วันอังคาร, เมษายน 05, 2565

สลิ่มหลอกพวกเดียวกันไม่พอ กะหลอกชาวโลกด้วย เลยโป๊ะแตก เสียใจ, เซ็งเป็ด? ศูนย์ต้านข่าวปลอมของมหาวิทยาลัยฮ่องกงระบุว่า ภาพผู้นำรัสเซียอัญเชิญ "พระบรมฉายาลักษณ์" ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่แชร์กันทางโลกโซเชียลของไทยเป็นภาพที่ถูกตัดต่อ


Pravit Rojanaphruk
14h ·
คุณควรรู้สึกอย่างไร? ดีใจ? เสียใจ, เซ็งเป็ด? หรือตาสว่างเสียที? #ป #ม112

...
รัสเซีย : ศูนย์ต้านข่าวปลอมของฮ่องกงระบุ ปูตินไม่ได้อัญเชิญ "พระบรมฉายาลักษณ์" ร.9


ผู้นำรัสเซียถือภาพถ่ายของบิดาขณะเข้าร่วมการเดินขบวนประจำปีที่ชื่อ "การเดินสวนสนามของกรมทหารที่ไม่มีวันตาย" เมื่อ 9 พ.ค. 2015 เพื่อรำลึกถึงผู้ที่ได้ร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2

4 เมษายน 2022
บีบีซีไทย

โครงการตรวจสอบข้อเท็จจริงแห่งศูนย์สื่อมวลชนศึกษาและวารสารศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งฮ่องกง (HKU Journalism) ชี้ว่าภาพประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซียอัญเชิญ "พระบรมฉายาลักษณ์" ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่แชร์กันทางโลกโซเชียลของไทยเมื่อปลายเดือน ก.พ. เป็นภาพที่ถูกตัดต่อ

แท้จริงแล้ว รูปต้นฉบับเดิม คือ ภาพที่ผู้นำรัสเซียถือภาพถ่ายของบิดาขณะเข้าร่วมการเดินขบวนประจำปีที่ชื่อ "การเดินสวนสนามของกรมทหารที่ไม่มีวันตาย" หรือ Immortal Regiment march เมื่อ 9 พ.ค. 2015 เพื่อรำลึกถึงบุคคลในครอบครัวที่ได้ร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2

โครงการของมหาวิทยาลัยฮ่องกงที่ทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้สอนด้านข่าวและสารสนเทศในเอเชีย (Asian Network of News & Information Educators - ANNIE) เผยแพร่การตรวจสอบนี้ทางเว็บไซต์เมื่อ 4 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยระบุในรายงานว่าเมื่อ 27 ก.พ. มีผู้โพสต์ภาพที่ถูกตัดต่อทางบัญชีเฟซบุ๊กที่ชื่อ 关羽關羽 (กวนอูกวนอู) โดยบรรยายบนภาพว่า "รัสเซียยืนหยัดได้เพราะบุญคุณของในหลวงร. 9"

จนถึงช่วงเช้าตรู่ของ 3 เม.ย. ตามเวลาในไทย มีผู้เข้ามาแสดงความรู้สึกถึง 4,500 ราย ในจำนวนนั้นมีคนเข้ามา "หัวเราะ" ถึงเกือบ 500 บัญชี มีคนแชร์โพสต์นี้ไปเกือบ 500 คน และแสดงความเห็นกว่า 1,000 ครั้ง มีผู้ใช้หลายคนที่ดูเหมือนว่าเชื่อในโพสต์นี้ แต่ก็มีบางส่วนที่แสดงความเห็นเสียดสี

นักวิชาการสื่อกังขาบทบาท ททบ.5
สื่อรัสเซียรายงานเรื่องรุกรานยูเครนว่าอย่างไร
วาทกรรม “ปลดปล่อยยูเครนจากนาซี” ของปูติน มีพิรุธตรงไหน


โครงการตรวจสอบข้อเท็จจริงแห่งศูนย์สื่อมวลชนศึกษาและวารสารศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งฮ่องกง ระบุว่านี่เป็นภาพตัดต่อ

ผู้ทำรายงานชิ้นนี้ระบุว่า จากการสืบค้น ได้พบภาพต้นฉบับที่ประกาศขายทางเว็บไซต์ Alamy เป็นภาพที่ถ่ายโดย แม็กซิม เชเมทอฟ ช่างภาพของสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่จัตุรัสแดง ในกรุงมอสโก จับภาพนายปูตินถือภาพหน้าตรงของบิดาเขา คือ วลาดิเมียร์ สปิริโดโนวิช ปูติน

ภาพต้นฉบับที่ประกาศขายทางเว็บไซต์ Alamy เป็นภาพที่ถ่ายโดย แม็กซิม เชเมทอฟ ช่างภาพของสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่จัตุรัสแดง ในกรุงมอสโก จับภาพนายปูตินถือภาพหน้าตรงของบิดาเขา คือ วลาดิเมียร์ สปิริโดโนวิช ปูติน

บีบีซีไทยไม่มีภาพของสำนักข่าวรอยเตอร์ แต่มีภาพในเหตุการณ์เดียวกัน ในมุมที่ใกล้กันถ่ายโดย วาสิลี แม็กซิมอฟ ของสำนักข่าวเอเอฟพี ตามภาพแรกของข่าวนี้ เราจึงนำภาพที่ถูกตัดต่อแล้วโดยเพจเฟซบุ๊ก 关羽關羽 มาเปรียบเทียบกับภาพของเอเอฟพี เป็นภาพใหม่ข้างล่างนี้


เปรียบเทียบภาพจากเพจเฟซบุ๊กที่ตัดต่อมาจากภาพของสำนักข่าวรอยเตอร์ (ซ้าย) และ ภาพจากเหตุการณ์จริงที่ถ่ายโดยช่่างภาพของเอเอฟพี (ขวา)

รายงานนี้ระบุด้วยว่า พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรที่ถูกนำไปใส่แทนภาพบิดาของผู้นำรัสเซียนั้นเป็นภาพ "พระเสโท" โดยอ้างอิงจาก วิทยานิพนธ์ "รูปที่มีทุกบ้าน: ชีวิตทางสังคมของพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 9" ว่าภาพดังกล่าวถ่ายโดยช่างภาพประจำพระองค์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ "รูปที่มีทุกบ้าน: ชีวิตทางสังคมของพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 9" ในหลักสูตรปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำอ้างก่อนหน้ากับการตรวจสอบ

เข้าเดือนที่ 2 ของการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย โลกโซเชียลและสื่อไทยจำนวนหนึ่งเลือกเสนอเนื้อหาที่ออกแนวเห็นอกเห็นใจชาติผู้รุกราน โดยชู "ความเคารพยกย่อง" ที่ประธานาธิบดีปูตินมีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 ทั้ง "คำสรรเสริญ" ในที่สาธารณะ และการ "เดินตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง" ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

แต่ รศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และอดีตนักเศรษฐศาสตร์ประเทศไทย ของซิตี้แบงก์ บอกกับบีบีซีไทยว่า ระบบเศรษฐกิจของรัสเซีย "ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงแน่นอน"

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม นักเศรษฐศาสตร์ไทยชี้รัสเซียไม่เคย "เดินตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง"

ธีรนัย จารุวัสตร์ ผู้สื่อข่าวประชาไท โพสต์ทางบัญชีเฟซบุ๊ก Teeranai Charuvastra เมื่อ 11 มี.ค. ตั้งคำถามถึงข้อเท็จจริงของวรรคทองของนายปูตินที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการดัง อ้างอิงไว้ในโพสต์ของเขาทางช่องทางโซเชียลมีเดีย


ธีรนัยระบุว่า เขาพยายามค้นหาประโยคนี้ทางกูเกิล และตรวจสอบไปยังเว็บไซต์ของทางการรัสเซียและสื่อมวลชนรัสเซีย แต่หาไม่พบ และขอให้ผู้ติดตามบัญชีเขาแจ้งให้ทราบ หากพบที่มาของคำพูดนี้

"แต่เอาเป็นว่า ไม่ว่าปูตินจะพูดจริงหรือไม่ และถึงแม้ไม่มีที่มาของโคว้ต (คำพูด) นี้ของปูตินเลย แต่ก็มีคนไทยจำนวนมากพร้อมเชื่อไว้ก่อนแล้ว อย่างที่เห็น ๆ กันครับ" เขาระบุในบโพสต์เฟซบุ๊ก


...
Atukkit Sawangsuk
7h ·
สลิ่มไทยพาอายทั่วโลก
เพิ่งรู้ว่า “ข่าวปลอม” นี่ไปไกลถึงฮ่องกง
สะท้อนว่าพวก Ultra-Royalist ไทย ไม่เพียงแค่โง่ แต่ยังเอาสิ่งที่พวกตัวเทิดทูนมาปกป้องอาชญากรสงคราม