ว่าไปแล้วการสะกดผิดคำ ‘โอกาส’ เป็น ‘โอกาศ’ บนไปรษณียบัตรอวยพรสงกรานต์ของประยุทธ์ ก็เป็นความสะเพร่า ‘ผิดพลาดโดยสุจริต’ ที่ใครต่อใครก็ผิดได้ ในสังคมประชาธิปไตย
แต่บังเอิญเวลานี้ประเทศไทยไม่ใช่สังคมประชาธิปไตย ผู้นัมบ์ที่กำอำนาจเบ็ดเสร็จอย่างผู้วิเศษ แถมคุยโวว่ารู้หมด อ่านเยอะ ไม่ควรที่จะทำผิดทำพลาดสม่ำเสมอ
จึงสมแล้วที่ ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ จัดเสียหนักว่า “รู้ได้ถึงความตอแหลแบบตื้นๆ และการโฆษณาชวนเชื่อราคาถูก ที่ไม่มีมนุษย์ที่ไหนเชื่ออีกต่อไป”
(อ้อ แล้วก็หากบางท่านไม่ทราบว่า ดร.ปวิน เป็นใคร ขอแนะนำให้ไปดู reference ที่นิตยสารมารีแคลร์ ฉบับเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ ซึ่งไทยฮุนต้าเพิ่งนึกได้ สั่ง ‘แบน’ ไปตั้งแต่สองวันก่อน)
จึงสมแล้วที่ ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ จัดเสียหนักว่า “รู้ได้ถึงความตอแหลแบบตื้นๆ และการโฆษณาชวนเชื่อราคาถูก ที่ไม่มีมนุษย์ที่ไหนเชื่ออีกต่อไป”
(อ้อ แล้วก็หากบางท่านไม่ทราบว่า ดร.ปวิน เป็นใคร ขอแนะนำให้ไปดู reference ที่นิตยสารมารีแคลร์ ฉบับเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ ซึ่งไทยฮุนต้าเพิ่งนึกได้ สั่ง ‘แบน’ ไปตั้งแต่สองวันก่อน)
กลับมาที่ประเด็นความเหมาะสมในการกระทำผิดพลาดโดยสุจริต สำหรับผู้ที่อ้างตัวหลายต่อหลายหนว่าเป็น ‘savior of the nation’ ผมมาห้ามความขัดแย้งอย่างโน้นอย่างนี้ ขอกำกับต่ออีก ๕-๒๐ ปี ไม่เช่นนั้นประเทศนี้เดินไม่ถูกทาง อะไรต่ออะไรนั่น
หากทำสะเพร่าเล็กๆ น้อยๆ หรือแค่บ้าๆ บอๆ ก็ถือเป็นความเลวร้ายใหญ่หลวงได้
อันว่าการจะเป็นผู้นำให้คนจำนวนมากยอมรับนับหน้าได้ เพียงแค่ฉวย ‘(บรรย) อากาศ’ จากการขัดแย้งระหว่างตาอินกับตานา แล้วทำตัวเป็นตาอยู่ถือปืนมาขู่ “ถ้างั้นผมยึดอำนาจนะ” ฉกเอาอำนาจไป เท่านั้นไม่พอ
ยิ่งคิดจะอยู่ต่อยาว โดยให้ลิ่วล้อนักโฆษณาชวนเชื่อปล่อยข่าวว่า “ขณะนี้ไม่มีใครเหมาะสมจะเป็นนายกฯ ยกเว้นตุ๊ดตู่” ละก็ ยิ่งจะต้องระมัดระวังเรื่องความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อยๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ ชนิดทำให้ระคายเคือง...ด้วย
นั่นละ ทั่นผู้นัมบ์จะต้องทำตัวให้ ‘เฟอเฟ็กซ์’ ที่สุด ผิดพลาดเมื่อไร หากกระทบคนใหญ่เขาก็มองว่ามีแผนซ่อนเร้นบ่อนทำลาย
แล้วกับปลาซิวปลาสร้อยตัวเล็กตัวน้อย เขามองว่าหยามเหยียดสติปัญญา ทำตัวเป็นนายแล้วยังออกมาแบบสั่วๆ เท่ากับว่าคนที่ยอมสยบให้ยิ่งมั่วกว่าหลายเท่า
ด้วยเหตุนี้ทั่วโลกที่เขาเจริญกันแล้วทางปัญญา ถึงได้พากันชี้ จี้ เตือน ให้รีบพาประชาชนกลับเข้าสู่ครรลองอันถูกต้องทางประชาธิปไตยโดยทันที
เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว องค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ๗ แห่งร่วมกันเรียกร้องในสิ่งที่ คสช. ไทยฮุนต้ากระทำการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จซ้อนสอง ด้วยคำสั่ง ๑๓/๒๕๕๙ พวกเขาจึงท้วงทักว่ากระทำ ‘ผิด’ อย่างนั้นมันไม่สุจริตหรอกนะ
“๑. เป็นการให้ความคุ้มครองเจ้าพนักงานลิ่วล้อไม่ต้องรับผิดในกรณีละเมิดสิทธิชาวบ้าน ขัดหลักนิติธรรม
๒. ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคำสั่งนี้แล้วไม่ต้องถูกตรวจสอบทางกฎหมาย ขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ตรงข้ามต่อสิทธิได้รับการเยียวยา สิทธิทางกระบวนยุติธรรมควบคุมการบั่นทอนอิสรภาพ และสิทธิในการถูกดำเนินคดีอย่างเที่ยงธรรม
๓. ให้อำนาจอย่างกว้างขวางแก่เจ้าพนักงานที่ไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างดีมา เป็นช่องให้ละเมิดได้ง่าย ไม่สอดคล้องมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ ที่รวมถึงระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้บังคับใช้กฎหมาย และกฏเกณฑ์การใช้อาวุธปืนโดยผู้พิทักษ์กฎหมาย
๔. อนุญาตให้ทำการจำกัดเสรีภาพบุคคลได้ถึงเจ็ดวัน โดยไม่บอกสถานที่จับกุม ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการอุ้มหาย
๕. ในทางปฎิบัติ คำสั่งนี้เปิดทางสำหรับการกดขี่ ปิดปากผู้เห็นต่าง รวมทั้งนักปกป้องสิทธิมนุษยชน แล้วยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนสากลขั้นพื้นฐาน”
(https://www.hrw.org/…/thailand-rights-groups-condemn-juntas…)
มาอาทิตย์นี้ในประเทศเริ่มกระหึ่ม ไม่เอาร่างรัฐธรรมนูญพิมพ์ (สาง) เขียวครอบหัวประชาชน แล้วยังมีบทเฉพาะกาล คสช. ขี่คอพลเมือง
ไหนจะ ‘๗ เหตุผล ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ๗ สิงหา ๕๙’ ของขบวนการ ‘ประชาธิปไตยใหม่’ ที่มีคนเอาไปสรุปไว้ ๘ บรรทัด ชัดเจน
เจ็ดเหตุผลได้แก่ ๑. เลือกคนที่ชอบ แต่ได้พรรคที่เกลียด ๒. สว.ทหาร ตั้งโดยทหาร ๓. สถาปนารัฐข้าราชการเป็นใหญ่ ๔. นายกฯ คนนอก ๕. คสช.ยังเป้นใหญ่ในแผ่นดิน ๖. องค์กรแต่งตั้งอยู่เหนือประชาชน ๗. ทำลายหลักประกันสิทธิเสรีภาพ
ไม่เท่านั้น มีการสอดไส้โดยลิ่วล้อสายนิติบัญญัติ ๑๕๒ สนช. (นอกนั้นไม่ค้าน มีแต่ของดออกเสียง ๑๕ คน) จัดการอนุมัติมอบอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีให้กับสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการลากตั้ง โดย
“ให้ตั้งคำถามประชามติเพิ่มเติมว่า เห็นชอบหรือไม่ว่าเพื่อให้การให้ปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่าในระหว่าง ๕ ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี”
(http://www.matichon.co.th/news/98613)
เนื่องแต่ สว.ลากตั้งมีจำนวน ๒๕๐ คน เกือบครึ่งของสภาผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งบัตรเดียว ถ้าพร้อมใจกันโหวตตามใบสั่ง สภาเลือกตั้งก็หมดความหมาย
งานนี้ร้องยี้กันเป็นทิวแถว ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อ (ไว้ก่อน) แม้แต่ กกต. อย่าง สมชัย ศรีสุทธิยากร ก็ยังออกมาแย้ง ท่ามกลางกระแสความกังขาในเจตนาซ่อนเร้นของ สนช. (และ สปท.) ข้อที่ช่วยกันเพิ่มคำถามพ่วงในประชามติร่าง รธน. กันใหญ่ นายสมชัยแย้งว่า
“คำถามยาวเกินไป และเต็มไปด้วยถ้อยสำนวนรุ่มร่ามทำให้ประชาชนสับสน”
(http://www.bangkokpost.com/…/hidden-agenda-seen-in-second-q…)
กกต. สมชัยจึงเตรียมยื่นถึงรองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ให้ปรับแก้สำนวนของคำถามพ่วงประชามติเสียใหม่ ทั่นรองฯ ก็ดีใจหาย ตั้งท่ารอถกเรื่องนี้กับ กกต.สมชัย เพียงแต่มีคอมเม้นต์ไว้ก่อนเล้กน้อยว่า แก้สำนวนแก้ได้ แต่เนื้อหาต้องคงไว้อย่างเดิม
ถึงกระนั้น เสียงต้านร่างรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับ ‘มีชัย’ โดยรวมก็หาได้ซาลงไม่ ถึงคราวหัวหน้าฝ่ายค้านรัฐบาลเลือกตั้ง พิกุลร่วงบ้างประเด็นร้อน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตระบัดมธุรสทางการเมืองอีกครั้ง วันนี้
โดย nation @tanatpong_nna “จากการประมวลความเห็นสมาชิกพรรคเกี่ยวกับรธน. เราเห็นว่ารธน.ฉบับนี้มีข้อเสียมากกว่าข้อดี...
ข้อเสียของรธน.ฉบับนี้คือปัญหาการเบี่ยงเบนเจตนารมณ์ปชช. และลดอำนาจปชช.เมื่อเทียบกับอำนาจรัฐ
ข้อดีของรธน.ฉบับนี้เข้มข้นเรื่องการตรวจสอบการทุจริต แต่เรื่องการปราบคอรัปชั่นไม่ได้ดีขึ้นทั้งหมด เช่น กระบวนการถอดถอนหายไป
ปชป. เห็นว่า ปชช.ไม่สมควรรับประชามติ ถ้ารับมีแต่จะสร้างความขัดแย้งและผิดหลักการ”
มีคนบอกว่ามาช้าดีกว่าไม่มา แต่อีกคนบอก ถ้ามาเพราะกำลังหิว ต้องการขอส่วนบุญทางการเมือง ก็น่าคิด
หากทำสะเพร่าเล็กๆ น้อยๆ หรือแค่บ้าๆ บอๆ ก็ถือเป็นความเลวร้ายใหญ่หลวงได้
อันว่าการจะเป็นผู้นำให้คนจำนวนมากยอมรับนับหน้าได้ เพียงแค่ฉวย ‘(บรรย) อากาศ’ จากการขัดแย้งระหว่างตาอินกับตานา แล้วทำตัวเป็นตาอยู่ถือปืนมาขู่ “ถ้างั้นผมยึดอำนาจนะ” ฉกเอาอำนาจไป เท่านั้นไม่พอ
ยิ่งคิดจะอยู่ต่อยาว โดยให้ลิ่วล้อนักโฆษณาชวนเชื่อปล่อยข่าวว่า “ขณะนี้ไม่มีใครเหมาะสมจะเป็นนายกฯ ยกเว้นตุ๊ดตู่” ละก็ ยิ่งจะต้องระมัดระวังเรื่องความผิดพลาดเล็ก ๆ น้อยๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ ชนิดทำให้ระคายเคือง...ด้วย
นั่นละ ทั่นผู้นัมบ์จะต้องทำตัวให้ ‘เฟอเฟ็กซ์’ ที่สุด ผิดพลาดเมื่อไร หากกระทบคนใหญ่เขาก็มองว่ามีแผนซ่อนเร้นบ่อนทำลาย
แล้วกับปลาซิวปลาสร้อยตัวเล็กตัวน้อย เขามองว่าหยามเหยียดสติปัญญา ทำตัวเป็นนายแล้วยังออกมาแบบสั่วๆ เท่ากับว่าคนที่ยอมสยบให้ยิ่งมั่วกว่าหลายเท่า
ด้วยเหตุนี้ทั่วโลกที่เขาเจริญกันแล้วทางปัญญา ถึงได้พากันชี้ จี้ เตือน ให้รีบพาประชาชนกลับเข้าสู่ครรลองอันถูกต้องทางประชาธิปไตยโดยทันที
เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว องค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ๗ แห่งร่วมกันเรียกร้องในสิ่งที่ คสช. ไทยฮุนต้ากระทำการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จซ้อนสอง ด้วยคำสั่ง ๑๓/๒๕๕๙ พวกเขาจึงท้วงทักว่ากระทำ ‘ผิด’ อย่างนั้นมันไม่สุจริตหรอกนะ
“๑. เป็นการให้ความคุ้มครองเจ้าพนักงานลิ่วล้อไม่ต้องรับผิดในกรณีละเมิดสิทธิชาวบ้าน ขัดหลักนิติธรรม
๒. ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามคำสั่งนี้แล้วไม่ต้องถูกตรวจสอบทางกฎหมาย ขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ตรงข้ามต่อสิทธิได้รับการเยียวยา สิทธิทางกระบวนยุติธรรมควบคุมการบั่นทอนอิสรภาพ และสิทธิในการถูกดำเนินคดีอย่างเที่ยงธรรม
๓. ให้อำนาจอย่างกว้างขวางแก่เจ้าพนักงานที่ไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างดีมา เป็นช่องให้ละเมิดได้ง่าย ไม่สอดคล้องมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ ที่รวมถึงระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้บังคับใช้กฎหมาย และกฏเกณฑ์การใช้อาวุธปืนโดยผู้พิทักษ์กฎหมาย
๔. อนุญาตให้ทำการจำกัดเสรีภาพบุคคลได้ถึงเจ็ดวัน โดยไม่บอกสถานที่จับกุม ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการอุ้มหาย
๕. ในทางปฎิบัติ คำสั่งนี้เปิดทางสำหรับการกดขี่ ปิดปากผู้เห็นต่าง รวมทั้งนักปกป้องสิทธิมนุษยชน แล้วยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนสากลขั้นพื้นฐาน”
(https://www.hrw.org/…/thailand-rights-groups-condemn-juntas…)
มาอาทิตย์นี้ในประเทศเริ่มกระหึ่ม ไม่เอาร่างรัฐธรรมนูญพิมพ์ (สาง) เขียวครอบหัวประชาชน แล้วยังมีบทเฉพาะกาล คสช. ขี่คอพลเมือง
ไหนจะ ‘๗ เหตุผล ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ๗ สิงหา ๕๙’ ของขบวนการ ‘ประชาธิปไตยใหม่’ ที่มีคนเอาไปสรุปไว้ ๘ บรรทัด ชัดเจน
เจ็ดเหตุผลได้แก่ ๑. เลือกคนที่ชอบ แต่ได้พรรคที่เกลียด ๒. สว.ทหาร ตั้งโดยทหาร ๓. สถาปนารัฐข้าราชการเป็นใหญ่ ๔. นายกฯ คนนอก ๕. คสช.ยังเป้นใหญ่ในแผ่นดิน ๖. องค์กรแต่งตั้งอยู่เหนือประชาชน ๗. ทำลายหลักประกันสิทธิเสรีภาพ
ไม่เท่านั้น มีการสอดไส้โดยลิ่วล้อสายนิติบัญญัติ ๑๕๒ สนช. (นอกนั้นไม่ค้าน มีแต่ของดออกเสียง ๑๕ คน) จัดการอนุมัติมอบอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีให้กับสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการลากตั้ง โดย
“ให้ตั้งคำถามประชามติเพิ่มเติมว่า เห็นชอบหรือไม่ว่าเพื่อให้การให้ปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่าในระหว่าง ๕ ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี”
(http://www.matichon.co.th/news/98613)
เนื่องแต่ สว.ลากตั้งมีจำนวน ๒๕๐ คน เกือบครึ่งของสภาผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งบัตรเดียว ถ้าพร้อมใจกันโหวตตามใบสั่ง สภาเลือกตั้งก็หมดความหมาย
งานนี้ร้องยี้กันเป็นทิวแถว ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อ (ไว้ก่อน) แม้แต่ กกต. อย่าง สมชัย ศรีสุทธิยากร ก็ยังออกมาแย้ง ท่ามกลางกระแสความกังขาในเจตนาซ่อนเร้นของ สนช. (และ สปท.) ข้อที่ช่วยกันเพิ่มคำถามพ่วงในประชามติร่าง รธน. กันใหญ่ นายสมชัยแย้งว่า
“คำถามยาวเกินไป และเต็มไปด้วยถ้อยสำนวนรุ่มร่ามทำให้ประชาชนสับสน”
(http://www.bangkokpost.com/…/hidden-agenda-seen-in-second-q…)
กกต. สมชัยจึงเตรียมยื่นถึงรองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ให้ปรับแก้สำนวนของคำถามพ่วงประชามติเสียใหม่ ทั่นรองฯ ก็ดีใจหาย ตั้งท่ารอถกเรื่องนี้กับ กกต.สมชัย เพียงแต่มีคอมเม้นต์ไว้ก่อนเล้กน้อยว่า แก้สำนวนแก้ได้ แต่เนื้อหาต้องคงไว้อย่างเดิม
ถึงกระนั้น เสียงต้านร่างรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับ ‘มีชัย’ โดยรวมก็หาได้ซาลงไม่ ถึงคราวหัวหน้าฝ่ายค้านรัฐบาลเลือกตั้ง พิกุลร่วงบ้างประเด็นร้อน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตระบัดมธุรสทางการเมืองอีกครั้ง วันนี้
โดย nation @tanatpong_nna “จากการประมวลความเห็นสมาชิกพรรคเกี่ยวกับรธน. เราเห็นว่ารธน.ฉบับนี้มีข้อเสียมากกว่าข้อดี...
ข้อเสียของรธน.ฉบับนี้คือปัญหาการเบี่ยงเบนเจตนารมณ์ปชช. และลดอำนาจปชช.เมื่อเทียบกับอำนาจรัฐ
ข้อดีของรธน.ฉบับนี้เข้มข้นเรื่องการตรวจสอบการทุจริต แต่เรื่องการปราบคอรัปชั่นไม่ได้ดีขึ้นทั้งหมด เช่น กระบวนการถอดถอนหายไป
ปชป. เห็นว่า ปชช.ไม่สมควรรับประชามติ ถ้ารับมีแต่จะสร้างความขัดแย้งและผิดหลักการ”
มีคนบอกว่ามาช้าดีกว่าไม่มา แต่อีกคนบอก ถ้ามาเพราะกำลังหิว ต้องการขอส่วนบุญทางการเมือง ก็น่าคิด