ที่มา FB
ฮิตเลอร์ ถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ.1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮิตเลอร์ได้ตำแหน่งเป็นผู้นำเผด็จการแห่งเยอรมนี โดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี การลงประชามติทั่วประเทศจัดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ยืนยันฮิตเลอร์เป็นฟูเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง
*****
ในปี ค.ศ. 1934 ก่อนการเสียชีวิตของประธานาธิบดีฮินเดนบวร์กในวันที่ 2 สิงหาคม เพียงหนึ่งวัน ฮิตเลอร์ได้ให้คณะรัฐมนตรีของเขาเสนอกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐไวมาร์ที่เดิมทีกำหนดไว้ว่า เมื่อประธานาธิบดีเสียชีวิต จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่
แต่กฎหมายที่เสนอมานั้นกลับกำหนดให้ควบรวมสองตำแหน่งไว้เข้าด้วยกัน นั่นคือ ทั้งตำแหน่งประธานาธิบดี (president) และตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (chancellor) ซึ่งตำแหน่งหลังนี้เป็นตำแหน่งที่ฮิตเลอร์ดำรงอยู่แล้วขณะนั้น
อีกทั้งกฎหมายนี้ได้ยกเลิกตำแหน่งประธานาธิบดีไป และกำหนดให้มีตำแหน่งประมุขของรัฐ (head of state) ที่ดำรงตำแหน่งตั้งขึ้นมาใหม่ที่เรียกว่า “ผู้นำ (Führer)” และนายกรัฐมนตรี (Reichskanzler) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีอยู่เดิม
และฮิตเลอร์ได้จัดให้มีการลงประชามติรับรองร่างกฎหมายควบรวมอำนาจสองตำแหน่ง และรับรองตัวเขาให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวนี้ ซึ่งผลการลงคะแนนเสียงประชามติครั้งนี้ร้อยละ 84.6 เห็นด้วยกับร่างกฎหมายและรับรองให้ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ควบรวมอำนาจเบ็ดเสร็จ โดยในฐานะประมุขของรัฐดังกล่าวนี้ ฮิตเลอร์ก็ได้กลายเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกด้วย
*****
ใน Journal of Historical Review, Fall 1992 แห่ง Institute of Historical Review ลีออง เดอเกร็ล (Leon Degrelle: 1906-1994: ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรชนทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นผู้นำทางการเมืองและเป็นนักประวัติศาสตร์) ได้เขียนบทความเรื่อง
“ฮิตเลอร์ควบรวมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จในเยอรมนีและทำการปฏิวัติสังคมได้อย่างไร : ช่วงแรกของอาณาจักไรซ์ที่สาม” (How Hitler Consolidated Power in Germany and Launched A Social Revolution : The First Years of the Third Reich)
“ฮิตเลอร์ได้เคยกล่าวไว้ว่า
‘ข้าพเจ้าไม่ใช่เผด็จการ และไม่มีวันเป็น
ด้วยพรรคสังคมชาตินิยม
จะเสริมสร้างพลังให้ประชาธิปไตยเข้มแข็ง'
และเดอเกร็ลได้เขียนบรรยายต่อไว้ว่า
“อำนาจอันชอบธรรมไม่ได้หมายถึงระบอบทรราช ทรราชคือคนที่ขึ้นสู่อำนาจโดยปราศจากซึ่งเจตจำนงของประชาชน หรือขึ้นสู่อำนาจโดยขัดต่อเจตจำนงประชาชน นักประชาธิปไตยขึ้นสู่อำนาจโดยประชาชน และประชาธิปไตยก็ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องมีแบบเดียว มันอาจจะเป็นประชาธิปไตยรัฐสภา (parliamentary) หรือประชาธิปไตยของพวกเดียวกันหมด (partisan) หรือมันอาจจะเป็นประชาธิปไตยที่มีผู้มีอำนาจคนเดียวเบ็ดเสร็จ (authoritarian) ก็ได้
แต่สิ่งสำคัญคือ มันจะต้องมาจากความต้องการปรารถนาของประชาชน---เป็นสิ่งที่ประชาชนเลือกและสถาปนามันขึ้นมา และนี่ก็คือกรณีของฮิตเลอร์ เขาขึ้นสู่อำนาจด้วยวิถีทางแบบประชาธิปไตยจริงๆ ไม่ว่าใครจะชอบหรือไม่ แต่นี่เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และหลังจากมีอำนาจแล้ว ประชาชนก็ยังให้ความนิยมสนับสนุนเขาเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี
... และแน่นอนว่า นับตั้งแต่ฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจสมบูรณ์ครั้งนั้นเป็นต้นมา ก็ไม่มีใครและกลไกใดที่จะสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการของเขาได้เลย ยกเว้นการพยายามลอบสังหารหรือการพ่ายแพ้สงครามและการฆ่าตัวตายของฮิตเลอร์เท่านั้น
... จริงอยู่ที่ “การเลือกตั้งเป็นพื้นฐานขั้นต่ำของประชาธิปไตย” แต่การใช้พลังประชามติและเจตจำนงประชาชนของฮิตเลอร์ครั้งนั้น ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ในบางครั้ง ประชามติเสียงข้างมากอาจจะนำมาซึ่งผลที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยอย่างร้ายแรงได้
และมันได้กลายเป็นบทเรียนที่นำมาซึ่งการวางหลักการในทางวิชาการและในทางปฏิบัติที่จะกำหนดตัวบทรัฐธรรมนูญ ไม่ให้มีการใช้ประชามติ หรือการเลือกตั้งในการรับรองตัวบุคคล
และการออกกฎหมายซึ่งขัดกับหลักการประชาธิปไตยที่จะต้องคงไว้ซึ่งหลักสิทธิเสรีภาพ การแบ่งแยกอำนาจและหลักนิติรัฐ และในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ พ.ศ. 2540 ม. 214 ได้บัญญัติไว้ว่า “การออกเสียงประชามติที่เกี่ยวกับตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลใดคณะบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ จะกระทำมิได้”
คัดลอกบางส่วนจากบทความ
ปัญหาประชาธิปไตย : การใช้เสียงมหาชนแบบไหนที่ทำลายประชาธิปไตย?
โดย ไชยันต์ ไชยพร, 8 ธันวาคม 2554, http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx…
**** **** **** **** ****
->>> อ่านจบแล้วรู้สึกสลดใจกับประเทศไทย
ที่ตอนนี้ ตกอยู่ใต้การปกครองของ คสช.
การใช้มติมหาชน วันที่ 7 ส.ค.2559 ที่กำลังจะถึงนี้
อาจเป็นการลงคะแนน
เพื่อรับรอง "คณะบุคคลใดคณะบุคคลหนึ่ง โดยเฉพาะ"
คณะบุคคลที่ว่า นั่นก็คือ คสช.
รัฐธรรมนูญ ที่เขียนสอดแทรกอำนาจของคสช.เอาไว้
ไม่ว่าจะเป็น ส.ว.ลากตั้งแต่งตั้ง การบล้อคชื่อนายก
การมีแผนควบคุมรัฐบาลที่ประชาชนเลือกมาอีก 20 ปี
แม้แต่การให้อำนาจคสช.คงมีต่อไปตามมาตรา 279
หรือการให้อำนาจองค์กรอิสระควบคุมฝ่ายบริหารอย่างสูงยิ่ง
ล้วนเป็นเรื่องที่หัวเลี้ยวหัวต่อทั้งสิ้น ....
เพราะอาจหมายถึงเรามอบอำนาจของเราให้ คสช.
และผู้เกี่ยวข้องไปตลอดกาล
อย่าหลงกลคสช. รู้ให้เท่าทัน และวันที่ 7 ส.ค.2559 นี้ ไปใช้สิทธิประชามติของตัวเองให้ดี อย่าให้บุคคลคณะหนึ่งคณะใด ควบคุมประเทศเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
หากโหวตโนชนะ แปลว่าคสช.ก็จะอยู่ต่อร่างใหม่
หรืออาจจะบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดๆ ก็ได้
แล้วก็ต้องประชามติใหม่
ดังนั้น ถ้ามันจะอยู่ต่อ ก็ให้มันอยู่ไป
เพราะอนาคต 20 ปี มันคืออนาคตของคนไทยทั้งหมด
เป็นอนาคตของน้องๆเพื่อนๆลูกหลานของคนไทยทุกคน
โหวตโน ใช้พลังของประชาชนทำให้ทุกคนเห็น
ทำให้ทั่วโลกรู้ว่า คนไทยไม่ยอมรับเผด็จการ
(แต่ยังไม่ถึงเวลาออกมาเรียกร้องกันบนถนน)
ถ้าคสช.จะหน้าด้านประกาศใช้รัฐธรรมนูญใดๆ
ที่ไม่ได้มาจากการยอมรับของประชาชน
หากวันนั้นมาถึง ผมเองก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ooo
โหวตโน ตอน 1: ไม่รับ 279
https://www.facebook.com/talearm/videos/vb.607633242/10154455104928243/?type=2&theater
โหวตโน ตอน2: ทายาทอสูร 269 (ส.ว.สมุนคสช. 250คน)
https://www.facebook.com/talearm/videos/vb.607633242/10154457536388243/?type=2&theater