทางออกนอกประเทศ” เสียหน่อย ข่าวระบุว่าคดีที่ สน.ใช้อ้างนี้เป็นกรณีที่ ‘สมีอิสระ’ สุวิทย์ ทองประเสริฐ เป็นคนฟ้องเอาไว้
คดีผูกพันกับการทำงานการเมืองเมื่อครั้งดำเนินการพรรคอนาคตใหม่ คดียังอยู่ในชั้นอัยการ ว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง นัดหมายให้ไปฟังคำสั่งศาลในวันที่ ๑๙ พฤษภานี้ อีก ๑ เดือนข้างหน้า กะว่าศาลจะห้ามออกนอกประเทศหรือไร จึงได้ถอนพ้าร์สปอร์ตแต่เนิ่น
พฤติกรรมทำเกินเหตุของเจ้าหน้าที่ในกระบวนยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นตำรวจหรือศาลนั้น นอกจากละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว บ่อยครั้งถ้าตีความกฎหมายให้ถ่องแท้ จะพบว่าเป็นการละเมิดกฎหมายด้วยซ้ำไป แต่ก็ยังอ้างข้างๆ คูๆ ทำกันอย่างเหลิงระเริง
ดังคดี ๑๑๒ ของ ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ นักกิจกรรมปฏิรูปสถาบันกลุ่ม ‘ทะลุวัง’ วัย ๒๐ ปี จากการทำโพลเมื่อวันที่ ๘ กุมภา ถามประชาชนบนท้องถนนว่า ขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่ กับการไลฟ์สดทางเฟชบุ๊คก่อนมีขบวนเสด็จ เมื่อวันที่ ๕ มีนา
หนึ่งเดือนหลังจากที่ ‘ตะวัน’ ได้ประกันตัว (วงเงินประกัน ๑ แสนบาท) ตำรวจ สน.นางเลิ้งได้ยื่นคำร้องของถอนประกัน อ้างว่าตะวันทำผิดเงื่อนไขการประกันตัว ด้วยการทำเฟชบุ๊คไล้ฟ์และโพสต์ข้อความเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเมื่อ ๑๗ มีนา ของในหลวง ร.๑๐
ศาลก็ไปค้นหาข้อมูลปรักปรำตะวันว่าได้ไปอยู่ในบริเวณที่มีการเสด็จจริงๆ เมื่อวันที่ ๖ และ ๑๕ เมษา โดยไม่ได้ตั้งใจจะไปรอรับเสด็จ และไม่ใช่จะไปกินแม้คดอแนลด์แต่อย่างใด แม้ทนายเตรียมยื่นขอประกันอีกครั้ง ในวงเงิน ๑ แสนเช่นกัน ศาลก็ไม่ยอม
ทั้งยังมีการนำตัวตะวันกลับไปคุมขังในทัณฑสถานหญิงทันที “มีความน่าสนใจว่า เหตุใดเจ้าหน้าที่ต้องเร่งรัดนำตัวทานตะวันไปที่เรือนจำ โดยไม่ให้รอฟังคำสั่งประกันเสียก่อน” iLaw ตั้งข้อสังเกตุ เช่นเดียวกับที่ ‘ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน’ ชี้ถึงวิธีการไม่ปกติ
คือ ศาลนำข้อเท็จจริงนอกคำร้องของตำรวจมาไต่สวนเพิ่มเติม “ศาลอ้างว่าหาข้อมูลดังกล่าวมาเอง โดยไม่แจ้งล่วงหน้าก่อนว่าจะทำการไต่สวนข้อเท็จจริงดังกล่าว” หรือนี่เป็นกลเม็ดเด็ดพรายของศาล ดังทนายให้ความเห็น
ว่า “ทำให้ผู้ต้องหาไม่มีโอกาสได้ตรวจสอบ และแสวงหาข้อเท็จจริงมาต่อสู้คดีอย่างเต็มที่” จุดมุ่งหมายเพื่อจะพิพากษาเอาผิดและลงโทษแก่ผู้ต้องหาให้จงได้ ยิ่งกว่าหลักการ ‘impartiality’ ไม่ให้คุณให้โทษแก่ผู้ถูกกล่าวหามากไปทางใดทางหนึ่ง
(https://twitter.com/TLHR2014/status/1516707806862139401, https://www.facebook.com/299528675550/posts/10166470804260551/?d=n และ https://www.facebook.com/TheOpenerThailand/photos/a.116265180222714/504668148049080)