๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๗ ครบรอบ ๖๐ ปี การถึงแก่อสัญฏรรมของ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
การเกิดอีกครั้งของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ธนาพล อิ๋วสกุล
14 Jul 2020
101
ผลิตผลของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เด็กชายแปลก ขีตตะสังคะ เกิดวันที่ 14 กรกฎาคม 2440 เป็นลูกชาวบ้านสามัญชน คนนนทบุรี พ่อชื่อนายขีด ส่วนแม่ชื่อนางสำอางค์ ในปีที่เกิดนั้นอยู่ในช่วงการสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภารกิจสำคัญคือการรวมศูนย์อำนาจจากบรรดาขุนนาง รวมทั้งเขตแดนต่างๆ ที่เคยเป็นเมืองประเทศราชหรือเมืองสองฝ่ายฟ้ามาเข้าสู่อำนาจสูงสุดของพระเจ้าแผ่นดิน โดยมีระบบราชการที่ขึ้นตรงต่อพระองค์เป็นแขนขาแทนขุนนาง[1]
การสร้างรัฐรวมศูนย์นั้นต้องสร้างระบบราชการอันใหญ่โตขึ้นมาพร้อมกันด้วย กำลังพลของระบบราชการซึ่งในเวลานั้นมีเพียงบรรดาลูกท่านหลานเธอหรือลูกขุนนางนั้นไม่เพียงพอที่จะรับภารกิจอันใหญ่โตเช่นนี้ได้ จึงต้องมีระบบการศึกษาเพื่อผลิตคนมาป้อนระบบราชการ ในเวลานั้นสถานศึกษาเกิดขึ้นมากมายเพื่อผลิตคนเข้าสู่ระบบราชการ
เด็กชายแปลกคือหนึ่งในคนรุ่นนั้น ที่ได้ใช้ระบบการศึกษาที่มีไว้เพื่อสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นโอกาสเลื่อนชั้นสถานะทางสังคม แปลกเข้าสู่ระบบศึกษาครั้งแรกที่โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี จนเมื่ออายุ 12 ปี จึงเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบก (นักเรียนชั้นประถม 3 ปี นักเรียนชั้นมัธยม 3 ปี) เป็น ‘นักเรียนทำการนายร้อย’ เมื่ออายุ 18 ปี (9 พฤษภาคม 2458) สังกัด ‘เหล่าปืนใหญ่’ จากนั้นจึงเป็น ‘ว่าที่ร้อยตรี’ (1 พฤศจิกายน 2458) ด้วยความที่เป็นนักเรียนหัวดี แปลกเป็นนักเรียนทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนทหารปืนใหญ่ประเทศฝรั่งเศส
ณ ที่นั้นเอง ร้อยโทแปลก ขีตตะสังคะ นักเรียนวิชาทหารปืนใหญ่ ประเทศฝรั่งเศส กับเพื่อนร่วมอุดมการณ์อีก 6 คนก็ตั้งคณะราษฎรขึ้นมา มุ่งหมายจะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เพื่อนทั้ง 6 คนประกอบด้วย
1. ปรีดี พนมยงค์ นักเรียนวิชากฎหมาย ประเทศฝรั่งเศส
2. ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี นักเรียนวิชารัฐศาสตร์ ประเทศฝรั่งเศส
3. ร้อยตรี ทัศนัย มิตรภักดี นักเรียนวิชาทหารม้า ประเทศฝรั่งเศส
4. ตั้ว ลพานุกรม นักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
5. จรูญ สิงหเสนี ผู้ช่วยราชการสถานทูตสยามในประเทศฝรั่งเศส
6. แนบ พหลโยธิน นักเรียนวิชากฎหมาย ประเทศอังกฤษ
เมื่อกลับจากต่างประเทศ ร้อยโทแปลกเข้ารับราชการ มีความเจริญก้าวหน้าตามลำดับ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพิบูลสงคราม ส่วนปรีดี พนมยงค์ เป็นหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ทุกคนมิได้ทิ้งอุดมการณ์ ยังคงมุ่งมั่นที่จะทำการปฏิวัติ จากจุดเริ่มต้นในปี 2469 ภารกิจดังกล่าวเสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475
ในวันนั้นนายพันโทหลวงพิบูลสงครามมีตำแหน่งทางราชการเป็นหัวหน้ากองตรวจอากาศสำหรับใช้ทดลอง กรมจเรทหารปืนใหญ่ จากนายทหารปืนใหญ่ก็เข้าสู่วงการการเมืองไปพร้อมกัน เขารับตำแหน่งในรัฐบาล เป็นหนึ่งในคณะกรรมการราษฎร ซึ่งก็คือรัฐมนตรีนั่นเอง หลังจากนั้นชีวิตทางการเมืองก็ก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ
แปลก-ปรีดี คู่หูสร้างชาติไทยใหม่
แม้จะเป็นผู้ก่อตั้งคณะราษฎรและเป็นผู้ปฏิบัติงานสำคัญในการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 แต่หลวงพิบูลก็เป็นแค่นายทหารระดับกลางที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของนายทหารระดับอาวุโส คือบรรดา 4 ทหารเสืออันประกอบด้วยพระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ พระประศาสน์พิทยายุทธ ขณะที่ปรีดี พนมยงค์ เพื่อนร่วมอุดมการณ์ แม้จะอายุน้อยกว่าแปลก 3 ปี แต่การเป็นมันสมองของคณะราษฎร ทำให้ปรีดีมีบทบาทนำอย่างโดดเด่น
อย่างไรก็ตาม เมื่อความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรกับพระปกเกล้าฯ และบรรดาฝ่ายนิยมเจ้าเริ่มแหลมคมขึ้นตั้งแต่เรื่องสมุดปกเหลืองของปรีดี พนมยงค์ ตามด้วยการที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดาอาศัยเล่ห์กลทางกฎหมายประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 ซึ่งก็คือการรัฐประหารโดยกฎหมายนั่นเอง หลวงพิบูลสงครามก็รับบทบาทเป็นผู้นำในการตอบโต้ปฏิปักษ์ปฏิวัติโดยยึดอำนาจคืนจากพระยามโนปกรณ์ฯ ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2476 ต่อมาบทบาททางการทหารของเขาก็ยิ่งโดดเด่นขึ้นอีกเมื่อพระองค์เจ้าบวรเดชก่อกบฏขึ้นในเดือนตุลาคม 2476 หลวงพิบูลสงครามคือผู้นำทัพปราบกบฏ หลังจากนั้นบทบาทของหลวงพิบูลก็เป็นรองเพียงแค่พระยาพหลพลพยุหเสนาเท่านั้น
เมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนาบอกว่าจะไม่เป็นนายกรัฐมนตรีอีกต่อไป ในปี 2481 หลวงพิบูลก็ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของระบอบใหม่ด้วยวัยเพียง 41 ปี
แต่หลวงพิบูลไม่ได้มาคนเดียว เขากับปรีดี พนมยงค์ มันสมองคณะราษฎร ซึ่งในเวลานั้นอายุเพียง 38 ปี พร้อมกันคณะราษฎรคนอื่นๆ ก็มีบทบาทสำคัญร่วมกันในสร้างประเทศไทยใหม่ด้วยโครงการต่างๆ มากมาย[2] พร้อมๆ กับฝ่ายนิยมเจ้าก็พยายามโต้การปฏิวัติอย่างถึงพริกถึงขิง[3]
แปลก ปรีดี น้ำแยกสาย ไผ่แยกกอ
แต่ความขัดแย้งระหว่างปรีดีกับจอมพล ป. ก็เกิดขึ้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติขึ้นในยุโรป หลวงพิบูลเห็นว่าตอนนั้นฝรั่งเศสกำลังอ่อนแอเนื่องจากถูกนาซียึดครอง น่าจะเป็นโอกาสดีที่จะทวงคืนดินแดนอินโดจีนที่เสียให้ฝรั่งเศสในเหตุการณ์ ร.ศ. 112 กลับคืนมา ดังคำขวัญ “ไทย 2483 ไม่ใช่ สยาม 112” แต่ปรีดีไม่เห็นด้วย เขาเห็นว่าไทยควรวางตัวเป็นกลาง เพราะคาดการณ์ว่าในอนาคตนาซีเยอรมันน่าจะพ่ายแพ้
สงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสยังไม่รู้แพ้ชนะ ญี่ปุ่นก็เข้ามาไกล่เกลี่ยเพื่อแสดงว่าตนจะเป็นผู้นำเอเชียในอนาคต ส่งผลให้ไทยได้ดินแดนที่เคยสูญเสียไปเมื่อ ร.ศ. 112 กลับคืนมา และพลตรีหลวงพิบูลสงครามก็ได้เลื่อนยศเป็นจอมพล ป. พิบูลสงครามดังที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน
แต่นั่นก็ทำให้รอยปริระหว่างแปลกกับปรีดี เพื่อนร่วมอุดมการณ์แยกห่างออกจากกันมากขึ้นไปอีก
ฟางเส้นสุดท้ายคือเมื่อญี่ปุ่นยาตราทัพเข้ามาในประเทศไทยในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 จอมพล ป. เลือกที่จะไม่ต่อต้านญี่ปุ่น แต่กลับประกาศจุดยืนเป็นมิตรร่วมรบและประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษในเวลาต่อมา ขณะที่ปรีดี พนมยงค์ รวบรวมสมัครพรรคพวกก่อตั้งองค์กรต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นทันทีในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ก่อนที่จะเป็นขบวนการเสรีไทยในที่สุด[4]
เมื่อทั้งสองคนมองเห็นบทบาทประเทศไทยในสงครามโลกครั้งที่สองแตกต่างกัน การเดินทางที่ร่วมกันมาตั้งแต่ฝรั่งเศสในทศวรรษ 2460 ก็จบสิ้นลงในปี 2484 นั่นเอง
ในที่สุดจอมพล ป. พ่ายแพ้แก่ปรีดี พนมยงค์ ผู้ใช้กลไกสภาผู้แทนราษฎรทำให้จอมพล ป. หลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2487 แล้วหลังจากนั้นปรีดีก็ได้ผลักดันให้ควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน พร้อมๆ กับการที่ปรีดีซึ่งเคยร่วมกับจอมพล ป. ในการกวาดล้างอิทธิพลของฝ่ายปฏิปักษ์ปฏิวัติก็ต้องมาปรองดองกับฝ่ายนิยมเจ้า ทั้งการยุติคดียึดทรัพย์ ร.7 และการนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองที่ถูกคุมขังในยุคหลวงพิบูลสงคราม เพื่อสร้างขบวนการเสรีไทยร่วมกัน
แปลกกลับมาบนความพ่ายแพ้ของปรีดี
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ปรีดีในฐานะผู้นำขบวนการเสรีไทยคือผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดในการเมืองไทยท่ามกลางความพ่ายแพ้ของกองทัพที่นำพาประเทศเข้าสู่สงคราม ขณะที่จอมพล ป. กลายเป็นอาชญากรสงครามที่ชีวิตแขวนอยู่บนเส้นด้ายและอาจจะต้องถูกประหารเช่นเดียวกับนายพลโตโจ ฮิเดกิ ผู้นำทหารของญี่ปุ่น
อย่างไรก็ดี บัวก็ยังเหลือเยื่อใย ปรีดีช่วยเหลือจอมพล ป. อยู่เบื้องหลังด้วยการพยายามตีความว่ากฎหมายอาชญากรสงครามนั้นไม่สามารถบังคับใช้ได้เพราะออกย้อนหลัง แม้จอมพล ป. จะรอดตายแต่ก็ต้องกลับไปเป็นชาวนาชาวไร่แถวลำลูกกา ขณะที่ปรีดียังคงโลดแล่นทางการเมืองจนเป็นนายกรัฐมนตรีต่อมา
เหตุการณ์สวรรคต ร.8 ถือเป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้ง ฝ่ายนิยมเจ้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์พยายามใส่ร้ายโจมตีปรีดีว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีสวรรคต ปรีดีในฐานะนายกรัฐมนตรีจึงลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ แต่รัฐสภาก็เลือกเขากลับมาใหม่ อย่างไรก็ตาม กระแสโจมตีว่า ‘ปรีดีฆ่าในหลวง’ ได้สร้างความปั่นป่วนให้รัฐบาลจนต้องให้หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน แต่ไม่นานหลังจากนั้นเหล่านายทหารนอกราชการที่มีพลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้า ร่วมมือกับฝ่ายนิยมเจ้าก็ทำรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 แล้วเชิญให้จอมพล ป. มารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย โดยที่นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีขัดตาทัพไปก่อน จนเมื่อ 6 เมษายน 2491 คณะรัฐประหารได้จี้นายควงลงจากตำแหน่ง แล้วมอบอำนาจให้กับจอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
การเมืองไทยในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยที่ 2 (2491-2500) มีการศึกษาอย่างละเอียดและน่าตื่นเต้นโดยณัฐพล ใจจริง แล้ว กล่าวโดยสรุป นี่คือการเมืองไทยภายใต้ระเบียบโลกใหม่ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ที่สามารถสนับสนุนทั้งการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจถ้าเพียงแต่เป็นพันธมิตรกับอเมริกา ขณะที่การเมืองในประเทศ แต่ละกลุ่มการเมืองไม่เพียงแต่ทหารและตำรวจเท่านั้นที่แย่งชิงอำนาจกัน สถาบันกษัตริย์และกลุ่มนิยมเจ้าก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อย และต้องไม่ลืมว่าสภาผู้แทนราษฎรก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนดวาระทางสังคม โดยมีทั้งนักการเมืองฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายที่มีบทบาทอย่างแข็งขัน รวมไปถึงนักหนังสือพิมพ์และบรรดาพลพรรคของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่แทรกซึมไปทุกองคาพยพของสังคม และยังมีขบวนการนักศึกษาที่เริ่มก่อตัวขึ้นมาอีกด้วย[5]
แปลก ปรีดี การคืนดีที่สายเกินไป
หลังจากอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรอบ 2 มา 9 ปีโดยไม่มีกำลังทหารในการบังคับบัญชาโดยตรง จอมพล ป. ทำได้เพียงการรักษาดุลยภาพทางอำนาจระหว่างค่ายสี่เสาเทเวศน์ของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับค่ายราชครูที่นำโดยผิน ชุณหะวัณ และเผ่า ศรียานนท์ โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นพี่ใหญ่คอยรักษาเสถียรภาพทางการเมือง และมีกลุ่มนิยมเจ้ากับพรรคประชาธิปัตย์เป็นหอกข้างแคร่ของจอมพล ป. ตลอดเวลา
ในช่วงปลายรัฐบาลจอมพล ป. สฤษดิ์เริ่มมีอำนาจมากขึ้นเมื่อดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในปี 2497 แทนผิน ชุณหะวัณ และฝ่ายนิยมเจ้ารุกหนักมากขึ้น จอมพล ป.ก็เริ่มหาพันธมิตรใหม่มาคานอำนาจสฤษดิ์ มีการติดต่อกับจีนเพื่อเปิดสัมพันธ์ทางการทูต ติดต่อกับฝ่ายซ้ายเพื่อรักษาความนิยม และเปิดกว้างทางการเมือง ที่สำคัญที่สุดคือพยายามคืนดีกับปรีดี พนมยงค์ โดยเปิดโอกาสให้กลับมาสู้กับ ‘ฝ่ายศักดินา’ ด้วยการรื้อฟื้นกรณีสวรรคต[6]
ในวันที่จอมพล ป. หมดความชอบธรรม ถูกโจมตีทางการเมืองจากทุกฝ่ายหลังเหตุการณ์ ‘เลือกตั้งสกปรก 2500’ เมื่อชนชั้นนำทุกกลุ่ม (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) ถอนการสนับสนุน รัฐประหาร 16 พฤศจิกายน 2500 โดยสฤษดิ์ ธนะรัชติ์ ก็เกิดขึ้นได้อย่างง่าย โดยมีใบรับรองคือพระบรมราชโองการตั้งสฤษดิ์เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร โดยไม่ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
การขึ้นมาของสฤษดิ์นอกจากจะลบอดีตของจอมพล ป. พิบูลสงคราม รวมทั้งคณะราษฎร เช่น การยกเลิกวันชาติจาก 24 มิถุนายน เปลี่ยนเป็นวันพระราชสมภพของในหลวงภูมิพล คือ 5 ธันวาคม และยกเลิกงานฉลองรัฐธรรมนูญแล้ว ท่าทีของสฤษดิ์ต่อสถาบันกษัตริย์ก็ตรงข้ามกับจอมพล ป. อย่างสุดขั้ว สฤษดิ์สนับสนุนสถาบันกษัตริย์อย่างเต็มที่ การเสด็จเยี่ยมประชาชนทั่วประเทศและการเสด็จประพาสต่างประเทศก็เกิดขึ้นในยุคนี้ และสิ่งสำคัญที่ไม่เคยเกิดขึ้นในยุคจอมพล ป. คือการดำเนินนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายทางเศรษฐกิจ การพัฒนา และการเมืองแบบตามก้นสหรัฐอเมริกา เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือจำนวนมหาศาล ทั้งหมดก็ยิ่งทำให้ความทรงจำต่อคณะราษฎรและจอมพล ป. พิบูลสงครามเลือนหายไปตามกาลเวลา
ข่าวการเสียชีวิตในปี 2507 ที่ญี่ปุ่นของจอมพล ป. ก็เป็นเพียงข่าวหนึ่งในหน้าหนังสือพิมพ์ไม่ต่างจากดารานักแสดงคนหนึ่งเท่านั้น
ยุคแสวงหา : วาทกรรมคณะราษฎรชิงสุกก่อนห่าม และจอมพล ป. คือบรรพบุรุษของ 3 ทรราช
การอยู่ในยุครัฐประหารอย่างยาวนานนับตั้งแต่สฤษดิ์รัฐประหาร 2500 จนตายคาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2506 และการขึ้นมาอยู่ในอำนาจนานนับ 10 ปี ของ 3 ทรราช ‘ถนอม ประภาส ณรงค์’ นั้นสร้างความไม่พอใจให้กับสังคมทั่วไป เพราะมีแนวโน้มว่าจะสืบทอดอำนาจผ่านลูกหลานสืบไป
กลุ่มแรกที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวคือบรรดานิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่เริ่มต้นแสวงหาคำตอบให้กับชีวิต พวกเขาเริ่มจากปฏิเสธค่านิยมเดิมในสังคมเผด็จการ พร้อมๆ กับเปิดโลกรับทุกกระแส[7]
หนึ่ง รับความคิดจากตะวันตก โดยเฉพาะการต่อต้านสงครามเวียดนามของบรรดาซ้ายใหม่ในยุโรปและอเมริกา และพบว่าประเทศไทยคือฐานทัพขนาดใหญ่ที่อเมริกาใช้ขนระเบิดไปทิ้งที่อินโดจีนซึ่งสร้างความน่าอับอายไปทั่วโลก
สอง พวกเขาค้นพบอุดมการณ์ที่อยู่ในสังคมไทยมาก่อนหน้า คือการเคลื่อนไหวของบรรดาฝ่ายซ้ายในทศวรรษ 2490 ผ่านบทความ เรื่องสั้น บทกวี รวมทั้งการได้เจอตัวเป็นๆ ของนักคิดฝ่ายซ้าย
สาม พวกเขารับเอาอุดมการณ์ราชาชาตินิยมที่ฝังรากในสังคมไทยมาตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยเฉพาะพระราชดำรัสสละราชย์ของ ร.7 ที่มีนัยยะต่อต้านรัฐบาลทหารความว่า
ข้าพเจ้าเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร
แน่นอนว่า ผู้ร้ายในสายตาของนิสิตนักศึกษายุคแสวงหาคือบรรดาคณะราษฎรที่ชิงสุกก่อนห่ามและสร้างเผด็จการทหารขึ้นมา
แน่นอนว่า บรรพบุรุษของเผด็จการทหารเหล่านี้ไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม
หมายความว่าคณะราษฎรถูกลดเกียรติยศและความสำคัญลงหลังจากการรัฐประหาร 2500 ของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ บุคคลสำคัญอย่างปรีดีคือผู้ร้ายในกรณีสวรรคต ร.8 (แต่อย่างน้อยก็มีความดีในเรื่องการ ‘กู้ชาติ’ เป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง)
แต่สำหรับจอมพล ป. พิบูลสงครามแล้ว ‘เลวสนิท’ อาจจะยิ่งกว่า 3 ทรราชเสียด้วยซ้ำในฐานะผู้ให้กำเนิดระบบนี้ขึ้นมา
หลัง 14 ตุลา 2516 นักวิชาการฝ่ายขวา เช่น ชัยอนันต์ สมุทวณิช พยายามเชื่อมโยงว่าการล้มเผด็จการทหารของเหล่านักศึกษา 14 ตุลา 2516 นั้นคืออุดมการณ์เดียวกันกับบรรดากบฏบวรเดชในปี 2476 ที่พยายามล้มรัฐบาลคณะราษฎร[8] แต่ตวามคิดของชัยอนันต์ก็ไม่ได้รับการยอมรับมากนัก เพราะในตอนนั้นอุดมการณ์คณะราษฎรก็ไม่ได้สลักสำคัญมาก
ปัจจุบัน พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. ในฐานะตัวแทนของกองทัพได้พยายามสร้างภาพว่าคณะราษฎรคือผู้ล้มเจ้า ขณะที่กบฏบวรเดชคือผู้จงรักภักดี ถึงกับตั้งชื่อห้องประชุมในกองบัญชาการกองทัพบกว่า ‘ห้องบวรเดช’ และ ‘ห้องศรีสิทธิสงคราม’ ขณะที่ในแวดวงวิชาการ ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ก็นำความคิดของชัยอนันต์มานำเสนออีกครั้งในบทความ “การศึกษาเหตุการณ์ ‘กบฏบวรเดช’ ในทางวิชาการ”[9] ซึ่งมีเนื้อหาสอดรับกับความคิดของ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อย่างน่าสนใจ
ทั้งหมดคือการตอกย้ำภาพลักษณ์ของจอมพล ป. พิบูลสงครามในฐานะผู้ปราบกบฏบวรเดชให้ย่ำแย่กว่าเดิมไปอีก
ฟื้นฟูปรีดีกลับมาเป็น ‘คนดี’
รัฐประหาร 19 กันยา กับการเกิดใหม่ของคณะราษฎร
ผู้เขียนได้เคยเขียนถึงการเกิดใหม่ครั้งที่ 2 ของคณะราษฎรว่าหลังรัฐประหาร 2549 อุดมการณ์เดือนตุลาฯ ได้จบสิ้นลงแล้ว เพราะเกิดการแตกกระสานซ่านเซ็นทางอุดมการณ์ คนเดือนตุลาฯ หลายคนที่เคยมีบทบาทนำในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และพฤษภา 2535 กลายเป็นหางเครื่องให้กับคณะรัฐประหาร มิต้องพูดถึงกลุ่ม ‘ประชาสังคม’ ที่พร้อมจะ ‘เอียงขวา’ เข้าร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วยข้ออ้างทำนองว่า ‘ทักษิณเลวร้ายที่สุดในโลก’
เมื่ออุดมการณ์เดือนตุลาฯ จบลงแล้ว และเมื่อคู่ต่อสู้คือพลังอำมาตยาธิปไตย ดังนั้น อุดมการณ์ที่ดูจะเป็น ‘คู่ชก’ ที่สมน้ำสมเนื้อที่สุดคืออุดมการณ์คณะราษฎรนั่นเอง หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เราจึงเห็นสิ่งที่ไม่เคยได้เห็นมาเนิ่นนาน อาทิ การจัดงานขนาดใหญ่ฉลอง ‘วันชาติ’ ที่บริเวณหมุดคณะราษฎร การรื้อฟื้นประวัติของจอมพล ป. พิบูลสงครามในฐานะผู้ต่อสู้กับระบอบเก่าอย่างถึงพริกถึงขิง การใช้พื้นที่อนุสาวรีย์หลักสี่ในฐานะสัญลักษณ์ของ ‘อนุสาวรีย์ปราบกบฏ’ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ในต่างจังหวัด นี่ยังไม่รวมคลิปเสวนา บทเพลง รวมทั้งหนังสืออีกจำนวนมากที่ผลิตออกมาในช่วงนี้[13]
ชาตรี ประกิตนนทการ จึงฟันธงว่ารัฐประหาร 19 กันยา ได้ให้กำเนิดคณะราษฎรอีกครั้ง
“คณะราษฎรก็เป็นกลุ่มบุคคลทางประวัติศาสตร์ที่กำเนิดขึ้นสองครั้ง ครั้งแรกจากผลงานในการปฏิวัติล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2475 แต่หลังจากนั้นเพียง 15 ปี ความทรงจำเกี่ยวกับคณะราษฎรก็เริ่มถูกลืมเลือน ตลอดจนถูกตีความในแง่ลบ จนกล่าวได้ว่าคณะราษฎรได้ตายไปเกือบสิ้นเชิงจากความทรงจำทางประวัติศาสตร์ แต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทำให้คณะราษฎรถือกำเนิดขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งในฐานะ ‘วีรชนประชาธิปไตย’ ของการต่อสู้กับอุดมการณ์กษัตริย์นิยมที่ครอบงำสังคมไทย”[14]
ความไม่เพียงพอของปรีดี และวาทกรรม “เชื่อกูก็จบแล้ว”
ชื่อของจอม ป. พิบูลสงคราม กลับมาพร้อมกับการเกิดใหม่ครั้งที่ 2 ของคณะราษฎรภายหลังรัฐประหาร 19 กันยา 2549 แต่อุดมการณ์คณะราษฎรในยุคนี้แตกต่างจากการฟื้นฟูปรีดี พยมยงค์ มันสมองของคณะราษฎร ที่ถูกฟื้นฟูในทศวรรษ 2520
จอมพล ป. ไม่ใช่เป็นเพียง ‘คนดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ’ เช่นเดียวกับปรีดี ท่ามกลางกระแส ‘คนดี’ ที่ถูกใช้กันอย่างไม่เหลือความหมายใดๆ ในปัจจุบันเพราะใครก็สามารถเป็น ‘คนดี’ ได้
แต่จอมพล ป. ภายหลังการเกิดใหม่ของคณะราษฎรในปี 2549 คือตัวแทนของนายทหารฝ่ายคณะราษฎรที่สามารถกำราบฝ่ายปฏิปักษ์ปฏิวัติอย่างราบคาบ
ท่ามกลางการทุบทำลายมรดกคณะราษฎรทั้งทางอุดมการณ์และทางวัตถุ
วาทกรรม “เชื่อกูก็จบแล้ว” ก็ผุดขึ้นมาอย่างแพร่หลายจนกลายเป็น ‘มีม’ ในโลกออนไลน์
แน่นอนว่าการเพรียกหาจอมพล ป. พิบูลสงครามในปี 2563 คือสัญลักษณ์หนึ่งของการไม่ยอมจำนนอีกต่อไป
แม้เราจะไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นเช่นไร แต่คำกล่าวของนายพลตรีหลวงพิบูลสงครามเมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่15 สิงหาคม 2483 ยังคงเป็นอมตะวาจา
“ผมขอยืนยันว่า ในชั่วชีวิตเรา บางทีลูกเราด้วย จะต้องรบกันไปอีก และแย่งกันในระบอบเก่ากับระบอบใหม่นี้”
อ้างอิง
[1] กำเนิดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ดู กุลดา เกษบุญชู มี้ด, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ : วิวัฒนาการรัฐไทย (สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, 2562)
[2] ดูผลงานของคณะราษฎรในยุคหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เช่น ไทยในสมัยรัฐธรรมนูญ ที่ระลึกในงานฉลองวันชาติและสนธิสัญญา 24 มิถุนายน 2482 (โรงพิมพ์พานิชศุภผล, 2482) ไทยในสมัยสร้างชาติ ที่ระลึกในงานฉลองวันชาติ 24 มิถุนายน 2484 (กรมยุทธการทหารบก, 2552)
[3] ความพยายามโต้ปฏิวัติของบรรดาฝ่ายนิยมเจ้า ดู ณัฐพล ใจจริง, ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ : ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500) (สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, 2556)
[4] ปรีดี พนมยงค์, “การก่อตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นและเสรีไทย.” ใน ปรีดีกับสังคมไทย. (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526)
[5] ณัฐพล ใจจริง, “การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2491-2500)” รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2552
[6] ดูเพิ่มเติม ณัฐพล ใจจริง, “การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2491-2500) เพิ่งอ้าง ดูบทที่ 9 “ไตรภาคี” กับภาวะกึ่งอาณานิคมและการล่มสลายของประชาธิปไตยไทย
[7] ประจักษ์ ก้องกีรติ, และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ : การเมืองวัฒนธรรม ของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ (สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, 2556)
[8] ชัยอนันต์ สมุทวณิช, 14 ตุลา คณะราษฎร์กับกบฏบวรเดช ชุมนุมวิชาการอักษรศาสตร์ จุฬาฯ, 2517.
[9] ไชยันต์ ไชยพร, “การศึกษาเหตุการณ์ ‘กบฏบวรเดช’ ในทางวิชาการ”, โพสต์ทูเดย์ 3 กรกฎาคม 2563.
[10] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะ, สำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง, (ดอกหญ้า, 2535.)
[11] วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ “การแปรอักษรครั้งประวัติศาสตร์ในฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์”
[12] ธงชัย วินิจจะกูล, “ประวัติศาสตร์ไทยแบบราชาชาตินิยม: จากยุคอาณานิคมอำพรางสู่ราชชาตินิยมใหม่หรือลัทธิเสด็จพ่อของกระฎุมพีไทยในปัจจุบัน” ใน โฉมหน้าราชาชาตินิยม: รวมบทความว่าด้วยประวัติศาสตร์ไทย (ฟ้าเดียวกัน,2559)
[13] ธนาพล อิ๋วสกุล, การเกิดครั้งที่ 3 ของคณะราษฎร?, 4 กรกฎาคม 2560.
[14] ชาตรี ประกิตนนทการ, “คณะราษฎรกับรัฐประหาร 19 กันยายน” ใน ชาตรี ประกิตนนทการ, สถาปัตยกรรมไทยหลังรัฐประหาร 19 กันยา 49, (กรุงเทพฯ : อ่าน, 2558)
https://www.the101.world/the-rebirth-of-pibulsongkram/
การเกิดอีกครั้งของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ธนาพล อิ๋วสกุล
14 Jul 2020
101
ผลิตผลของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เด็กชายแปลก ขีตตะสังคะ เกิดวันที่ 14 กรกฎาคม 2440 เป็นลูกชาวบ้านสามัญชน คนนนทบุรี พ่อชื่อนายขีด ส่วนแม่ชื่อนางสำอางค์ ในปีที่เกิดนั้นอยู่ในช่วงการสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภารกิจสำคัญคือการรวมศูนย์อำนาจจากบรรดาขุนนาง รวมทั้งเขตแดนต่างๆ ที่เคยเป็นเมืองประเทศราชหรือเมืองสองฝ่ายฟ้ามาเข้าสู่อำนาจสูงสุดของพระเจ้าแผ่นดิน โดยมีระบบราชการที่ขึ้นตรงต่อพระองค์เป็นแขนขาแทนขุนนาง[1]
การสร้างรัฐรวมศูนย์นั้นต้องสร้างระบบราชการอันใหญ่โตขึ้นมาพร้อมกันด้วย กำลังพลของระบบราชการซึ่งในเวลานั้นมีเพียงบรรดาลูกท่านหลานเธอหรือลูกขุนนางนั้นไม่เพียงพอที่จะรับภารกิจอันใหญ่โตเช่นนี้ได้ จึงต้องมีระบบการศึกษาเพื่อผลิตคนมาป้อนระบบราชการ ในเวลานั้นสถานศึกษาเกิดขึ้นมากมายเพื่อผลิตคนเข้าสู่ระบบราชการ
เด็กชายแปลกคือหนึ่งในคนรุ่นนั้น ที่ได้ใช้ระบบการศึกษาที่มีไว้เพื่อสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นโอกาสเลื่อนชั้นสถานะทางสังคม แปลกเข้าสู่ระบบศึกษาครั้งแรกที่โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี จนเมื่ออายุ 12 ปี จึงเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบก (นักเรียนชั้นประถม 3 ปี นักเรียนชั้นมัธยม 3 ปี) เป็น ‘นักเรียนทำการนายร้อย’ เมื่ออายุ 18 ปี (9 พฤษภาคม 2458) สังกัด ‘เหล่าปืนใหญ่’ จากนั้นจึงเป็น ‘ว่าที่ร้อยตรี’ (1 พฤศจิกายน 2458) ด้วยความที่เป็นนักเรียนหัวดี แปลกเป็นนักเรียนทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนทหารปืนใหญ่ประเทศฝรั่งเศส
ณ ที่นั้นเอง ร้อยโทแปลก ขีตตะสังคะ นักเรียนวิชาทหารปืนใหญ่ ประเทศฝรั่งเศส กับเพื่อนร่วมอุดมการณ์อีก 6 คนก็ตั้งคณะราษฎรขึ้นมา มุ่งหมายจะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เพื่อนทั้ง 6 คนประกอบด้วย
1. ปรีดี พนมยงค์ นักเรียนวิชากฎหมาย ประเทศฝรั่งเศส
2. ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี นักเรียนวิชารัฐศาสตร์ ประเทศฝรั่งเศส
3. ร้อยตรี ทัศนัย มิตรภักดี นักเรียนวิชาทหารม้า ประเทศฝรั่งเศส
4. ตั้ว ลพานุกรม นักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
5. จรูญ สิงหเสนี ผู้ช่วยราชการสถานทูตสยามในประเทศฝรั่งเศส
6. แนบ พหลโยธิน นักเรียนวิชากฎหมาย ประเทศอังกฤษ
เมื่อกลับจากต่างประเทศ ร้อยโทแปลกเข้ารับราชการ มีความเจริญก้าวหน้าตามลำดับ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพิบูลสงคราม ส่วนปรีดี พนมยงค์ เป็นหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ทุกคนมิได้ทิ้งอุดมการณ์ ยังคงมุ่งมั่นที่จะทำการปฏิวัติ จากจุดเริ่มต้นในปี 2469 ภารกิจดังกล่าวเสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475
ในวันนั้นนายพันโทหลวงพิบูลสงครามมีตำแหน่งทางราชการเป็นหัวหน้ากองตรวจอากาศสำหรับใช้ทดลอง กรมจเรทหารปืนใหญ่ จากนายทหารปืนใหญ่ก็เข้าสู่วงการการเมืองไปพร้อมกัน เขารับตำแหน่งในรัฐบาล เป็นหนึ่งในคณะกรรมการราษฎร ซึ่งก็คือรัฐมนตรีนั่นเอง หลังจากนั้นชีวิตทางการเมืองก็ก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ
แปลก-ปรีดี คู่หูสร้างชาติไทยใหม่
แม้จะเป็นผู้ก่อตั้งคณะราษฎรและเป็นผู้ปฏิบัติงานสำคัญในการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 แต่หลวงพิบูลก็เป็นแค่นายทหารระดับกลางที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของนายทหารระดับอาวุโส คือบรรดา 4 ทหารเสืออันประกอบด้วยพระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ พระประศาสน์พิทยายุทธ ขณะที่ปรีดี พนมยงค์ เพื่อนร่วมอุดมการณ์ แม้จะอายุน้อยกว่าแปลก 3 ปี แต่การเป็นมันสมองของคณะราษฎร ทำให้ปรีดีมีบทบาทนำอย่างโดดเด่น
อย่างไรก็ตาม เมื่อความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรกับพระปกเกล้าฯ และบรรดาฝ่ายนิยมเจ้าเริ่มแหลมคมขึ้นตั้งแต่เรื่องสมุดปกเหลืองของปรีดี พนมยงค์ ตามด้วยการที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดาอาศัยเล่ห์กลทางกฎหมายประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 ซึ่งก็คือการรัฐประหารโดยกฎหมายนั่นเอง หลวงพิบูลสงครามก็รับบทบาทเป็นผู้นำในการตอบโต้ปฏิปักษ์ปฏิวัติโดยยึดอำนาจคืนจากพระยามโนปกรณ์ฯ ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2476 ต่อมาบทบาททางการทหารของเขาก็ยิ่งโดดเด่นขึ้นอีกเมื่อพระองค์เจ้าบวรเดชก่อกบฏขึ้นในเดือนตุลาคม 2476 หลวงพิบูลสงครามคือผู้นำทัพปราบกบฏ หลังจากนั้นบทบาทของหลวงพิบูลก็เป็นรองเพียงแค่พระยาพหลพลพยุหเสนาเท่านั้น
เมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนาบอกว่าจะไม่เป็นนายกรัฐมนตรีอีกต่อไป ในปี 2481 หลวงพิบูลก็ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของระบอบใหม่ด้วยวัยเพียง 41 ปี
แต่หลวงพิบูลไม่ได้มาคนเดียว เขากับปรีดี พนมยงค์ มันสมองคณะราษฎร ซึ่งในเวลานั้นอายุเพียง 38 ปี พร้อมกันคณะราษฎรคนอื่นๆ ก็มีบทบาทสำคัญร่วมกันในสร้างประเทศไทยใหม่ด้วยโครงการต่างๆ มากมาย[2] พร้อมๆ กับฝ่ายนิยมเจ้าก็พยายามโต้การปฏิวัติอย่างถึงพริกถึงขิง[3]
แปลก ปรีดี น้ำแยกสาย ไผ่แยกกอ
แต่ความขัดแย้งระหว่างปรีดีกับจอมพล ป. ก็เกิดขึ้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติขึ้นในยุโรป หลวงพิบูลเห็นว่าตอนนั้นฝรั่งเศสกำลังอ่อนแอเนื่องจากถูกนาซียึดครอง น่าจะเป็นโอกาสดีที่จะทวงคืนดินแดนอินโดจีนที่เสียให้ฝรั่งเศสในเหตุการณ์ ร.ศ. 112 กลับคืนมา ดังคำขวัญ “ไทย 2483 ไม่ใช่ สยาม 112” แต่ปรีดีไม่เห็นด้วย เขาเห็นว่าไทยควรวางตัวเป็นกลาง เพราะคาดการณ์ว่าในอนาคตนาซีเยอรมันน่าจะพ่ายแพ้
สงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสยังไม่รู้แพ้ชนะ ญี่ปุ่นก็เข้ามาไกล่เกลี่ยเพื่อแสดงว่าตนจะเป็นผู้นำเอเชียในอนาคต ส่งผลให้ไทยได้ดินแดนที่เคยสูญเสียไปเมื่อ ร.ศ. 112 กลับคืนมา และพลตรีหลวงพิบูลสงครามก็ได้เลื่อนยศเป็นจอมพล ป. พิบูลสงครามดังที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน
แต่นั่นก็ทำให้รอยปริระหว่างแปลกกับปรีดี เพื่อนร่วมอุดมการณ์แยกห่างออกจากกันมากขึ้นไปอีก
ฟางเส้นสุดท้ายคือเมื่อญี่ปุ่นยาตราทัพเข้ามาในประเทศไทยในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 จอมพล ป. เลือกที่จะไม่ต่อต้านญี่ปุ่น แต่กลับประกาศจุดยืนเป็นมิตรร่วมรบและประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษในเวลาต่อมา ขณะที่ปรีดี พนมยงค์ รวบรวมสมัครพรรคพวกก่อตั้งองค์กรต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นทันทีในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ก่อนที่จะเป็นขบวนการเสรีไทยในที่สุด[4]
เมื่อทั้งสองคนมองเห็นบทบาทประเทศไทยในสงครามโลกครั้งที่สองแตกต่างกัน การเดินทางที่ร่วมกันมาตั้งแต่ฝรั่งเศสในทศวรรษ 2460 ก็จบสิ้นลงในปี 2484 นั่นเอง
ในที่สุดจอมพล ป. พ่ายแพ้แก่ปรีดี พนมยงค์ ผู้ใช้กลไกสภาผู้แทนราษฎรทำให้จอมพล ป. หลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2487 แล้วหลังจากนั้นปรีดีก็ได้ผลักดันให้ควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน พร้อมๆ กับการที่ปรีดีซึ่งเคยร่วมกับจอมพล ป. ในการกวาดล้างอิทธิพลของฝ่ายปฏิปักษ์ปฏิวัติก็ต้องมาปรองดองกับฝ่ายนิยมเจ้า ทั้งการยุติคดียึดทรัพย์ ร.7 และการนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองที่ถูกคุมขังในยุคหลวงพิบูลสงคราม เพื่อสร้างขบวนการเสรีไทยร่วมกัน
แปลกกลับมาบนความพ่ายแพ้ของปรีดี
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ปรีดีในฐานะผู้นำขบวนการเสรีไทยคือผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดในการเมืองไทยท่ามกลางความพ่ายแพ้ของกองทัพที่นำพาประเทศเข้าสู่สงคราม ขณะที่จอมพล ป. กลายเป็นอาชญากรสงครามที่ชีวิตแขวนอยู่บนเส้นด้ายและอาจจะต้องถูกประหารเช่นเดียวกับนายพลโตโจ ฮิเดกิ ผู้นำทหารของญี่ปุ่น
อย่างไรก็ดี บัวก็ยังเหลือเยื่อใย ปรีดีช่วยเหลือจอมพล ป. อยู่เบื้องหลังด้วยการพยายามตีความว่ากฎหมายอาชญากรสงครามนั้นไม่สามารถบังคับใช้ได้เพราะออกย้อนหลัง แม้จอมพล ป. จะรอดตายแต่ก็ต้องกลับไปเป็นชาวนาชาวไร่แถวลำลูกกา ขณะที่ปรีดียังคงโลดแล่นทางการเมืองจนเป็นนายกรัฐมนตรีต่อมา
เหตุการณ์สวรรคต ร.8 ถือเป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้ง ฝ่ายนิยมเจ้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์พยายามใส่ร้ายโจมตีปรีดีว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีสวรรคต ปรีดีในฐานะนายกรัฐมนตรีจึงลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ แต่รัฐสภาก็เลือกเขากลับมาใหม่ อย่างไรก็ตาม กระแสโจมตีว่า ‘ปรีดีฆ่าในหลวง’ ได้สร้างความปั่นป่วนให้รัฐบาลจนต้องให้หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน แต่ไม่นานหลังจากนั้นเหล่านายทหารนอกราชการที่มีพลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้า ร่วมมือกับฝ่ายนิยมเจ้าก็ทำรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 แล้วเชิญให้จอมพล ป. มารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย โดยที่นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีขัดตาทัพไปก่อน จนเมื่อ 6 เมษายน 2491 คณะรัฐประหารได้จี้นายควงลงจากตำแหน่ง แล้วมอบอำนาจให้กับจอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
การเมืองไทยในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยที่ 2 (2491-2500) มีการศึกษาอย่างละเอียดและน่าตื่นเต้นโดยณัฐพล ใจจริง แล้ว กล่าวโดยสรุป นี่คือการเมืองไทยภายใต้ระเบียบโลกใหม่ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ที่สามารถสนับสนุนทั้งการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจถ้าเพียงแต่เป็นพันธมิตรกับอเมริกา ขณะที่การเมืองในประเทศ แต่ละกลุ่มการเมืองไม่เพียงแต่ทหารและตำรวจเท่านั้นที่แย่งชิงอำนาจกัน สถาบันกษัตริย์และกลุ่มนิยมเจ้าก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อย และต้องไม่ลืมว่าสภาผู้แทนราษฎรก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนดวาระทางสังคม โดยมีทั้งนักการเมืองฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายที่มีบทบาทอย่างแข็งขัน รวมไปถึงนักหนังสือพิมพ์และบรรดาพลพรรคของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่แทรกซึมไปทุกองคาพยพของสังคม และยังมีขบวนการนักศึกษาที่เริ่มก่อตัวขึ้นมาอีกด้วย[5]
แปลก ปรีดี การคืนดีที่สายเกินไป
หลังจากอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรอบ 2 มา 9 ปีโดยไม่มีกำลังทหารในการบังคับบัญชาโดยตรง จอมพล ป. ทำได้เพียงการรักษาดุลยภาพทางอำนาจระหว่างค่ายสี่เสาเทเวศน์ของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับค่ายราชครูที่นำโดยผิน ชุณหะวัณ และเผ่า ศรียานนท์ โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นพี่ใหญ่คอยรักษาเสถียรภาพทางการเมือง และมีกลุ่มนิยมเจ้ากับพรรคประชาธิปัตย์เป็นหอกข้างแคร่ของจอมพล ป. ตลอดเวลา
ในช่วงปลายรัฐบาลจอมพล ป. สฤษดิ์เริ่มมีอำนาจมากขึ้นเมื่อดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในปี 2497 แทนผิน ชุณหะวัณ และฝ่ายนิยมเจ้ารุกหนักมากขึ้น จอมพล ป.ก็เริ่มหาพันธมิตรใหม่มาคานอำนาจสฤษดิ์ มีการติดต่อกับจีนเพื่อเปิดสัมพันธ์ทางการทูต ติดต่อกับฝ่ายซ้ายเพื่อรักษาความนิยม และเปิดกว้างทางการเมือง ที่สำคัญที่สุดคือพยายามคืนดีกับปรีดี พนมยงค์ โดยเปิดโอกาสให้กลับมาสู้กับ ‘ฝ่ายศักดินา’ ด้วยการรื้อฟื้นกรณีสวรรคต[6]
ในวันที่จอมพล ป. หมดความชอบธรรม ถูกโจมตีทางการเมืองจากทุกฝ่ายหลังเหตุการณ์ ‘เลือกตั้งสกปรก 2500’ เมื่อชนชั้นนำทุกกลุ่ม (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) ถอนการสนับสนุน รัฐประหาร 16 พฤศจิกายน 2500 โดยสฤษดิ์ ธนะรัชติ์ ก็เกิดขึ้นได้อย่างง่าย โดยมีใบรับรองคือพระบรมราชโองการตั้งสฤษดิ์เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร โดยไม่ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
การขึ้นมาของสฤษดิ์นอกจากจะลบอดีตของจอมพล ป. พิบูลสงคราม รวมทั้งคณะราษฎร เช่น การยกเลิกวันชาติจาก 24 มิถุนายน เปลี่ยนเป็นวันพระราชสมภพของในหลวงภูมิพล คือ 5 ธันวาคม และยกเลิกงานฉลองรัฐธรรมนูญแล้ว ท่าทีของสฤษดิ์ต่อสถาบันกษัตริย์ก็ตรงข้ามกับจอมพล ป. อย่างสุดขั้ว สฤษดิ์สนับสนุนสถาบันกษัตริย์อย่างเต็มที่ การเสด็จเยี่ยมประชาชนทั่วประเทศและการเสด็จประพาสต่างประเทศก็เกิดขึ้นในยุคนี้ และสิ่งสำคัญที่ไม่เคยเกิดขึ้นในยุคจอมพล ป. คือการดำเนินนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นนโยบายทางเศรษฐกิจ การพัฒนา และการเมืองแบบตามก้นสหรัฐอเมริกา เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือจำนวนมหาศาล ทั้งหมดก็ยิ่งทำให้ความทรงจำต่อคณะราษฎรและจอมพล ป. พิบูลสงครามเลือนหายไปตามกาลเวลา
ข่าวการเสียชีวิตในปี 2507 ที่ญี่ปุ่นของจอมพล ป. ก็เป็นเพียงข่าวหนึ่งในหน้าหนังสือพิมพ์ไม่ต่างจากดารานักแสดงคนหนึ่งเท่านั้น
ยุคแสวงหา : วาทกรรมคณะราษฎรชิงสุกก่อนห่าม และจอมพล ป. คือบรรพบุรุษของ 3 ทรราช
การอยู่ในยุครัฐประหารอย่างยาวนานนับตั้งแต่สฤษดิ์รัฐประหาร 2500 จนตายคาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2506 และการขึ้นมาอยู่ในอำนาจนานนับ 10 ปี ของ 3 ทรราช ‘ถนอม ประภาส ณรงค์’ นั้นสร้างความไม่พอใจให้กับสังคมทั่วไป เพราะมีแนวโน้มว่าจะสืบทอดอำนาจผ่านลูกหลานสืบไป
กลุ่มแรกที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวคือบรรดานิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่เริ่มต้นแสวงหาคำตอบให้กับชีวิต พวกเขาเริ่มจากปฏิเสธค่านิยมเดิมในสังคมเผด็จการ พร้อมๆ กับเปิดโลกรับทุกกระแส[7]
หนึ่ง รับความคิดจากตะวันตก โดยเฉพาะการต่อต้านสงครามเวียดนามของบรรดาซ้ายใหม่ในยุโรปและอเมริกา และพบว่าประเทศไทยคือฐานทัพขนาดใหญ่ที่อเมริกาใช้ขนระเบิดไปทิ้งที่อินโดจีนซึ่งสร้างความน่าอับอายไปทั่วโลก
สอง พวกเขาค้นพบอุดมการณ์ที่อยู่ในสังคมไทยมาก่อนหน้า คือการเคลื่อนไหวของบรรดาฝ่ายซ้ายในทศวรรษ 2490 ผ่านบทความ เรื่องสั้น บทกวี รวมทั้งการได้เจอตัวเป็นๆ ของนักคิดฝ่ายซ้าย
สาม พวกเขารับเอาอุดมการณ์ราชาชาตินิยมที่ฝังรากในสังคมไทยมาตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยเฉพาะพระราชดำรัสสละราชย์ของ ร.7 ที่มีนัยยะต่อต้านรัฐบาลทหารความว่า
ข้าพเจ้าเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร
แน่นอนว่า ผู้ร้ายในสายตาของนิสิตนักศึกษายุคแสวงหาคือบรรดาคณะราษฎรที่ชิงสุกก่อนห่ามและสร้างเผด็จการทหารขึ้นมา
แน่นอนว่า บรรพบุรุษของเผด็จการทหารเหล่านี้ไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม
หมายความว่าคณะราษฎรถูกลดเกียรติยศและความสำคัญลงหลังจากการรัฐประหาร 2500 ของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ บุคคลสำคัญอย่างปรีดีคือผู้ร้ายในกรณีสวรรคต ร.8 (แต่อย่างน้อยก็มีความดีในเรื่องการ ‘กู้ชาติ’ เป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง)
แต่สำหรับจอมพล ป. พิบูลสงครามแล้ว ‘เลวสนิท’ อาจจะยิ่งกว่า 3 ทรราชเสียด้วยซ้ำในฐานะผู้ให้กำเนิดระบบนี้ขึ้นมา
หลัง 14 ตุลา 2516 นักวิชาการฝ่ายขวา เช่น ชัยอนันต์ สมุทวณิช พยายามเชื่อมโยงว่าการล้มเผด็จการทหารของเหล่านักศึกษา 14 ตุลา 2516 นั้นคืออุดมการณ์เดียวกันกับบรรดากบฏบวรเดชในปี 2476 ที่พยายามล้มรัฐบาลคณะราษฎร[8] แต่ตวามคิดของชัยอนันต์ก็ไม่ได้รับการยอมรับมากนัก เพราะในตอนนั้นอุดมการณ์คณะราษฎรก็ไม่ได้สลักสำคัญมาก
ปัจจุบัน พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. ในฐานะตัวแทนของกองทัพได้พยายามสร้างภาพว่าคณะราษฎรคือผู้ล้มเจ้า ขณะที่กบฏบวรเดชคือผู้จงรักภักดี ถึงกับตั้งชื่อห้องประชุมในกองบัญชาการกองทัพบกว่า ‘ห้องบวรเดช’ และ ‘ห้องศรีสิทธิสงคราม’ ขณะที่ในแวดวงวิชาการ ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ก็นำความคิดของชัยอนันต์มานำเสนออีกครั้งในบทความ “การศึกษาเหตุการณ์ ‘กบฏบวรเดช’ ในทางวิชาการ”[9] ซึ่งมีเนื้อหาสอดรับกับความคิดของ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อย่างน่าสนใจ
ทั้งหมดคือการตอกย้ำภาพลักษณ์ของจอมพล ป. พิบูลสงครามในฐานะผู้ปราบกบฏบวรเดชให้ย่ำแย่กว่าเดิมไปอีก
ฟื้นฟูปรีดีกลับมาเป็น ‘คนดี’
แต่ยังมองแปลกเป็น ‘ผู้ร้าย’ อยู่เช่นเดิม
การฟื้นฟูเกียรติประวัติของปรีดี พนมยงค์ เริ่มขึ้นหลัง 6 ตุลา 2519 โดยผู้มีบทบาทสำคัญคือ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการขุดค้นประวัติและผลงานของปรีดีออกมาเผยแพร่จำนวนมาก โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะที่ปรีดีเป็นผู้ประศาสน์การคนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัย[10]
สิ่งที่ปรากฏต่อสาธารณะอย่างสำคัญคือการแปรอักษรเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2526 ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ครั้งที่ 39 นักศึกษาธรรมศาสตร์ได้แปรอักษรเป็นรูปปรีดีและมีข้อความว่า
พ่อสร้างชาติด้วยสมองและสองแขน
พ่อสร้างแคว้นธรรมศาสตร์ประกาศศรี
พ่อของข้านามระบือชื่อปรีดี
แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ
ปรากฏการณ์นี้สร้างความปลาบปลื้มให้แก่ปรีดีที่ตอนนั้นพำนักอยู่ที่ฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ดังบันทึกของวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ผู้อยู่เบื้องหลังงานดังกล่าวว่า
ไม่กี่สัปดาห์ต่อมาชุมนุมเชียร์ก็ได้รับจดหมายจากอาจารย์ปรีดีส่งตรงจากประเทศฝรั่งเศส ความว่ามีคนส่งภาพการแปรอักษรครั้งนี้ไปให้ท่านดู จึงเขียนจดหมายมาขอบใจคนที่เกี่ยวข้องทุกคนที่ยังรำลึกถึงท่าน[11]
หลังจากนั้นอีก 3 เดือน ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 ปรีดีก็ถึงแก่กรรม
อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูปรีดี พนมยงค์ นับตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ยังอยู่ภายใต้ข้อจำกัด โดยต้องลดความ ‘ราดิคัล’ ที่เคียงคู่มากับปรีดีตั้งแต่การคิดวางแผนการปฏิวัติสยามในทศวรรษ 2460 ลง
ธงชัย วินิจจะกูล ได้ชี้ให้เห็นข้อจำกัดนี้ในปาฐกถาที่ทรงพลังยิ่งในเดือนพฤษภาคม 2544 ซึ่งนำเสนอแนวคิดเรื่อง ‘ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม’ โดยชี้ว่าการฟื้นฟูปรีดีแบบเสรีนิยมนั้นก่อให้เกิดปัญหาเพียงใด
กรณีปรีดี พนมยงค์ ทางออกที่กำลังเกิดขึ้นคือ ความทรงจำใหม่ที่ทำให้ปรีดี พนมยงค์ ไม่ใช่พวกแอนตี้เจ้า โยนบาปลงไปที่คนอื่นเพียงไม่กี่คน ได้แก่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม และหลวงวิจิตรวาทการ
15 ปีที่ผ่านมา ความรับรู้ของสังคมต่อความสำคัญของท่านปรีดีสูงขึ้นมากและกลายเป็นสถาบันไปแล้ว แต่เป็นปรีดีแบบที่ลดดีกรีสังคมนิยมและเพิ่มความจงรักภักดีต่อราชบัลลังก์
ปรีดี พนมยงค์เป็นมันสมองของการต่อต้านระบอบเก่า เขาคือผู้เขียนประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ซึ่งโจมตีเจ้าอย่างรุนแรง และเขียนหลัก 6 ประการ ซึ่งประการที่ 4 กล่าวไว้ว่า
“จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)”
แต่ปรีดี พนมยงค์ ที่กลายเป็นสถาบันซึ่งเป็นที่ยอมรับในสังคมขณะนี้ คือผู้เขียนหลักประการที่ 4 ว่า
“จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน” แต่ตัดข้อความในวงเล็บออก
ผู้นิยมในราชาชาตินิยมใหม่จึงสามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่า “รักทั้งในหลวงและรักอาจารย์ปรีดีด้วย” ความทรงจำชนิดนี้เป็นฝีมือของนักวิชาการและผู้นำทางปัญญาของขบวนการฝ่ายประชาชนคนยากจนในปัจจุบัน เพราะฝ่ายประชาชนในยุคนี้เป็นขบวนการประชาชนที่สมาทานต่ออุดมการณ์ราชาชาตินิยมใหม่ จึงช่วยตอกย้ำประวัติศาสตร์แบบนี้ให้มั่นคงขึ้น[12]
จะเห็นได้ว่ากระบวนการฟื้นฟูปรีดีนั้นลดความราดิคัลลง ทำให้ปรีดีกลายเป็นเพียงแค่นักเสรีนิยมดาษๆ ขณะที่จอมพล ป. ก็ยังคงเป็นผู้ร้ายอยู่เช่นเดิม
การฟื้นฟูเกียรติประวัติของปรีดี พนมยงค์ เริ่มขึ้นหลัง 6 ตุลา 2519 โดยผู้มีบทบาทสำคัญคือ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการขุดค้นประวัติและผลงานของปรีดีออกมาเผยแพร่จำนวนมาก โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะที่ปรีดีเป็นผู้ประศาสน์การคนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัย[10]
สิ่งที่ปรากฏต่อสาธารณะอย่างสำคัญคือการแปรอักษรเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2526 ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ครั้งที่ 39 นักศึกษาธรรมศาสตร์ได้แปรอักษรเป็นรูปปรีดีและมีข้อความว่า
พ่อสร้างชาติด้วยสมองและสองแขน
พ่อสร้างแคว้นธรรมศาสตร์ประกาศศรี
พ่อของข้านามระบือชื่อปรีดี
แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ
ปรากฏการณ์นี้สร้างความปลาบปลื้มให้แก่ปรีดีที่ตอนนั้นพำนักอยู่ที่ฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ดังบันทึกของวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ผู้อยู่เบื้องหลังงานดังกล่าวว่า
ไม่กี่สัปดาห์ต่อมาชุมนุมเชียร์ก็ได้รับจดหมายจากอาจารย์ปรีดีส่งตรงจากประเทศฝรั่งเศส ความว่ามีคนส่งภาพการแปรอักษรครั้งนี้ไปให้ท่านดู จึงเขียนจดหมายมาขอบใจคนที่เกี่ยวข้องทุกคนที่ยังรำลึกถึงท่าน[11]
หลังจากนั้นอีก 3 เดือน ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 ปรีดีก็ถึงแก่กรรม
อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูปรีดี พนมยงค์ นับตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ยังอยู่ภายใต้ข้อจำกัด โดยต้องลดความ ‘ราดิคัล’ ที่เคียงคู่มากับปรีดีตั้งแต่การคิดวางแผนการปฏิวัติสยามในทศวรรษ 2460 ลง
ธงชัย วินิจจะกูล ได้ชี้ให้เห็นข้อจำกัดนี้ในปาฐกถาที่ทรงพลังยิ่งในเดือนพฤษภาคม 2544 ซึ่งนำเสนอแนวคิดเรื่อง ‘ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม’ โดยชี้ว่าการฟื้นฟูปรีดีแบบเสรีนิยมนั้นก่อให้เกิดปัญหาเพียงใด
กรณีปรีดี พนมยงค์ ทางออกที่กำลังเกิดขึ้นคือ ความทรงจำใหม่ที่ทำให้ปรีดี พนมยงค์ ไม่ใช่พวกแอนตี้เจ้า โยนบาปลงไปที่คนอื่นเพียงไม่กี่คน ได้แก่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม และหลวงวิจิตรวาทการ
15 ปีที่ผ่านมา ความรับรู้ของสังคมต่อความสำคัญของท่านปรีดีสูงขึ้นมากและกลายเป็นสถาบันไปแล้ว แต่เป็นปรีดีแบบที่ลดดีกรีสังคมนิยมและเพิ่มความจงรักภักดีต่อราชบัลลังก์
ปรีดี พนมยงค์เป็นมันสมองของการต่อต้านระบอบเก่า เขาคือผู้เขียนประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ซึ่งโจมตีเจ้าอย่างรุนแรง และเขียนหลัก 6 ประการ ซึ่งประการที่ 4 กล่าวไว้ว่า
“จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)”
แต่ปรีดี พนมยงค์ ที่กลายเป็นสถาบันซึ่งเป็นที่ยอมรับในสังคมขณะนี้ คือผู้เขียนหลักประการที่ 4 ว่า
“จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน” แต่ตัดข้อความในวงเล็บออก
ผู้นิยมในราชาชาตินิยมใหม่จึงสามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่า “รักทั้งในหลวงและรักอาจารย์ปรีดีด้วย” ความทรงจำชนิดนี้เป็นฝีมือของนักวิชาการและผู้นำทางปัญญาของขบวนการฝ่ายประชาชนคนยากจนในปัจจุบัน เพราะฝ่ายประชาชนในยุคนี้เป็นขบวนการประชาชนที่สมาทานต่ออุดมการณ์ราชาชาตินิยมใหม่ จึงช่วยตอกย้ำประวัติศาสตร์แบบนี้ให้มั่นคงขึ้น[12]
จะเห็นได้ว่ากระบวนการฟื้นฟูปรีดีนั้นลดความราดิคัลลง ทำให้ปรีดีกลายเป็นเพียงแค่นักเสรีนิยมดาษๆ ขณะที่จอมพล ป. ก็ยังคงเป็นผู้ร้ายอยู่เช่นเดิม
รัฐประหาร 19 กันยา กับการเกิดใหม่ของคณะราษฎร
ผู้เขียนได้เคยเขียนถึงการเกิดใหม่ครั้งที่ 2 ของคณะราษฎรว่าหลังรัฐประหาร 2549 อุดมการณ์เดือนตุลาฯ ได้จบสิ้นลงแล้ว เพราะเกิดการแตกกระสานซ่านเซ็นทางอุดมการณ์ คนเดือนตุลาฯ หลายคนที่เคยมีบทบาทนำในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และพฤษภา 2535 กลายเป็นหางเครื่องให้กับคณะรัฐประหาร มิต้องพูดถึงกลุ่ม ‘ประชาสังคม’ ที่พร้อมจะ ‘เอียงขวา’ เข้าร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วยข้ออ้างทำนองว่า ‘ทักษิณเลวร้ายที่สุดในโลก’
เมื่ออุดมการณ์เดือนตุลาฯ จบลงแล้ว และเมื่อคู่ต่อสู้คือพลังอำมาตยาธิปไตย ดังนั้น อุดมการณ์ที่ดูจะเป็น ‘คู่ชก’ ที่สมน้ำสมเนื้อที่สุดคืออุดมการณ์คณะราษฎรนั่นเอง หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เราจึงเห็นสิ่งที่ไม่เคยได้เห็นมาเนิ่นนาน อาทิ การจัดงานขนาดใหญ่ฉลอง ‘วันชาติ’ ที่บริเวณหมุดคณะราษฎร การรื้อฟื้นประวัติของจอมพล ป. พิบูลสงครามในฐานะผู้ต่อสู้กับระบอบเก่าอย่างถึงพริกถึงขิง การใช้พื้นที่อนุสาวรีย์หลักสี่ในฐานะสัญลักษณ์ของ ‘อนุสาวรีย์ปราบกบฏ’ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ในต่างจังหวัด นี่ยังไม่รวมคลิปเสวนา บทเพลง รวมทั้งหนังสืออีกจำนวนมากที่ผลิตออกมาในช่วงนี้[13]
ชาตรี ประกิตนนทการ จึงฟันธงว่ารัฐประหาร 19 กันยา ได้ให้กำเนิดคณะราษฎรอีกครั้ง
“คณะราษฎรก็เป็นกลุ่มบุคคลทางประวัติศาสตร์ที่กำเนิดขึ้นสองครั้ง ครั้งแรกจากผลงานในการปฏิวัติล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2475 แต่หลังจากนั้นเพียง 15 ปี ความทรงจำเกี่ยวกับคณะราษฎรก็เริ่มถูกลืมเลือน ตลอดจนถูกตีความในแง่ลบ จนกล่าวได้ว่าคณะราษฎรได้ตายไปเกือบสิ้นเชิงจากความทรงจำทางประวัติศาสตร์ แต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทำให้คณะราษฎรถือกำเนิดขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งในฐานะ ‘วีรชนประชาธิปไตย’ ของการต่อสู้กับอุดมการณ์กษัตริย์นิยมที่ครอบงำสังคมไทย”[14]
ความไม่เพียงพอของปรีดี และวาทกรรม “เชื่อกูก็จบแล้ว”
ชื่อของจอม ป. พิบูลสงคราม กลับมาพร้อมกับการเกิดใหม่ครั้งที่ 2 ของคณะราษฎรภายหลังรัฐประหาร 19 กันยา 2549 แต่อุดมการณ์คณะราษฎรในยุคนี้แตกต่างจากการฟื้นฟูปรีดี พยมยงค์ มันสมองของคณะราษฎร ที่ถูกฟื้นฟูในทศวรรษ 2520
จอมพล ป. ไม่ใช่เป็นเพียง ‘คนดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ’ เช่นเดียวกับปรีดี ท่ามกลางกระแส ‘คนดี’ ที่ถูกใช้กันอย่างไม่เหลือความหมายใดๆ ในปัจจุบันเพราะใครก็สามารถเป็น ‘คนดี’ ได้
แต่จอมพล ป. ภายหลังการเกิดใหม่ของคณะราษฎรในปี 2549 คือตัวแทนของนายทหารฝ่ายคณะราษฎรที่สามารถกำราบฝ่ายปฏิปักษ์ปฏิวัติอย่างราบคาบ
ท่ามกลางการทุบทำลายมรดกคณะราษฎรทั้งทางอุดมการณ์และทางวัตถุ
วาทกรรม “เชื่อกูก็จบแล้ว” ก็ผุดขึ้นมาอย่างแพร่หลายจนกลายเป็น ‘มีม’ ในโลกออนไลน์
แน่นอนว่าการเพรียกหาจอมพล ป. พิบูลสงครามในปี 2563 คือสัญลักษณ์หนึ่งของการไม่ยอมจำนนอีกต่อไป
แม้เราจะไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นเช่นไร แต่คำกล่าวของนายพลตรีหลวงพิบูลสงครามเมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่15 สิงหาคม 2483 ยังคงเป็นอมตะวาจา
“ผมขอยืนยันว่า ในชั่วชีวิตเรา บางทีลูกเราด้วย จะต้องรบกันไปอีก และแย่งกันในระบอบเก่ากับระบอบใหม่นี้”
อ้างอิง
[1] กำเนิดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ดู กุลดา เกษบุญชู มี้ด, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ : วิวัฒนาการรัฐไทย (สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, 2562)
[2] ดูผลงานของคณะราษฎรในยุคหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เช่น ไทยในสมัยรัฐธรรมนูญ ที่ระลึกในงานฉลองวันชาติและสนธิสัญญา 24 มิถุนายน 2482 (โรงพิมพ์พานิชศุภผล, 2482) ไทยในสมัยสร้างชาติ ที่ระลึกในงานฉลองวันชาติ 24 มิถุนายน 2484 (กรมยุทธการทหารบก, 2552)
[3] ความพยายามโต้ปฏิวัติของบรรดาฝ่ายนิยมเจ้า ดู ณัฐพล ใจจริง, ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ : ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500) (สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, 2556)
[4] ปรีดี พนมยงค์, “การก่อตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นและเสรีไทย.” ใน ปรีดีกับสังคมไทย. (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526)
[5] ณัฐพล ใจจริง, “การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2491-2500)” รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2552
[6] ดูเพิ่มเติม ณัฐพล ใจจริง, “การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ.2491-2500) เพิ่งอ้าง ดูบทที่ 9 “ไตรภาคี” กับภาวะกึ่งอาณานิคมและการล่มสลายของประชาธิปไตยไทย
[7] ประจักษ์ ก้องกีรติ, และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ : การเมืองวัฒนธรรม ของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ (สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, 2556)
[8] ชัยอนันต์ สมุทวณิช, 14 ตุลา คณะราษฎร์กับกบฏบวรเดช ชุมนุมวิชาการอักษรศาสตร์ จุฬาฯ, 2517.
[9] ไชยันต์ ไชยพร, “การศึกษาเหตุการณ์ ‘กบฏบวรเดช’ ในทางวิชาการ”, โพสต์ทูเดย์ 3 กรกฎาคม 2563.
[10] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะ, สำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง, (ดอกหญ้า, 2535.)
[11] วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ “การแปรอักษรครั้งประวัติศาสตร์ในฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์”
[12] ธงชัย วินิจจะกูล, “ประวัติศาสตร์ไทยแบบราชาชาตินิยม: จากยุคอาณานิคมอำพรางสู่ราชชาตินิยมใหม่หรือลัทธิเสด็จพ่อของกระฎุมพีไทยในปัจจุบัน” ใน โฉมหน้าราชาชาตินิยม: รวมบทความว่าด้วยประวัติศาสตร์ไทย (ฟ้าเดียวกัน,2559)
[13] ธนาพล อิ๋วสกุล, การเกิดครั้งที่ 3 ของคณะราษฎร?, 4 กรกฎาคม 2560.
[14] ชาตรี ประกิตนนทการ, “คณะราษฎรกับรัฐประหาร 19 กันยายน” ใน ชาตรี ประกิตนนทการ, สถาปัตยกรรมไทยหลังรัฐประหาร 19 กันยา 49, (กรุงเทพฯ : อ่าน, 2558)
https://www.the101.world/the-rebirth-of-pibulsongkram/