วันเสาร์, กรกฎาคม 22, 2560

ศาลฎีกาวินิจฉัยคดียิ่งลักษณ์ เปลี่ยนรัฐธรรมนูญ ๖๐ เรียบร้อย ตีความ ม. ๒๑๒ ไม่ต้องส่งศาล รธน. พิจารณา



12 hrs ·

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ยอมส่งประเด็นที่จำเลยโต้แย้งว่ากฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีขัดรัฐธรรมนูญ ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตามช่องทาง มาตรา 212 โดยตามข่าวนี้ ศาลเห็นว่าให้โอกาสคู่ความทุกฝ่ายเต็มที่ในการนำพยานบุคคลไต่สวนแล้วตามหลักเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม


ศาลฎีกาฯวินิจฉัยแบบนี้ได้อย่างไร งงมาก ผมเห็นว่าไม่ถูกต้องเลย

การตรวจสอบกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญแบบรูปธรรม หรือ concrete control ในประเทศไทย ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2550 ต่อเนื่องมา 2560 เราใช้ระบบบังคับส่ง

หมายความว่า เมื่อคู่ความโต้แย้งมา ศาลแห่งคดีต้องส่งประเด็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเสมอ เพราะ มาตรา 212 ไม่มีส่วนที่ให้ศาลแห่งคดีใช้ดุลยพินิจไม่ส่งได้

เงื่อนไขเบื้องต้นของ 212 มีเพียงต้องเป็นประเด็นเรื่องกฎหมายที่จะใช้แก่คดีนั้นขัดรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เคยมีคำวินิจฉัยในประเด็นนี้

ซึ่งกรณีที่เราพูดถึงอยู่นี้ เป็นกรณีที่โต้แย้งว่า มาตรา 5 ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 ขัดรัฐธรรมนูญ และแน่นอนว่า ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เคยวินิจฉัยมาก่อน เพราะ รัฐธรรมนูญ 2560 พึ่งประกาศใช้เอง

ดังนั้น ศาลฎีกาฯ จึงไม่มีอำนาจใดๆ ที่จะไปวินิจฉัยไม่ส่งประเด็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ

ส่วนถ้ามันเป็นเรื่องไร้สาระ ไม่จำเป็นต้องพิจารณา หรือสุดท้ายกฎหมายที่โต้แย้งมาไม่ขัด รธน. นั่นเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญครับ ไม่ใช่ศาลฎีกาฯ

จำเลยไม่ได้โต้แย้งการใช้อำนาจของศาลว่าขัดรัฐธรรมนูญ แต่จำเลยเขาโต้แย้งว่ากฎหมายที่ใช้กับคดีขัดรัฐธรรมนูญ แล้วศาลฎีกาฯ ไปบอกว่าตนเองให้โอกาสคู่ความเต็มที่แล้ว ทำไม??? คนละเรื่องเลยครับ

นี่ถ้าเอาเรื่องนี้ไปออกข้อสอบเนติบัณฑิต วิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ยุ่งตายเลยครับ