วันนี้ ศาลปากีสถานพิพากษาประหารชีวิตพลอ. มูชาร์ราฟอดีตผู้นำเผด็จการ โทษฐานก่อกบฏ ฉีกรัฐธรรมนูญและประกาศภาวะฉุกเฉิน มูชาร์ราฟ ขึ้นสู่อำนาจผ่านการรัฐประหารในพ.ศ. 2542 ก่อนจะครองอำนาจเป็นผู้นำปากีสถานนานถึง 9 ปีโดยเป็นผู้นำกองทัพปากีสถานคนแรก ที่ถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏ pic.twitter.com/5SWKwPlCUZ— kovitw (@kovitw1) December 17, 2019
.ประเทศไทยต้องมีแบบนี้บ้าง เพื่อสร้างบทเรียนทางศีลธรรม ไม่ให้พวกทหารมาเฟีย หรือนายพลมักใหญ่ใฝ่สูงแทรกแซงการเมืองได้อีก โทษประหารชีวิตสำหรับพวกก่อกบฎเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ https://t.co/4QkTWRTRtZ— ศาสดา (@IamSasdha) December 17, 2019
ศาลปากีสถานสั่งประหารมูชาร์ราฟ ข้อหาทรยศชาติ-ล้มล้างรัฐธรรมนูญ
17 ธ.ค. 2562
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
อเจนซีส์ – ศาลปากีสถานตัดสินประหารชีวิต เปอร์เวซ มูชาราฟ อดีตประธานาธิบดีและผู้นำกองทัพ ในข้อหาทรยศชาติและล้มล้างรัฐธรรมนูญ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศเอเชียใต้แห่งนี้ ที่ผู้นำกองทัพมักได้รับการยกเว้นจากการถูกดำเนินคดี
ซาลมาน นาดีม เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลปากีสถานแถลงเมื่อวันอังคาร (17 ธ.ค.) ว่าผู้พิพากษา 2 ใน 3 ของศาลต่อต้านการก่อการร้ายในกรุงอิสลามาบัด มีคำวินิจฉัยให้ประหารชีวิต มูชาร์ราฟ โทษฐานทรยศต่อประเทศและล้มล้างรัฐธรรมนูญในคดีที่รัฐบาลปากีสถานยื่นฟ้องมาตั้งแต่ปี 2013
พลเอกมูชาร์ราฟเข้ายึดอำนาจในปี 1999 และขึ้นเป็นประธานาธิบดีปากีสถานนับจากปี 2001-2008 ปัจจุบันพำนักอยู่ในดูไบ หลังได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศเพื่อรับการรักษาตัวเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งนับจากนั้นเขาปฏิเสธคำสั่งไปปรากฏตัวในศาลมาโดยตลอด
ช่วงต้นเดือนธันวาคม มูชาร์ราฟ วัย 76 ปี ออกแถลงการณ์ผ่านวิดีโอจากโรงพยาบาลในดูไบว่า เขาไม่ได้รับความเป็นธรรมการในการพิจารณาคดี ทั้งนี้ มูชาร์ราฟถือเป็นผู้นำที่มาจากกองทัพคนแรกของปากีสถานที่ถูกพิจารณาคดีในข้อหาล้มล้างรัฐธรรมนูญ
คณะบริหารของมูชาร์ราฟไม่เคยถูกท้าทายรุนแรงจนกระทั่งในเดือนมีนาคม 2007 ที่เขาปลดรัฐมนตรียุติธรรม นำไปสู่การประท้วงใหญ่ทั่วประเทศและสถานการณ์วุ่นวายนานหลายเดือนกระทั่งมูชาร์ราฟตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ระงับเสรีภาพพลเมือง สิทธิมนุษยชน และกระบวนการประชาธิปไตยทั้งหมด
หลังเหตุการณ์ลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีเบนาซีร์ บุตโต ในเดือนธันวาคม 2007 บรรยากาศในปากีสถานยิ่งอึมครึมมากขึ้น และมูชาร์ราฟถูกโดดเดี่ยวหลังพรรคการเมืองที่สนับสนุนเขาแพ้การเลือกตั้ง
ภายหลังการประกาศคำตัดสินของศาลในวันอังคาร พิลาวัล บุตโต ซาร์ดารี บุตรชายของบุตโต นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของปากีสถาน ทวิตว่า ประชาธิปไตยคือการแก้แค้นที่ดีที่สุด ทั้งนี้ ในปี 2017 ศาลปากีสถานประกาศว่า มูชาร์ราฟเป็นนักโทษหนีคดีฆาตกรรมบุตโต
มูชาร์ราฟลาออกในเดือนสิงหาคม 2008 เพื่อหลีกเลี่ยงการดำเนินการถอดถอนโดยรัฐบาลชุดใหม่ และลี้ภัยไปต่างประเทศ ต่อมาเขากลับสู่ปากีสถานอีกครั้งในปี 2013 เพื่อลงเลือกตั้ง แต่ไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งห้ามเดินทางออกนอกประเทศเนื่องจากถูกฟ้องร้องหลายคดี
ในปีเดียวกันนั้น นาวาซ ชารีฟ ศัตรูเก่าที่มูชาร์ราฟปฏิวัติยึดอำนาจในปี 1999 ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ชารีฟสั่งเริ่มต้นการไต่สวนข้อหาทรยศชาติต่อมูชาร์ราฟ และอดีตนายพลผู้นี้ถูกตั้งข้อหาทรยศชาติในเดือนมีนาคม 2014 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญปากีสถานนั้น ผู้ที่ถูกตัดสินว่า ทรยศประเทศชาติอาจมีโทษประหารชีวิต อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายในอิสลามาบัดกล่าวว่า มูชาร์ราฟสามารถอุทธรณ์คำตัดสินในศาลสูง
การตั้งข้อกล่าวหากบฏต่อมูชาร์ราฟในปี 2014 ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในปากีสถานซึ่งกองทัพเข้าปกครองประเทศหลายยุคหลายสมัยนับจากการประกาศเอกราช
ผู้นำกองทัพปากีสถานหลายคนขึ้นเป็นผู้นำประเทศจากการรัฐประหารโดยตรงเช่นกรณีมูชาร์ราฟ หรือครอบงำการกำหนดนโยบายของรัฐบาลพลเรือน
แต่มูชาร์ราฟถือเป็นผู้นำกองทัพคนแรกที่ถูกตั้งข้อหาทรยศประเทศ และเชื่อกันว่ากองทัพที่ยังมีอิทธิพลอย่างมากเฝ้าจับตาคดีนี้อย่างระมัดระวัง เนื่องจากตระหนักว่า การดำเนินคดีมูชาร์ราฟอาจกลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับการฟ้องร้องอดีตนายทหารใหญ่ต่อไปในอนาคต