https://www.facebook.com/thai.udd.news/videos/469178986081005
.....
ที่มา มติชนออนไลน์
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ที่ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เขตพระนคร กรุงเทพฯ กลุ่ม ThumbRights ร่วมกับ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) และ แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จัดงาน เสวนา “4 ปี 18 กรกฎา : เมื่อประชาชนมารวมตัว“
บรรยากาศภายในงาน มีวงเสวนาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง รวมถึงนิทรรศการ ที่พาย้อนเวลาไปพบกับความหวัง ความฝันและความเจ็บปวดของเยาวชนและประชาชนซึ่งออกมาชุมนุมในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อย้ำเตือนถึงความคืบหน้าในการบรรลุข้อเรียกร้องของเยาวชนปลดแอก ในการชุมนุม #ม็อบ18กรกฏาคม เมื่อปี 2563 ทั้ง 3 ข้อ ได้แก่ 1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องยุบสภา 2.หยุดคุกคามประชาชน 3.ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และสะท้อนถึงภารกิจที่ต้องสานต่อในปัจจุบัน โดยเฉพาะการผ่านร่าง พ.ร.บ.การนิรโทษกรรมประชาชน โดยรวมคดีมาตรา 112
บรรยากาศภายในงาน มีวงเสวนาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง รวมถึงนิทรรศการ ที่พาย้อนเวลาไปพบกับความหวัง ความฝันและความเจ็บปวดของเยาวชนและประชาชนซึ่งออกมาชุมนุมในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อย้ำเตือนถึงความคืบหน้าในการบรรลุข้อเรียกร้องของเยาวชนปลดแอก ในการชุมนุม #ม็อบ18กรกฏาคม เมื่อปี 2563 ทั้ง 3 ข้อ ได้แก่ 1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องยุบสภา 2.หยุดคุกคามประชาชน 3.ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และสะท้อนถึงภารกิจที่ต้องสานต่อในปัจจุบัน โดยเฉพาะการผ่านร่าง พ.ร.บ.การนิรโทษกรรมประชาชน โดยรวมคดีมาตรา 112 เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดและคืนความเป็นธรรมให้กับสังคม
บรรยากาศเวลา 15.00 น. เข้าสู่วงเสวนาช่วงที่ 2 ”ความยุติธรรมหลังการเคลื่อนไหว : อดีต ปัจจุบัน อนาคต“ ร่วมพูดคุยว่าทำไม 4 ปี ของข้อเรียกร้อง #หยุดคุกคามประชาชน แม้เปลี่ยนรัฐบาล ก็ยังไม่สำเร็จ โดย รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย ตัวแทนคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม, รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, นายเสกสิทธิ์ แย้มสงวนศักดิ์ นักวิชาการอิสระ ดำเนินรายการโดย อันเจลโลว์ แนวร่วมมธ.
ทั้งนี้ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวุฒนกุล หรือ รุ้ง อดีตโฆษกกลุ่มราษฏร เดินทางมาร่วมรับฟังด้วย โดย
บรรยากาศในช่วงท้าย มีการเปิดให้ผู้ที่ร่วมฟังถามคำถาม
น.ส.ปนัสยา หรือ รุ้ง กล่าวว่า ตนถูกดำเนินคดี ม.112 ถึง 10 คดียังไม่รวมคดีอื่นๆ อยากถามว่า ในการนิรโทษกรรม จะมีการเปิดวงพูดคุบกับนักกิจกรรมที่มีคดีการเมืองตอนนี้หรือไม่
“คดีของรุ้ง คืบเข้ามาเรื่อยๆ คนธรรมดาอย่างพวกเรา ต้องไปรอการนิรโทษกรรมในคุกหรือไม่และอยากถามว่า ทั้ง 3 ท่าน ท่านมีความเห็นว่าผู้ที่ถูกดำเนินคดี ม.112 ควรได้รับการนิรโทษกรรมด้วยหรือไม่ เพราะอะไร” น.ส.ปนัสยากล่าว
รศ.ดร.ยุทธพร กล่าวว่า เราเคยเชิญผู้ที่ถูกดำเนินคดีทางการเมือง มาให้ความเห็นแล้ว แต่ขอไม่กล่าวชื่อ เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล ทั้งนี้ เราได้รับฟังมุมมองในการแสดงความเห็น ต่อทั้งเหตุการณ์ทางการเมือง การแสดงความเห็น การชุมนุมของกลุ่มเยาวชน ตั้งแต่ปี 2563-2567 หลังจากนี้ กระบวนการพูดคุย หรือเวที สำคัญมากที่ต้องมี แต่จะต้องเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ขั้น เสนอสภาผู้แทนราษฎรแล้ว
“แต่ผมไม่เห็นด้วย ว่าถ้าเข้าสภาไปแล้ว จะไปยกมือโหวตกันในสภาเลย ควรจะต้องมีการพูดคุย จากทุกวง ทุกกลุ่ม โดยอาจจะใช้วิธีเปิดสาธารณะ ให้ประชาชนได้ร่วมรับฟังมุมมอง รับฟังความเห็นพี่น้องจากทั่วประเทศ แล้วนำมาประกอบการตัดสินใจ เพราะจะใช้เพียงหลักประชาธิปไตยแบบผู้แทนอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องใช้หลัก ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ซึ่งจะเป็นพลังด้วยในอีกทาง เพื่อสะท้อนภาพต่อไป เมื่อเข้าไปสู่ขั้นวุฒิสภา ว่าเป็นความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องได้รับการแก้ไข
ผมมองว่า ไม่ว่าใครก็ไม่ควรได้รับผลจากการดำเนินคดีทางการเมืองทั้งสิ้น รวมถึง ม.112 ด้วย เพื่อให้สังคมเดินไปข้างหน้าได้” รศ.ดร.ยุทธพรชี้
ด้าน รศ.ดร.มุนินทร์ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่จะต้องนิรโทษกรรมโดยรวมคดี ม.112 เพราะ 1.เป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และ พิทักษ์สถาบัน 2.แก้ไขความผิดพลาดทางนิติศาสตร์ ผ่าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้
ด้าน นายเสกสิทธิ์ กล่าวถึง ม.112 ว่า 1. โดยสภาพแล้วเป็นคดีทางการเมือง โดยแท้ 2.มุ่งเน้นไปที่การพิจารณาคดี ที่มุ่งเน้นวัตถุประสงค์ทางการเมือง จึงหมายความว่า ม.112 เป็นคดีทางการเมืองแน่ๆ
“ถ้าเรานิรโทษกรรมโดยไม่รวม ม.112 ถือเป็นความล้มเหลวทางตรรกกะอย่างยิ่ง ถ้าจะตัด ม.112 ออก ไม่สมเหตุสมผล ดั้งนั้น ถ้าจะยืนยันนิรโทษกรรมคดีทางการเมือง ต้องนิรโทษกรรม คดี ม.112 ด้วย” นายเสกสิทธิ์กล่าว
ด้าน สตรีสูงวัย รายหนึ่งกล่าวว่า ฝากบอกรัฐสภาด้วยว่า ทำอะไรให้ไวๆ หน่อย
(https://www.matichon.co.th/politics/news_4694772)