.
ไม่ว่าสามเหลี่ยมจะคว่ำหรือหงายหากจะเชื่อมโยงอย่างไร ตามอำเภอใจไม่ต้องเป็นศาล
รธน.ก็ได้ ทุกคนสามารถมีจินตนาการ ที่น่าเชื่อว่า หรือเหตุอันพึงควรเชื่อว่า อย่างไร้กรอบหรือหลักอันมั่นคงควบคุมได้ทั้งสิ้น จะเปลี่ยนจากหกเหลี่ยมมาเป็นวงกลม ผมก็จินตนาการต่างจากที่เขาตั้งไว้ก็ได้ แต่ปัญหาของสังคมคือ ต้องยึดถือปฏิบัติตามจินตนาการของศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น แม้พวกเขาไม่เคยมีจินตนาการ ในเรื่องบทบาทหน้าที่ขององค์กร
อันพึงคิด วินิจฉัย ในระบอบประชาธิปไตย
ผมว่าโคตรห่วยแตก แต่ผมมิกล้าวิพากษ์วิจารณ์ เพราะจะถูกข้อหาละเมิดอำนาจศาล
รธน.แน่ ผมขอเงียบก่อนดีกว่า ไม่กล้าด่าเขาทั้งที่อยาก ครับ
...
วันที่ 25 ธ.ค. ศาลรัฐธรรมนูญ ออกเอกสารข่าว นัดอ่านคำวินิจฉัยคำร้องกรณีที่นายณฐพร โตประยูร ยื่นคำร้องให้วินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่กรณีล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ ในวันอังคารที่ 21 ม.ค. 2563 เวลา 11.30 น.
.
คดีนี้ นายณฐพร โตประยูร อาชีพทนายความ ซึ่งเป็นอดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้องโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 62 (หลังยื่นไปที่อัยการสุงสุดไปครบ 15 วันตาม รธน.แล้ว) ให้เหตุผลเป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ มิให้กลุ่มบุคคลใดล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
.
นายณฐพร ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ผู้ถูกร้องทั้ง 4 คือ พรรคอนาคตใหม่, นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค, นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรค และกรรมการบริหารพรรค หยุดการกระทำล้มล้างการปกครองฯ และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่
.
ในคำร้องระบุถึง ข้อบังคับพรรคอนาคตใหม่ ที่ใช้คำว่า "หลักประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ" แทน "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" แสดงออกถึงสุภาษิตกฎหมายที่ว่า "กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา"
.
ทั้งอ้างว่า พิจารณาหลักคิดของนายธนาธรและนายปิยบุตร ก็เสนอแนวทางการไม่ยอมรับในสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อสาธารณะ ปรากฏตามสื่อว่านายธนาธร เป็นนายทุนเจ้าของเว็บไซต์และนิตยสาร "ฟ้าเดียวกัน" รวมทั้งการที่นายธนาธร ถูกขนานนามว่าเป็น "แอ็กทิวิสต์ซ้ายจัด" และตอนหนึ่งของคำฟ้องยังอ้างถึงการที่นายธนาธร กล่าวเมื่อวันที่ 21 ก.พ.62 ว่า "มาร่วมกันทำภารกิจเมื่อ พ.ศ.2475 เพื่อประชาธิปไตยยั่งยืนกัน ซึ่ง 86 ปียังทำไม่สำเร็จ ให้สำเร็จกันซักครั้ง"
.
ส่วนนายปิยบุตร ผู้ร้องได้อ้างถึงการแสดงทัศนะต่อสถาบันในการเสวนาหลายครั้ง ในช่วงที่นายปิยบุตร ยังเป็นอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และเป็นสมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์ และระบุว่า "มีการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน"
.
นอกจากนั้นยังอ้างการแถลงนโยบายของพรรคเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 61 ว่า พรรคอนาคตใหม่ ประกาศจะลงนามสัตยาบันธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) มีเนื้อหา ประมุขของรัฐไม่ได้รับการยกเว้นจากความรับผิดทางอาญา
.
นายณฐพร ผู้ร้อง ยังระบุถึงสัญลักษณ์พรรคอนาคตใหม่ที่มีลักษณะสามเหลี่ยมด้านเท่าหัวกลับ มีความเหมือนกับสมาคมอิลลูมิเนติ ที่อยู่เบื้่องหลังการล้มล้างการปกครองระบบกษัตริย์หลายประเทศในยุโรป ซึ่งพิจารณาพฤติกรรมของพรรคอนาคตใหม่ มีวัตถุประสงค์ยึดถือปรัชญาความคิดอิสระไม่เชื่อถือความคิดเก่าๆ โดยอ้างตัวอย่าง เช่น การล้มเลิกการกราบไหว้ครูอาจารย์ตามประเพณี, ล้มเลิกการยิ้มของคนไทย,ล้มเลิกการอุปถัมภ์ทุกศาสนาในประเทศไทย
.
นอกจากนั้นในคำร้องยังอ้างว่า พรรคอนาคตใหม่มีเจตนารมณ์จะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับโดยไม่ยกเว้นหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเชื่อมโยงกับการพูดถึงการทำภารกิจการปฏิวัติ 2475 ให้ประสบผลสำเร็จ
.
ต่อมานายณฐพร ยังยื่นคำร้องเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 62 โดยระบุว่า น.ส.พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ ก็มีพฤติกรรมแสดงออกต่อต้านการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยการยกเอาเรื่องการโพสต์ภาพในเฟซบุ๊กของ น.ส.พรรณิการ์ สมัยเป็นนิสิตมาประกอบ
.
อ่านคำร้องฉบับเต็ม https://drive.google.com/…/1JLYQJFNeie9cCuis2cKwgmfzbJ_pBwZ…
...
...