ปฏิรูปพ่องดิ ‘ห้ามนักการเมืองเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ’
ปัญหามันอยู่ที่ทหารเต็มไปหมด ดันห้ามเฉพาะนักการเมือง ทำกันดื้อๆ
ด้านๆ อย่างนี้ คิดว่าประชาชนโง่กว่าสินะ
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) มีประยุทธ์
จันทร์โอชานั่งหัวโต๊ะเคาะมติออกมาเมื่อวาน (๑๗ ก.ค.) เรื่องการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ
กำหนดไม่ให้แต่งตั้งบุคคล ๓ ประเภทเข้าเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ
ได้แก่ สมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) ข้าราชการการเมือง
และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่มีข้อยกเว้นอันสำคัญ (มาก)
ว่าบุคคลทั้งสามประเภทดังกล่าวที่นั่งเป็นกรรมการอยู่ในรัฐวิสาหกิจขณะนี้ ให้เป็นต่อไปจนกว่าจะหมดวาระหรือสิ้นสุดอายุขัย
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการ สคร. บอกว่าเหตุที่ระเบียบใหม่ของ
คสช. ให้ใช้เฉพาะกับการแต่งตั้งบอร์ดชุดหน้า “เพราะกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง”
อ้าว ก็ไหนกำลังจะออกกฎหมายให้ดำเนินคดีกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
‘ลับหลัง’ ได้ไม่ใช่หรือ
นอกจากอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คนที่เคยไม่เอารถไฟความเร็วสูงเพราะถนนลูกรังยังไม่หมดประเทศไทย
รับหน้าที่เป็น ‘พรีเซ็นเตอร์’ หนุนร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างทุยทุยแล้ว
คนสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ไม่เคยได้เสียงข้างมากจากการเลือกตั้งมากว่า
๒๐ ปี และคาดว่าถ้ามีเลือกตั้งครั้งหน้า ฐานคะแนนเสียงภาคใต้ของพรรคนี้หดหายไปเยอะ
จึงเตรียมตัวเป็นรัฐบาลแบบ ราบ ๑๑ อีกครั้งนั้น ก็ออกมาช่วยดันกันด้วย
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค ปชป.
อ้างเหตุผลตามรอยของนายสุพจน์ ไข่มุกข์ ว่า “การมีกฎหมายในลักษณะนี้จึงน่าจะช่วยทำให้การป้องกันปราบปรามการทุจริตของนักการเมืองได้ผลมากขึ้น”
ทั้งนี้ในรายงานข่าวของ นสพ. เดลินิวส์ ไม่ปรากฏว่านายองอาจได้พูดถึงประเด็นการออกกฎหมายให้มีผลย้อนหลังหรือกระทั่งให้ดำเนินคดีลับหลังผู้ต้องหาได้
ส่วนนายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส.สงขลาหัวหน้าทีมกฎหมายของ
ปชป.
มีความเห็นอย่างเดียวกันว่ากฎหมายแบบนี้จะทำให้นักการเมืองหวั่นกลัวไม่กล้าทุจริต
เขาบอกว่า “ส่วนตัวเห็นด้วย” กับการพิจารณาคดีลับหลัง
โดยที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ต้องมาศาล “เพราะเคยเสนอความเห็นไปหลายครั้งแล้วว่า
คดีอาญานักการเมืองไม่ควรมีอายุความ”
นักกฎหมายพรรคแมลงสาบพูดไม่หมดหรือสำนักข่าวทำตกหล่นก็ไม่รู้ละ
แต่เรื่อง ‘อายุความ’ กับ ‘การพิจารณาคดีลับหลัง’
มันมีเส้นบางๆ แต่เหนียวแน่น ของฝ่ามือกับหลังเท้าคั่นอยู่นะ
ทำนองเดียวกับกับการบอกว่า ‘ปฏิรูป’ ในขณะที่ต้นตอของปัญหาที่ทำให้ต้องปฏิรูปกลับไม่ต้องนำมาพิจารณา
สำนักข่าวบีบีซีไทยอุตส่าห์ชี้ให้เห็นว่าผู้เข้าข่าย
นักการเมือง ซึ่งเข้าข่ายต้องถูกปฏิรูป (แต่ได้รับยกเว้น) ก็ล้วนเป็นทหารทั้งนั้น
ดังเช่น
“- พล.อ.ฉัตรเฉลิม
เฉลิมสุข ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน), ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย, กรรมการในคณะกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และสมาชิก สนช.,
- พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ประธานกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน),
ผู้บัญชาการกองทัพไทย และสมาชิก สนช.,
- พล.ท.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ประธานคณะกรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล,
แม่ทัพภาคที่ 1 และสมาชิก สนช.,
- พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ประธานกรรมการ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด, เสนาธิการทหารเรือ และสมาชิก สนช.” เป็นต้น
อย่างนี้
จะให้ดีปฏิรูปทหารห้ามเล่นการเมืองเสียเลยด้วย น่าจะดีกว่า