วันพุธ, กรกฎาคม 10, 2567

เรากำลังเผชิญกับการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างไร้การควบคุมของปลาหมอสีคางดำ ที่พบไปไกลตั้งแต่อ่าวไทยตอนบนจนถึงอ่าวไทยตอนล่าง การดำเนินการโดยหน่วยงานรัฐอย่างเดียวน่าจะไม่สามารถหยุดยั้งสถานการณ์การรุกรานได้แล้ว จำเป็นต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย


เปิดงานวิจัย "ปลาหมอสีคางดำ" ระบาดวงกว้างได้อย่างไร? | Thai PBS News

Jul 9, 2024 

เรากำลังเผชิญกับการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างไร้การควบคุม สำหรับสถานการณ์ปลาหมอสีคางดำ ที่พบไปไกลตั้งแต่อ่าวไทยตอนบนจนถึงอ่าวไทยตอนล่าง นี่จะเป็นจุดนับถอยหลัง พื้นที่ประมงน้ำเค็ม ที่พยายามพัฒนาความมั่นคงทางอาหารด้วยหรือไม่ คงต้องติดตาม

https://www.youtube.com/watch?v=tmUJ9md6-tY
.....


BIOTHAI
16 hours ago
·
จากการสำรวจโดย ทิวารัตน์ และคณะ (2566) กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง การสุ่มตัวอย่างในลำน้ำที่ติดต่อกับบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวม 3 บริเวณ ในพื้นที่ 10 จังหวัด จำนวน 58 จุดสำรวจ ประกอบด้วยพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก 4 จังหวัด จำนวน 14 จุดสำรวจ พื้นที่อ่าวไทยตอนบน 3 จังหวัด จำนวน 22 จุดสำรวจ และพื้นที่อ่าวไทยตอนกลาง 3 จังหวัด จำนวน22 จุดสำรวจ พบมีการแพร่กระจายของปลาหมอสีคางดำรวม 8 จังหวัด จำนวน 30 จุดสำรวจ คิดเป็นร้อยละ 51.72 ของจำนวนจุดสำรวจที่ศึกษา
เมื่อเปรียบเทียบโอกาสในการพบปลาหมอสีคางดำใน 3 พื้นที่ พบว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ตอนบนมีค่าร้อยละของโอกาสในการพบมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 72.73 รองลงมาได้แก่พื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ตอนกลาง และพื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก คิดเป็นร้อยละ 45.45 และ 28.57 ตามลำดับ
การที่พื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนมีร้อยละของโอกาสในการพบการแพร่กระจายมากกว่าพื้นที่อื่น เนื่องจากบริเวณนี้มีลำน้ำเชื่อมต่อถึงกันเป็นวงกว้างและติดต่อกันหลายจังหวัด อีกทั้งลักษณะทางกายภาพของลำน้ำก็มีคลองซอยย่อยจำนวนมากแตกแขนงกระจายเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ และส่วนใหญ่เป็นคลองน้ำนิ่งที่มีความลึกไม่มาก ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นสภาพแหล่งอาศัยที่พบปลาหมอสีคางดำจำนวนมาก
โดยจากการศึกษาครั้งนี้พบปลาหมอสีคางดำได้มีการแพร่กระจายขยายตัวเชิงพื้นที่เพิ่มมากขึ้นกว่าที่เคยพบเมื่อปี 2560-2561 อีก 3 จังหวัด คือ จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และได้เข้าสู่ระยะหรือขั้นตอนที่ 4 ของการแพร่กระจายและรุกรานอย่างแท้จริง จึงเป็นสถานการณ์ที่มีความน่าวิตกและกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดตามมามากขึ้นในอนาคต
โดยคณะผู้ศึกษาได้สรุปตอนท้ายว่า การดำเนินการโดยหน่วยงานรัฐอย่างเดียวน่าจะไม่สามารถหยุดยั้งสถานการณ์การรุกรานได้แล้ว จำเป็นต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย