UPDATE: อาจารย์กฎหมายธรรมศาสตร์เตรียมประสานพรรคการเมือง-ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ยื่นญัตติแก้รัฐธรรมนูญ ยกเลิกให้ ส.ว. เลือกนายกฯ
.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นภายหลังที่ประชุมร่วมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย ส.ส. และ ส.ว. มีมติโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เมื่อวานนี้ว่า
.
“ในฐานะที่มีหน้าที่ให้บริการสังคมทางวิชาการ นับจากนี้ผมจะประสานกับพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภา ซึ่งอย่างน้อยจะมีเนื้อหาเรื่องการยกเลิกอำนาจของสมาชิกวุฒิสภาในการให้ความเห็นชอบบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี”
.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งมีพรรคการเมืองได้เสนอเป็นนโยบายสำคัญ รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ได้ตอบรับการเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐด้วยการเสนอเงื่อนไขสำคัญคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน
.
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มีพรรคการเมืองและนักการเมืองที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เนื่องจากอาจนำไปสู่ชนวนความขัดแย้งใหม่อีกรอบ
.
สำหรับประเด็นการให้ ส.ว. ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี ปรากฏในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 โดยให้ ส.ว. มาจาการสรรหาของ คสช. จำนวน 250 คน มีวาระ 5 ปี และร่วมออกเสียงโหวตบุคคลที่เหมาะสมเป็นนายกฯ ร่วมกับ ส.ส. ได้
.
ภาพ: ฐานิส สุดโต
.
THE STANDARD
...
ประชาชนเคยมีสิทธิเข้าชื่อ 20,000 คน เพื่อถอดถอนกรรมการองค์กรอิสระ ส.ส. ส.ว. นายกฯ รมต. แต่รัฐธรรมนูญ 2560 เอาสิทธินี้ออกไป— ยิ่งชีพ (เป๋า) (@yingcheep) June 6, 2019
อย่างไรก็ดี สิทธิการเข้าชื่อ 50,000 คนเพื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญตัดอำนาจพวกเขา ยังมีอยู่และสามารถทำได้