วันพุธ, เมษายน 06, 2565

การได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ นั้นสำคัญไฉน

...
Junya Yimprasert
14h ·

การได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ นั้นสำคัญไฉน
ข้อเขียนนี้อาจจะยาว แต่สเตตัสนี้ เขียนขึ้นเพื่ออยู่ร่วมในบรรยากาศการหาเสียงเลือกผู้ว่า กทม.
เป็นการเขียนเพื่อเปิดงบประมาณเผยแพร่สั้นๆ ก่อน ในระหว่างจัดทำบทความยาวเรื่องงบประมาณแผ่นดิน เพื่อดำรงไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์ ที่กระทำกันอย่างบ้าคลั่ง อย่างไม่สมดุลกับจำนวนประชากร และสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไร้การมีส่วนร่วม ไม่โปร่งใส และปิดกั้นการอาจตรวจสอบได้มาอย่างยาวนานในประเทศไทย
โดยเราจะชวนดูประเด็นเรื่องงบประมาณส่วนจังหวัดและส่วนการปกครองท้องถิ่น ที่ดูแลประชากรทั้งประเทศ แต่งบเหล่านี้ส่วนมากถูกใช้ไปกับการดำเนินนโยบายที่กำกับจากเมืองหลวง ผ่านกลไกกระทรวงมหาดไทย และผันงบไปเยอะมากกับการจัดกิจกรรมน้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นแม่บทในการทำงาน รวมทั้งกิจกรรมประชาชน จิตอาสา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องสำคัญในงบประมาณเหล่านี้คือ มันได้สะท้อนให้เห็นว่า ในส่วนจังหวัดและหัวเมืองใหญ่ที่สามารถเลือกผู้ว่าราชการจังหวัด และนายกเมืองได้ ซึ่งมี 2 แห่งคือ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา อำนาจต่อรองงบประมาณเข้าสู่พื้นที่จะสูงมากกว่าในจังหวัดที่ปกครองด้วยผู้ว่าราชการที่แต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย
ในส่วนกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ และได้สิทธิเลือกตั้งผุ้ว่าราชการตั้งแต่ปี 2528 จะอ้างว่าที่ได้รับงบประมาณเยอะ เพราะประชากรมาก ก็ถูกในด้านหนึ่ง แต่ในอีกด้านหนึ่ง สัดส่วนงบประมาณก็สูงมากกว่าการกระจายงบจากการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีรวมกัน 78,305 ล้านบาท นั้นเยอะมาก คือ คิดเป็นถึง 28% มากกว่างบสนับสนุน อบต. 76 จังหวัดถึงร่วม 10%
ถ้าจะนับจำนวนประชากร กรุงเทพฯ 5.5 ล้านคน จะเฉลี่ยงบประมาณต่อจำนวนประชากรได้คนละ 3,996.75 บาท
เมืองพัทยา มีประชากร 119,532 คน คน ได้งบเฉลี่ยต่อประชากร คนละ 14,084.00 บาท
ส่วน อบตและเทศบาล 76 จังหวัดที่เหลือ ได้งบรวมกันมาเฉลี่ยต่อสัดส่วนประชากร 64.5 ล้านคน อยู่ที่ 847 บาท หรือคิดเป็นเพียง 21% ของงบประมาณเฉลี่ยของคนกรุงเทพฯ และ 6% ของคนเมืองพัทยา
ที่นำเสนอในเรื่องงบส่วนจังหวัดและส่วนการปกครองท้องถิ่นนี้ ก็เพื่อสะท้อนว่าการผลักดันให้ระบบการบริหารประเทศไม่ว่าจะท้องถิ่น หรือเมืองหลวง ควรจะต้องมาจากการเลือกตั้งตรงทั่งหมด ไม่ใช่เฉพาะ กทม. เท่านั้นที่มีสิทธิเลือกผู้ว่าเอง
ประเทศไทย ควรจะยุบโครงสร้างการบริหารส่วนราชการท้องถิ่นและส่วนภูมิภาคที่มาจากการแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทยทั้งหมด และปฏิรูปการบริหารทั้งประเทศโดยการเปลี่ยนแนวคิด "ปกครอง" มาสู่ "การให้บริการ" โดยคณะบริหารที่เป็นตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งตรงทั้งหมด
ทั้งนี้ให้กำลังใจคนกรุงเทพให้ตัดสินใจเลือกผู้ว่าที่จะทำหน้าที่จัดสรรงบประมาณอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม
----------------
งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 78,305 ล้านบาท
จัดสรรให้ กรุงเทพมหานคร 21,982.10 ล้านบาท คิดเป็นถึง 28.07% ของงบการปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด
ให้เมืองพัทยา ได้งบ 1,690.08 ล้านบาท หรือ 2.16%
แบ่งให้ อบต 76 จังหวัด ได้งบรวมกันทั้งสิ้น 15,225.75 ล้านบาท หรือเฉลี่ยจังหวัดละ 200.34 ล้านบาท คิดเป็น 19.44%
แบ่งให้ส่วนเทศบาล ซึ่งแบ่งออกเป็น
เทศบาลนคร 29 แห่ง ได้งบรวมกันทั้งสิ้น 13,648.55 บาท เฉลี่ยแห่งละ 470.64 ล้านบาท คิดเป็น 17.4%
เทศบาลเมือง 195 แห่ง ได้งบรวมกันทั้งสิ้น 25,757.89 ล้านบาท หรือเฉลี่ยแห่งละ 132.09 ล้านบาท หรือคิดเป็น 32.89%
-------------------
#คุณต้องการจ่ายภาษีเลี้ยงราชวงศ์หรือไม่เปรียบเทียบงบจังหวัดกับส่วนราชการในพระองค์
เมื่อเปรียบเทียบดูความสมดุลของการกระจายงบในส่วนจังหวัด (ไม่นับรวม กทม. ที่ดูแลประชาชน 65 ล้านคน กับงบประมาณส่วนราชการในพระองค์ ที่ดูแลเพียงสมาชิกราชวงศ์ 13 คน
งบจังหวัดและกลุ่มจังหวัด 76 จังหวัด ที่มีจำนวน 17,411 ล้านบาท จะเฉลี่ยได้จังหวัดละ 229.09 ล้านบาท ที่ถูกจัดสรรมาทำโครงการตามแนวพระราชดำริ ศก.พอเพียง 724 ล้านบาท กับงบส่วนราชการในพระองค์ด้วยงานเดียว ที่ไม่รวบงบอุดหนุนสถาบันกษัตริย์อื่นๆ ที่มีงบประมาษประจำปี 2565 อยู่ที่ 8,761 ล้านบาท
เมื่อเปรียบเทียบดุจะเห็นว่า งบจ่ายค่าดูแลสมาชิกราชวงศ์ที่จัดการโดยตรงจากสำนักพระราชวัง มีสัดส่วนสูงถึง 33% ของงบประมาณที่กระจายไปยังจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในการดูแลประชาชนในจังหวัด ทั่วประเทศไทยที่ไม่นับรวม กรุงเทพมหานคร ที่มีประมาณ 65 ล้านคน
ภาพผังข้อมูล 2 ภาพที่นำมาประกอบข้อเขียนนี้ เพื่อทำการอธิบายให้เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนว่า การมีโอกาสเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดเองของชาวกรุงเทพมหานคร และชาวเมืองพัทยา เป็นอภิสิทธิ ที่ควรจะเป็นสิทธิพื้นฐานร่วมของประชาชนทั้งประเทศ เพื่อที่ประชาชนทุกกลุ่มจะได้มีตัวแทนของตัวเอง ได้ทำหน้าที่ต่อรองงบประมาณไปจัดสรรได้อย่างสอดคล้องกับสภาพความต้องการในพื้นที่
และก็เพื่อสะท้อนว่า นี่เป็นตัวอย่างเดียวที่แสดงให้เห็นว่า ในการจัดสรรงบประมาณในประเทศไทย มันมีความเหลื่อมล้ำทางยุทธศาสตร์งบประมาณสูงมากระหว่างสถาบันกษัตริย์กับประชาชน

ย้ำว่า นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น ในบทความที่กำลังจัดทำอยู่ จะมีการอธิบายและยกตัวอย่างอีกมากมายเพื่อสะท้อนถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำและการผูกขาดงบประมาณไว้ที่สถาบันหลักของชาติกันอย่างบ้าคลั่งโดยรัฐบาลภายใต้การกำกับของหัวหน้าคณะรัฐประหาร 2557 ที่ชื่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

Junya Yimprasert
14h ·
ผังแสดงส่วนแบ่งการจัดสรรงบประมาณส่วนท้องถิ่น 78,305 ล้านบาท


เปรียบเทียบงบจังหวัดกับส่วนราชการในพระองค์ 8,761 กับงบประมาณส่วนจังหวัดและกลุ่มจังหวัด 17,411 ล้านบาท