“กล่าวโทษ ม.112 ข้ามจังหวัด” ภาพสะท้อนปัญหาความผิดอาญาแผ่นดิน
โดย ilaw-freedom
1 เมษายน 2022
ในช่วงปี 2563-2565 เกิดปรากฏการณ์การดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (Lèse-majesté) เป็นจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยคดีส่วนใหญ่มาจากการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ ทั้งโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงทางการเมืองและคนที่ไม่ได้เป็นที่รู้จัก เพียงแค่ระบายความรู้สึกในพื้นที่การแสดงออกของตัวเอง
ลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของมาตรา 112 คือเป็นกฎหมายที่ “ใครฟ้องก็ได้” หรืออธิบายในทางกฎหมายได้ว่า มาตรา 112 บัญญัติอยู่ในหมวด “ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่จำเป็นต้องให้ผู้เสียหายตัดสินใจริเริ่มคดีเอง แต่ “ใครก็ได้” ที่พบเห็นการกระทำและสงสัยว่า เป็นการกระทำความผิดก็สามารถเอาพฤติการณ์ไปแจ้งต่อตำรวจเพื่อให้ตำรวจสืบสวนสอบสวน และดำเนินคดีได้เลย โดยตำรวจยังคงมีดุลพินิจที่จะตัดสินใจดำเนินคดีนั้นหรือไม่ก็ได้ ปัจจัยเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คดีมาตรา 112 เกิดขึ้นจำนวนมาก และเกิดขึ้นได้ง่าย ในหลากหลายพื้นที่ทั่วประเทศ
จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน นับตั้งแต่เริ่มมีการเผยแพร่รายชื่อผู้ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 มีผู้ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกในข้อหาตามมาตรา 112 แล้วทั้งสิ้นอย่างน้อย 183 คน อย่างน้อย 194 คดี ในจำนวนนี้เป็นคดีที่เกิดจาก “ประชาชน” เป็นผู้ไปกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน มากถึง 87 คดี
ปัญหาที่ต่อเนื่องจากการริเริ่มคดีโดย “ใครก็ได้” คือ คดีจำนวนไม่น้อยริเริ่มขึ้นในสถานีตำรวจที่ผู้กล่าวหาสะดวก แต่เป็นจังหวัดที่อยู่ห่างไกลจากที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ผู้ต้องหามีภาระต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาและต่อสู้คดีในศาล ณ จังหวัดที่ได้มีการไปกล่าวโทษไว้ ตัวอย่างเช่น
คดีที่ริเริ่มในจังหวัดห่างไกล สร้างภาระให้ผู้ต้องหา
“บุญลือ” (นามสมมติ) อายุ 24 ปีอาศัยอยู่ในจังหวัดสุโขทัย ต้องเดินทางไปรายงานตัวตามหมายเรียกในคดี มาตรา 112 จากจากคอมเมนต์เรื่องลักษณะที่ดีของกษัตริย์ และเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในเฟซบุ๊ก ที่สภ.ทุ่งคาโงก อำเภอเมือง จังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 คดีนี้มีนางสาวกัลฐิตา ชวนชม ซึ่งทำงานอยู่ที่จังหวัดพังงาเป็นผู้กล่าวหา โดยก่อนการแจ้งความทั้งสองคนเคยโต้เถียงกันบนเฟซบุ๊ก ทำให้นางสาวกัลฐิตาตัดสินใจไปแจ้งความ
“ธิดา” (นามสมมติ) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในจังหวัดเชียงใหม่ ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ในข้อหามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการเผยแพร่คลิปวิดีโอใน TikTok ลิปซิงค์เพลงที่เป็นกระแสนิยมเล่นกันในช่วงเดือนสิงหาคม 2564 ที่สภ.เมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 คดีนี้มีนายชุมพล ศรีวิชัยปัก เป็นผู้กล่าวโทษ
“อาร์ม” (นามสมมติ) หนุ่มวัย 20 ปี ที่อาศัยอยู่ในเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกในข้อหามาตรา 112 จากการทำคลิปวิดีโอใน Tiktok มีกล่าวคำว่า “รอ9 รอ10” ที่สภ.เมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2565 คดีนี้มีนายพุทธ พุทธัสสะ ชาวจังหวัดกำแพงเพชรเป็นผู้กล่าวโทษ
“พอล” (นามสมมติ) หนุ่มวัย 30 ปี ชาวจังหวัดลพบุรี ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกในข้อหามาตรา 112 จากการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในเฟซบุ๊กจำนวน 3 ข้อความ ที่สภ.ขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 คดีนี้มีนายฤทธิชัย คชฤทธิ์ เป็นผู้กล่าวโทษ ซึ่งเป็นคนที่อยู่อาศัยในจังหวัดกำแพงเพชร โดยกล่าวหาเขาไว้ตั้งแต่ต้นปี 2564
คดีที่ริเริ่มโดย “นักแจ้งความ” หน้าซ้ำๆ
จากตัวอย่างคดีที่มี “ใครก็ได้” ไปกล่าวโทษผู้ต้องหาในพื้นที่จังหวัดห่างไกลจากตัวผู้ถูกกล่าวหา ในหลายคดีพบว่า ผู้ที่กล่าวโทษเป็นบุคคลเดิมที่กล่าวโทษให้ดำเนินคดีหลายคน หลายคดี ดังนี้
พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน แห่งสุไหงโกลก
“กัลยา” (นามสมมติ) อายุ 27 ปี อาศัยอยู่ที่ จ.นนทบุรี ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกในคดี มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการคอมเม้นต์ในเฟซบุ๊กพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่สภ.สุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 โดยคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
ชัยชนะ ประชาชนวัย 32 ปี อยู่อาศัยในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ถูกตำรวจเข้าจับกุมที่บ้านพักตามหมายจับของศาลจังหวัดนราธิวาส ในคดีมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสเฟซบุ๊ก 4 ข้อความ และนำตัวไปยังสภ.สุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 15 กันยายน 2564 โดยคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
"วารี" (นามสมมติ) พนักงานรับจ้างอิสระ อายุ 23 ปี ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ต้องเดินทางไปไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ในคดีมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการนำภาพข้อความจากทวิตเตอร์เกี่ยวกับการเลือกปกป้องกษัตริย์ของตำรวจและนำมาโพสต์ลงเฟซบุ๊กส่วนตัว ที่สภ.สุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 โดยคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
“ภารดี” (นามสมมติ) บรรณารักษ์ห้องสมุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกในคดี มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการแชร์และเขียนข้อความประกอบบนเฟซบุ๊ก จำนวน 6 โพสต์ ที่สภ.สุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 โดยคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
อุดม ประชาชนวัย 33 ปี อาศัยอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี ได้รับหมายเรียกจาก สภ.สุไหงโก-ลก ในคดีมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเกี่ยวกับกษัตริย์ 7 ข้อความ โดยอุดมได้เดินทางไปรับทราบข้อกล่าวเพียงลำพังเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ในคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
ธนพัฒน์ หรือ ปูน ทะลุฟ้า นักกิจกรรมทางการเมืองที่อาศัยและทำกิจกรรมเคลื่อนไหวอยู่ในกรุงเทพฯ ต้องเดินทางไปรับทราบข้อหาตามหมายเรียกในคดี มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์เฟซบุ๊ก 8 ข้อความในกลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส-ตลาดหลวง เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ก่อนหน้านั้นธนพัฒน์ไม่ทราบว่าตนเองถูกออกหมายเรียกในคดีนี้มาก่อน จนเมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2564 ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้นำผู้ถูกออกหมายเรียกในคดีมาตรา 112 อีกคดีหนึ่ง เข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.สุไหงโก-ลก จึงได้ทราบจากพนักงานสอบสวนว่ามีการออกหมายเรียกธนพัฒน์ไปแล้ว 2 ครั้ง แต่เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถส่งหมายถึงมือผู้ต้องหาได้ และเตรียมจะไปขอศาลออกหมายจับ เช่นเคยในคดีนี้ ในคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
ตำรวจที่สภ.สุไหง-โกลก แจ้งกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน เป็นผู้มาแจ้งความกล่าวโทษบุคคลอื่นในข้อหาตาม มาตรา 112 ต่อประชาชนอย่างน้อย 20 ราย ที่สถานีตำรวจแห่งนี้
อุราพร และศิวพันธุ์ แห่งสมุทรปราการ
“นคร” (นามสมมติ) อายุ 28 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และช่างรับจ้างแต่งหน้า ที่อยู่อาศัยในจังหวัดเชียงราย ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาในคดีมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการแชร์ข้อความของผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “Thai Athoist เพจคนไม่เชื่อพระเจ้า V2” เกี่ยวกับรัชกาลที่ 1 ที่สภ.บางแก้ว จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 โดยคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ ศิวพันธุ์ มานิตย์กุล คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
พิพัทธ์ (สงวนนามสกุล) อายุ 20 ปี ชาวจังหวัดพิษณุโลก ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ในคดีมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์ภาพ 1 ภาพลงกลุ่มเฟซบุ๊ก “รอยัลลิสต์ มาร์เก็ตเพลส” ที่สภ.บางแก้ว จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 โดยคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ อุราพร สุนทรพจน์ คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
ภัทร (นามสมมติ) เยาวชนอายุ 16 ปี นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ในคดีมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากกรณีโพสข้อความเกี่ยวกับรัชกาลที่ 9 ในกลุ่มเฟซบุ๊ก “รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส” ที่สภ.บางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 โดยคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ อุราพร สุนทรพจน์ คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่าในคดีมาตรา 112 ซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ สภ.บางแก้ว มี 12 คดีแล้ว ซึ่งเกิดจากการไปกล่าวโทษของประชาชนสองราย คือ ศิวพันธุ์ มานิตย์กุล และ อุราพร สุนทรพจน์ โดยทั้งหมดเป็นการไปแจ้งความไว้ตั้งแต่เมื่อช่วงกลางปี 2563 ผู้ถูกดำเนินคดีหลายรายเคยได้รับหมายเรียกพยานมาก่อนแล้ว ก่อนตำรวจจะเริ่มมีการดำเนินคดีในปี 2564
กฎหมายมีทางออกเพื่อลดภาระผู้ต้องหา หากตำรวจจริงใจ
การ “กล่าวโทษ” คือ การที่ “ใครก็ได้" ที่ไม่ใช่ผู้เสียหายไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีบุคคลได้กระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นขั้นตอนริเริ่มของการดำเนินคดีเพื่อให้ตำรวจใช้อำนาจหน้าที่ดำเนินการต่อไป หากเห็นว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริง และมีพยานหลักฐานมากเพียงพอที่จะกล่าวหาผู้ใดได้ ก็จะทำสำนวนส่งให้พนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องคดี ประชาชนที่ไปกล่าวโทษจึงมีบทบาทจริงๆ เป็นผู้ “ริเริ่ม” ให้คดีเกิดขึ้น ในเอกสารสำนวนคดีจะเรียกว่า “ผู้กล่าวหา" แต่ไม่ได้หมายความว่าประชาชนที่เข้ากล่าวโทษเป็น “ผู้ฟ้องคดี” ด้วยตัวเอง
ในการริเริ่ม “กล่าวโทษ” โดย “ใครก็ได้” เช่นนี้อาจจะเริ่มขึ้นที่สถานที่แห่งใดก็ได้ที่ผู้กล่าวโทษสะดวกเดินไปหาตำรวจ แต่หากตำรวจที่รับแจ้งเรื่องไม่มีอำนาจในการดำเนินคดี ก็อาจจะไม่รับแจ้งเรื่องได้และให้ผู้กล่าวโทษไปแจ้งเรื่องต่อตำรวจที่มีอำนาจให้ถูกต้อง หากตำรวจที่รับแจ้งเรื่องเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่มีเขตอำนาจดำเนินคดีนั้นๆ ได้ ก็เป็นหน้าที่ที่จะต้องรับเรื่องไว้ดำเนินการต่อ
และเมื่อตำรวจในท้องที่ใดเป็นผู้ดำเนินคดีสืบสวน สอบสวน แสวงหาพยานหลักฐาน และทำสำนวนแล้ว ก็จะเป็นผู้ส่งฟ้องต่อพนักงานอัยการ และศาลในท้องที่นั้น ทำให้การดำเนินคดีตลอดทั้งคดี รวมทั้งหากศาลตัดสินให้จำเลยต้องรับโทษจำคุก ก็ต้องกระทำขึ้นภายในเขตพื้นที่นั้นๆ ทั้งกระบวนการ
โดยหลักเขตอำนาจสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 กำหนดว่า ตำรวจที่จะมีอำนาจดำเนินคดีต้องเป็นตำรวจในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งซึ่ง
1) มูลเหตุของคดีเกิดขึ้น
2) ผู้ต้องหามีที่อยู่
3) ผู้ต้องหาถูกจับ
หากเป็นตำรวจในท้องที่ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคดีตามข้อใดข้อหนึ่งในสามข้อ ก็ไม่มีอำนาจดำเนินคดีได้ แม้จะมีผู้มาแจ้งเรื่องกล่าวโทษก็ไม่อาจดำเนินคดีให้ได้
ตัวอย่างเช่น หากนาย A อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร แต่ไปเป็นลูกจ้างร้านค้าแห่งหนึ่งที่จังหวัดนนทบุรีและได้ทำการขโมยของนายจ้างในขณะที่นายจ้างไม่อยู่โดยหลบหนีและถูกจับที่จังหวัดนครปฐมในภายหลัง หากนายจ้างทราบเรื่องแต่ขณะนั้นอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ นายจ้างจะไปแจ้งความกล่าวโทษกับตำรวจที่จังหวัดนครสวรรค์ไม่ได้ เนื่องจากไม่ใช่สถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้น ไม่ใช่ที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับ
หรืออย่างในกรณีคดีที่เกี่ยวกับการปราศรัย หากนาย B กล่าวปราศรัยในพื้นที่กรุงเทพมหาครอันจะเข้าข่ายผิดมาตรา 112 โดยมีที่อยู่ในจังหวัดนนทบุรี และถูกจับที่จังหวัดนครปฐม ปรากฎว่ามีนายแดงที่ฟังปราศรัยในพื้นที่นั้น โทรไปเล่าให้นายดำที่อยู่จังหวัดเชียงใหม่ฟังว่านาย B ปราศรัยผิดมาตรา 112 นายดำจีงไปแจ้งเรื่องกล่าวโทษกับตำรวจที่จังหวัดเชียงใหม่ เช่นนี้ ตำรวจต้องไม่รับเรื่องเนื่องจากไม่มีอำนาจตามกฎหมายให้ดำเนินคดีได้ รวมถึงไม่อาจเอาตัวนาย B ไปดำเนินคดีที่เชียงใหม่ได้ด้วย
การกำหนดไว้ในมาตรา 18 เช่นนี้ โดยกำหนดให้ตำรวจในท้องที่ซึ่งผู้ต้องหามีที่อยู่มีอำนาจดำเนินคดีด้วย ก็เพื่อความสะดวกของผู้ต้องหาหรือไม่ให้เป็นภาระในการเดินทางกับผู้ต้องหาและญาติมากจนเกินไป แต่หลักการนี้ก็ยังมีช่องโหว่มากในกรณีที่การกระทำที่เป็นมูลเหตุของคดีนั้นๆ เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ หรือเกิดขึ้นในพื้นที่สื่อมวลชน เพราะผู้ที่พบเห็นข้อความไม่ว่าพบเห็นที่ใด ก็จะถือว่าพื้นที่ที่พบเห็นเป็นพื้นที่ที่มูลเหตุของคดีเกิดขึ้นได้ และเมื่อไปกล่าวโทษต่อตำรวจในพื้นที่ที่พบเห็นข้อความ ตำรวจเจ้าของพื้นที่ที่คดีเกิดขึ้นก็มีหน้าที่ต้องรับเรื่องไว้ดำเนินการต่อ โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่า มีเหตุความจำเป็นใดที่ผู้กล่าวโทษต้องริเริ่มคดีในพื้นที่นั้นๆ ช่องโหว่นี้เปิดให้คดีมาตรา 112 โดยเฉพาะที่เกิดจากการโพสข้อความบนโลกออนไลน์สามารถนำมาใช้กลั่นแกล้งดำเนินคดีในพื้นที่ห่างไกลเพื่อให้ผู้ต้องหาพบกับความยากลำบากได้ง่าย
อย่างไรก็ดี ปัญหาการกล่าวโทษคดีมาตรา 112 ในพื้นที่ห่างไกลเช่นนี้ยังพอมีทางแก้ไขได้ หากองค์กรของตำรวจ มีความ “จริงใจ” ที่จะแก้ไขปัญหานี้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 วรรคสาม กำหนดไว้ว่า
“ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา 19 มาตรา 20 และมาตรา 21 ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดยปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนั้นๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวกจึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ”
ดังนั้น สำหรับคดีที่ชัดเจนว่า เป็นการจงใจกล่าวโทษในพื้นที่ห่างไกลโดยไม่มีเหตุผลอื่นนอกจากเพื่อให้ผู้ต้องหามีภาระเพิ่มขึ้นในการเดินทางไปต่อสู้คดี และอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้ต้องหาเกินความจำเป็น ตำรวจในพื้นที่ที่รับแจ้งความก็อาจใช้ดุลพินิจตามมาตรา 18 โดยอ้างเหตุ “เพื่อความสะดวก“ หรือ “มีเหตุจำเป็น” และประสานงานให้ตำรวจในท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินคดีต่อได้ โดยตำรวจในท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ก็ต้องยินดีรับคดีไปดำเนินการแทน
จากข้อมูลการดำเนินคดีมาตรา 112 ในพื้นที่ห่างไกลจากที่อยู่ของผู้ต้องหา คดีส่วนใหญ่มีการส่งหมายเรียกให้ผู้ต้องหาไปรายงานตัวอย่างถูกต้องตามขั้นตอน หมายความว่า ตำรวจที่รับแจ้งเรื่องจากผู้กล่าวโทษจะต้องสืบสวนจนทราบตัวผู้ต้องสงสัยและที่อยู่ของผู้ต้องสงสัยแล้ว หากตำรวจเห็นแล้วว่า ผู้ต้องหามีที่อยู่ห่างไกลและไม่สะดวกในการเดินทาง ก็อาจใช้อำนาจมาตรา 18 วรรคสามเพื่อสั่งให้ดำเนินคดีนี้ในท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ได้ โดยเริ่มขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวนในท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ เพื่อจะได้ขึ้นศาลและดำเนินการขั้นตอนอื่นๆ ในพื้นที่ที่ไม่เป็นภาระแก่ผู้ต้องหาเกินไป
ในทางปฏิบัติหากตำรวจนายเดียวต้องการแก้ปัญหานี้เพื่อความสะดวกของผู้ต้องหา อาจจะแก้ไขไม่ได้ เพราะต้องอาศัยความยินยอมและความร่วมมือจากตำรวจในท้องที่อื่นด้วย แต่หากสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีความ “จริงใจ” ที่จะแก้ไขปัญหา และทำเป็นนโยบายให้ดำเนินคดีในข้อหาที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองเช่นนี้ในพื้นที่ที่ผู้ต้องหาสะดวก ก็สามารถทำได้ และจะเป็นประโยชน์ช่วยลดบรรยากาศความตึงเครียดของการใช้มาตรา 112 ลงได้มาก
ในช่วงปี 2563-2565 เกิดปรากฏการณ์การดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (Lèse-majesté) เป็นจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยคดีส่วนใหญ่มาจากการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ ทั้งโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงทางการเมืองและคนที่ไม่ได้เป็นที่รู้จัก เพียงแค่ระบายความรู้สึกในพื้นที่การแสดงออกของตัวเอง
ลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของมาตรา 112 คือเป็นกฎหมายที่ “ใครฟ้องก็ได้” หรืออธิบายในทางกฎหมายได้ว่า มาตรา 112 บัญญัติอยู่ในหมวด “ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร” ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่จำเป็นต้องให้ผู้เสียหายตัดสินใจริเริ่มคดีเอง แต่ “ใครก็ได้” ที่พบเห็นการกระทำและสงสัยว่า เป็นการกระทำความผิดก็สามารถเอาพฤติการณ์ไปแจ้งต่อตำรวจเพื่อให้ตำรวจสืบสวนสอบสวน และดำเนินคดีได้เลย โดยตำรวจยังคงมีดุลพินิจที่จะตัดสินใจดำเนินคดีนั้นหรือไม่ก็ได้ ปัจจัยเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คดีมาตรา 112 เกิดขึ้นจำนวนมาก และเกิดขึ้นได้ง่าย ในหลากหลายพื้นที่ทั่วประเทศ
จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน นับตั้งแต่เริ่มมีการเผยแพร่รายชื่อผู้ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 มีผู้ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกในข้อหาตามมาตรา 112 แล้วทั้งสิ้นอย่างน้อย 183 คน อย่างน้อย 194 คดี ในจำนวนนี้เป็นคดีที่เกิดจาก “ประชาชน” เป็นผู้ไปกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน มากถึง 87 คดี
ปัญหาที่ต่อเนื่องจากการริเริ่มคดีโดย “ใครก็ได้” คือ คดีจำนวนไม่น้อยริเริ่มขึ้นในสถานีตำรวจที่ผู้กล่าวหาสะดวก แต่เป็นจังหวัดที่อยู่ห่างไกลจากที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ผู้ต้องหามีภาระต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาและต่อสู้คดีในศาล ณ จังหวัดที่ได้มีการไปกล่าวโทษไว้ ตัวอย่างเช่น
คดีที่ริเริ่มในจังหวัดห่างไกล สร้างภาระให้ผู้ต้องหา
“บุญลือ” (นามสมมติ) อายุ 24 ปีอาศัยอยู่ในจังหวัดสุโขทัย ต้องเดินทางไปรายงานตัวตามหมายเรียกในคดี มาตรา 112 จากจากคอมเมนต์เรื่องลักษณะที่ดีของกษัตริย์ และเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในเฟซบุ๊ก ที่สภ.ทุ่งคาโงก อำเภอเมือง จังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 คดีนี้มีนางสาวกัลฐิตา ชวนชม ซึ่งทำงานอยู่ที่จังหวัดพังงาเป็นผู้กล่าวหา โดยก่อนการแจ้งความทั้งสองคนเคยโต้เถียงกันบนเฟซบุ๊ก ทำให้นางสาวกัลฐิตาตัดสินใจไปแจ้งความ
“ธิดา” (นามสมมติ) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในจังหวัดเชียงใหม่ ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ในข้อหามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการเผยแพร่คลิปวิดีโอใน TikTok ลิปซิงค์เพลงที่เป็นกระแสนิยมเล่นกันในช่วงเดือนสิงหาคม 2564 ที่สภ.เมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 คดีนี้มีนายชุมพล ศรีวิชัยปัก เป็นผู้กล่าวโทษ
“อาร์ม” (นามสมมติ) หนุ่มวัย 20 ปี ที่อาศัยอยู่ในเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกในข้อหามาตรา 112 จากการทำคลิปวิดีโอใน Tiktok มีกล่าวคำว่า “รอ9 รอ10” ที่สภ.เมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2565 คดีนี้มีนายพุทธ พุทธัสสะ ชาวจังหวัดกำแพงเพชรเป็นผู้กล่าวโทษ
“พอล” (นามสมมติ) หนุ่มวัย 30 ปี ชาวจังหวัดลพบุรี ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกในข้อหามาตรา 112 จากการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในเฟซบุ๊กจำนวน 3 ข้อความ ที่สภ.ขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 คดีนี้มีนายฤทธิชัย คชฤทธิ์ เป็นผู้กล่าวโทษ ซึ่งเป็นคนที่อยู่อาศัยในจังหวัดกำแพงเพชร โดยกล่าวหาเขาไว้ตั้งแต่ต้นปี 2564
คดีที่ริเริ่มโดย “นักแจ้งความ” หน้าซ้ำๆ
จากตัวอย่างคดีที่มี “ใครก็ได้” ไปกล่าวโทษผู้ต้องหาในพื้นที่จังหวัดห่างไกลจากตัวผู้ถูกกล่าวหา ในหลายคดีพบว่า ผู้ที่กล่าวโทษเป็นบุคคลเดิมที่กล่าวโทษให้ดำเนินคดีหลายคน หลายคดี ดังนี้
พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน แห่งสุไหงโกลก
“กัลยา” (นามสมมติ) อายุ 27 ปี อาศัยอยู่ที่ จ.นนทบุรี ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกในคดี มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการคอมเม้นต์ในเฟซบุ๊กพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่สภ.สุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 โดยคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
ชัยชนะ ประชาชนวัย 32 ปี อยู่อาศัยในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ถูกตำรวจเข้าจับกุมที่บ้านพักตามหมายจับของศาลจังหวัดนราธิวาส ในคดีมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสเฟซบุ๊ก 4 ข้อความ และนำตัวไปยังสภ.สุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 15 กันยายน 2564 โดยคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
"วารี" (นามสมมติ) พนักงานรับจ้างอิสระ อายุ 23 ปี ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ต้องเดินทางไปไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ในคดีมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการนำภาพข้อความจากทวิตเตอร์เกี่ยวกับการเลือกปกป้องกษัตริย์ของตำรวจและนำมาโพสต์ลงเฟซบุ๊กส่วนตัว ที่สภ.สุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 โดยคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
“ภารดี” (นามสมมติ) บรรณารักษ์ห้องสมุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียกในคดี มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการแชร์และเขียนข้อความประกอบบนเฟซบุ๊ก จำนวน 6 โพสต์ ที่สภ.สุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 โดยคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
อุดม ประชาชนวัย 33 ปี อาศัยอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี ได้รับหมายเรียกจาก สภ.สุไหงโก-ลก ในคดีมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเกี่ยวกับกษัตริย์ 7 ข้อความ โดยอุดมได้เดินทางไปรับทราบข้อกล่าวเพียงลำพังเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ในคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
ธนพัฒน์ หรือ ปูน ทะลุฟ้า นักกิจกรรมทางการเมืองที่อาศัยและทำกิจกรรมเคลื่อนไหวอยู่ในกรุงเทพฯ ต้องเดินทางไปรับทราบข้อหาตามหมายเรียกในคดี มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์เฟซบุ๊ก 8 ข้อความในกลุ่มรอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส-ตลาดหลวง เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ก่อนหน้านั้นธนพัฒน์ไม่ทราบว่าตนเองถูกออกหมายเรียกในคดีนี้มาก่อน จนเมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2564 ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้นำผู้ถูกออกหมายเรียกในคดีมาตรา 112 อีกคดีหนึ่ง เข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.สุไหงโก-ลก จึงได้ทราบจากพนักงานสอบสวนว่ามีการออกหมายเรียกธนพัฒน์ไปแล้ว 2 ครั้ง แต่เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถส่งหมายถึงมือผู้ต้องหาได้ และเตรียมจะไปขอศาลออกหมายจับ เช่นเคยในคดีนี้ ในคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
ตำรวจที่สภ.สุไหง-โกลก แจ้งกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า พสิษฐ์ จันทร์หัวโทน เป็นผู้มาแจ้งความกล่าวโทษบุคคลอื่นในข้อหาตาม มาตรา 112 ต่อประชาชนอย่างน้อย 20 ราย ที่สถานีตำรวจแห่งนี้
อุราพร และศิวพันธุ์ แห่งสมุทรปราการ
“นคร” (นามสมมติ) อายุ 28 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และช่างรับจ้างแต่งหน้า ที่อยู่อาศัยในจังหวัดเชียงราย ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาในคดีมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการแชร์ข้อความของผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “Thai Athoist เพจคนไม่เชื่อพระเจ้า V2” เกี่ยวกับรัชกาลที่ 1 ที่สภ.บางแก้ว จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 โดยคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ ศิวพันธุ์ มานิตย์กุล คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
พิพัทธ์ (สงวนนามสกุล) อายุ 20 ปี ชาวจังหวัดพิษณุโลก ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ในคดีมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสต์ภาพ 1 ภาพลงกลุ่มเฟซบุ๊ก “รอยัลลิสต์ มาร์เก็ตเพลส” ที่สภ.บางแก้ว จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 โดยคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ อุราพร สุนทรพจน์ คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
ภัทร (นามสมมติ) เยาวชนอายุ 16 ปี นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง ต้องเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ในคดีมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากกรณีโพสข้อความเกี่ยวกับรัชกาลที่ 9 ในกลุ่มเฟซบุ๊ก “รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส” ที่สภ.บางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 โดยคดีนี้มีผู้กล่าวหา คือ อุราพร สุนทรพจน์ คนธรรมดาคนหนึ่งที่พบเห็นข้อความบนเฟซบุ๊กโดยไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่าในคดีมาตรา 112 ซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ สภ.บางแก้ว มี 12 คดีแล้ว ซึ่งเกิดจากการไปกล่าวโทษของประชาชนสองราย คือ ศิวพันธุ์ มานิตย์กุล และ อุราพร สุนทรพจน์ โดยทั้งหมดเป็นการไปแจ้งความไว้ตั้งแต่เมื่อช่วงกลางปี 2563 ผู้ถูกดำเนินคดีหลายรายเคยได้รับหมายเรียกพยานมาก่อนแล้ว ก่อนตำรวจจะเริ่มมีการดำเนินคดีในปี 2564
กฎหมายมีทางออกเพื่อลดภาระผู้ต้องหา หากตำรวจจริงใจ
การ “กล่าวโทษ” คือ การที่ “ใครก็ได้" ที่ไม่ใช่ผู้เสียหายไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีบุคคลได้กระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นขั้นตอนริเริ่มของการดำเนินคดีเพื่อให้ตำรวจใช้อำนาจหน้าที่ดำเนินการต่อไป หากเห็นว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริง และมีพยานหลักฐานมากเพียงพอที่จะกล่าวหาผู้ใดได้ ก็จะทำสำนวนส่งให้พนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องคดี ประชาชนที่ไปกล่าวโทษจึงมีบทบาทจริงๆ เป็นผู้ “ริเริ่ม” ให้คดีเกิดขึ้น ในเอกสารสำนวนคดีจะเรียกว่า “ผู้กล่าวหา" แต่ไม่ได้หมายความว่าประชาชนที่เข้ากล่าวโทษเป็น “ผู้ฟ้องคดี” ด้วยตัวเอง
ในการริเริ่ม “กล่าวโทษ” โดย “ใครก็ได้” เช่นนี้อาจจะเริ่มขึ้นที่สถานที่แห่งใดก็ได้ที่ผู้กล่าวโทษสะดวกเดินไปหาตำรวจ แต่หากตำรวจที่รับแจ้งเรื่องไม่มีอำนาจในการดำเนินคดี ก็อาจจะไม่รับแจ้งเรื่องได้และให้ผู้กล่าวโทษไปแจ้งเรื่องต่อตำรวจที่มีอำนาจให้ถูกต้อง หากตำรวจที่รับแจ้งเรื่องเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่มีเขตอำนาจดำเนินคดีนั้นๆ ได้ ก็เป็นหน้าที่ที่จะต้องรับเรื่องไว้ดำเนินการต่อ
และเมื่อตำรวจในท้องที่ใดเป็นผู้ดำเนินคดีสืบสวน สอบสวน แสวงหาพยานหลักฐาน และทำสำนวนแล้ว ก็จะเป็นผู้ส่งฟ้องต่อพนักงานอัยการ และศาลในท้องที่นั้น ทำให้การดำเนินคดีตลอดทั้งคดี รวมทั้งหากศาลตัดสินให้จำเลยต้องรับโทษจำคุก ก็ต้องกระทำขึ้นภายในเขตพื้นที่นั้นๆ ทั้งกระบวนการ
โดยหลักเขตอำนาจสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 กำหนดว่า ตำรวจที่จะมีอำนาจดำเนินคดีต้องเป็นตำรวจในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งซึ่ง
1) มูลเหตุของคดีเกิดขึ้น
2) ผู้ต้องหามีที่อยู่
3) ผู้ต้องหาถูกจับ
หากเป็นตำรวจในท้องที่ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคดีตามข้อใดข้อหนึ่งในสามข้อ ก็ไม่มีอำนาจดำเนินคดีได้ แม้จะมีผู้มาแจ้งเรื่องกล่าวโทษก็ไม่อาจดำเนินคดีให้ได้
ตัวอย่างเช่น หากนาย A อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร แต่ไปเป็นลูกจ้างร้านค้าแห่งหนึ่งที่จังหวัดนนทบุรีและได้ทำการขโมยของนายจ้างในขณะที่นายจ้างไม่อยู่โดยหลบหนีและถูกจับที่จังหวัดนครปฐมในภายหลัง หากนายจ้างทราบเรื่องแต่ขณะนั้นอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ นายจ้างจะไปแจ้งความกล่าวโทษกับตำรวจที่จังหวัดนครสวรรค์ไม่ได้ เนื่องจากไม่ใช่สถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้น ไม่ใช่ที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับ
หรืออย่างในกรณีคดีที่เกี่ยวกับการปราศรัย หากนาย B กล่าวปราศรัยในพื้นที่กรุงเทพมหาครอันจะเข้าข่ายผิดมาตรา 112 โดยมีที่อยู่ในจังหวัดนนทบุรี และถูกจับที่จังหวัดนครปฐม ปรากฎว่ามีนายแดงที่ฟังปราศรัยในพื้นที่นั้น โทรไปเล่าให้นายดำที่อยู่จังหวัดเชียงใหม่ฟังว่านาย B ปราศรัยผิดมาตรา 112 นายดำจีงไปแจ้งเรื่องกล่าวโทษกับตำรวจที่จังหวัดเชียงใหม่ เช่นนี้ ตำรวจต้องไม่รับเรื่องเนื่องจากไม่มีอำนาจตามกฎหมายให้ดำเนินคดีได้ รวมถึงไม่อาจเอาตัวนาย B ไปดำเนินคดีที่เชียงใหม่ได้ด้วย
การกำหนดไว้ในมาตรา 18 เช่นนี้ โดยกำหนดให้ตำรวจในท้องที่ซึ่งผู้ต้องหามีที่อยู่มีอำนาจดำเนินคดีด้วย ก็เพื่อความสะดวกของผู้ต้องหาหรือไม่ให้เป็นภาระในการเดินทางกับผู้ต้องหาและญาติมากจนเกินไป แต่หลักการนี้ก็ยังมีช่องโหว่มากในกรณีที่การกระทำที่เป็นมูลเหตุของคดีนั้นๆ เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ หรือเกิดขึ้นในพื้นที่สื่อมวลชน เพราะผู้ที่พบเห็นข้อความไม่ว่าพบเห็นที่ใด ก็จะถือว่าพื้นที่ที่พบเห็นเป็นพื้นที่ที่มูลเหตุของคดีเกิดขึ้นได้ และเมื่อไปกล่าวโทษต่อตำรวจในพื้นที่ที่พบเห็นข้อความ ตำรวจเจ้าของพื้นที่ที่คดีเกิดขึ้นก็มีหน้าที่ต้องรับเรื่องไว้ดำเนินการต่อ โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่า มีเหตุความจำเป็นใดที่ผู้กล่าวโทษต้องริเริ่มคดีในพื้นที่นั้นๆ ช่องโหว่นี้เปิดให้คดีมาตรา 112 โดยเฉพาะที่เกิดจากการโพสข้อความบนโลกออนไลน์สามารถนำมาใช้กลั่นแกล้งดำเนินคดีในพื้นที่ห่างไกลเพื่อให้ผู้ต้องหาพบกับความยากลำบากได้ง่าย
อย่างไรก็ดี ปัญหาการกล่าวโทษคดีมาตรา 112 ในพื้นที่ห่างไกลเช่นนี้ยังพอมีทางแก้ไขได้ หากองค์กรของตำรวจ มีความ “จริงใจ” ที่จะแก้ไขปัญหานี้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 วรรคสาม กำหนดไว้ว่า
“ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา 19 มาตรา 20 และมาตรา 21 ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจพนักงานสอบสวนคนใด โดยปกติให้เป็นหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้นั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนั้นๆ เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่เมื่อมีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวกจึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ”
ดังนั้น สำหรับคดีที่ชัดเจนว่า เป็นการจงใจกล่าวโทษในพื้นที่ห่างไกลโดยไม่มีเหตุผลอื่นนอกจากเพื่อให้ผู้ต้องหามีภาระเพิ่มขึ้นในการเดินทางไปต่อสู้คดี และอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้ต้องหาเกินความจำเป็น ตำรวจในพื้นที่ที่รับแจ้งความก็อาจใช้ดุลพินิจตามมาตรา 18 โดยอ้างเหตุ “เพื่อความสะดวก“ หรือ “มีเหตุจำเป็น” และประสานงานให้ตำรวจในท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินคดีต่อได้ โดยตำรวจในท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ก็ต้องยินดีรับคดีไปดำเนินการแทน
จากข้อมูลการดำเนินคดีมาตรา 112 ในพื้นที่ห่างไกลจากที่อยู่ของผู้ต้องหา คดีส่วนใหญ่มีการส่งหมายเรียกให้ผู้ต้องหาไปรายงานตัวอย่างถูกต้องตามขั้นตอน หมายความว่า ตำรวจที่รับแจ้งเรื่องจากผู้กล่าวโทษจะต้องสืบสวนจนทราบตัวผู้ต้องสงสัยและที่อยู่ของผู้ต้องสงสัยแล้ว หากตำรวจเห็นแล้วว่า ผู้ต้องหามีที่อยู่ห่างไกลและไม่สะดวกในการเดินทาง ก็อาจใช้อำนาจมาตรา 18 วรรคสามเพื่อสั่งให้ดำเนินคดีนี้ในท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ได้ โดยเริ่มขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวนในท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ เพื่อจะได้ขึ้นศาลและดำเนินการขั้นตอนอื่นๆ ในพื้นที่ที่ไม่เป็นภาระแก่ผู้ต้องหาเกินไป
ในทางปฏิบัติหากตำรวจนายเดียวต้องการแก้ปัญหานี้เพื่อความสะดวกของผู้ต้องหา อาจจะแก้ไขไม่ได้ เพราะต้องอาศัยความยินยอมและความร่วมมือจากตำรวจในท้องที่อื่นด้วย แต่หากสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีความ “จริงใจ” ที่จะแก้ไขปัญหา และทำเป็นนโยบายให้ดำเนินคดีในข้อหาที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองเช่นนี้ในพื้นที่ที่ผู้ต้องหาสะดวก ก็สามารถทำได้ และจะเป็นประโยชน์ช่วยลดบรรยากาศความตึงเครียดของการใช้มาตรา 112 ลงได้มาก