ปมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้พิจารณาคดี ‘ลับหลัง’ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ สนช.เพิ่งผ่านออกมาเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
ท่ามกลางการแซร่ซร้องของ ‘ลิ่วล้อ’
คสช. อย่างคำนูณ สิทธิสมาน กับสุริยะใส กตะศิลา และ ‘ขนหน้าแข้งรัฐประหาร’ อย่างทีมประชาธิปัตย์ ทั้งอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ องอาจ คล้ามไพบูลย์ และวิรัตน์ กัลยาศิริ
โดยที่ ‘มือวาง’ ตัวสำคัญ รองประธาน
กรธ. สุพจน์ ไข่มุกด์ พยายามสร้างความชอบธรรมด้วยการอ้าง ‘ฝรั่งเศส’
ว่า “กฎหมายลักษณะนี้มีใช้ในต่างประเทศ เช่น ประเทศฝรั่งเศส
ถือเป็นไปตามหลักสากล”
(ดู ประชาไท https://prachatai.com/journal/2017/07/72388)
ทั้งที่ในฟากประชาธิปไตยพากันร้องเฮ้ย นี่ใช้วีธีการ
‘เลือกปฏิบัติ’ ในระบบกฎหมายได้ไง กับคดีของ
พธม.-ปชป. ย้อนหลังไม่ได้ กับพวกทักษิณ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ย้อนหลัง-ลับหลัง ได้หมด
พอมาถึงกับทหารด้วยกัน (บอร์ดรัฐวิสาหกิจ) ย้อนไม่ได้แล้วยัง ‘แตะไม่ได้’ ให้บังคับเฉพาะนักการเมืองเท่านั้น
มาดูคำอธิบายที่ตั้งอยู่บนหลักตรรกะและข้อเท็จจริงทางสากล
จากความเห็นของผู้สันทัดในหลักกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสซึ่งโดดเด่นอยู่ในสังคมไทยขณะนี้
เพื่อให้รู้ทันตั้งแต่สุพจน์ยันยะใสว่าพวกนี้ ‘บิดเบือน’หลักกฎหมายกันอย่างไร
ปิยะบุตร แสงกนกกุล ดร.อังดรัวต์ แห่งคณะนิติราษฎร์
เขียนความเห็นบนหน้าเฟชบุ๊ค
Piyabutr Saengkanokkul (https://www.facebook.com/piyabutr2475) ของเขาไว้ ต่อไปนี้
Piyabutr Saengkanokkul (https://www.facebook.com/piyabutr2475) ของเขาไว้ ต่อไปนี้
“ระบบกฎหมายฝรั่งเศสแต่เดิมนั้น
ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาลับหลังจำเลยได้ เรียกว่า ‘contumace’ โดยให้ใช้ในความผิดอาญาในระดับ Crime
(ความผิดอาญาที่มีโทษจำคุกสูง ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป)...
ต่อมาเมื่อวันที่
๑๓ ก.พ. ๒๐๐๑ ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปลงโทษฝรั่งเศสในคดี Krombach c. France ว่า
การดำเนินคดีลับหลังจำเลย ที่ตัดสิทธิไม่ให้ทนายจำเลยเข้าแก้คดีนั้น
ละเมิดหลักการต่อสู้โต้แย้ง
ขัดกับสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมตามมาตรา ๖ ของอนุสัญญาฯ
ฝรั่งเศสจึงแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในส่วนนี้ในปี
๒๐๐๔ หรือที่รู้จักกันในชื่อของ La
loi Perben II...
กล่าวคือ
ในกรณีที่จำเลยหลบหนีไป จำเลยตั้งทนายเข้าแก้คดีได้
ศาลต้องจัดให้มีกระบวนพิจารณาโดยวาจา มีการสืบพยานกัน
ในกรณีที่ไม่มีทั้งจำเลย
ไม่มีทั้งทนายจำเลย ศาลต้องตัดสินใจระหว่างจะเลื่อนคดีออกไป
หรือจะตัดสินลับหลังจำเลย จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษา แต่ถ้าจับจำเลยได้และยังอยู่ในอายุความ
ก็ให้พิจารณาคดีใหม่
อย่างไรก็ตาม
นี่คือ ใช้กับคดีอาญาทั่วไปทั้งหมด”
กรณีของไทยนั้นยอมให้พิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้แต่ต้นแล้ว
แต่ว่า “ต้องให้จำเลยมาปรากฏตัวในศาลในการพิจารณาคดีนัดแรกเสียก่อน
หากไม่มา ศาลจะพิจารณาคดีต่อไม่ได้” อจ.ปิยะบุตร ยกตัวอย่างคดี กล้ายางและคดีที่ดินรัชดา
ที่ศาลพิจารณาทั้งที่จำเลยบางคนไม่มาศาล
ส่วนคดีที่ศาลไม่สามารถพิจารณาลับหลังต่อได้
“ได้แก่ คดีที่คุณทักษิณถูกฟ้องหลายคดี”
ดร.ปิยะบุตร ชี้ว่า “ร่าง พรบ. ที่ สนช. พึ่งพิจารณาไป
ได้เปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ไปทั้งหมด” นั่นคือ “ต่อไป ไม่ว่าจำเลยจะไม่มาศาลตั้งแต่แรก
หรือมานัดแรกแล้วต่อมาหนีไป จะเป็นกรณีใดก็ตามศาลพิจารณาลับหลังได้เสมอ”
ดร. ปิยะบุตรยอมรับที่ “ผู้ร่างอ้างว่าฝรั่งเศสก็ทำแบบนี้ ผมสำรวจดูแล้วเห็นว่าจริง
ฝรั่งเศสยอมให้ทำได้ นอกจากนี้ก็คือ อิตาลี ที่ใช้บ่อยมาก อย่างไรก็ตาม
มีอีกหลายประเทศที่ไม่ยอมให้ทำ”
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าประเทศไหนให้ความสำคัญกับอนุสัญญายุโรป
หรือ ICCPR
กันแค่ไหน กรณีประเทศไทยในการออก พรป. ใหม่ไม่สน ICCPR
เนื่องจากสามารถมองเห็นเจตนาของกลุ่มที่ต้องการกฎหมายฉบับนี้ได้ชัดว่า จงใจนำมาใช้ย้อนหลังคดีของทักษิณ-ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร ที่พ้นอายุความไปแล้ว
“คำนูณ
สิทธิสมาน ออกมาแจกแจงได้อย่างเป็นรูปธรรม
โดยยกตัวอย่างคดีของอดีตนายกรัฐมนตรีสองคน (คุณคำนูณไม่ระบุชื่อ แต่ใครๆ ก็รู้ว่าคือคุณทักษิณและคุณยิ่งลักษณ์)
ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายใหม่นี้ทั้งหมด”
และโดยจำเพาะเจาะจง
“กรณีคุณยิ่งลักษณ์ ถ้าหลบหนีไปตอนนี้ศาลก็ดำเนินคดีต่อได้ พิพากษาต่อได้
ถ้าศาลพิพากษาให้จำคุกแล้วหลบหนีไป คุณยิ่งลักษณ์ก็อุทธรณ์ไม่ได้ เพราะการอุทธรณ์
จำเลยต้องมาปรากฏตัวที่ศาล”
ซึ่งหากเมื่อ
“พิจารณาบริบทการเมืองไทยตั้งแต่ ๒๕๔๘ ประกอบด้วยนั้น ผมเห็นว่า
กรณีที่กำลังเกิดขึ้นนั้น ไม่น่าจะเหมาะสมเท่าไรนัก” อจ.ปิยะบุตร ติง
“แม้ในทางกฎหมายจะสามารถพอทำได้
มีคำอธิบายทางกฎหมายรองรับ แต่ในเรื่องของความเหมาะสม ความชอบธรรมแล้ว
ผมคิดว่ามันไม่สง่างามเท่าไร...
ต้นแบบที่เราเอามาจากฝรั่งเศส
เขาตั้งขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์คนละเรื่องกับเราเลย
ของฝรั่งเศสเห็นว่าคดีอาญานักการเมืองมีความเป็นการเมือง-นโยบายปนอยู่
จึงไม่อยากให้ศาลอาชีพตัดสิน
เดิมเอา สส. สว. มาชี้ขาดกันเองเลย
แต่ต่อมาเห็นกันว่าไม่ดี เข้าข้างกันเอง กลั่นแกล้งกันได้
ก็เลยเอาศาลอาชีพเข้ามาผสมด้วย
แต่ของเราตั้งศาลแผนกพิเศษขึ้นมา เพื่ออะไร
เพื่อจับนักการเมืองเข้าคุกให้ได้
ของฝรั่งเศส เขาจะยกเลิกในเร็วๆ นี้ เพราะไม่เสมอภาค
แต่ของเราจะใช้ต่อไป และจะใช้แรงขึ้นๆ”
ในทางวิชาการกฎหมาย อจ.ปิยะบุตร
ชี้ว่าการพิจารณาคดีย้อนหลังและลับหลังที่ คสช. ขันเกลียวให้แน่นเข้านี้
ผิดผีผิดไข้ตรงที่ ศาลเข้าไปล้วงลูกทำหน้าที่สืบสวน สอบสวน และไต่สวนเสียเอง
“ระบบไต่สวนถูกนำมาใช้มากขึ้นตั้งแต่
๒๕๔๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีที่เกี่ยวพันกับกฎหมายมหาชน
คดีที่พิจารณาจากเอกสารเป็นหลัก
ระบบไต่สวนไม่ได้หมายความถึง ระบบอะไรก็ได้ที่ศาลจะใช้ตามความต้องการ”
นอกจากนั้น “หากศาลจะใช้ข้อยกเว้น
ด้วยการแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตามระบบไต่สวน ก็ต้องไม่ทำให้ความเสมอภาคระหว่างโจทก์และจำเลยเสียไป...กฎหมายก็ยอมให้ทำได้
แต่เป็นข้อยกเว้นเท่านั้น
(ผู้พิพากษาจำนวนมากก็เห็นแบบนี้ เช่น
ประพันธ์ ทรัพย์แสง, อธิคม อินทุภูติ เป็นต้น)...
กรณีศาลไต่สวนเองบ่อยๆ
ยังขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจให้ได้ดุลยภาพระหว่างองค์กรที่ทำหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริง
กับองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทด้วย...
หากรักษาดุลยภาพตรงนี้ไว้ไม่ดี
ก็จะกลายเป็นว่าศาลลงไปช่วย ปปช. ในการแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อเอาผิดกับจำเลย” ในคดีที่ต้องการ
‘ฟัน’ นักการเมือง ฝ่ายตรงข้ามของพรรคที่ตนชอบ
“กระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นมาหลายๆ คดี
ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความสัมพันธ์เชือมโยงกับรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙”
อจ.ปิยะบุตรเชื่อว่าทั้งหมดนี้เกิดจากวิธีคิดแบบตั้งธงไว้ว่า
“ต้องมีระบบพิเศษเพื่อลงโทษนักการเมืองที่ทุจริต” อันเป็นผลพวงของปรากฏการณ์ ‘ตุลาการภิวัฒน์’ “ที่เปิดสวิทช์ตั้งแต่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙ จนวันนี้ยังหาผู้ใดมาปิดสวิทช์ไม่ได้”
อันเป็นกงกรรมกงเกวียนของประเทศไทย “เมื่อกระดุมเม็ดแรกผิด
มันก็เลยผิดไปตลอดสาย” ดังเช่น อจ.ปิยะบุตรว่าไว้