วันเสาร์, ธันวาคม 28, 2562

คอนเฟิร์ม ทุบอนุสาวรีย์พระยาพหล / จอมพลป. ลบความทรงจำคณะราษฎร




"ผมขอยืนยันว่า ในชั่วชีวิตเรา บางทีลูกเราด้วย จะต้องรบกันไปอีก และแย่งกันในระบอบเก่ากับระบอบใหม่นี้"
นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
15 สิงหาคม 2483

อมตวาจาของจอมพลป. พิบูลสงคราม
ในวันที่อนุสาวรีย์พระยาพหลพลพยุหเสนา จอมพลป.
พิบูลสงคราม
ที่ ลพบุรี จะหายไป
.

.



ใช่ว่าคนที่เกลียด คณะราษฎร จะเกลียด จอมพลป. พิบูลสงครามไปด้วย
กรณีศึกษา พลเอกสุจินดา คราประยูรผู้ที่เกลียดคณะราษฎรแต่รักและภูมิใจในตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม

.......................
ในหนังสือ บันทึกคำให้การ สุจินดา คราประยูร กำเนิดและอวสาน รสช. ของ วาสนา นาน่สม ที่ปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์ของผู้เขียนเรื่อง "ความคิดทางการเมืองของพลเอกสุจินดา คราประยูร" ข้อที่โดดเด่นที่สุดของหนังสือและวิทยานิพนธ์เล่มนี้ คือเป็นเล่มเดียวที่ได้สัมภาษณ์ พลเอกสุจินดา คราประยูรโดยตรง

ในส่วนของปฐมบทความคิดทางการเมืองของพลเอกสุจินดาคราประยูร ได้กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลง 2475 ว่า

"ระบอบประชาธิปไตยของเราเดินมาไม่ถูกทาง เพราะตอนที่ไทยเราเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นเกือบทุกชาติในเอเชียยังไม่พร้อมที่จะเป็นประชาธิปไตย แม้แต่ญี่ปุ่นเองก็ยังไม่พร้อมทั้งๆ ที่ญี่ปุ่นมีการศึกษาดีกว่าไทยเรา คนของเขารับการศึกษามากกว่า แต่เขาก็ไม่พร้อมในการที่จะเป็นประชาธิปไตยเพราะว่าเขาอยู่ในอีกระบบหนึ่ง เราคุ้นกับอีกระบบหนึ่ง เขาเคยปกครองด้วยเขาเคยปกครองด้วยระบบจักรพรรดิ เพราะฉะนั้นเมื่อเขาเป็นประชาธิปไตย ความจริงเขาไม่พร้อมจะรับ แต่เขาถูกอเมริกาบีบบังคับให้ว่า ่you จะต้องเป็นประชาธิปไตย มันก็ต้องทำอะไรต่างๆ จะเห็นได้ว่าในญี่ปุ่นเองประชาธิปไตยก็ไม่ได้ราบรื่น คือหลายคนมองว่ามันเป็นประชาธิปไตยที่ยังมีการใช้เงินใช้ทองอะไรต่างๆ เกาหลีก็เป็นลักษณะเดียวกัน ทุกประเทศมันยังไม่พร้อมที่จะเป็นก็เช่นเดียวกับไทย เราเข้าไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
(สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2542) หน้า 108

ความคิดของสจินดา คราประยูรก็ไม่ต่างจาก คนที่มองว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎรคือการชิงสุกก่อนห่าม เมื่อเริ่มต้นประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะเป็นประชาธิปไตย

ดังนั้นจึงส่งผลมาถึงปํญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน

แต่ขณะเดียวกันพลเอกสุจินดา คราประยูร ในฐานะทหาร ลูกชาวบ้าน ซึ่งจบโรงเรียนนายร้อยจปร ก็มีความภูมิใจ รุ่นพี่ของตนที่ได้ดิบได้ดี เป็นนายกรัฐมนตรี และผู้นำประเทศ

ดังจะเห็นในตอนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ว่า

"ในหนังสือรุ่นจะมีจอมพลป. พิบูลสงคราม จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นศิษย์เก่าดีเด่น ก็ภูมิใจว่าศิษย์เก่ารุ่นพี่เราเขาไปสร้างชื่อเสียง เป็นคนที่ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติ เป็นความภูมิใจลึกๆเหมือนกับคนที่เรียนธรรมศาสตร์ มีความภูมิใจในศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ มาได้ดิบได้ดีมาเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นประธานศาลฎีกา
(สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2542)

จะว่าไปแล้วนี่เป็นปกติที่คนเราจะมีหลา่ยอัตลักษณ์ ที่จะยังผลให้คนได้เลือกมองได้ว่าจะชอบ หรือไม่ขอบจากมุมมองไหน และในเวลาใดด้วย

ดังเช่นหลังจากพฤษภาคม 2535 สุจินดา ก็ไม่เคยให้สัมภาษณ์ในเชิงยกย่องเปรม ติณสูลานนท์ เลยสักครั้งเดียว ทั้ง ๆ ที่กอ่นหน้านั้นสุจินดาถือว่าเป็นลูกป๋า ที่ได้ช่วยกันค้ำบัลลังก์เก้าอี้นายกของเปรม

แต่ที่เขียนมาก็เพื่อจะสื่อไปถึงการที่จะ ทุบอนุสาวรีย์ ของพระยาพหล และจอมพลป. พิบูลสงครามที่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน จ.ลพบุรี

คณะราษฎร : ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ลพบุรี เตรียมบวงสรวงอนุสาวรีย์จอมพล ป.- พระยาพหลฯ ก่อนรื้อถอน
https://www.bbc.com/thai/thailand-50923944

แม่ว่ามีข่าวล่าสุดว่าจะเลื่อนไปอย่างไม่มีกำหนด

ผมคิดว่ามีเหตุเดียวเท่านั้นที่จะมีการทุบอนสารีย์เพราะว่าทั้ง 2 เป็นผู้นำคณะราษฎร และที่ผ่านมาก็มีการ พยายามทำลายความทรงจำของคณะราษฎรมาโดยตลอด

ดังจะเห็นจากพ.ต.พุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา บุตรชายคนที่ 4 ของพระยาพหลพลพยุหเสนา ว่า

"ไม่ตกใจ เพราะคิดไว้อยู่แล้ว...เราไม่มีปัญญาจะต่อสู้ต้านทานอะไร"

แต่พ.ต.พุทธินาถ ก็ได้ฝากความหวังไว้ว่า

"ถ้าเผื่อว่าย้ายหรือทุบทำลาย เราจะขอของ (ในพิพิธภัณฑ์) คืนทั้งหมด... อนุสาวรีย์ปราบกบฏยังถูกทุบได้ หมุดกำเนิดรัฐธรรมนูญยังถูกรื้อถอนไปทำลายได้ ไม่แน่ใจว่าจะถูกทุบไหม ปากบอกว่าย้ายแต่อาจจะถูกทุบ"

สำหรับผมคิดว่า มันไม่ง่ายนักในการทำลายความทรงจำต่อคณะราษฎรผ่านผู้นำคณะราษฎรทั้ง 2 ท่าน โดยเฉพาะในมุมมองของหทาร

แม้ว่าทหารจำนวนไม่น้อยจะไม่ชอบหรือเกลียด คณะราษฎร แต่ก็ใช่ว่าทหารจะเกลียด จอมพลป .พิบูลสงคราม และพยายาพหลไปด้วย

ดังจะเห็นได้จากกรณีศึกษา พลเอกสุจินดา คราประยูรผู้ที่เกลียดคณะราษฎรแต่รักและภูมิใจในตัว จอมพล ป พิบูลสงคราม ไปพร้อม ๆ กันได้