วันพุธ, พฤษภาคม 20, 2563

ดรามาจากการสอน #เรียนออนไลน์ เกิด #saveครูวัง




สรุปแฮชแท็ก #saveครูวัง
:
1- เมื่อวาน (18 พ.ค. 63) เป็นวันแรกที่กระทรวงศึกษาธิการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ อันเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19

2- ซึ่งก็เกิดปัญหาขลุกขลักหลายอย่าง เช่น เข้าเว็บไซต์และแอปไม่ได้ หาช่องไม่เจอ เว็บล่ม ฯลฯ จนทำให้แฮชแท็ก #เรียนออนไลน์ ขึ้นเทรนด์อันดับ 1 ทวิตเตอร์ประเทศไทย

3- ในส่วนของสื่อการสอนนั้น ทางกระทรวงได้นำเทปเก่า ซึ่งเป็นการสอนของครูจาก รร.วังไกลกังวลมาใช้ โดยวิชาแรกเป็นวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน ป.6 ซึ่งสอนโดยครูหญิงท่านหนึ่ง

4- เมื่อเทปการสอนนี้แพร่ภาพออกไป ก็เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการสอนของครูท่านนี้เป็นอย่างมาก ทั้งเรื่องการออกเสียงและการใช้แกรมม่าที่ไม่ถูกต้อง

5- เช่น คำถามที่ว่า “ทานมื้อเช้าหรือยัง” ครูสอนให้เด็กพูดว่า “Have you breakfast?” แทนที่จะพูดว่า Have you eaten breakfast? หรือ Have you had breakfast? นอกจากนี้ยังมีจุดผิดพลาดอีกหลายอย่างในสื่อการสอน เช่น การใช้เครื่องหมายจุลภาค เป็นต้น

6- จึงเกิดการตั้งคำถามถึงกระทรวงศึกษาธิการว่า ทำไมไม่มีการควบคุมคุณภาพสื่อการสอนให้ดีก่อนเผยแพร่ เพราะเด็กจะจำไปใช้ผิด ๆ

7- เมื่อเกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันในทวิตเตอร์ ครู รร.วังไกลกังวลคนหนึ่งก็ออกมาโพสต์ตัดพ้อว่า “ทวิตเตอร์สนุกไหม แต่ครูวังเหนื่อยมาก”

8- เกิดแฮชแท็ก #saveครูวัง ขึ้นในทวิตเตอร์ อ้างว่าแต่ละเทปกว่าจะได้มา ครูต้องทำงานหนักและเหนื่อยขนาดไหน ต้องทำสไลด์ข้ามวันข้ามคืน แต่กลับโดนด่าว่าเสีย ๆ หาย ๆ

9- รวมทั้งติงไม่ให้เหยียดสำเนียงครู เพราะแต่ละประเทศก็มีสำเนียงในการพูดภาษาอังกฤษที่แตกต่างกัน ขอให้ทุกคนให้เกียรติครูและไม่นำสำเนียงมาล้อเลียน

10- อีกฝ่ายก็ใช้แฮชแท็กเดียวกันตอบโต้ว่า ครูจะมาอ้างว่าเหนื่อยไม่ได้ ความเหนื่อยในการทำงานเป็นคนละประเด็นกับการสอนเนื้อหาผิด บอกว่าทำกันข้ามวันข้ามคืนแต่กลับทำได้แค่นี้ จนสุดท้ายเทปสอนผิด ๆ ออนแอร์ไปทั่วประเทศ

11- รวมทั้งตอบโต้ว่านี่ไม่ใช่การเหยียดสำเนียง แต่เป็นเรื่องของการออกเสียงผิด เช่นออกเสียง English เป็นอิงลิค Fine เป็นฟราย ฯลฯ อย่าลืมว่าครูสอนผิดเพียง 1 คน จะส่งต่อความรู้ที่ไม่ถูกต้องให้เด็กจำนวนมาก

—————
ฟังคลิปการสอนภาษาอังกฤษบางส่วนได้ที่นี่
👇🏼
https://twitter.com/golferic1/status/1262230641287983104…
...

ด้วยความที่เด็กนักเรียนไทยต้องหันมาเรียนออนไลน์จากวิกฤตโควิด-19 ชาวโลกมากขึ้นจึงมีโอกาสได้เห็นความเป็นจริงอันน่าอนาถของการเรียนสอนในประเทศไทย 1/5