แต่เดิมงานนี้ถูกทหารเบรก แต่กลุ่มผู้จัดยืนกรานที่จะจัดต่อ
บทสรุปเพิ่มเติม...ทหารไปวนเวียนแถวบ้าน...
...
ที่มา เฟสบุ๊ค กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD)
เริ่มมีทหารไปวนเวียนแถวบ้านนักศึกษาที่ขึ้นเป็นพิธีกรบนเวทีงานเสวนาวันนี้แล้วครับ
ooo
บทสรุป "ห้องเรียนประชาธิปไตย : บทที่ 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557" จัดทำโดย matichon online ลองอ่านกันดูครับ
ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้รัฐธรรมนูญชั่วคราวอาจส่งผลต่อสังคมในระยะยาว แนะการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรออกแบบให้มีความชอบธรรมตามประชาธิปไตยมากกว่านี้และเชื่อมโยงกับประชาชนมากขึ้นด้วย
ในงานเสวนา"ห้องเรียนประชาธิปไตย:บทที่1รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช2557"ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์โดยก่อนเริ่มงานมีกระแสข่าวยกเลิกจัดงานเนื่องจากกองทัพส่งหนังสือขอความร่วมมือยกเลิกงานแต่สุดท้ายนักศึกษาที่จัดงานตัดสินใจจัดงานต่อไป (คลิกอ่านรายละเอียดกระแสข่าวก่อนเริ่มงานhttp://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1407479032 )
ดร.ปิยบุตร กล่าวถึงรัฐธรรมนูญปี 2557 ฉบับชั่วคราวว่ามี 48 มาตรา แบ่งเป็น 2 ส่วนคือปัจจุบันและอนาคต ส่วนปัจจุบัน รัฐธรรมนูญกำเนิดสถาบันการเมือง 5 สถาบัน ได้แก่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.), สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี, สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ดร.ปิยบุตร ระบุว่า เมื่อพิจารณาจากตัวบทแล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีที่มาจากคสช.เป็นผู้รับผิดชอบการแต่งตั้งตามมาตรา 6 (คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคําแนะนําการแต่งตั้ง) พอแต่งตั้งแล้ว มาตรา 11 เขียนให้สนช.ย่อมเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย โดยสนช.ลงมติเลือกบุคคลเป็นนายก นายกฯจะแต่งตั้งรัฐมนตรีจึงเกิดเป็นฝ่ายบริหาร ส่วนสปช. มีที่มาจากคสช.ตั้งคณะกรรมการสรรหา เสนอชื่อให้คสช.พิจารณาและคสช.จะเป็นผู้แต่งตั้ง ขณะที่คณะกรรมการธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 36 คนมีที่มาจากการเลือกของทั้ง 4 องค์ประกอบ โดยสปช.เลือก 20 คน, สนช.เลือก 5 คน, ครม.เลือก 5 คน และคสช.เลือก 6 คน (รวมประธานอีกหนึ่งคน)
เมื่อลองตรวจในแง่การแบ่งอำนาจ ในมาตรา 42 วรรค 3 ให้อำนาจคสช.สั่งคณะรัฐมนตรีได้ในกรณีที่คสช.เห็นว่าคณะรัฐมนตรีควรดำเนินการ ขณะที่มาตรา 44 จะเห็นได้ว่าหัวหน้าคสช.สามารถตัดสินใจกรณีเห็นว่าจำเป็นต้องปฏิรูป ระงับ ปราบปราม หัวหน้าคสช.มีอำนาจสั่งการระงับยับยั้งหรือกระทำการใดๆและแจ้งสนช.ซึ่งหมายความว่าจะกลายเป็นการรวมศูนย์อำนาจ
ในแง่หลักประชาธิปไตยซึ่งคนที่ใช้อำนาจมหาชนต้องมีจุดเชื่อมโยงหาประชาชนผ่านการเลือกตั้งผู้ออกกฎหมายสำหรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้คสช.เป็นผู้สรรหาและให้คำแนะนำขณะที่ในมาตรา3มีข้อความว่า"อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย"
ในแง่นิติรัฐซึ่งรับรองว่าองค์กรที่ทำอะไรต้องไม่ขัดกฎหมายและต้องมีการตรวจสอบโดยศาลรัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้ยกเลิกศาลเช่นเดียวกับองค์กรอิสระที่อยู่ครบสิทธิเสรีภาพก็มีการรับรองโดยมีเขียนในมาตรา4แต่ถ้าดูมาตรา47ระบุว่าคสช.ออกประกาศอะไรที่ผ่านมาและในอนาคตต่อไปหรือการกระทำที่เกี่ยวกับประกาศให้ชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดถ้ามีผู้ต้องการโต้แย้งไปที่ศาลต่างๆศาลสามารถบอกว่าวินิจฉัยตามมาตรา47ให้ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ดร.ปิยบุตรกล่าวต่อว่าสำหรับการมองไปที่ส่วนอนาคตอาจสำคัญกว่าในส่วนอนาคตที่มาตรา38ในแง่กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่งต้องให้สปช.เห็นชอบปัญหาคือถ้าตกไปหรือร่างไม่ตามกำหนดเวลาจะมีการร่างใหม่ก็ได้ ยิ่งไปกว่านั้น รัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกในไทยที่มีกำหนดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวด้วย หรือกรณีที่มีคนไม่เห็นด้วย สปช.โหวตไม่ผ่าน ทางคณะยกร่างก็ร่างใหม่ทำให้ต้องอยู่กับรัฐธรรมนูญชั่วคราวไปก่อน
เมื่อดูมาตรา35ว่าด้วยกรอบการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มี10ข้ออำนาจนี้เป็นการกำหนดสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นอำนาจที่ไม่มีเงื่อนไขปราศจากข้อจำกัดคือผู้ทรงอำนาจสามารถสถาปนาได้ตามต้องการแต่เงื่อนไขในรัฐธรรมนูญนี้บอกว่าการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องมีเนื้อหาตาม10 ข้อที่กำหนด โดยคณะยกร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดทำให้ครอบคลุม 10 ข้อนี้ กล่าวคือ เป็นสเป็คของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
หมายความว่าการสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีข้อจำกัดแล้วถ้าสำรวจประเทศอื่นหลายประเทศจะมีการจำกัดการร่างหรือเขียนล็อคเอาไว้เหมือนกันดูผิวเผินก็คล้ายกับไทย แต่สำหรับรัฐธรรมนูญในไทยลองดูรายละเอียดจะเห็นว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ โดยปกติแล้วการเปลี่ยนผ่านหลักการที่ล็อคเอาไว้ต้องเป็นเรื่องการแบ่งแยกอำนาจนิติรัฐประชาธิปไตยและความเป็นอิสระของศาลแต่ของไทยมีการรับรองว่าไทยเป็นราชอาณาจักร,เป็นรัฐเดี่ยว, ให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่เหมาะสมกับสภาพสังคมของไทย ต้องมีการตรวจสอบห้ามบุคคลที่เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบดำรงตำแหน่งทางการเมืองและกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการทำลายในสิ่งที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้จึงอาจทำให้ในอนาคตอาจแก้รัฐธรรมนูญยากขึ้น
ในทางตัวบทมาตรา44เมื่อดูจากภววิสัยถ้าอ่านทั้งหมดและเทียบประกอบกับม.4ที่รับรองสิทธิก็ดูว่ามีการรับรองสิทธิไว้เยอะแต่ก็สามารถยกเลิกสิทธิ์ที่เขียนได้ทั้งหมดในมาตราเดียว
ส่วนคำถามว่าหลังรัฐธรรมนูญนี้ คสช.จะเป็นอะไร ดร.ปิยบุตร กล่าวว่า คสช.มีทั้งในรูปแบบที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันรัฐประหารเป็นต้นไป และมีทั้งคสช.ในรูปแบบช่วงหลังใช้รัฐธรรมนูญ โดยความแตกต่างอยู่ที่คสช.ในช่วงตั้งแต่รัฐประหารเป็นต้นไปออกคำสั่งต่างๆได้ แต่เมื่อมีระบบกฎหมายที่มีรธน.เป็นฐาน คสช.ในช่วงที่มีรัฐธรรมนูญแล้วต้องใช้อำนาจที่อิงรัฐธรรมนูญในการออกประกาศต่างๆ ต้องอ้างอิงฐานมาตราต่างๆ แต่จากการตรวจสอบแล้วประกาศของคสช.หลังมีรัฐธรรมนูญยังใช้มาตรฐานตามความเหมาะสม โดยไม่ได้อ้างฐานจากรัฐธรรมนูญซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐประหารปี2549นั้นแตกต่างกัน
ในส่วนข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอ.ปิยบุตรกล่าวว่าอยากให้ยกเลิกมาตรา35ทั้ง10วงเล็บส่วนการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องออกแบบให้มีความชอบธรรมตามประชาธิปไตยมากกว่านี้ รัฐธรรมนูญใหม่นอกจากจะต้องเชื่อมโยงกับประชาชนที่เป็นเจ้าของแล้ว สำหรับวิธีการเชื่อมโยงนั้นผู้ที่จะบอกว่าผ่านหรือไม่ผ่านก็ต้องมีการออกเสียงจากประชามติ
ด้าน ผศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง กล่าวว่า จารีตการเมืองในสังคมไทยถือว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราวจะใช้คำว่า "ธรรมนูญการปกครอง" แต่กรณียกเว้นมีไม่กี่ครั้ง รวมถึงฉบับปัจจุบันที่ใช้เป็นชั่วคราวซึ่งสะท้อนว่าอะไรที่คิดว่าถาวรก็ไม่ถาวรเสมอไป มีการเล่นกลกับคำว่าธรรมนูญการปกครองเป็นเจตนาที่มีคำอธิบายว่าไม่อยากให้คนอึดอัดจึงให้คำว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราวที่น่าสนใจเพราะว่าถ้าบอกเป็นฉบับชั่วคราวก็จะมีกำหนดเวลา
อีกประการคือเมื่อพูดถึงคนที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้สนช.ต้องมีอายุ40ปีขึ้นไป ทำให้จำนวนคนลดลงสะท้อนให้เห็นฐานอำนาจที่แคบขึ้น แต่มีลักษณะโน้มเอียงในทางอนุรักษ์นิยมเนื่องจากกำหนดอายุของสนช. นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังถือเป็นฉบับที่ตั้งข้อรังเกียจพรรคการเมือง ดังที่กำหนดว่าไม่ให้สนช.มีลักษณะต้องห้ามต่างๆ รวมทั้งสะท้อนไปถึงการกำหนดคุณสมบัตินายกฯและรัฐมนตรีด้วย ซึ่งเป็นการแสดงความรังเกียจนักการเมือง
ส่วนเวลาพูดถึงการทำงานของสนช. ในมาตรา 12 วรรค 2 มติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามวรรคหนึ่งต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด ถ้ามีใครเช็คองค์ประชุมก็อาจจะล่ม สะท้อนคำถามว่าบางทีการร่างที่คิดว่าจะรัดกุม บางทีก็อาจไม่เต็มที่หรือไม่
ถ้าเทียบในเรื่องข้อดี ในมาตรา 16 สมาชิกทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถาม ในความรังเกียจพรรคการเมืองเหล่านี้ ถ้าองค์กรเหล่านี้อยากทำให้ดีกว่านักการเมืองที่ตัวเองรังเกียจ อาจต้องสำแดง "มโนธรรมสำนึก" บางประการที่สำคัญกว่าการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างเช่น การแสดงบัญชีทรัพย์สินเหมือนกับที่ตรวจสอบนักการเมือง
"รัฐธรรมนูญที่มีฐานยึดโยงกับประชาชนมากที่สุดจะมากน้อยก็ไม่เป็นไรขอให้มากขึ้นเรื่อยๆ...จารีตรัฐธรรมนูญถึงจะงอกงามได้"อ.บัณฑิตกล่าวปิดท้าย
เรื่องเกี่ยวเนื่อง...
แต่เดิมทหารสั่งห้าม...
ด่วน! สั่งห้ามจัด เสวนา"ห้องเรียนประชาธิปไตย" ที่ มธ.ท่าพระจันทร์ในวันนี้
ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 8 สิงหาคม กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ได้งานเสวนา "ห้องเรียนประชาธิปไตย : บทที่ 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557"
โดย มีวิทยากรร่วมเสวนาประกอบด้วย อาจารย์บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล ณ ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารเอนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) เวลา 13.00 - 16.00 น. ในวันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2557
ล่าสุด เฟสบุ๊กส่วนตัวของอาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล หนึ่งในวิทยากรได้แจ้งว่า งานเสวนาดังกล่าวได้ถูกสั่งห้ามจัดและยกเลิก โดยมีเนื้อหาดังนี้
"นักศึกษาผู้จัดงานอภิปรายโทรศัพท์มาแจ้งผมเมื่อสักครู่ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ โดย พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ได้มีคำสั่งห้ามจัดเสวนาวิชาการเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่ มธ ท่าพระจันทร์ บ่ายวันนี้ ตอนนี้ คงกำลังหาวิธีเจรจาอยู่"
และกล่าวแสดงความคิดเห็นอีกว่า
"ถ้าการเสวนาทางวิชาการเรื่องรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๕๗ ในบ่ายวันนี้ ที่นักศึกษาจัดขึ้น โดยขออนุญาตทาง มธ. เรียบร้อย ต้องถูกห้ามจัดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ปัญหาที่ควรพิจารณาต่อไป คือ ทำไมหน่วยงานอื่นๆสามารถจัดอภิปรายพูดถึงรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๕๗ ได้ เช่น สถาบันพระปกเกล้า จัดงานเกี่ยวกับการปฏิรูปที่่กระทรวงกลาโหม โดยเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าอภิปรายเรื่องรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๕๗ มีข่าวลงรายละเอียดมากมาย
แล้วทำไมนักศึกษาถึงจัดงานในลักษณะเดียวกันไม่ได้?
เจ้าหน้าที่ตำรวจรู้ได้อย่างไรว่าในงาน วิทยากรแต่ละท่านจะอภิปรายอย่างไร?
หรือท่านดูแค่ชื่อผู้จัด ดูแค่ชื่อวิทยากร?
นี่ก็ใกล้จะเปิดภาคการศึกษาแล้ว แล้วผู้บรรยายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายมหาชน จะบรรยายอย่างไร ท่านมิต้องส่งคนเข้ามานั่งฟังด้วยหรือ?
อีก ด้านเฟสบุ๊ก ของอาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนข้อความ มีเนื้อหาว่า
"พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน แจ้งมาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สั่งยกเลิกการเสวนาวิชาการเรื่อง "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗" ที่จะจัดขึ้นในตอนบ่ายวันนี้ ขณะนี้ รอการตัดสินใจจากผู้บริหารของมหาวิทยาลัย"
ล่าสุด ผลการเจรจาระหว่างผู้จัดงาน กับทางมหาวิทยาลัย และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ข้อสรุปว่า มหาวิทยาลัยชี้แจงว่าได้อนุญาตให้จัดงานไปแล้ว และหากผู้จัดงานจะดำเนินการจัดเสวนาต่อไป ก็เป็นเรื่องที่จะต้องรับผิดชอบต่อทางเจ้าหน้าที่ผู้สั่งห้ามเอง ซึ่งกลุ่มนักศึกษาและคณาจารย์ ยืนยันที่จะจัดงานเสวนาวิชาการต่อไป เพราะ เป็นการให้ความรู้ต่อประชาชน แม้เจ้าหน้าที่จะห้าม เพราะ มีประชาชน นักเรียน นักศึกษา จำนวนมากสนใจและได้สละเวลามาร่วมงานดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้จัดงานรายหนึ่งเปิดเผยว่า "เป็นเรื่องทางวิชาการและเราก็ยินดีที่จะรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น"
...
แต่ต่อมา นศ.ยืนยันจัดเสวนาต่อ...
กลุ่มนศ.มธ.ยืนยัน เสวนา "ห้องเรียนปชต." เรื่องรธน.ชั่วคราวเดินหน้าต่อ ผู้จัดงานพร้อมรับผิดชอบ
ในงานเสวนา"ห้องเรียนประชาธิปไตย:บทที่1รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช2557"ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์โดยก่อนเริ่มงานมีกระแสข่าวยกเลิกจัดงานเนื่องจากกองทัพส่งหนังสือขอความร่วมมือยกเลิกงานแต่สุดท้ายนักศึกษาที่จัดงานตัดสินใจจัดงานต่อไป (คลิกอ่านรายละเอียดกระแสข่าวก่อนเริ่มงานhttp://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1407479032 )
ดร.ปิยบุตร กล่าวถึงรัฐธรรมนูญปี 2557 ฉบับชั่วคราวว่ามี 48 มาตรา แบ่งเป็น 2 ส่วนคือปัจจุบันและอนาคต ส่วนปัจจุบัน รัฐธรรมนูญกำเนิดสถาบันการเมือง 5 สถาบัน ได้แก่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.), สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี, สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ดร.ปิยบุตร ระบุว่า เมื่อพิจารณาจากตัวบทแล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีที่มาจากคสช.เป็นผู้รับผิดชอบการแต่งตั้งตามมาตรา 6 (คณะรักษาความสงบแห่งชาติถวายคําแนะนําการแต่งตั้ง) พอแต่งตั้งแล้ว มาตรา 11 เขียนให้สนช.ย่อมเป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทย โดยสนช.ลงมติเลือกบุคคลเป็นนายก นายกฯจะแต่งตั้งรัฐมนตรีจึงเกิดเป็นฝ่ายบริหาร ส่วนสปช. มีที่มาจากคสช.ตั้งคณะกรรมการสรรหา เสนอชื่อให้คสช.พิจารณาและคสช.จะเป็นผู้แต่งตั้ง ขณะที่คณะกรรมการธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 36 คนมีที่มาจากการเลือกของทั้ง 4 องค์ประกอบ โดยสปช.เลือก 20 คน, สนช.เลือก 5 คน, ครม.เลือก 5 คน และคสช.เลือก 6 คน (รวมประธานอีกหนึ่งคน)
เมื่อลองตรวจในแง่การแบ่งอำนาจ ในมาตรา 42 วรรค 3 ให้อำนาจคสช.สั่งคณะรัฐมนตรีได้ในกรณีที่คสช.เห็นว่าคณะรัฐมนตรีควรดำเนินการ ขณะที่มาตรา 44 จะเห็นได้ว่าหัวหน้าคสช.สามารถตัดสินใจกรณีเห็นว่าจำเป็นต้องปฏิรูป ระงับ ปราบปราม หัวหน้าคสช.มีอำนาจสั่งการระงับยับยั้งหรือกระทำการใดๆและแจ้งสนช.ซึ่งหมายความว่าจะกลายเป็นการรวมศูนย์อำนาจ
ในแง่หลักประชาธิปไตยซึ่งคนที่ใช้อำนาจมหาชนต้องมีจุดเชื่อมโยงหาประชาชนผ่านการเลือกตั้งผู้ออกกฎหมายสำหรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้คสช.เป็นผู้สรรหาและให้คำแนะนำขณะที่ในมาตรา3มีข้อความว่า"อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย"
ในแง่นิติรัฐซึ่งรับรองว่าองค์กรที่ทำอะไรต้องไม่ขัดกฎหมายและต้องมีการตรวจสอบโดยศาลรัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้ยกเลิกศาลเช่นเดียวกับองค์กรอิสระที่อยู่ครบสิทธิเสรีภาพก็มีการรับรองโดยมีเขียนในมาตรา4แต่ถ้าดูมาตรา47ระบุว่าคสช.ออกประกาศอะไรที่ผ่านมาและในอนาคตต่อไปหรือการกระทำที่เกี่ยวกับประกาศให้ชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดถ้ามีผู้ต้องการโต้แย้งไปที่ศาลต่างๆศาลสามารถบอกว่าวินิจฉัยตามมาตรา47ให้ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ดร.ปิยบุตรกล่าวต่อว่าสำหรับการมองไปที่ส่วนอนาคตอาจสำคัญกว่าในส่วนอนาคตที่มาตรา38ในแง่กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่งต้องให้สปช.เห็นชอบปัญหาคือถ้าตกไปหรือร่างไม่ตามกำหนดเวลาจะมีการร่างใหม่ก็ได้ ยิ่งไปกว่านั้น รัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกในไทยที่มีกำหนดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวด้วย หรือกรณีที่มีคนไม่เห็นด้วย สปช.โหวตไม่ผ่าน ทางคณะยกร่างก็ร่างใหม่ทำให้ต้องอยู่กับรัฐธรรมนูญชั่วคราวไปก่อน
เมื่อดูมาตรา35ว่าด้วยกรอบการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มี10ข้ออำนาจนี้เป็นการกำหนดสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นอำนาจที่ไม่มีเงื่อนไขปราศจากข้อจำกัดคือผู้ทรงอำนาจสามารถสถาปนาได้ตามต้องการแต่เงื่อนไขในรัฐธรรมนูญนี้บอกว่าการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องมีเนื้อหาตาม10 ข้อที่กำหนด โดยคณะยกร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดทำให้ครอบคลุม 10 ข้อนี้ กล่าวคือ เป็นสเป็คของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
หมายความว่าการสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีข้อจำกัดแล้วถ้าสำรวจประเทศอื่นหลายประเทศจะมีการจำกัดการร่างหรือเขียนล็อคเอาไว้เหมือนกันดูผิวเผินก็คล้ายกับไทย แต่สำหรับรัฐธรรมนูญในไทยลองดูรายละเอียดจะเห็นว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ โดยปกติแล้วการเปลี่ยนผ่านหลักการที่ล็อคเอาไว้ต้องเป็นเรื่องการแบ่งแยกอำนาจนิติรัฐประชาธิปไตยและความเป็นอิสระของศาลแต่ของไทยมีการรับรองว่าไทยเป็นราชอาณาจักร,เป็นรัฐเดี่ยว, ให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่เหมาะสมกับสภาพสังคมของไทย ต้องมีการตรวจสอบห้ามบุคคลที่เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบดำรงตำแหน่งทางการเมืองและกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการทำลายในสิ่งที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้จึงอาจทำให้ในอนาคตอาจแก้รัฐธรรมนูญยากขึ้น
ในทางตัวบทมาตรา44เมื่อดูจากภววิสัยถ้าอ่านทั้งหมดและเทียบประกอบกับม.4ที่รับรองสิทธิก็ดูว่ามีการรับรองสิทธิไว้เยอะแต่ก็สามารถยกเลิกสิทธิ์ที่เขียนได้ทั้งหมดในมาตราเดียว
ส่วนคำถามว่าหลังรัฐธรรมนูญนี้ คสช.จะเป็นอะไร ดร.ปิยบุตร กล่าวว่า คสช.มีทั้งในรูปแบบที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันรัฐประหารเป็นต้นไป และมีทั้งคสช.ในรูปแบบช่วงหลังใช้รัฐธรรมนูญ โดยความแตกต่างอยู่ที่คสช.ในช่วงตั้งแต่รัฐประหารเป็นต้นไปออกคำสั่งต่างๆได้ แต่เมื่อมีระบบกฎหมายที่มีรธน.เป็นฐาน คสช.ในช่วงที่มีรัฐธรรมนูญแล้วต้องใช้อำนาจที่อิงรัฐธรรมนูญในการออกประกาศต่างๆ ต้องอ้างอิงฐานมาตราต่างๆ แต่จากการตรวจสอบแล้วประกาศของคสช.หลังมีรัฐธรรมนูญยังใช้มาตรฐานตามความเหมาะสม โดยไม่ได้อ้างฐานจากรัฐธรรมนูญซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐประหารปี2549นั้นแตกต่างกัน
ในส่วนข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอ.ปิยบุตรกล่าวว่าอยากให้ยกเลิกมาตรา35ทั้ง10วงเล็บส่วนการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องออกแบบให้มีความชอบธรรมตามประชาธิปไตยมากกว่านี้ รัฐธรรมนูญใหม่นอกจากจะต้องเชื่อมโยงกับประชาชนที่เป็นเจ้าของแล้ว สำหรับวิธีการเชื่อมโยงนั้นผู้ที่จะบอกว่าผ่านหรือไม่ผ่านก็ต้องมีการออกเสียงจากประชามติ
ด้าน ผศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง กล่าวว่า จารีตการเมืองในสังคมไทยถือว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราวจะใช้คำว่า "ธรรมนูญการปกครอง" แต่กรณียกเว้นมีไม่กี่ครั้ง รวมถึงฉบับปัจจุบันที่ใช้เป็นชั่วคราวซึ่งสะท้อนว่าอะไรที่คิดว่าถาวรก็ไม่ถาวรเสมอไป มีการเล่นกลกับคำว่าธรรมนูญการปกครองเป็นเจตนาที่มีคำอธิบายว่าไม่อยากให้คนอึดอัดจึงให้คำว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราวที่น่าสนใจเพราะว่าถ้าบอกเป็นฉบับชั่วคราวก็จะมีกำหนดเวลา
อีกประการคือเมื่อพูดถึงคนที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้สนช.ต้องมีอายุ40ปีขึ้นไป ทำให้จำนวนคนลดลงสะท้อนให้เห็นฐานอำนาจที่แคบขึ้น แต่มีลักษณะโน้มเอียงในทางอนุรักษ์นิยมเนื่องจากกำหนดอายุของสนช. นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังถือเป็นฉบับที่ตั้งข้อรังเกียจพรรคการเมือง ดังที่กำหนดว่าไม่ให้สนช.มีลักษณะต้องห้ามต่างๆ รวมทั้งสะท้อนไปถึงการกำหนดคุณสมบัตินายกฯและรัฐมนตรีด้วย ซึ่งเป็นการแสดงความรังเกียจนักการเมือง
ส่วนเวลาพูดถึงการทำงานของสนช. ในมาตรา 12 วรรค 2 มติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามวรรคหนึ่งต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมด ถ้ามีใครเช็คองค์ประชุมก็อาจจะล่ม สะท้อนคำถามว่าบางทีการร่างที่คิดว่าจะรัดกุม บางทีก็อาจไม่เต็มที่หรือไม่
ถ้าเทียบในเรื่องข้อดี ในมาตรา 16 สมาชิกทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถาม ในความรังเกียจพรรคการเมืองเหล่านี้ ถ้าองค์กรเหล่านี้อยากทำให้ดีกว่านักการเมืองที่ตัวเองรังเกียจ อาจต้องสำแดง "มโนธรรมสำนึก" บางประการที่สำคัญกว่าการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างเช่น การแสดงบัญชีทรัพย์สินเหมือนกับที่ตรวจสอบนักการเมือง
"รัฐธรรมนูญที่มีฐานยึดโยงกับประชาชนมากที่สุดจะมากน้อยก็ไม่เป็นไรขอให้มากขึ้นเรื่อยๆ...จารีตรัฐธรรมนูญถึงจะงอกงามได้"อ.บัณฑิตกล่าวปิดท้าย
ooo
แต่เดิมทหารสั่งห้าม...
ด่วน! สั่งห้ามจัด เสวนา"ห้องเรียนประชาธิปไตย" ที่ มธ.ท่าพระจันทร์ในวันนี้
ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 8 สิงหาคม กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ได้งานเสวนา "ห้องเรียนประชาธิปไตย : บทที่ 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557"
โดย มีวิทยากรร่วมเสวนาประกอบด้วย อาจารย์บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล ณ ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารเอนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) เวลา 13.00 - 16.00 น. ในวันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2557
ล่าสุด เฟสบุ๊กส่วนตัวของอาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล หนึ่งในวิทยากรได้แจ้งว่า งานเสวนาดังกล่าวได้ถูกสั่งห้ามจัดและยกเลิก โดยมีเนื้อหาดังนี้
และกล่าวแสดงความคิดเห็นอีกว่า
"ถ้าการเสวนาทางวิชาการเรื่องรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๕๗ ในบ่ายวันนี้ ที่นักศึกษาจัดขึ้น โดยขออนุญาตทาง มธ. เรียบร้อย ต้องถูกห้ามจัดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ปัญหาที่ควรพิจารณาต่อไป คือ ทำไมหน่วยงานอื่นๆสามารถจัดอภิปรายพูดถึงรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๕๗ ได้ เช่น สถาบันพระปกเกล้า จัดงานเกี่ยวกับการปฏิรูปที่่กระทรวงกลาโหม โดยเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าอภิปรายเรื่องรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๕๗ มีข่าวลงรายละเอียดมากมาย
แล้วทำไมนักศึกษาถึงจัดงานในลักษณะเดียวกันไม่ได้?
เจ้าหน้าที่ตำรวจรู้ได้อย่างไรว่าในงาน วิทยากรแต่ละท่านจะอภิปรายอย่างไร?
หรือท่านดูแค่ชื่อผู้จัด ดูแค่ชื่อวิทยากร?
นี่ก็ใกล้จะเปิดภาคการศึกษาแล้ว แล้วผู้บรรยายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายมหาชน จะบรรยายอย่างไร ท่านมิต้องส่งคนเข้ามานั่งฟังด้วยหรือ?
"พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน แจ้งมาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สั่งยกเลิกการเสวนาวิชาการเรื่อง "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗" ที่จะจัดขึ้นในตอนบ่ายวันนี้ ขณะนี้ รอการตัดสินใจจากผู้บริหารของมหาวิทยาลัย"
ล่าสุด ผลการเจรจาระหว่างผู้จัดงาน กับทางมหาวิทยาลัย และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ข้อสรุปว่า มหาวิทยาลัยชี้แจงว่าได้อนุญาตให้จัดงานไปแล้ว และหากผู้จัดงานจะดำเนินการจัดเสวนาต่อไป ก็เป็นเรื่องที่จะต้องรับผิดชอบต่อทางเจ้าหน้าที่ผู้สั่งห้ามเอง ซึ่งกลุ่มนักศึกษาและคณาจารย์ ยืนยันที่จะจัดงานเสวนาวิชาการต่อไป เพราะ เป็นการให้ความรู้ต่อประชาชน แม้เจ้าหน้าที่จะห้าม เพราะ มีประชาชน นักเรียน นักศึกษา จำนวนมากสนใจและได้สละเวลามาร่วมงานดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้จัดงานรายหนึ่งเปิดเผยว่า "เป็นเรื่องทางวิชาการและเราก็ยินดีที่จะรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น"
...
แต่ต่อมา นศ.ยืนยันจัดเสวนาต่อ...
กลุ่มนศ.มธ.ยืนยัน เสวนา "ห้องเรียนปชต." เรื่องรธน.ชั่วคราวเดินหน้าต่อ ผู้จัดงานพร้อมรับผิดชอบ
มติชนออนไลน์
จากกรณี กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ได้งานเสวนา "ห้องเรียนประชาธิปไตย : บทที่ 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557"
โดย มีวิทยากรร่วมเสวนาประกอบด้วย อาจารย์บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล ณ ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารเอนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) เวลา 13.00 - 16.00 น. ในวันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2557
แต่เจ้าหน้าที่ได้ประสานไปทางมหาวิทยาลัยให้ยกเลิกงานเสวนาดังกล่าวนั้น
ล่าสุด ผลการเจรจาระหว่างผู้จัดงาน กับทางมหาวิทยาลัย และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ข้อสรุปว่า มหาวิทยาลัยชี้แจงว่าได้อนุญาตให้จัดงานไปแล้ว และหากผู้จัดงานจะดำเนินการจัดเสวนาต่อไป ก็เป็นเรื่องที่จะต้องรับผิดชอบต่อทางเจ้าหน้าที่ผู้สั่งห้ามเอง ซึ่งกลุ่มนักศึกษาและคณาจารย์ ยืนยันที่จะจัดงานเสวนาวิชาการต่อไป เพราะ เป็นการให้ความรู้ต่อประชาชน แม้เจ้าหน้าที่จะห้าม เพราะ มีประชาชน นักเรียน นักศึกษา จำนวนมากสนใจและได้สละเวลามาร่วมงานดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้จัดงานรายหนึ่งเปิดเผยว่า "เป็นเรื่องทางวิชาการและเราก็ยินดีที่จะรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น"
ด้านอาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล เปิดเผยว่า ไม่ได้เป็นการวิจารณ์ทางการเมือง แต่เป็นการให้ความรู้กับประชาชน สอนรัฐธรรมนูญ เท่านั้น และ พร้อมรับผิดชอบต่อการจัดงาน
ทั้งนี้บรรยากาศ เต็มไปด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีกรณีทหารทำหนังสือขอความร่วมมืองดจัดงาน ก่อนจัดงานไม่กี่ชั่วโมง โดยวิทยากรบอกแก่ผู้ร่วมรับฟังบรรยายว่าการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ภายในเวทีนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ขัดต่อประกาศหรือคำสั่งของ คสช.
ทั้งนี้ นักศึกษาบางคนที่เคยถูกทหารควบคุมตัว ระบุว่า มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบที่เคยคุมตัวพวกเขาในวันที่ 22 มิ.ย. ปะปนมากับประชาชนที่มาร่วมรับฟังห้องเรียนประชาธิปไตยครั้งนี้ด้วย
และมีทหารในเครื่องแบบ 2 นาย มาสังเกตการณ์ ในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนเดินทางออกไป
โดย มีวิทยากรร่วมเสวนาประกอบด้วย อาจารย์บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล ณ ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารเอนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) เวลา 13.00 - 16.00 น. ในวันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2557
แต่เจ้าหน้าที่ได้ประสานไปทางมหาวิทยาลัยให้ยกเลิกงานเสวนาดังกล่าวนั้น
ล่าสุด ผลการเจรจาระหว่างผู้จัดงาน กับทางมหาวิทยาลัย และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ข้อสรุปว่า มหาวิทยาลัยชี้แจงว่าได้อนุญาตให้จัดงานไปแล้ว และหากผู้จัดงานจะดำเนินการจัดเสวนาต่อไป ก็เป็นเรื่องที่จะต้องรับผิดชอบต่อทางเจ้าหน้าที่ผู้สั่งห้ามเอง ซึ่งกลุ่มนักศึกษาและคณาจารย์ ยืนยันที่จะจัดงานเสวนาวิชาการต่อไป เพราะ เป็นการให้ความรู้ต่อประชาชน แม้เจ้าหน้าที่จะห้าม เพราะ มีประชาชน นักเรียน นักศึกษา จำนวนมากสนใจและได้สละเวลามาร่วมงานดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้จัดงานรายหนึ่งเปิดเผยว่า "เป็นเรื่องทางวิชาการและเราก็ยินดีที่จะรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น"
ด้านอาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล เปิดเผยว่า ไม่ได้เป็นการวิจารณ์ทางการเมือง แต่เป็นการให้ความรู้กับประชาชน สอนรัฐธรรมนูญ เท่านั้น และ พร้อมรับผิดชอบต่อการจัดงาน
ทั้งนี้ นักศึกษาบางคนที่เคยถูกทหารควบคุมตัว ระบุว่า มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบที่เคยคุมตัวพวกเขาในวันที่ 22 มิ.ย. ปะปนมากับประชาชนที่มาร่วมรับฟังห้องเรียนประชาธิปไตยครั้งนี้ด้วย
และมีทหารในเครื่องแบบ 2 นาย มาสังเกตการณ์ ในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนเดินทางออกไป
คลิกอ่าน ด่วน! สั่งห้ามจัด เสวนา"ห้องเรียนประชาธิปไตย" ที่ มธ.ท่าพระจันทร์ในวันนี้