เหมือนคนกำลังจะหมดรักกัน— █ Ghost Writer █ (@RITT41) May 21, 2020
พูดอะไรไป ก็ไม่มีใครฟัง.. 😂
>>>>
ทวิตเตอร์ปรับ "นโยบายความเป็นส่วนตัว" ส่งผลให้ผู้ใช้งานบางส่วนชวนกันเปลี่ยนแพลตฟอร์ม https://t.co/qr3s0KCtze
I’m not abandoning @twitter for now. Security concerns have been exaggerated. Twitter management is often infuriating but it is still an important platform.— Andrew MacGregor Marshall (@zenjournalist) May 21, 2020
ทวิตเตอร์ปรับ "นโยบายความเป็นส่วนตัว" ส่งผลให้ผู้ใช้งานบางส่วนชวนกันเปลี่ยนแพลตฟอร์ม
บีบีซีไทย
เพียงหนึ่งสัปดาห์หลังแฮชแท็ก #ไม่เอาทวิตเตอร์ไทยแลนด์ ขึ้นเทรนดิ้งอันดับ 1 กระแสต่อต่อต้านทวิตเตอร์ในกลุ่มผู้ใช้ชาวไทยกลับมาอีกครั้งตั้งแต่เมื่อวานนี้ (20 พ.ค.) เมื่อทวิตเตอร์แจ้งอัปเดต "นโยบายความเป็นส่วนตัว" ซึ่งผู้ใช้งานบางส่วนมองว่าอาจนำไปสู่การแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคล
ทวิตเตอร์อัปเดตนโยบายความเป็นส่วนตัวเมื่อวันที่ 19 พ.ค. เพื่อแจ้งเรื่องการแบ่งปันข้อมูลของผู้ใช้เพิ่มเติมให้ "พาร์ทเนอร์" หรือ "คู่ค้าทางธุรกิจ" โดยจะมีการแชร์ข้อมูลระดับอุปกรณ์ของผู้ใช้ คือ ไอพีแอดเดรส เพื่อปรับปรุงพัฒนาโฆษณาให้เหมาะกับผู้ใช้มากขึ้น แต่ทวิตเตอร์ระบุว่าจะไม่มีการแชร์ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ อีเมล เบอร์โทร หรือชื่อบัญชีผู้ใช้งาน
นโยบายความเป็นส่วนตัวใหม่นี้จะมีผลทั่วโลกตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย. เป็นต้นไป
ผู้ใช้ทวิตเตอร์หลายคนไม่พอใจที่ทวิตเตอร์จะแบ่งปันข้อมูลให้คู่ค้าทางธุรกิจ จึงเคลื่อนไหวด้วยการชักชวนกันย้ายไปใช้งานแพลตฟอร์มอื่น อย่างเช่น Minds ในขณะที่ผู้ใช้บางส่วนมองว่านโยบายความเป็นส่วนตัวไม่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาล เพราะรัฐบาลย่อมมีข้อมูลของประชาชนทุกคนอยู่แล้ว
@OTTMAN
คำบรรยายภาพผู้บริหารโพสต์ต้อนรับผู้ใช้ทวิตเตอร์ชาวไทยเข้าสู่ Minds
กระแสต่อต้านทวิตเตอร์ในกลุ่มใช้งานชาวไทยนี้ เกิดขึ้นเพียงหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่บริษัทโซเชียลยักษ์ใหญ่ของโลกเปิดตัวบัญชี Twitter Thailand อย่างเป็นทางการในประเทศไทยเมื่อวันที่ 13 พ.ค.
ท่ามกลางบรรยากาศที่หน่วยงานรัฐและบุคคลชั้นนำในสังคมต่างเข้ามาร่วมทักทายต้อนรับอย่างเป็นมิตร แต่ผู้ใช้ในทวิตภพกลับแสดงความเห็นตอบโต้อย่างดุเดือด เหตุเชื่อว่าเป็นการร่วมมือกับรัฐบาลในการสอดส่องประชาชน
ช่วงเช้าของวันที่ 13 พ.ค. ทวิตเตอร์เปิดตัวบัญชีทางการของ "ทวิตเตอร์ประจำประเทศไทย" หรือ @TwitterThailand ด้วยข้อความ "สวัสดีครับ ประเทศไทย!" กระแสตอบรับจากผู้ใช้งานส่วนใหญ่ตีกลับแทบจะในทันที แฮชแท็ก #ไม่เอาทวิตเตอร์ไทยแลนด์ ขึ้นเทรนดิ้งอันดับ 1 ในช่วงค่ำ เต็มไปด้วยข้อความไม่เห็นด้วยหลายแสนข้อความ เพราะผู้ใช้งานเชื่อว่านี่เป็นส่วนหนึ่งของการสอดส่องพฤติกรรมประชาชนบนโลกออนไลน์โดยรัฐบาลไทย
สาเหตุที่ผู้ใช้งานชาวไทยเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น ส่วนหนึ่งมาจากเนื้อหาในบทความของ อาร์วินเดอร์ กุจราล กรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของทวิตเตอร์ ที่พูดถึงที่มาของการเปิดตัวบัญชีดังกล่าว โดยพูดถึงนโยบายการดำเนินงาน "เชิงรุก" และความร่วมมือในไทยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมามากกว่า 12 เดือน ทั้งกับองค์ผลไม่แสวงผลกำไร (NGOs) และหน่วยงานของรัฐ เพื่อสนับสนุนประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1. การเสริมสร้างบทบาทและการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้หญิง 2. เสรีภาพสื่อ 3. วันสุขภาพจิตโลก 4. โรคโควิด-19
เมื่อย้อนดูทวีตของ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการหารือกับผู้บริหารของทวิตเตอร์ประจำประเทศสิงคโปร์ ในประเด็นการต่อต้านข่าวปลอมและเนื้อหาที่มีความรุนแรง ก็มีความสอดคล้องกับนโยบายเชิงรุกว่าทวิตเตอร์ได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทย
ความไว้วางใจ
ในช่วงมากกว่า 1 ปีที่ผ่านมา หลายแฮชแท็กที่ติดเทรนดิ้งอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย มีผู้รีทวีตหลายแสนหรือนับล้านข้อความ ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง การทำงานของรัฐบาล ความอยุติธรรมในสังคม รวมถึง สถาบันชั้นสูง และยังเคยมีผู้ถูกจับกุมจากการโพสต์ข้อความบนทวิตเตอร์ เมื่อเกิดบัญชี Twitter Thailand จึงเกิดการต่อต้านขึ้นจากความรู้สึกของผู้ใช้งานว่ากำลังถูกคุมคามโดยรัฐบาลที่พยายามลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน
ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของบัญชี @bkksnow ที่มีผู้ติดตาม 1.26 แสนคน แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า "โจทย์ใหญ่" ที่ทวิตเตอร์ต้องเผชิญ หากไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือหรือความไว้วางใจจากผู้ใช้งานได้ ก็คงเป็นการยากที่จะเติบโตต่อไป
GETTY IMAGES
"สิ่งที่เป็นจุดแข็งของทวิตเตอร์=การเป็นแพลตฟอร์มที่คนรู้สึกปลอดภัย+มีเสรีภาพ ในการคุยเรื่องการเมือง+ปัญหาสังคมที่ถูกปิดกั้น(โดยเฉพาะในกรณีของไทยที่ไม่เป็นปชต.) ไม่ใช่แค่การคุยเรื่องบันเทิง กีฬา เกม อาหาร ท่องเที่ยว ค.งามแบบที่ blog ทวิตเตอร์ไทยแลนด์เข้าใจ #ไม่เอาทวิตเตอร์ไทยแลนด์" ผศ.ดร.ประจักษ์ ทวีตไว้ในวันนี้ (14 พ.ค.)
ทำไมรูปโปรไฟล์คล้ายโลโก้พลังประชารัฐ
ผู้ใช้งานบางส่วนตั้งข้อสังเกตว่า รูปโปรไฟล์ของบัญชี @TwitterThailand มีลักษณะคล้ายกับโลโก้พรรคพลังประชารัฐ แต่เมื่อลองเทียบกับรูปโปรไฟล์ของบัญชีทางการทวิตเตอร์ประจำประเทศอื่น ๆ พบว่า ต่างก็มีลักษณะเป็นวงกลมและเลือกใช้แถบสีของธงชาติของประเทศนั้น ๆ เป็นส่วนประกอบ
ในเวลาต่อมา Twitter Thailand ชี้แจงว่าภาพโปรไฟล์นี้ "ได้รับแรงบันดาลใจจากสีทางการของธงชาติไทยซึ่งมีการใช้สีแดง ขาว และนำเงิน โดยธงชาติไทยนั้นจะมี 5 แถบสีคือ แดง ขาว น้ำเงิน ขาว และแดงตามลำดับ"
บีบีซีไทย สอบถามไปที่ นายพุทธิพงษ์ ผู้ทวิตข้อความทักทายหลังการเปิดตัวบัญชี Twitter Thailand เขากล่าวกับบีบีซีไทย ทางโทรศัพท์สั้น ๆ ว่า "เรื่องการเปิดตัวเหรอครับ ผมไม่ทราบเลยครับ ผมยังไม่ทราบเรื่องเลยให้สัมภาษณ์ไม่ได้ ลองไปสัมภาษณ์ทวิตเตอร์แล้วกันนะครับ"
บีบีซีไทย จึงติดต่อไปที่ อาร์วินเดอร์ กุจราล กรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของทวิตเตอร์ เพื่อขอสอบถามในประเด็นดังกล่าว และได้รับการติดต่อจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ของทวิตเตอร์ ชี้แจงว่า การเปิดตัว @TwitterThailand ในระบบสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) เกิดขึ้น "เพื่อสื่อสารกับผู้ใช้งานชาวไทย และร่วมแบ่งปันสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น หรือ #WhatsHappening ในประเทศไทยและทั่วโลก"
"ทวิตเตอร์เชื่อมั่นในความไม่เอนเอียง และจะไม่ดำเนินการใดตามมุมมองทางการเมือง ไม่ว่าจะเรื่องของเทรนด์ที่เกิดขึ้น วิธีที่เราบังคับใช้นโยบายหรือเนื้อหาที่ปรากฎขึ้นบนไทม์ไลน์ของทวิตเตอร์ ผลิตภัณฑ์และนโยบายของเราไม่เคยได้รับการพัฒนาหรือวิวัฒน์บนพื้นฐานของอุดมการณ์ทางการเมือง" ทวิตเตอร์ระบุไว้ในอีเมลถึงบีบีซีไทย
ข้อสังเกตอีกข้อคือ การเปิดตัวบัญชี @TwitterThailand มีองค์กรและบุคคลแนวหน้ามาแสดงความยินดีมากมาย แต่กลับได้รับเสียงตอบรับที่แตกต่างจากผู้ใช้งานจริง
คำถามที่ผู้ใช้งานทวิตเตอร์จำนวนมากสงสัย คือ แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ จะมีวิธีใดมายืนยันกับผู้ใช้งานว่า ข้อมูลของพวกเขาจะถูกเก็บรักษาเป็นความลับจริง ไม่ถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ และจะไม่ถูกนำไปใช้เพื่อลิดรอนเสรีภาพ ประชาชนจะมีสิทธิ์ได้รับ "ความเป็นส่วนตัว" และ "ความปลอดภัย" หรือไม่
ทวิตเตอร์ ชี้แจงกับบีบีซีไทยในประเด็นนี้ว่า "การปกป้องเสียงของผู้ใช้งานในการแสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับทุกสิ่งที่เราทำ ผู้ใช้งานทุกคนที่แสดงความเป็นตัวตนบนทวิตเตอร์จะต้องปฏิบัติตามกฎและนโยบายของเรา"
บีบีซีไทย
เพียงหนึ่งสัปดาห์หลังแฮชแท็ก #ไม่เอาทวิตเตอร์ไทยแลนด์ ขึ้นเทรนดิ้งอันดับ 1 กระแสต่อต่อต้านทวิตเตอร์ในกลุ่มผู้ใช้ชาวไทยกลับมาอีกครั้งตั้งแต่เมื่อวานนี้ (20 พ.ค.) เมื่อทวิตเตอร์แจ้งอัปเดต "นโยบายความเป็นส่วนตัว" ซึ่งผู้ใช้งานบางส่วนมองว่าอาจนำไปสู่การแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคล
ทวิตเตอร์อัปเดตนโยบายความเป็นส่วนตัวเมื่อวันที่ 19 พ.ค. เพื่อแจ้งเรื่องการแบ่งปันข้อมูลของผู้ใช้เพิ่มเติมให้ "พาร์ทเนอร์" หรือ "คู่ค้าทางธุรกิจ" โดยจะมีการแชร์ข้อมูลระดับอุปกรณ์ของผู้ใช้ คือ ไอพีแอดเดรส เพื่อปรับปรุงพัฒนาโฆษณาให้เหมาะกับผู้ใช้มากขึ้น แต่ทวิตเตอร์ระบุว่าจะไม่มีการแชร์ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ อีเมล เบอร์โทร หรือชื่อบัญชีผู้ใช้งาน
นโยบายความเป็นส่วนตัวใหม่นี้จะมีผลทั่วโลกตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย. เป็นต้นไป
ผู้ใช้ทวิตเตอร์หลายคนไม่พอใจที่ทวิตเตอร์จะแบ่งปันข้อมูลให้คู่ค้าทางธุรกิจ จึงเคลื่อนไหวด้วยการชักชวนกันย้ายไปใช้งานแพลตฟอร์มอื่น อย่างเช่น Minds ในขณะที่ผู้ใช้บางส่วนมองว่านโยบายความเป็นส่วนตัวไม่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาล เพราะรัฐบาลย่อมมีข้อมูลของประชาชนทุกคนอยู่แล้ว
@OTTMAN
คำบรรยายภาพผู้บริหารโพสต์ต้อนรับผู้ใช้ทวิตเตอร์ชาวไทยเข้าสู่ Minds
กระแสต่อต้านทวิตเตอร์ในกลุ่มใช้งานชาวไทยนี้ เกิดขึ้นเพียงหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่บริษัทโซเชียลยักษ์ใหญ่ของโลกเปิดตัวบัญชี Twitter Thailand อย่างเป็นทางการในประเทศไทยเมื่อวันที่ 13 พ.ค.
ท่ามกลางบรรยากาศที่หน่วยงานรัฐและบุคคลชั้นนำในสังคมต่างเข้ามาร่วมทักทายต้อนรับอย่างเป็นมิตร แต่ผู้ใช้ในทวิตภพกลับแสดงความเห็นตอบโต้อย่างดุเดือด เหตุเชื่อว่าเป็นการร่วมมือกับรัฐบาลในการสอดส่องประชาชน
ช่วงเช้าของวันที่ 13 พ.ค. ทวิตเตอร์เปิดตัวบัญชีทางการของ "ทวิตเตอร์ประจำประเทศไทย" หรือ @TwitterThailand ด้วยข้อความ "สวัสดีครับ ประเทศไทย!" กระแสตอบรับจากผู้ใช้งานส่วนใหญ่ตีกลับแทบจะในทันที แฮชแท็ก #ไม่เอาทวิตเตอร์ไทยแลนด์ ขึ้นเทรนดิ้งอันดับ 1 ในช่วงค่ำ เต็มไปด้วยข้อความไม่เห็นด้วยหลายแสนข้อความ เพราะผู้ใช้งานเชื่อว่านี่เป็นส่วนหนึ่งของการสอดส่องพฤติกรรมประชาชนบนโลกออนไลน์โดยรัฐบาลไทย
สวัสดีครับ ประเทศไทย! 🇹🇭 #สวัสดีทวิตเตอร์https://t.co/k6zIwPRA1Z— Twitter Thailand (@TwitterThailand) May 13, 2020
สาเหตุที่ผู้ใช้งานชาวไทยเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น ส่วนหนึ่งมาจากเนื้อหาในบทความของ อาร์วินเดอร์ กุจราล กรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของทวิตเตอร์ ที่พูดถึงที่มาของการเปิดตัวบัญชีดังกล่าว โดยพูดถึงนโยบายการดำเนินงาน "เชิงรุก" และความร่วมมือในไทยที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมามากกว่า 12 เดือน ทั้งกับองค์ผลไม่แสวงผลกำไร (NGOs) และหน่วยงานของรัฐ เพื่อสนับสนุนประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1. การเสริมสร้างบทบาทและการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้หญิง 2. เสรีภาพสื่อ 3. วันสุขภาพจิตโลก 4. โรคโควิด-19
เมื่อย้อนดูทวีตของ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการหารือกับผู้บริหารของทวิตเตอร์ประจำประเทศสิงคโปร์ ในประเด็นการต่อต้านข่าวปลอมและเนื้อหาที่มีความรุนแรง ก็มีความสอดคล้องกับนโยบายเชิงรุกว่าทวิตเตอร์ได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทย
เร่งหารือผู้บริหารทวิตเตอร์ประจำสิงคโปร์ใน 2 ประเด็น รับมือ #ข่าวปลอม ไวรัสโคโรน่า ทวิตเตอร์จะให้ข้อมูลที่ถูกต้องทาง #knowthefact อีกเรื่องคือเนื้อหาความรุนแรงและข่าวปลอมโศกนาฏกรรมโคราช ทวิตเตอร์มีนโยบายต่อต้านคนมีแนวคิดรุนแรง ตอนนี้เปิดช่องทางติดต่อฉุกเฉินกับรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว pic.twitter.com/wsRodiFeVl— พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ (@BeePunnakanta) February 12, 2020
ความไว้วางใจ
ในช่วงมากกว่า 1 ปีที่ผ่านมา หลายแฮชแท็กที่ติดเทรนดิ้งอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย มีผู้รีทวีตหลายแสนหรือนับล้านข้อความ ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง การทำงานของรัฐบาล ความอยุติธรรมในสังคม รวมถึง สถาบันชั้นสูง และยังเคยมีผู้ถูกจับกุมจากการโพสต์ข้อความบนทวิตเตอร์ เมื่อเกิดบัญชี Twitter Thailand จึงเกิดการต่อต้านขึ้นจากความรู้สึกของผู้ใช้งานว่ากำลังถูกคุมคามโดยรัฐบาลที่พยายามลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน
ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของบัญชี @bkksnow ที่มีผู้ติดตาม 1.26 แสนคน แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า "โจทย์ใหญ่" ที่ทวิตเตอร์ต้องเผชิญ หากไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือหรือความไว้วางใจจากผู้ใช้งานได้ ก็คงเป็นการยากที่จะเติบโตต่อไป
GETTY IMAGES
"สิ่งที่เป็นจุดแข็งของทวิตเตอร์=การเป็นแพลตฟอร์มที่คนรู้สึกปลอดภัย+มีเสรีภาพ ในการคุยเรื่องการเมือง+ปัญหาสังคมที่ถูกปิดกั้น(โดยเฉพาะในกรณีของไทยที่ไม่เป็นปชต.) ไม่ใช่แค่การคุยเรื่องบันเทิง กีฬา เกม อาหาร ท่องเที่ยว ค.งามแบบที่ blog ทวิตเตอร์ไทยแลนด์เข้าใจ #ไม่เอาทวิตเตอร์ไทยแลนด์" ผศ.ดร.ประจักษ์ ทวีตไว้ในวันนี้ (14 พ.ค.)
ดูจาก# แล้ว ทวิตเตอร์ไทยแลนด์กำลังเผชิญกับโจทย์ใหญ่ คือ การสร้างค.ไว้วางใจ (trust) ถ้าเริ่มต้นโดยผู้ใช้ไม่ไว้ใจ เคลือบแคลงสงสัย ก็ไปต่อไม่ง่าย #ไม่เอาทวิตเตอร์ไทยแลนด์— prajak kong (@bkksnow) May 14, 2020
ทำไมรูปโปรไฟล์คล้ายโลโก้พลังประชารัฐ
ผู้ใช้งานบางส่วนตั้งข้อสังเกตว่า รูปโปรไฟล์ของบัญชี @TwitterThailand มีลักษณะคล้ายกับโลโก้พรรคพลังประชารัฐ แต่เมื่อลองเทียบกับรูปโปรไฟล์ของบัญชีทางการทวิตเตอร์ประจำประเทศอื่น ๆ พบว่า ต่างก็มีลักษณะเป็นวงกลมและเลือกใช้แถบสีของธงชาติของประเทศนั้น ๆ เป็นส่วนประกอบ
ในเวลาต่อมา Twitter Thailand ชี้แจงว่าภาพโปรไฟล์นี้ "ได้รับแรงบันดาลใจจากสีทางการของธงชาติไทยซึ่งมีการใช้สีแดง ขาว และนำเงิน โดยธงชาติไทยนั้นจะมี 5 แถบสีคือ แดง ขาว น้ำเงิน ขาว และแดงตามลำดับ"
When hatred blinds your mind, nothing is right.— Richard Parker (@somchaikp) May 14, 2020
It is very common that national twitter accounts use their national flag colours. #ไม่เอาทวิตเตอร์ไทยแลนด์ #ตามหาความจริง pic.twitter.com/WLJzcOnTip
บีบีซีไทย สอบถามไปที่ นายพุทธิพงษ์ ผู้ทวิตข้อความทักทายหลังการเปิดตัวบัญชี Twitter Thailand เขากล่าวกับบีบีซีไทย ทางโทรศัพท์สั้น ๆ ว่า "เรื่องการเปิดตัวเหรอครับ ผมไม่ทราบเลยครับ ผมยังไม่ทราบเรื่องเลยให้สัมภาษณ์ไม่ได้ ลองไปสัมภาษณ์ทวิตเตอร์แล้วกันนะครับ"
บีบีซีไทย จึงติดต่อไปที่ อาร์วินเดอร์ กุจราล กรรมการผู้จัดการ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของทวิตเตอร์ เพื่อขอสอบถามในประเด็นดังกล่าว และได้รับการติดต่อจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ของทวิตเตอร์ ชี้แจงว่า การเปิดตัว @TwitterThailand ในระบบสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) เกิดขึ้น "เพื่อสื่อสารกับผู้ใช้งานชาวไทย และร่วมแบ่งปันสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น หรือ #WhatsHappening ในประเทศไทยและทั่วโลก"
"ทวิตเตอร์เชื่อมั่นในความไม่เอนเอียง และจะไม่ดำเนินการใดตามมุมมองทางการเมือง ไม่ว่าจะเรื่องของเทรนด์ที่เกิดขึ้น วิธีที่เราบังคับใช้นโยบายหรือเนื้อหาที่ปรากฎขึ้นบนไทม์ไลน์ของทวิตเตอร์ ผลิตภัณฑ์และนโยบายของเราไม่เคยได้รับการพัฒนาหรือวิวัฒน์บนพื้นฐานของอุดมการณ์ทางการเมือง" ทวิตเตอร์ระบุไว้ในอีเมลถึงบีบีซีไทย
ข้อสังเกตอีกข้อคือ การเปิดตัวบัญชี @TwitterThailand มีองค์กรและบุคคลแนวหน้ามาแสดงความยินดีมากมาย แต่กลับได้รับเสียงตอบรับที่แตกต่างจากผู้ใช้งานจริง
คำถามที่ผู้ใช้งานทวิตเตอร์จำนวนมากสงสัย คือ แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ จะมีวิธีใดมายืนยันกับผู้ใช้งานว่า ข้อมูลของพวกเขาจะถูกเก็บรักษาเป็นความลับจริง ไม่ถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ และจะไม่ถูกนำไปใช้เพื่อลิดรอนเสรีภาพ ประชาชนจะมีสิทธิ์ได้รับ "ความเป็นส่วนตัว" และ "ความปลอดภัย" หรือไม่
ทวิตเตอร์ ชี้แจงกับบีบีซีไทยในประเด็นนี้ว่า "การปกป้องเสียงของผู้ใช้งานในการแสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับทุกสิ่งที่เราทำ ผู้ใช้งานทุกคนที่แสดงความเป็นตัวตนบนทวิตเตอร์จะต้องปฏิบัติตามกฎและนโยบายของเรา"