ฤดูเดินถนนหาเสียงเลือกตั้ง กทม. ‘ตู่’ เดินบ้าง รีบดักคอนักข่าว “อย่าโยงประเด็นการเมือง” ไม่เกี่ยวกัน “พบปะทักทายผู้ประกอบการในวันนี้ เพื่อต้องการให้กำลังใจ...เพราะห่วงใย ถามไถ่ถึงสถานการณ์และความเป็นอยู่” (@WassanaNanuam รายงาน)
ร้อยวันพันปี (ที่จริงแค่ ๘ ปี) ไม่เคยทำตัวอย่าง ‘สติ (สตังค์) นำทาง’ อย่างนี้ แต่ที่หยุดคุยกับหุ่นพองลมโบกมือหน้าปั๊มเอสโซ่นั่น ไม่ใช่ของใหม่สำหรับนายกฯ จำอวด ส่วนที่ตะเพิดสองรัฐมนตรี “ไปเถียงกันข้างนอก” นี่สิตึงตัง เหมือนคลิปหลุด
อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยต้องออกมากำกับความเสียหาย ‘Damage Control’ ว่าได้คุยกับรัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรฯ มนัญญา ไทยเศรษฐ์ แล้ว “ไม่มีปัญหา...ทุกอย่างจบแล้วเมื่อหัวหน้าพรรคบอกจบก็คือจบ ไม่ต้องไปย้อนกลับไป”
พร้อมย้ำว่า “ความเห็นขัดแย้งเรื่องงาน...ไม่เป็นอะไรเพราะไม่ใช่เรื่องประโยชน์ส่วนตัว หรือขัดอะไรกัน แต่เป็นเรื่องที่ต่างคนต่างตั้งใจทำงาน” แม้ วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการทรัพยากรฯ ยอมรับอาวุโสน้อยกว่า พยายามตามขอโทษที่เถียงคำไม่ตกฟาก
บังเอิญ รมช.หญิงไม่ได้รับสาย และหลังจากถูกนายกฯ ดุระหว่างประชุม ครม. “พอแล้ว ไปเถียงกันข้างนอก นี่ขนาดผมนั่งอยู่ตรงนี้นะเนี่ย” จากนั้น “น.ส.มนัญญา ได้ลุกเดินออกจากห้องประชุมทันที ทั้งที่การประชุมไม่เสร็จสิ้น” ข่าวเนชั่นบรรยายด้วยวิจารณญานด้านมารยาท
ทั้งหลายเหล่านั้น นัยว่าเป็นเรื่องธรรมดาของคณะผู้บริหารยุค ‘เบบี้บูม’ เกือบครึ่งศตวรรษมาแล้ว ตั้งแต่ ผู้ใหญ่ ‘ยั๊ว’ รับไม่ได้เหมือนเห็นลูกหลานเถียงกันต่อหน้า ไปถึงฝ่ายเด็กกว่ายินดีขอโทษเพราะอายุน้อย ไม่ได้คำนึงเนื้อหาว่าที่เถียงไปนั้นสมเหตุผลไหม
เรื่องราวเป็นมาจากที่มนัญญา “แสดงความเห็นในทำนองว่า ร้านค้าไม่ให้ถุงพลาสติกกับประชาชนที่มาซื้อของ แต่กลับเอามาขาย เป็นการเอาเปรียบประชาชน ขอฝากไปถึง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะช่วยแก้ปัญหาอย่างไร”
จี้กันอย่างนี้รัฐมนตรีว่าการฯ คงไม่สบอารมณ์เท่าไร “กล่าวสวนทันทีว่า ไม่เกี่ยวกับกระทรวง เพราะดูแค่นโยบายลดการใช้พลาสติก ส่วนการขายเป็นเรื่องของร้านค้า ขออย่าพูดพาดพิง อย่าพูดเพื่อเอามัน” ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องทั้งหมด
เพราะการดูแลนโยบายย่อมรวมไปถึงติดตามผลต่อไปด้วย ว่าได้รับการปฏิบัติถูกต้องหรือผู้ปฏิบัติใส่ใจแค่ไหน ถึงจะไม่มีหน้าที่โดยตรงก็ต้องสอดส่อง แล้วหากมีการทำผิด ต้องถือเป็นภาระหน้าที่แจ้งให้ผู้รับผิดชอบจัดดำเนินการ
วิธีทำงานแบบศตวรรษที่แล้ว เมื่อมาใช้ในศตวรรษนี้จึงมีอาการผิดผีผิดไข้ ไม่ราบรื่น หรือถึงขั้นย้อนแย้งบ่อยไป ยิ่งถ้าขิงก็ราข่าก็แรง ยิ่งไปกันใหญ่ กรณีถุงพล้าสติกนี่ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ ร้านค้าก็ขายให้ลูกค้าถุงละ ๑๐ เซ็นต์
ตามนโยบายลดมลภาวะ สารผลิตจากน้ำมัน ‘Petrochemical’ ให้ใช้ถุงพล้าสติคไม่พร่ำเพรื่อ จึงห้ามแจก ใครอยากได้ต้องซื้อชนิดใช้หมุนเวียน ไม่แน่ใจว่ารัฐมนตรีว่าการทรัพยากรฯ เข้าใจข้อนี้ ไม่เห็นพูดถึงประเด็นหัวใจของการใช้ถุงพล้าสติคดังกล่าว
เช่นกันกับรัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรฯ อาจมองถึงแต่ประเด็น ‘ประชานิยม’ เป็นสำคัญ จึงไม่ได้คำนึงถึงปัญหา ‘โลกร้อน’ อันเกิดจากการใช้พลังงานซากสัตว์ยุคล้านปี หรือ ‘Fossils Fuel’ ที่ประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายกำลังพยายามเลิก
การใช้ซ้ำถุงพล้าสติคชนิด ‘recycled’ ก็หวังผลเช่นเดียวกับการใช้ถุงผ้า เพื่อไม่ให้สารพล้าสติคปนเปื้อนเกลื่อนกลาดบนผิวโลก บุคคลระดับรัฐมนตรีน่าจะรู้ดีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ใส่ใจกัน เพราะนโยบายรัฐไทยตามไม่ทันโลกในประเด็นนี้
(https://www.matichon.co.th/politics/news_3274224, https://www.facebook.com/nationweekend/posts/10159559965310211 และ https://facebook.com/100001454030105/posts/5130790993645984/?d=n)