พอ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
ตอบนักข่าวว่ายังอยากอยู่กลาโหมต่อไป ไม่ต้องการย้ายไปมหาดไทยตามที่มีข่าวลือ ก็เห็นมีโพสต์กระแซะว่าเพราะกลาโหมได้ซื้ออาวุธเยอะแยะใช่ไหมล่ะ
ที่ว่าเยอะเห็นได้จากช่วงนี้มีสื่อรวบรวมรายการและมูลค่าอาวุธที่
คสช. จัดซื้อให้กองทัพทั้งสามเหล่าเฉลี่ยกันไปถ้วนหน้า
แม้ทัพบกจะได้มากกว่าเพื่อนตามเคย
มติชนสุดสัปดาห์ให้รายละเอียดชนิดของยุทโธปกรณ์และสนนราคาที่มีการจัดซื้อตามวงรอบปกติ
ไม่รวมถึงส่วนที่จัดซื้อโดยไม่เป็นข่าว ว่าใช้งบประมาณไปราว ๔๓,๕๓๓ ล้านบาท
ประกอบด้วยรถถัง VT-4 จากจีน สามรอบรวมทั้งสิ้น ๔๘ คัน
รุ่นสุดท้าย ๑๐ คันในปีหน้า ๒๕๖๑ ตกลงจ่ายล็อตแรกแล้ว ๔,๙๐๐ ล้านบาท
นอกนี้ยังมียานเกราะล้อยางรุ่น VN-1 จากจีนอีก ๓๔ คัน เป็นเงิน ๒,๓๐๐ ล้านบาท กับเฮลิค้อปเตอร์ลำเลียงจากรัสเซียรุ่น
Mi-17V5 อีก ๔ ลำ
แต่แบ่งซื้อเป็นสองช่วง สองลำแรกราคา ๑,๖๙๘ ล้านบาท อีกสองลำหลังราคา ๓,๓๘๕
ล้านบาท
จากนั้น พล.อ.ประวิตร เห็นใจทัพเรือยังไม่ได้ของเล่นเทียมหน้าทัพบก
จึงได้ผลักดันการจัดซื้อเรือดำน้ำ Yuan
Class S-26T จากจีนอีกเช่นกัน ลำเดียว ๑๓,๕๐๐ ล้านบาท
แต่สัญญาทัพเรือว่าจะซื้อให้อีกสองลำ
โดยทะยอยซื้อลำที่สองหลังปี ๒๕๖๔ กับลำที่ ๓ หลังปี ๒๕๖๕ มูลค่ารวมกันทั้งหมด
๓๖,๐๐๐ ล้านบาท ทำให้ทัพเรือยิ้มแก้มปริอยู่ขณะนี้
ทางด้านทัพอากาศก็ได้เครื่องบินไอพ่นปลอบใจเหมือนกัน “T-50TH GOLDEN EAGLE จากเกาหลีใต้
๘ เครื่อง
มูลค่า ๙,๐๐๐ ล้านบาท
ผูกพันงบประมาณ ๔ ปี”
ล่าสุดรัฐบาลสหรัฐโดยประธานาธิบดีทรั้มพ์ปลดล็อคที่ประธานาธิบดีโอบาม่ายับยั้งการขายอาวุธให้ไทยหลังจากพวก
คสช.ทำรัฐประหารในปี ๒๕๕๗ จึงมีกำหนดรัฐบาล คสช. ซื้อเฮลิค้อปเตอร์ ‘แบล็คฮ้อว์ค’ รุ่น UH-60 ให้ครบฝูงอีก
๔ ลำ เป็นเงิน ๓ พันล้านบาท
ที่ขาดหายไปไม่ได้ระบุในรายการสรุปของมติชน มีเรือตรวจการชายฝั่ง
๙ ลำ เป็นเงิน ๑,๑๑๗ ล้านบาท กับเรือตรวจการไกลฝั่ง furnished หรือติดอาวุธพร้อม ราคา ๕,๔๘๒ ล้านบาท
แถมด้วยเรือสอดแนมฟรีเกต เทคโนโลยี่สูงล่องหนได้ ๒ ลำ ราคา
๑๔,๖๐๐ ล้านบาท กับ ๙,๐๐๐ ล้านบาท
ทั้งหมดนั่นตามการประเมินของ ‘ispace’ น่าจะกินงบประมาณทะลุถึง ๗๔,๐๐๐ ล้านบาท ขณะที่รายงานของ
ผู้จัดการออนไลน์คำนวณวงเงินทั้งหมดไว้สูงกว่าใคร ว่ารวมทั้งสิ้น ๘๗,๐๖๕ ล้านบาท
แน่นอนทีเดียวว่ากองทัพยุคนี้อิ่มหมีพีมัน
ขณะที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เพิ่งออกมาแถลงสถานะภาระหนี้ของประเทศ จากตัวเลขล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ว่าแตะอัตรา ๔๒.๙๐ เปอร์เซ็นต์ ต่อจีดีพี เข้าไปแล้ว
“สบน.
เปิดเผยรายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พบว่า มีจำนวนวงเงินอยู่ที่ ๖,๓๔๗,๘๒๔.๓๘ ล้านบาท” ข้อสำคัญพบว่าวงเงินเกือบ
๗ ล้านล้านของหนี้สาธารณะนี้ มากกว่าเมื่อปีที่แล้วถึง ๗๙,๙๐๓.๕๐ ล้าน
หนี้ที่เพิ่มนี้เกิดจากการกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เป็นส่วนใหญ่
๖๕,๐๐๐ ล้านบาท นอกนั้นนำไปจ่ายหนี้ที่ครบกำหนดเมื่อเดือนมิถุนายน
แสดงว่ารัฐบาลไม่มีรายได้พอชำระหนี้ จึงต้องกู้มาเพื่อรักษาสภาพคล่อง
จริงอยู่ว่าการกู้เพื่อปรับสภาพหนี้เป็นกรรมวิธีบริหารการเงินการคลังที่ยอมรับกัน
ต่างแต่ว่าหากรัฐบาลสามารถหารายได้เข้าประเทศตามปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วีกู้หนี้ยืมสิน
มิหนำซ้ำ มีคำพูดแสดงความปราดเปรื่องของคนในรัฐบาล คสช. ด้วยว่า
#ก่อนจะส่งมอบอำนาจต่อให้รัฐบาลใหม่_หนี้จะไม่ให้เกินตามที่กฏหมายกำหนด
นั่นคือสัดส่วนของหนี้สินต่อจีดีพี ต้องไม่เกินร้อยละ ๖๐
“รัฐบาลนี้ยึดอำนาจมาตอนหนี้สินอยู่ที่ร้อยละ
๓๙ ถ้าตอนลงจากตำแหน่งมีหนี้สินพุ่งไปถึงร้อยละ
๖๐ นั่นหมายถึงมีสัดส่วนหนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ
๒๑
ทั้งนี้ขนาดของ
GDP ของเราอยู่ที่
๑๒ ล้านล้านบาทต่อปี
นั่นหมายถึงเราจะมีหนี้เพิ่มขึ้น ๒.๕ ล้านล้านบาทโดยไม่ได้อะไรเพิ่มขึ้นมาเลย
ลำพังแค่งบประมาณแผ่นดินหลายๆ
ปีที่อยู่ในตำแหน่ง รวมๆ กันแล้วก็ ๑๐
ล้านล้านบาทไม่หนีไปไหน
แล้วเราได้อะไรมาบ้างจากที่ยึดอำนาจมา นอกจากอาวุธ อาวุธ และอาวุธ
แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับว่า
จะไม่เหลืออะไรให้รัฐบาลใหม่ได้ใช้เลยหรืออย่างไร
โดยเฉพาะวงเงินที่เหลือให้เอาไปบริหารประเทศได้ต่อ
นี่อะไรกัน..........
ลำพังแค่ใช้วงเงินเครดิตจนเต็มเพดานเงินกู้แล้ว
ยังจะเอาทรัพย์สินที่มีอนาคตดีๆ
ไปให้เอกชนในเครือข่ายเอาไปทำมาหาประโยชน์เข้าพกเข้าห่อได้อีกหลายสิบปี
สาสมแก่ใจกันแล้วหรือยังครับพระเดชพระคุณทั้งหลายเอ๋ย”