สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม ทั้งสองตาแหลมคม แต่อีกคนเห็นดาวอยู่พราวพราย
เรื่องของการเมือง การเลือกตั้ง และรัฐบาล คนหนึ่งเป็นนักเขียนชาวญี่ปุ่น รายงานถึงการเปิดตัวร่างรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับที่ ๒๐ สำหรับประเทศไทย ภายใต้บงการและบีบคั้นโดยคณะทหารที่ยึดอำนาจการปกครองมาใกล้ครบสองปี
อีกคนเป็นนักสิทธิมนุษยชนไทยที่มักเขียนบทความให้ข้อคิดทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ คราวนี้มาปูพื้นฐานระบบ ระเบียบ และทางปฏิบัติของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปลายปีนี้
ลองเปรียบเทียบกันดูว่าโคลนตมกับดวงดาวต่างกันอย่างไร
ยูคาโกะ โอโนะ นักเขียนประจำสำนักข่าว Nikkei Asian Review เกริ่นไว้ในรายงานเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม เรื่อง ‘Thai junta’s plan to retain power for 6 years.’ (http://asia.nikkei.com/…/Thai-junta-s-plan-to-retain-power-…) ว่า
“เกือบสองปีนับแต่การรัฐประหาร คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดที่สองเปิดเผยตัวร่างเมื่อวันอังคาร ซึ่งปล่อยให้คณะทหารผู้ปกครองยังคงอยู่ต่อไปอีก ๕ ปีใน ‘ระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ’ ก่อนที่จะได้กลับไปสู่การปกครองโดยพลเรือน...
บทความของนิคเคอิชี้ด้วยว่าบทเฉพาะกาลดังกล่าวจะมีผลบังคับเป็นเวลา ๕ ปีหลังจากที่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นแล้ว (แต่ก็) จะไม่เกิดขึ้นก่อนเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๐ แน่นอน
สภาล่างที่มีสมาชิก ๕๐๐ คน มาจากการเลือกตั้งที่ใช้บัตรใบเดียว ระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้มีพรรคการเมืองขนาดกลางๆ ทั้งนั้น
บทบัญญัติที่เป็นไปได้ว่าจะก่อเกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก อยู่ที่การสรรหาสมาชิกสภาสูงซึ่งมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้น ในจำนวนสมาชิกทั้งหมด ๒๕๐ คน คณะกรรมการที่ตั้งโดย คสช. จะเป็นผู้คัดสรรมา ๒๔๔ คน...ส่วนวิธีการคัดสรรจะมีการกำหนดต่อไป
อีก ๖ ที่นั่งที่เหลือในวุฒิสภากันไว้ให้แก่แม่ทัพนายกอง ได้แก่ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก เรือ อากาศ ตำรวจ และปลัดกระทรวงกลาโหม
ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับที่อยู่นานที่สุดของไทยที่ร่างในปี ๒๕๔๐ เป็นครั้งแรกที่วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ๒๐๐ คน การรัฐประหารในปี ๒๕๔๙ ซึ่งก่อเกิดรัฐธรรมนูญใหม่ในปี ๒๕๕๐ จำนวนวุฒิสมาชิกลดลงไปเหลือ ๑๕๐ คน โดย ๗๖ คนมาจากการเลือกตั้ง อีก ๗๔ คนมาจากการแต่งตั้ง...
ร่างรัฐธรรมนูญของ คสช. ฉบับนี้ให้อำนาจวุฒิสภาในการควบคุม ตรวจสอบ และให้คำแนะนำต่อรัฐบาล และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศเป็นเวลา ๕ ปี คณะรัฐมนตรีถูกกำหนดให้รายงานความคืบหน้าของการปฏิรูปต่อวุฒิสภา ทุกๆ ๓ เดือน
บทบัญญัติอีกอย่างที่อื้อฉาว เป็นการเปิดประตูให้แก่ผู้ที่ไม่ผ่านการเลือกตั้งได้ไปเป็นนายกรัฐมนตรี ประเด็นที่ได้รับการปฏิเสธในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญเมื่อปี ๒๕๓๕ โดยที่ก่อนจะมีการรัฐประหารเมื่อปี ๒๕๔๙ ผู้ได้รับการเสนอตัวให้เป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องมาจากสมาชิกสภาล่างเท่านั้น ร่างฯ
ล่าสุดเปลี่ยนไปเป็น ‘ใครคนหนึ่งที่สภาล่างคัดเลือกมา’
ในหลักการแล้วผู้ที่เสนอตัวเข้าไปเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งใหม่นี้ อาจมาจากการเสนอของสมาชิกสภาล่างเพียง ๕๐ คนก็ได้ แต่สภาวะการณ์อันจะมีการเสนอตัวนายกฯ แบบนี้ ยังไม่เป็นที่กระจ่างนัก
นักวิชาการบางคนเชื่อว่าประเด็นที่ยังคลุมเครือในร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้นผู้ร่างตั้งใจปล่อยไว้ไม่กระจ่าง เพื่อให้เกิดการถกเถียงในรายละเอียดที่สมเหตุสมผล...
ร่างรัฐธรรมนูญจะเข้าสู่การออกเสียงประชามติ ในวันที่ ๗ สิงหาคม หลังจากผ่านการอนุมัติโดย สนช. สภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแล้ว คณะกรรมการเลือกตั้งอ้างว่าจะมีผู้ไปออกเสียงลงประชามติถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
สมบัติ ธำรงค์ธัญญวงศ์ ศาสตราจารย์ด้านบริหารรัฐกิจแห่งสถาบันบัณฑิตพัฒนะบริหารศาสตร์ บอกว่านักการเมืองอาจจะไม่ชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่ก็ยังเลือกที่จะให้ผ่านไปสู่การเลือกตั้ง ดีเสียกว่าที่จะยังคงอยู่ภายใต้ คสช....
อะยาโกะ โตยาม่า นักวิชาการญี่ปุ่นซึ่งอยู่ระหว่างทำหน้าที่อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงร่าง รธน. นี้ว่า ‘สะท้อนให้เห็นอย่างแจ่มแจ้งถึงความมุ่งมาดปรารถนาของคณะทหารที่จะกุมอำนาจไว้นานๆ’
เธอเห็นพ้องว่าร่างฯ จะผ่านประชามติได้เพราะผู้ออกเสียงส่วนใหญ่ไม่ต้องการรอการเลือกตั้งไปอีกมากกว่านี้แล้ว ‘บางคนถึงกับมองพม่าเป็นแบบอย่าง’ เธออ้างถึงการที่รัฐบาลพลเรือนกำลังจะเข้าไปบริหารประเทศในพม่า ต่อจากระยะหัวเลี้ยวหัวต่อภายใต้การปกครองของทหาร”
ถ้าหากประเทศไทยจะต้องเดินไปตามเส้นทางแห่งชะตากรรม (หรือเวร) แบบเดียวกัน ก็คงต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า ๖ ปี โดยวัดจากผลลัพท์ของการรัฐประหารที่ผ่านมาสองปี เห็นชัดว่าหกปีข้างหน้าจะเต็มไปด้วยโคลนตมอย่างไม่มีใครช่วย
ยิ่งถ้าหากช่วงเปลี่ยนผ่านมีอันเป็นไปนานกว่าหกปี อาการหมักหมมของโคลนตมจะทำให้ช่วงเวลาต่อจากนั้นไปกลายเป็น ‘อาจม’ ก็ได้
คราวนี้มาดูที่ bright side บ้าง หากว่าประชาธิปไตยประดุจดวงดาวพราวพรายที่คนไทยหมายตาชะเง้อหา ประชาธิปไตยแบบอเมริกาก็เป็นโมเดลเด่นให้ชื่นชมและลอกแบบเอามาใช้ โดยปรับบางส่วน บางมิติ ให้ไปกันได้และถูกกับจริต ‘ไทยๆ’
เรื่องของระบบเลือกตั้งหยั่งเสียงล่วงหน้า หรือที่เรียกทับศัพท์ว่า ‘ไพรมารี่’ เคยมีการพูดถึงกันอย่างเกือบเข้าแก่นในแวดวงวิชาการทางการเมืองและในบางพรรคการเมืองไทยมามากพอดู จุดหมายใหญ่ต้องการให้มีการคัดกรองนักการเมืองที่จะไปเป็นตัวแทนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในรัฐสภาและในพรรคการเมือง ให้สะท้อนต่อความต้องการและสอดคล้องกับบุคคลิกภาพ (การใช้ชีวิตและความเชื่อถือทางจิตใจ) ของประชาชนในแต่ละพื้นที่และภาคส่วนอย่างใกล้เคียงที่สุด
ระบบไพรมารี่ของอเมริกาอาจถูกมองว่าเริ่มล้าหลังในบางมิติของการเมืองอเมริกันศตวรรษนี้ ตรงที่บางครั้งไม่ได้แสดงถึงหลักการปัจเจกนิยม ดังเช่นที่คณะหาเสียงของนายเบอร์นี่ แซนเดอร์ ผู้เสนอตัวในพรรคเดโมแครทคู่แข่งกับนางฮิลลารี่ คลินตัน โจมตีการมี super delegates หรือตัวแทนพิเศษที่เป็นอดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นส่วนสำคัญหนึ่งในการตัดสินว่าใครจะได้เป็นตัวแทนพรรคไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ว่าไม่ได้มาจากและเป็นตัวแทนชาวบ้านรากหญ้า ประหนึ่งชนชั้นได้เปรียบท่ามกลางมาตรฐานแห่งการเท่าเทียม
หากแต่วิธีการคัดกรองนักการเมืองเข้าสู่กระบวนการสมัครรับเลือกตั้งด้วยระบบไพรมารี่ก็ยังเป็นหนทางปฏิรูปทางการเมืองในระบอบรัฐสภาของไทย ให้เป็นการเมืองโดยประชาชน เพื่อประชาชนอย่างแท้จริงได้ ทั้งในส่วนใหญ่ๆ ของหลักการแก่นและหลักการรอง
ชำนาญ จันทร์เรือง ซึ่งเป็นประธานกรรมการองค์การ ‘แอมเนสตี้อินเตอร์แน้ทชั่นแนล’ ประเทศไทย เขียนบทความแนะนำ ‘ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา’ ซึ่ง ‘เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 30 มีนาคม 2559’
ที่ผู้เขียนระบุว่า “แน่ๆ ก็คือ คนทุกอาชีพ (ที่สุจริต) มีโอกาสได้เป็นประธานาธิบดี เช่น
นายแบบ-เจอร์รัลด์ ฟอร์ด, คนเก็บขยะ-ลินดอน จอห์นสัน, นักธรณีวิทยา-เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์, คนงานบนเรือเฟอร์รี-เจมส์ การ์ฟิลด์, นักสำรวจ-จอร์จ วอชิงตัน, นักแสดง-โรนัลด์ เรแกน
และแม้กระทั่งชาวไร่ชาวนาก็มีโอกาสเป็นประธานาธิบดีด้วยเช่นกัน เช่น มิลเลิร์ด ฟิลมอร์, อับราฮัม ลินคอล์น, ยูลิซิส เอส แกรนท์, เบนจามิน แฮริสัน, วอร์เรน ฮาร์ดิง, แคลวิน คูลลิดจ์, แฮร์รี ทรูแมน และจิมมี คาร์เตอร์”
ชำนาญเล่าถึง “ขั้นตอนการหยั่งเสียง ปัจจุบันมี ๓ วิธี คือ
๑) อาจได้จากวิธีการแบบ primary ซึ่งหมายถึง การจัดการเลือกตั้งขั้นต้นขึ้นในมลรัฐ
๒) แบบ caucus คือ การประชุมกลุ่มย่อยของสมาชิกพรรคในแต่ละระดับ ตั้งแต่หน่วยเล็กสุดขึ้นมา เพื่อเสนอความคิดเห็น
๓) แบบ state-covention ที่หมายถึง การประชุมใหญ่ของพรรคในระดับมลรัฐ เพื่อคัดเลือกผู้ที่ได้รับคะแนนนิยมสูงสุดเป็นตัวแทนพรรค
จาก ๑ ใน ๓ วิธีข้างต้น จะทำให้ได้ผู้แทน หรือที่เรียกว่า delegates จำนวนหนึ่ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค (National Convention) ให้เหลือตัวแทนพรรคเพียงคนเดียว ถ้าสามารถเลือกผู้แข่งขันได้ในครั้งแรกของการประชุมพรรค จะเรียกว่า first ballot victory” และ
“อเมริกาไม่มีคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ ‘กกต.’ เหมือนเมืองไทยที่จะดำเนินการเลือกตั้งในทุกระดับ มีเพียง กกต. (FEC) ที่ดูแลเฉพาะในเรื่องค่าใช้จ่ายของผู้สมัครเท่านั้น การจัดการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของท้องถิ่นและไม่มีการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้โดยอัตโนมัติแบบบ้านเรา ดังนั้น ประชาชนจะต้องลงทะเบียนก่อนจึงจะมีสิทธิเลือกตั้ง โดยจะลงทะเบียนในพื้นที่ที่ตนพำนักอยู่ หากย้ายที่อยู่ใหม่ต้องลงทะเบียนใหม่”
การวัดผลเลือกตั้ง “จะมี ๒ แบบ เรียกว่า popular vote กับ electoral vote เพราะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมิใช่การเลือกตั้งโดยตรง แต่ประชาชนจะไปเลือกผู้แทนของเขา (popular vote) เพื่อไปเลือกตั้งประธานาธิบดี (electoral vote) อีกทีหนึ่ง
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจึงเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม คนที่ได้เป็นประธานาธิบดีจะต้องชนะในส่วนของ electoral vote โดยคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้แทนราษฎรรวมกับจำนวนวุฒิสมาชิกในมลรัฐของตน ที่มีอยู่ในสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา
ประเด็นสำคัญที่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ใช้คณะผู้เลือกตั้งนี้ คือ กติกาที่ว่าผู้ชนะได้ไปทั้งหมด (winner-take-all) ซึ่งหมายความว่า ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงส่วนมากจากประชาชนในมลรัฐ ก็จะได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งไปทั้งหมด
ดังนั้น มลรัฐที่มีจำนวนคณะผู้เลือกตั้งมากๆ ก็จะเป็นเป้าหมายสำคัญของผู้สมัคร เช่น แคลิฟอร์เนีย (๕๕) เท็กซัส (๓๔) นิวยอร์ก (๓๑) ฟลอริดา (๒๗) เพนซิลวาเนีย (๒๑) เป็นต้น
ซึ่งก็มีหลายครั้งที่คนชนะ popular vote แต่ไปแพ้ electoral vote ก็อดเป็นประธานาธิบดี เช่น แอนดรู แจ็กสัน แพ้ต่อ จอห์น อดัมส์, แซมมวล ทิลเดน แพ้ต่อ รูเธอฟอร์ด เฮย์, กริฟเวอร์ คลีฟแลนด์ แพ้ต่อ เบนจามิน แฮริสัน และล่าสุดเมื่อ ๑๖ ปีที่แล้วก็คือ อัล กอร์ ก็แพ้ต่อ จอร์จ บุช จนมีเรื่องมีราวไปถึงศาลสูง (supreme court) นั่นเอง”
นอกจากนี้ “ในกรณีที่ประธานาธิบดีได้ขึ้นดำรงตำแหน่งไปแล้ว แต่ต่อมาถูกกล่าวโทษ (impeachment) หรือตาย
ผู้ที่จะสืบตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีจนหมดสมัย โดยไม่ต้องเลือกตั้งใหม่ คือ รองประธานาธิบดี, ประธานสภาผู้แทนราษฎร, ประธานวุฒิสภา, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามลำดับ”
บทความของชำนาญที่นำมา ‘ยลตามช่อง’ เทียบเคียงเป็นสังเขป น่าจะทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างโคลนตมกับดาวพราวได้ดี พอที่จะใช้ในการชั่งใจระหว่าง ขนมปังยังไม่สุกดี หรือ half-baked dough เอาไว้ไปอบต่อจนสุกพอดี ที่จะต้องเสียเวลารออีกหน่อย
หรือว่าจะรีบฉวยเอาขนมปังที่อบอย่างแดกดันไม่บันยะบันยังด้วยไฟแรงจนไหม้ เพราะอยากกินไวๆ กินแล้วก็ขื่น รสขมติดปาก กลิ่นแรงติดจมูก ต้องใช้ยาบ้วนล้างอีกหลายครั้งกว่าจะหาย
Vote No หรือ โอเค (หยวนๆ ไป) ฉันใดฉันนั้น
เรื่องของการเมือง การเลือกตั้ง และรัฐบาล คนหนึ่งเป็นนักเขียนชาวญี่ปุ่น รายงานถึงการเปิดตัวร่างรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับที่ ๒๐ สำหรับประเทศไทย ภายใต้บงการและบีบคั้นโดยคณะทหารที่ยึดอำนาจการปกครองมาใกล้ครบสองปี
อีกคนเป็นนักสิทธิมนุษยชนไทยที่มักเขียนบทความให้ข้อคิดทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ คราวนี้มาปูพื้นฐานระบบ ระเบียบ และทางปฏิบัติของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปลายปีนี้
ลองเปรียบเทียบกันดูว่าโคลนตมกับดวงดาวต่างกันอย่างไร
ยูคาโกะ โอโนะ นักเขียนประจำสำนักข่าว Nikkei Asian Review เกริ่นไว้ในรายงานเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม เรื่อง ‘Thai junta’s plan to retain power for 6 years.’ (http://asia.nikkei.com/…/Thai-junta-s-plan-to-retain-power-…) ว่า
“เกือบสองปีนับแต่การรัฐประหาร คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดที่สองเปิดเผยตัวร่างเมื่อวันอังคาร ซึ่งปล่อยให้คณะทหารผู้ปกครองยังคงอยู่ต่อไปอีก ๕ ปีใน ‘ระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ’ ก่อนที่จะได้กลับไปสู่การปกครองโดยพลเรือน...
บทความของนิคเคอิชี้ด้วยว่าบทเฉพาะกาลดังกล่าวจะมีผลบังคับเป็นเวลา ๕ ปีหลังจากที่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นแล้ว (แต่ก็) จะไม่เกิดขึ้นก่อนเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๐ แน่นอน
สภาล่างที่มีสมาชิก ๕๐๐ คน มาจากการเลือกตั้งที่ใช้บัตรใบเดียว ระบบที่ออกแบบมาเพื่อให้มีพรรคการเมืองขนาดกลางๆ ทั้งนั้น
บทบัญญัติที่เป็นไปได้ว่าจะก่อเกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก อยู่ที่การสรรหาสมาชิกสภาสูงซึ่งมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้น ในจำนวนสมาชิกทั้งหมด ๒๕๐ คน คณะกรรมการที่ตั้งโดย คสช. จะเป็นผู้คัดสรรมา ๒๔๔ คน...ส่วนวิธีการคัดสรรจะมีการกำหนดต่อไป
อีก ๖ ที่นั่งที่เหลือในวุฒิสภากันไว้ให้แก่แม่ทัพนายกอง ได้แก่ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก เรือ อากาศ ตำรวจ และปลัดกระทรวงกลาโหม
ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับที่อยู่นานที่สุดของไทยที่ร่างในปี ๒๕๔๐ เป็นครั้งแรกที่วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ๒๐๐ คน การรัฐประหารในปี ๒๕๔๙ ซึ่งก่อเกิดรัฐธรรมนูญใหม่ในปี ๒๕๕๐ จำนวนวุฒิสมาชิกลดลงไปเหลือ ๑๕๐ คน โดย ๗๖ คนมาจากการเลือกตั้ง อีก ๗๔ คนมาจากการแต่งตั้ง...
ร่างรัฐธรรมนูญของ คสช. ฉบับนี้ให้อำนาจวุฒิสภาในการควบคุม ตรวจสอบ และให้คำแนะนำต่อรัฐบาล และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศเป็นเวลา ๕ ปี คณะรัฐมนตรีถูกกำหนดให้รายงานความคืบหน้าของการปฏิรูปต่อวุฒิสภา ทุกๆ ๓ เดือน
บทบัญญัติอีกอย่างที่อื้อฉาว เป็นการเปิดประตูให้แก่ผู้ที่ไม่ผ่านการเลือกตั้งได้ไปเป็นนายกรัฐมนตรี ประเด็นที่ได้รับการปฏิเสธในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญเมื่อปี ๒๕๓๕ โดยที่ก่อนจะมีการรัฐประหารเมื่อปี ๒๕๔๙ ผู้ได้รับการเสนอตัวให้เป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องมาจากสมาชิกสภาล่างเท่านั้น ร่างฯ
ล่าสุดเปลี่ยนไปเป็น ‘ใครคนหนึ่งที่สภาล่างคัดเลือกมา’
ในหลักการแล้วผู้ที่เสนอตัวเข้าไปเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งใหม่นี้ อาจมาจากการเสนอของสมาชิกสภาล่างเพียง ๕๐ คนก็ได้ แต่สภาวะการณ์อันจะมีการเสนอตัวนายกฯ แบบนี้ ยังไม่เป็นที่กระจ่างนัก
นักวิชาการบางคนเชื่อว่าประเด็นที่ยังคลุมเครือในร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้นผู้ร่างตั้งใจปล่อยไว้ไม่กระจ่าง เพื่อให้เกิดการถกเถียงในรายละเอียดที่สมเหตุสมผล...
ร่างรัฐธรรมนูญจะเข้าสู่การออกเสียงประชามติ ในวันที่ ๗ สิงหาคม หลังจากผ่านการอนุมัติโดย สนช. สภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแล้ว คณะกรรมการเลือกตั้งอ้างว่าจะมีผู้ไปออกเสียงลงประชามติถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
สมบัติ ธำรงค์ธัญญวงศ์ ศาสตราจารย์ด้านบริหารรัฐกิจแห่งสถาบันบัณฑิตพัฒนะบริหารศาสตร์ บอกว่านักการเมืองอาจจะไม่ชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่ก็ยังเลือกที่จะให้ผ่านไปสู่การเลือกตั้ง ดีเสียกว่าที่จะยังคงอยู่ภายใต้ คสช....
อะยาโกะ โตยาม่า นักวิชาการญี่ปุ่นซึ่งอยู่ระหว่างทำหน้าที่อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงร่าง รธน. นี้ว่า ‘สะท้อนให้เห็นอย่างแจ่มแจ้งถึงความมุ่งมาดปรารถนาของคณะทหารที่จะกุมอำนาจไว้นานๆ’
เธอเห็นพ้องว่าร่างฯ จะผ่านประชามติได้เพราะผู้ออกเสียงส่วนใหญ่ไม่ต้องการรอการเลือกตั้งไปอีกมากกว่านี้แล้ว ‘บางคนถึงกับมองพม่าเป็นแบบอย่าง’ เธออ้างถึงการที่รัฐบาลพลเรือนกำลังจะเข้าไปบริหารประเทศในพม่า ต่อจากระยะหัวเลี้ยวหัวต่อภายใต้การปกครองของทหาร”
ถ้าหากประเทศไทยจะต้องเดินไปตามเส้นทางแห่งชะตากรรม (หรือเวร) แบบเดียวกัน ก็คงต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า ๖ ปี โดยวัดจากผลลัพท์ของการรัฐประหารที่ผ่านมาสองปี เห็นชัดว่าหกปีข้างหน้าจะเต็มไปด้วยโคลนตมอย่างไม่มีใครช่วย
ยิ่งถ้าหากช่วงเปลี่ยนผ่านมีอันเป็นไปนานกว่าหกปี อาการหมักหมมของโคลนตมจะทำให้ช่วงเวลาต่อจากนั้นไปกลายเป็น ‘อาจม’ ก็ได้
คราวนี้มาดูที่ bright side บ้าง หากว่าประชาธิปไตยประดุจดวงดาวพราวพรายที่คนไทยหมายตาชะเง้อหา ประชาธิปไตยแบบอเมริกาก็เป็นโมเดลเด่นให้ชื่นชมและลอกแบบเอามาใช้ โดยปรับบางส่วน บางมิติ ให้ไปกันได้และถูกกับจริต ‘ไทยๆ’
เรื่องของระบบเลือกตั้งหยั่งเสียงล่วงหน้า หรือที่เรียกทับศัพท์ว่า ‘ไพรมารี่’ เคยมีการพูดถึงกันอย่างเกือบเข้าแก่นในแวดวงวิชาการทางการเมืองและในบางพรรคการเมืองไทยมามากพอดู จุดหมายใหญ่ต้องการให้มีการคัดกรองนักการเมืองที่จะไปเป็นตัวแทนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในรัฐสภาและในพรรคการเมือง ให้สะท้อนต่อความต้องการและสอดคล้องกับบุคคลิกภาพ (การใช้ชีวิตและความเชื่อถือทางจิตใจ) ของประชาชนในแต่ละพื้นที่และภาคส่วนอย่างใกล้เคียงที่สุด
ระบบไพรมารี่ของอเมริกาอาจถูกมองว่าเริ่มล้าหลังในบางมิติของการเมืองอเมริกันศตวรรษนี้ ตรงที่บางครั้งไม่ได้แสดงถึงหลักการปัจเจกนิยม ดังเช่นที่คณะหาเสียงของนายเบอร์นี่ แซนเดอร์ ผู้เสนอตัวในพรรคเดโมแครทคู่แข่งกับนางฮิลลารี่ คลินตัน โจมตีการมี super delegates หรือตัวแทนพิเศษที่เป็นอดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นส่วนสำคัญหนึ่งในการตัดสินว่าใครจะได้เป็นตัวแทนพรรคไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ว่าไม่ได้มาจากและเป็นตัวแทนชาวบ้านรากหญ้า ประหนึ่งชนชั้นได้เปรียบท่ามกลางมาตรฐานแห่งการเท่าเทียม
หากแต่วิธีการคัดกรองนักการเมืองเข้าสู่กระบวนการสมัครรับเลือกตั้งด้วยระบบไพรมารี่ก็ยังเป็นหนทางปฏิรูปทางการเมืองในระบอบรัฐสภาของไทย ให้เป็นการเมืองโดยประชาชน เพื่อประชาชนอย่างแท้จริงได้ ทั้งในส่วนใหญ่ๆ ของหลักการแก่นและหลักการรอง
ชำนาญ จันทร์เรือง ซึ่งเป็นประธานกรรมการองค์การ ‘แอมเนสตี้อินเตอร์แน้ทชั่นแนล’ ประเทศไทย เขียนบทความแนะนำ ‘ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา’ ซึ่ง ‘เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 30 มีนาคม 2559’
ที่ผู้เขียนระบุว่า “แน่ๆ ก็คือ คนทุกอาชีพ (ที่สุจริต) มีโอกาสได้เป็นประธานาธิบดี เช่น
นายแบบ-เจอร์รัลด์ ฟอร์ด, คนเก็บขยะ-ลินดอน จอห์นสัน, นักธรณีวิทยา-เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์, คนงานบนเรือเฟอร์รี-เจมส์ การ์ฟิลด์, นักสำรวจ-จอร์จ วอชิงตัน, นักแสดง-โรนัลด์ เรแกน
และแม้กระทั่งชาวไร่ชาวนาก็มีโอกาสเป็นประธานาธิบดีด้วยเช่นกัน เช่น มิลเลิร์ด ฟิลมอร์, อับราฮัม ลินคอล์น, ยูลิซิส เอส แกรนท์, เบนจามิน แฮริสัน, วอร์เรน ฮาร์ดิง, แคลวิน คูลลิดจ์, แฮร์รี ทรูแมน และจิมมี คาร์เตอร์”
ชำนาญเล่าถึง “ขั้นตอนการหยั่งเสียง ปัจจุบันมี ๓ วิธี คือ
๑) อาจได้จากวิธีการแบบ primary ซึ่งหมายถึง การจัดการเลือกตั้งขั้นต้นขึ้นในมลรัฐ
๒) แบบ caucus คือ การประชุมกลุ่มย่อยของสมาชิกพรรคในแต่ละระดับ ตั้งแต่หน่วยเล็กสุดขึ้นมา เพื่อเสนอความคิดเห็น
๓) แบบ state-covention ที่หมายถึง การประชุมใหญ่ของพรรคในระดับมลรัฐ เพื่อคัดเลือกผู้ที่ได้รับคะแนนนิยมสูงสุดเป็นตัวแทนพรรค
จาก ๑ ใน ๓ วิธีข้างต้น จะทำให้ได้ผู้แทน หรือที่เรียกว่า delegates จำนวนหนึ่ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค (National Convention) ให้เหลือตัวแทนพรรคเพียงคนเดียว ถ้าสามารถเลือกผู้แข่งขันได้ในครั้งแรกของการประชุมพรรค จะเรียกว่า first ballot victory” และ
“อเมริกาไม่มีคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ ‘กกต.’ เหมือนเมืองไทยที่จะดำเนินการเลือกตั้งในทุกระดับ มีเพียง กกต. (FEC) ที่ดูแลเฉพาะในเรื่องค่าใช้จ่ายของผู้สมัครเท่านั้น การจัดการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของท้องถิ่นและไม่มีการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้โดยอัตโนมัติแบบบ้านเรา ดังนั้น ประชาชนจะต้องลงทะเบียนก่อนจึงจะมีสิทธิเลือกตั้ง โดยจะลงทะเบียนในพื้นที่ที่ตนพำนักอยู่ หากย้ายที่อยู่ใหม่ต้องลงทะเบียนใหม่”
การวัดผลเลือกตั้ง “จะมี ๒ แบบ เรียกว่า popular vote กับ electoral vote เพราะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมิใช่การเลือกตั้งโดยตรง แต่ประชาชนจะไปเลือกผู้แทนของเขา (popular vote) เพื่อไปเลือกตั้งประธานาธิบดี (electoral vote) อีกทีหนึ่ง
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจึงเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม คนที่ได้เป็นประธานาธิบดีจะต้องชนะในส่วนของ electoral vote โดยคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้แทนราษฎรรวมกับจำนวนวุฒิสมาชิกในมลรัฐของตน ที่มีอยู่ในสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา
ประเด็นสำคัญที่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ใช้คณะผู้เลือกตั้งนี้ คือ กติกาที่ว่าผู้ชนะได้ไปทั้งหมด (winner-take-all) ซึ่งหมายความว่า ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงส่วนมากจากประชาชนในมลรัฐ ก็จะได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งไปทั้งหมด
ดังนั้น มลรัฐที่มีจำนวนคณะผู้เลือกตั้งมากๆ ก็จะเป็นเป้าหมายสำคัญของผู้สมัคร เช่น แคลิฟอร์เนีย (๕๕) เท็กซัส (๓๔) นิวยอร์ก (๓๑) ฟลอริดา (๒๗) เพนซิลวาเนีย (๒๑) เป็นต้น
ซึ่งก็มีหลายครั้งที่คนชนะ popular vote แต่ไปแพ้ electoral vote ก็อดเป็นประธานาธิบดี เช่น แอนดรู แจ็กสัน แพ้ต่อ จอห์น อดัมส์, แซมมวล ทิลเดน แพ้ต่อ รูเธอฟอร์ด เฮย์, กริฟเวอร์ คลีฟแลนด์ แพ้ต่อ เบนจามิน แฮริสัน และล่าสุดเมื่อ ๑๖ ปีที่แล้วก็คือ อัล กอร์ ก็แพ้ต่อ จอร์จ บุช จนมีเรื่องมีราวไปถึงศาลสูง (supreme court) นั่นเอง”
นอกจากนี้ “ในกรณีที่ประธานาธิบดีได้ขึ้นดำรงตำแหน่งไปแล้ว แต่ต่อมาถูกกล่าวโทษ (impeachment) หรือตาย
ผู้ที่จะสืบตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีจนหมดสมัย โดยไม่ต้องเลือกตั้งใหม่ คือ รองประธานาธิบดี, ประธานสภาผู้แทนราษฎร, ประธานวุฒิสภา, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามลำดับ”
บทความของชำนาญที่นำมา ‘ยลตามช่อง’ เทียบเคียงเป็นสังเขป น่าจะทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างโคลนตมกับดาวพราวได้ดี พอที่จะใช้ในการชั่งใจระหว่าง ขนมปังยังไม่สุกดี หรือ half-baked dough เอาไว้ไปอบต่อจนสุกพอดี ที่จะต้องเสียเวลารออีกหน่อย
หรือว่าจะรีบฉวยเอาขนมปังที่อบอย่างแดกดันไม่บันยะบันยังด้วยไฟแรงจนไหม้ เพราะอยากกินไวๆ กินแล้วก็ขื่น รสขมติดปาก กลิ่นแรงติดจมูก ต้องใช้ยาบ้วนล้างอีกหลายครั้งกว่าจะหาย
Vote No หรือ โอเค (หยวนๆ ไป) ฉันใดฉันนั้น