วันเสาร์, มิถุนายน 29, 2567

ถ้าไทยแลนด์คิดจะเอาดีกับ soft power เรามีเส้นเขตแดนไหม ว่าเราจะทำ และไม่ทำอะไร?


.....
Pramual S.
20 hours ago
·
YG คงไม่โง่ที่จะไม่รู้ว่า Lisa ขายได้
ใครบางคนบอกว่า YG เหมือนกำลังถือล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งอยู่ในมือแต่ไม่ยอมเอาไปขึ้นเงิน
ชาตินิยมเขาแรงขนาดที่ไม่ยี่หระกับเงินก้อนโต?
บางทีนี่อาจจะเป็นกรณีศึกษาสำคัญที่เราต้องเรียนรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ การวางกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมบันเทิงสัญชาติเกาหลี
กลับกัน
ถ้าไทยแลนด์คิดจะเอาดีกับ soft power เรามีเส้นเขตแดนไหม ว่าเราจะทำ และไม่ทำอะไร?
หรือเราจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เงิน?
หรือเราจะทำทุกอย่าง ที่เชื่อว่าเป็นความเจริญ?
ในคลาสของผม สิ่งหนึ่งที่ผมเอามาคุยให้เด็กๆ ฟังอยู่เสมอ
กลยุทธ์ไม่ได้หมายความว่าต้องทำอะไรเพียงอย่างเดียว
รู้ว่าต้องทำอะไรคือเรื่องหนึ่ง รู้ตัวว่าต้องไม่ทำอะไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
และในระหว่างทางของเรื่องนี้ จะเกิดประเด็นถกเถียงมากมาย บางเรื่อง อาจจะใหญ่โตเป็นดราม่า
มันไม่มีใครผิดครับ
ทุกอย่างเป็นเรื่องของการจัดลำดับความสำคัญ อะไรสำคัญกว่าอะไร อะไรเป็น First priority อะไรเป็น Second priority ... ฯลฯ
ถ้าคิดเป็นก็ไปหาทางกำหนดดัชนีชี้วัด จัดลำดับความสำคัญ ประเมินความสำเร็จ แล้วไปปรับแผนตามระดับการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ปรับไปตามสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขที่เปลี่ยนไป เพราะทุกอย่างในโลกล้วน dynamic และมีแต่ uncertainty
คิดไม่เป็น ก็แบ่งข้างทะเลาะกัน วนๆ ไป
ทำเส้นทางรถไฟ ผ่านพื้นที่ๆ ยังไม่เจริญ เพื่อหวังจะใช้รถไฟสร้างความเจริญ แต่ต้องเสี่ยงกับภาวะขาดทุน ปีละเป็นหลักพันล้านบาท ยาวนานหลายปี ในขณะที่บางพื้นที่ไม่มีแม้แต่ระบบขนส่งมวลชนพื้นฐานดีๆ ไม่มีแม้แต่รถเมล์
ความเจริญที่เติบโตช้า จนทำให้บางพื้นที่ผู้คนในชุมชน คาดหวังความเจริญจากโครงสร้างพื้นฐานอย่างระบบรถไฟ จนอาจจะมองข้ามความสำคัญของโบราณสถาน หรือประวัติศาสตร์ที่อยู่ใต้ดิน
ความเร่งรีบในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม จัดหาระบบรถไฟ จากต่างประเทศ โดยละเลยโอกาสในการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ มองข้ามการสร้าง Eco System ซึ่งจะมีประโยชน์ในระยะยาว ใครๆก็สนใจแต่เรื่อง Quick Win
ประเด็นพวกนี้เป็นเรื่องซับซ้อน ที่ต้องการนักยุทธศาสตร์ระดับชาติ วางแผนระยะยาว ไม่ใช่ทำโครงการระยะสั้น ต้องมีการวางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการเติบโต
อย่างยั่งยืน
ประสบการณ์ตรงของผมที่ติดตามเรื่องนี้ยาวนานมา 10 กว่าปี เรื่องพวกนี้ไม่ใช่ว่าคุยกับทุกวงแล้วจะอ่านกันรู้เรื่อง ฟังกันรู้เรื่องนะครับ
ระหว่างทางก็ดราม่าเยอะแยะ
หลายครั้งดูเหมือนเราสนใจความหอมหวานของผลลัพธ์กันมากกว่า ว่าระหว่างทางต้องพัฒนากันอย่างไร วางแผนกันอย่างไร
ผมฟังเรื่องยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมบันเทิงของเกาหลีใต้ มาตั้งแต่ช่วงต้น ปี 2000 แปลว่าเขาก็ใช้เวลาร่วม 20 กว่าปีในการพัฒนา กว่าทุกอย่างจะผลิดอกออกผล
มาเลเซียวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ผ่านนโยบาย offset policy มาตั้งแต่ช่วงต้นยุค 2000 ไร่เรียงมาตั้งแต่อุตสาหกรรมยุทธภัณฑ์ มาจนปัจจุบันประยุกต์ใช้กับหลากหลายอุตสาหกรรม ที่เป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ ใช้เวลาพัฒนานโยบายนี้ 20- 30 ปี
ในประเทศไทยผมจะหงุดหงิดมาก เวลาท่านๆ ตั้งคำถามกลับว่า เรื่องที่อาจารย์คุยมันใช้เวลานานเกินไป พอจะมี Quick Win Project มานำเสนอไหมครับ
บอกตรงๆ ว่าผมสบถออกมา "1 คำ" เสมอ เวลาได้ยินใครถามแบบนี้
ท้ายที่สุด
ผมและทุกคนย่อมยินดีกับความสำเร็จของลิซ่า
แต่ต้องไม่ลืมว่า ลิซ่าเป็นความสำเร็จจากการพัฒนาอุตสาหกรรมบันเทิงของเกาหลีใต้ ไม่ใช่ผลผลิตจากฝีมือคนไทย อุตสาหกรรมบันเทิงไทย หรือแม้แต่นโยบายของรัฐไทย
เรายังคงต้องการให้มี ลิซ่า2 ลิซ่า3 ... เดินตามกันออกมา
ทำอย่างไรต่อยาวๆ จึงเป็นเรื่องน่าสนใจ
ฤา "เห็บสยามโมเดล" จะเป็นเรื่องจริง?