เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ทุบอนุสาวรีย์รธน.
"ถ้าจะลบคณะราษฎรจากประวัติศาสตร์ไทยต้องต้องลบอะรไรบ้าง"
-ทุบธรรมศาสตร์
-เผาโรงเรียนคณะราษฎร บำรุง ยะลา, ปทุมธานี
-ยกเลิก รด
-ห้ามใช้คำว่าสวัสดี
-ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญาปี 2475-2500
-ทุบศาลากลางจังหวัดอยุธยา
-เผา’สีม’อีสาน และวัดหลายวัดที่มีลายพานรัฐธรรมนูญ
-ทุบมหาลัยมหิดล เกษตร ศิลปากร (จอมพล ป ยกระดับจากโรงเรียน ให้เป็นมหาลัยทั้งหมด แต่ไม่ได้ชื่อนี้ สฤษดิ์มาเปลี่ยน)
-ยกเลิกรำวงมาตรฐาน
-ยกเลิกเทศบาล 120 แห่ง ทั่วประเทศ
-กลับมาใช้ภาษีรัชชูปการจ่ายปีละ 3 บาท(สมัย ร7)
-ทุบสนามศุภัชลาสัย
-เอาจุฬาคืนราชสำนัก ให้เช่าที่วังต่อไปเหมือนเดิม
#มิตรสหายทั่นหนึ่ง
ที่มา FB
Harmeen Ontong
มิตรสหายอีกท่านหนึ่ง
...
' Isan Memory '
ใครอยากให้ลืม
เราจะจดจำ ....
เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม
ปีนี้เราพาตระเวนอีสาน
กิตติ พันธภาค นำทีมตามหาอนุสาวรีย์พานรัฐธรรมนูญในหลายจังหวัด
รื้อฟื้นสัญลักษณ์ของระบอบใหม่ที่คณะราษฎรเคยปลุกปั้น
และค้นพบความตื่นตัว ก้าวล้ำนำหน้าใครๆ ของพี่น้องอีสาน
สร้างความหวังและไฟฝัน
ในวันที่รัฐธรรมนูญถูกชำแรกให้ถอยหลังเสียยิ่งกว่าจุดเริ่มต้น
________________________________________
*ท้ายคลิป คือเหตุการณ์ย้ายที่ตั้งอนุสาวรีย์ปราบกบฏฯ เพื่อก่อสร้างทางรถไฟฟ้าเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2559*
#IsanMemory
#รัฐธรรมนูญ
ooo
' Isan Memory '
ใครอยากให้ลืม
เราจะจดจำ ....
เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม
ปีนี้เราพาตระเวนอีสาน
กิตติ พันธภาค นำทีมตามหาอนุสาวรีย์พานรัฐธรรมนูญในหลายจังหวัด
รื้อฟื้นสัญลักษณ์ของระบอบใหม่ที่คณะราษฎรเคยปลุกปั้น
และค้นพบความตื่นตัว ก้าวล้ำนำหน้าใครๆ ของพี่น้องอีสาน
สร้างความหวังและไฟฝัน
ในวันที่รัฐธรรมนูญถูกชำแรกให้ถอยหลังเสียยิ่งกว่าจุดเริ่มต้น
________________________________________
*ท้ายคลิป คือเหตุการณ์ย้ายที่ตั้งอนุสาวรีย์ปราบกบฏฯ เพื่อก่อสร้างทางรถไฟฟ้าเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2559*
#IsanMemory
#รัฐธรรมนูญ
ooo
10 สถานที่สำคัญเกี่ยวกับคณะราษฎร หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
BY ASAJEREE ON JUNE 23, 2015
Ispace Thailand
ภายหลังจากที่คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 อาคารบ้านเรือน และการก่อสร้างตามแบบสมัยใหม่ก็เกิดขึ้น เรามาดู 10 สถานที่สำคัญ ที่เป็นผลพวง หรือได้รับอิทธิพลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 กัน บางสถานที่ได้ถูกทำลายทิ้งไปแล้ว บางสถานที่ยังคงอยู่ และบางสถานที่ได้แปรเปลี่ยนสภาพไปจนประวัติศาสตร์การอภิวัฒน์สยามได้ถูกลบเลือนไปเสียสิ้นแล้ว
1. อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (กรุงเทพมหานคร)
อนุสาวรีย์ปราบกบฎ
อนุสาวรีย์ปราบกบฏ สร้างขึ้นในโอกาสที่รัฐบาลคณะราษฎรสามารถเอาชนะ และปราบปรามกบฏบวรเดช ซึ่งเป็นกบฏฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่คุกคามประชาธิปไตยของสยาม(กบฎบวรเดช) อนุสาวรีย์นี้เป็นที่บรรจุอัฐิของทหารและตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ภายในรวม ๑๗ นาย และรูปแบบของอนุสาวรีย์นี้ ยังกลายเป็นต้นแบบของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ถนนราชดำเนินด้วย รัฐบาลคณะราษฎรถือว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง ๑๗ คนเป็นวีรบุรุษผู้เสียสละเพื่อประชาธิปไตย จึงได้มีการจัดงานศพอย่างยิ่งใหญ่ที่ท้องสนามหลวง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการทำศพสามัญชนที่สนามหลวง
นอกจากนี้ด้านข้างของอนุสาวรีย์ยังมีรูปปั้นนูนต่ำที่เป็นรูปเรื่องราวชาวนา กรรมกร นับเป็นครั้งแรกที่มีรูปปั้นของสามัญชนปรากฎอยู่บนอนุสาวรีย์
2. วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร (บางเขน – กรุงเทพมหานคร)
วัดนี้เดิมชื่อว่า “วัดประชาธิปไตย”
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2483 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขออนุมัติเงินเพื่อสร้างวัด เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แก่การปกครองระบอบประชาธิปไตย และประสงค์ให้แล้วเสร็จทันงานวันชาติ คือ 24 มิถุนายน 2484 จอมพล ป. เสนอว่าสถานที่ที่จะสร้างนั้นควรอยู่ใกล้กับอนุสาวรีย์หลักสี่ เหตุผลว่าชาติกับศาสนานั้นเป็นของคู่กัน จะแยกจากกันมิได้ และหลักธรรมของพระพุทธศาสนานั้นสอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงสมควรสร้างวัดขึ้นใกล้กับอนุสาวรีย์หลักสี่ ซึ่งอนุสาวรีย์แห่งนี้ได้จารึกชื่อผู้ที่เสียชีวิตเนื่องจากการปราบกบฏบวรเดชเมื่อปี พ.ศ. 2476 และยังเป็นที่เก็บอัฐิ ของคณะราษฎรทั้งหลายผู้ล่วงลับแล้วอีกด้วย
3. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (กรุงเทพมหานคร)
สัญลักษณ์แห่งประชาธิปไตยที่ปิดปรับปรุง
ไม่ต้องกล่าวอะไรมาก อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยสร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย การก่อสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเริ่มขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
สัญลักษณ์ที่สำคัญของอนุสาวรีย์นี้คือ
- ครีบ 4 ด้าน สูงจากแท่นพื้น 24 เมตร มีรัศมียาว 24 เมตร หมายถึง วันที่ 24 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
- พานทูนฉบับรัฐธรรมนูญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดป้อม กลางตัวอนุสาวรีย์ สูง 3 เมตร หมายถึง เดือน 3 หรือ เดือนมิถุนายน (ขณะนั้นนับเมษายนเป็นเดือนแรกของปี) ตรงกับเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยนั้น และหมายถึง อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญ (นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ)
- ปืนใหญ่จำนวน 75 กระบอก (ปากกระบอกปืนฝังลงดิน) โดยรอบฐานของอนุสาวรีย์ที่มีโซ่เหล็กร้อยไว้ หมายถึงปีที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เลข 75 เป็นเลขท้ายสองหลักของปี พ.ศ. 2475) ส่วนโซ่ที่ร้อยไว้ด้วยกันหมายถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ
- ลายปั้นนูนที่ฐานครีบทั้ง 4 เน้นถึงเรื่องราวการดำเนินงานของคณะราษฎรตอนที่นัดหมายและแยกย้ายกันก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
- พระขรรค์ 6 เล่ม ที่รายล้อมรอบป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ หมายถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
4. โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง (ปทุมธานี และยะลา)
จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
ถึงแม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของคณะราษฎรโดยตรง แต่โรงเรียนคณะราษฎรบำรุงชื่อนี้ก็มาจากสมาคมคณะราษฎร และสโมสรคณะราษฎร ที่ได้ให้เงินช่วยเหลือโรงเรียนในการพัฒนาด้านต่างๆเป็นจำนวนมาก ตามหลักประการที่หกของคณะราษฎรคือ “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร” โรงเรียนคณะราษฎรบำรุงนั้นมีด้วยกันสองที่ คือ โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดยะลา และ โรงเรียนคณะราษฎรบำรุงปทุมธานี
5. สวนสราญรมย์ (กรุงเทพมหานคร)
ที่ทำการคณะราษฎร
ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยเป็นที่ทราบกัน แต่สวนสราญรมย์ก็เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่หนึ่งของคณะราษฎร สวนสราญรมย์เดิมเป็นเขตพระราชอุทยานของพระราชวังสราญรมย์ ในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สถานที่แห่งนี้เป็นที่ทำการของ สโมสรคณะราษฎร์สราญรมย์ มีการจัดงานรื่นเริงตามแบบอย่างตะวันตก อาทิเช่น การจัดประกวดนางสาวสยาม รวมทั้งงานฉลองรัฐธรรมนูญ สร้างความนิยมวัฒนธรรมใหม่ ในยุคประชาธิปไตย ปัจจุบันสวนสราญรมย์ยังคงเปิดให้บริการในฐานะเป็นสวนสาธาราณะทั่วไป
6. ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาหลังเก่า (พระนครศรีอยุธยา)
บ้านเกิดนายปรีดี เสาหกต้น=หลักหกประการ
ศาลากลางจังหวัดอยุธยาหลังเดิมนั้น ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ สมัยหลวงบริหารชนบท (ส่าน) เป็นข้าหลวงประจำจังหวัด โดยการสนับสนุนจากนายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยนั้น นายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน นั้นเกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และถือเป็นผู้นำคนสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
สถาปัตยกรรมที่เห็นได้ชัดจากอาคารศาลากลางนี้คือ เสา 6 ต้น ที่เป็นตัวแทนของหลักหกประการของคณะราษฎร คือ
- จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
- จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
- จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
- จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่
- จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
- จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
ปัจจุบันศาลากลางจังหวัดนี้ถูกเปลี่ยนให้เป็น หอศิลป์แห่งชาติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีการสร้างศาลากลางขึ้นใหม่ทดแทน ในพื้นที่ใหม่
7. อาคารกระทรวงยุติธรรม (ศาลฎีกาหลังเดิม)
ความยุติธรรม ที่อยู่บนหลักหกประการ
กลุ่มอาคารศาลฎีกา เดิมทีนั้นเป็นที่ทำการศาลอุทธรณ์ ศาลอาญา และศาลฎีกา ออกแบบโดยพระสาโรชนิมมานก์ ซึ่งอาคารนั้นเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ทำพิธีเปิดเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2486 ซึ่งวันเปิดนั้นมีความเชื่อมโยงกับวันที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 และเสา 6 ต้น ที่อาคารศาลฎีกานั้นแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎร และมีอาคารที่เป็นที่ระลึกที่ได้เอกราชทางศาลหลังแก้สนธิสัญญาเบาริ่ง
ปัจจุบันศาลอาญาได้ถูกรื้อทิ้งเพื่อปรับปรุงอาคารใหม่ ได้มีนักโบราณคดี และนักประวัติศาสตร์ ออกมาคัดค้านอย่างต่อเนื่องเนื่องจากเป็นอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ [i] แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จและปัจจุบันอาคารศาลฎีกาก็ได้ถูกรื้อทิ้งแล้ว
8. วงเวียนรัฐธรรมนูญ (บุรีรัมย์และขอนแก่น)
ประวัติศาสตร์ที่ถูกรื้อทิ้ง
พานรัฐธรรมนูญ ชุดนี้ สร้างออกแบบและสร้างโดย กรมศิลปากร สมัยหลังการเปลี่ยนแปลงประเทศปี 2475 โดยคำสั่งของ รัฐบาลคณะราษฏร แล้วส่งไปให้ ทุกจังหวัดของไทย ในช่วงเวลาประมาณ 2478-2482 แต่ละจังหวัดสร้างไม่พร้อมกัน เสร็จไม่พร้อมกัน และรูปแบบของ เสา,ฐาน, รองรับ “พานรัฐธรรมนูญ” ก็ไม่เหมือนกัน สำหรับฐานรองรับ พานรัฐธรรมนูญ ของบุรีรัมย์แต่เดิมนั้นเป็น เสากลมแบบเสาโรมัน แต่ฐานก่อนที่จะมีการทุบทิ้งนั้นเป็นแท่งคอนกรีต ปูทับด้วยกระเบื้องลายธงชาติ สร้างในสมัยผู้ว่า พร อุดมพงษ์ ประมาณปี 2528-2532
เช่นเดียวกับ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่จังหวัดขอนแก่น ก็สันนิษฐานว่ามาจากแนวคิดการสร้าง และเป็นชุดการสร้างเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่จังหวัดขอนแก่น ก็ได้กลายเป็นสถานที่ชุมนุมทางการเมืองในหลายๆครั้งของชาวบ้าน ประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย
ปัจจุบันวงเวียนแห่งนี้ถูกรื้อทิ้งโดยอ้างว่าเพื่อแก้ปัญหาการจราจร[ii]
9. หมุดคณะราษฎร
สัญลักษณ์สำคัญ หมุดหมายแห่งการปฎิวัติ
หมุดคณะราษฎร เป็นหมุดกลมสีทองเหลือง ฝังลงบนพื้น กลางถนน ระหว่างฐานของพระบรมรูปทรงม้าและประตูทางเข้า (อดีตเป็น) กองบัญชาการทหารสูงสุด
เพื่อเป็นที่ระลึกถึงจุดที่นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร ประกาศเปลี่ยนระบบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย และอ่าน “ประกาศคณะราษฎร” ฉบับแรก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 หมุดทางเหลืองนี้จารึกว่า “24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง ณ ที่นี้ คณะะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ”
คาดว่า หมุดทองเหลืองนี้ น่าจะจัดทำขึ้นราวปี พ.ศ.2484 และรัฐบาลก็ได้ประกาศให้วันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี เป็น “วันชาติ” นับแต่นั้นมา
10. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สัญลักษณ์พิทักษ์ธรรม
หากกล่าวถึงสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับคณะราษฎร คงจะไม่กล่าวถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่ได้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งในชื่อ “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง ตามหลักหกประการของคณะราษฎร และปรัชญาของนายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าคณะผู้ก่อกาลว่า “มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา…” และนายปรีดีก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็น ผู้ประศาสตร์การ (อธิการบดี) คนแรกของมหาวิทยาลัยอีกด้วย
ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังมีเรื่องราวและสัญลักษณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองอยู่มากมาย
[i] http://www.prachatai.com/journal/2013/08/48121
[ii] http://www.prachatai.com/journal/2014/11/56392