วันศุกร์, มิถุนายน 28, 2567

ทำไม รัฐบาลควรซื้อ Robinhood มาทำต่อ


Bhanuwat Jittivuthikarn
a day ago·

ผมชอบ จิตวิญญาณ ความเป็น วีรบุรุษที่สู้เพื่อปกป้องคนตัวเล็ก ของ แอฟ Robinhood นะ คือ คนทำตั้งใจออกแบบระบบมา เพื่อช่วยเหลือ ผู้ประกอบการ รายย่อย ไม่ให้โดนเอาเปรียบจาก การหักค่า gp จากค่ายใหญ่ แล้วนี้เป็น start up ฝีมือคนไทยแท้ๆด้วย ตอนเปิดตัวช่วง โควิด SCBX ก็คงคิดว่าทำเพื่อช่วยเหลือ SME ชั่วคราว แต่ผลตอบรับมันดีเกินคาด ดีจน เป็น Delivery เบอร์หนึ่งในใจของหลายๆคน ถ้าอะไรดีๆแบบนี้ในบ้านเมืองเรามันจะหายไปเพียงเพราะ ตัวเลขกำไรขาดทุน บนกระดาษ ต่อไปบ้านเมืองเราก็ก็จะไม่มีคนกล้าคิดกล้าฝันทำสิ่งดีๆเพื่อสังคม
ผมเสียดาย ถ้า Robinhood จะหายไป ด้วยเห็นผลว่า ขาดทุน ผมอยากให้ รัฐบาล เข้ามาสานต่อ โดยจะให้ ธนาคารของรัฐ อย่าง กรุงไทย ที่เคยรับทำ โครงการ คนละครึ่ง และแอฟ เป๋าตัง มารับไปทำต่อก็ได้ เพราะการขาดทุน ในระดับ พันล้าน แต่ช่วยเหลือ sme ให้มีรายได้เพิ่มในระดับ หลายหมื่นล้าน และสามารถพาร้านค้า เข้าสู่ฐานภาษีอย่างเป็นรูปธรรม ผมถือเป็นเรื่องที่รัฐบาลควรทำ ที่เสียเปล่าเป็นแสนล้าน ยังคิดทำมาแล้ว
ผมอยากเสนอ ว่า ใช้โครงสร้างเดิมทีื Robinhood สร้างไว้ แล้วลองเปลี่ยน กลุ่มเป้าหมาย จากคนเมือง ไป ช่วยเหลือ กลุ่ม ผู้สูงอายุ ต่างจังหวัด ที่ เป็น กลุ่ม เปราะบาง ดูบ้าง คนกลุ่มนี้ คือ ถูกทิ้งอยู่ต่างจังหวัด คนหนุ่มสาว เข้าทำงานเมืองหลวง หลายคนไม่สามารถเดินทางออกมาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ด้วยตัวเองได้
อุปสรรคด้านต้นทุน ของธุรกิจ delivery อาหาร แบบคนเมือง คือ การสร้างสมดุล ระหว่าง ตวามสะดวกรวดเร็วในการจัดการส่ง กับต้นทุนการบริการ ในการแข่งขันจุดนี้ผมมองว่า ปล่อยให้ เอกชน อย่าง Lineman และ Grab เขาแข่งกันไป รัฐควรมี แอฟ shopping และ สั่งอาหาร ที่ช่วยยกระดับ พัฒนาเศษฐกิจของประเทศเป็นของตัวเอง โดยอาศัยความได้เปรียบจาก โครงข่าย องค์กรรัฐที่มีฐาน ในการเข้าถึง ประชาชนอยู่แล้ว ให้มาช่วยกัน ไม่ว่าจะ ไปรษณีไทย ( ลองนึกภาพ ไปรษณีไทยมีแอฟ เหมือน shopee แล้วขาย สินค้าท้องถิ่น หรือ ส่งสินค้า ธงฟ้า ผ่านระบบออนไลน์ โดยจ่ายผ่านแอฟ เป้าตัง ที่มีเงินเบี้ยคนชราเข้ามาทุกเดือน) และโดยส่วนตัว ผมเชื่อว่า ไปรษณีไทย สามารถเอา โมเดล ธุรกิจ รถ พุ่มพวง มาจัดการให้มี ศักยภาพกว่า เดิมได้
หากท่าน เคยซื้อของจากรถพุ่มพวง ท่านจะเข้าใจระบบดี มันเป็นระบบฝากซื้อ คืออยากได้อะไรพิเศษก็สั่งล่วงหน้า พรุ่งนี้คนขายก็หามาให้
จะดีกว่ามั่ย ถ้าเรามีแอฟสั่งอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค ที่เข้าถึงชุมชน ผ่าน ฐานข้อมูลและระบบโลจิสติกที ปณ ไทย มีความชำนาญ อยู่แล้ว
วิธีการสั่งอาหารก็อยากให้มอง โมเดล การส่งอาหารแบบปิ่นโต หรือแกงถุง คือสั่งล่วงหน้า 1 วัน แบบนี้ ร้านค้าที่เข้าร่วมบริหารต้นทุนได้ง่ายขึ้น มีการส่งเป็นรอบๆ ตามพื้นที่ ลดต้นทุนการส่ง แทนส่งแบบเดียวๆ ส่งได้ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง และ อาหารปรุง เหมือน ที่ ปณ ไทยทำเวลาส่งพัสดุ นั้นแหละ แค่ เพิ่มรูปแบบการบริการ
รัฐ อาจ เพิ่มการลงทุนผ่าน อบต หรือ เทศบาล ให้ทำ ศูนย์อาหารหรือ ครัวกลาง ประจำตำบล หรืออำเภอ ที่ ชาวบ้านสามารถมาเช่าใช้บริการ มาทำอาหารขายได้ อยากถูกสุขลักษณะ เป็นแหล่งรวมของอร่อยประจำอำเภอ ของดีของอร่อย ตามเทศกาล หรือฤดูกาลไหนมีผลไม้ออกมา อาหารแปรรูป ขนม นำ้พริก ก็มีพื้นที่ มีช่องทางการขายเพิ่มมากขึ้น อาหาร ถิ่น อาหารพื้นบ้านได้รับการสนับสนุน รัฐเก็บข้อมูลได้ว่า เมนูไหน เจ้าไหน มีศักยภาพจะ ส่งเสริม เป็น soft power สู่ตลาดโลก
ผมรู้นะครับว่า มันไม่ง่าย แต่เรื่องแบบนี้ ถ้ารัฐบาล ไม่ทำ ก็คงไม่มีใครในประเทศทำได้ และที่ ผมพูดมาเสนอมา ลองคิดดูว่า มันตรงกับที่ รัฐต้องการหรือไม่ เพราะ มันเพิ่มการจัดเก็บภาษี เพิ่มการจ้างงานในพื้นที่ต่างจังหวัด เพิ่มการหมุนเวียนเงินสดในชุมชน ถ้าผู้บริหารบ้านเมืองคิดได้ และเอาเปลี่ยนเงินที่จะแจก หลายแสนล้าน มาลงทุนในระบบที่เพิ่มศักยภาพให้ sme ผมว่า มันคุ้มค่ากว่า มากเลย