“ มึงจะอินอะไรกับการเมืองวะ มึงจะอินอะไรนักหนา ใครจะเป็นรัฐบาลมึงก็ต้องทำมาหาแดก.. “
— คุณอุ๋ง (@ImPitchy) August 16, 2020
นายฟังเราก่อน
#ขีดเส้นตายไล่เผด็จการ pic.twitter.com/loM9wSlizQ
เลี้ยงลูกนอกบ้าน
Yesterday at 8:47 AM ·
#เมื่อเราและลูกเห็นต่างทางการเมือง
คลินิกวัยรุ่นของหมอ เริ่มมีพ่อแม่มาบ่นกลุ้มใจที่ลูกเข้าไปวุ่นวายกับเรื่องของการเมือง
“ห้ามก็ไม่ฟัง นี่ขู่ตัดแม่ตัดลูกไปละ”
“ส่งเสียเรียนมาขนาดนี้ ยังโง่ให้เค้าจูงจมูก”
“หมอคุยกับมันให้หน่อย ว่าไม่ให้เข้าไปยุ่งกับอะไรพวกนี้”
หมอมีคำแนะนำสำหรับพ่อแม่ ดังนี้นะคะ
1. ให้ดีใจที่ลูกมองว่า “การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน” ประเทศจะไม่พัฒนาด้วยวัยรุ่นที่มองแต่ปัญหาของตัวเอง
2. จงเชื่อมั่นว่าวัยรุ่นที่ “ตั้งคำถาม” นำมาซึ่งความงอกงามเสมอ
3. หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดตัดสิน ดูถูก บั่นทอนคุณค่า “โง่” “อุตส่าห์เรียนสูง” “ให้เค้าจูงจมูก” เพราะนั่นไม่ได้ทำให้เกิดการสื่อสารที่สร้างสันติ
4. “รับฟัง” แบบเปิดใจไม่รีบตัดสิน ลูกรู้สึกอะไร อึดอัดอะไร มีความต้องการอะไร ให้คุณค่ากับอะไร ทำไมถึงคิดหรือเชื่อสิ่งนั้น ฟัง... ด้วยความต้องการที่จะเข้าใจ ไม่ใช่ฟังเพื่อสั่งสอน
5. เคารพการให้ “คุณค่า” ในสิ่งที่แตกต่าง (สมัยพ่อแม่อาจให้คุณค่าเรื่องการไม่ตั้งคำถามกับคนที่เคารพหรือมีอำนาจ เด็กสมัยนี้ให้คุณค่ากับสิทธิความเป็นมนุษย์ ความยุติธรรมและความเท่าเทียม)
6. ตั้งคำถามกับสิ่งที่ลูกให้คุณค่า (เราอาจพบว่านั่นก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะมันคือสิทธิขั้นพื้นฐาน) บอกลูกได้ ถึงสิ่งที่เราให้คุณค่า และที่มาของความเชื่อนั้น
7.อย่ารีบปักใจว่าลูกโง่ เด็กสมัยนี้โตมากับความรู้มหาศาล ให้สงสัยความไม่รู้ของตัวเองอยู่ด้วยเสมอ
8. สอนลูกตั้งคำถาม กับสิ่งที่ลูกเชื่อหรือถูกบอกมา อันไหนจริง อันไหนใช่ เพราะอะไรถึงเชื่อสิ่งนั้น ช่วยลูกฝึกการวิเคราะห์แยกแยะ
9. การที่วัยรุ่นลงมือลงแรงเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงกับสิ่งที่เชื่อมั่น นั่นคือพลังงานของวัยหนุ่มสาว ที่เราควรรักษาไว้
10. สอนลูกเรื่อง การเรียกร้องสิทธิ ไม่ควรกระทำโดยการละเมิดสิทธิของผู้อื่น
11. สอนลูก(และตัวเอง) ว่าการใช้ hate speech สร้างความเกลียดชัง หรือการสร้างภาพเลวร้ายให้ตัวบุคคล อาจไม่นำไปสู่การสร้างความเข้าใจในสิ่งที่ตนต้องการ
12. อธิบายลูกว่าความรักความศรัทธาของคนหลายคน อาจไม่ต้องมีเหตุผล แต่เป็นเรื่องที่เราควรให้คุณค่า อย่าทำลายหรือดูถูกความศรัทธาของผู้อื่น
หมอเชื่อว่าความขัดแย้ง การตั้งคำถาม นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเสมอ
การรับฟัง สร้างพื้นที่ปลอดภัย โอบกอดความเห็นต่างด้วยความเข้าใจ การหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง น่าจะเป็นทางออกของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
สุดท้าย ถ้าเข้าใจและเห็นด้วยในสิ่งที่ลูกเชื่อมั่น
“จงเป็นพลังให้พวกเขา”
ถ้าลูกยืนยันจะไปม๊อบ
ก็เตรียมแมสก์ แอลกอฮอล์ ร่มกันฝน และเงินประกันตัว
ถ้าไม่เห็นด้วยในสิ่งที่ลูกเชื่อมั่น แต่ก็ห้ามมันไม่ได้
ก็ช่วยเตรียมแมสก์ แอลกอฮอล์ ร่มกันฝน
แต่บอกลูกได้ว่า พ่อแม่จะมีขอบเขตการช่วยเหลืออยู่แค่ไหน ลูกต้องตัดสินใจ เรียนรู้ และรับผิดชอบกับทางเลือกของตัวเอง
และไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ อยากให้กอดลูกและบอกตัวเองว่า
“โลกข้างหน้า คือโลกที่เป็นของลูก”
#หมอโอ๋เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน
ผู้อยากขออภัยหลายคนที่ไม่อยากให้ใช้พื้นที่ตรงนี้เกี่ยวข้องกับการเมืองนะคะ
ส่วนตัวหมอว่าการเมืองควรเป็นเรื่องพูดได้นะ และการเมืองคือเรื่องของเราทุกคน เราจะเป็นพ่อแม่ที่มีเงิน มีเวลาเลี้ยงลูกได้มากแค่ไหน ลูกจะมีการศึกษาที่ดีพอหรือเปล่า เราจะแก่ไปแบบพึ่งตัวเองได้โดยไม่ต้องทวงบุญคุณลูกมั้ย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้คือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างเลี่ยงเป็นเรื่องอื่นไม่ได้จริงๆ
ป.ล. เขียนความเห็นต่างกันได้ แต่อย่าถึงขั้นให้ต้อง #saveหมอโอ๋ กันเลยนะคะ
ขอบคุณภาพจาก BBC News
#เมื่อเราและลูกเห็นต่างทางการเมือง
คลินิกวัยรุ่นของหมอ เริ่มมีพ่อแม่มาบ่นกลุ้มใจที่ลูกเข้าไปวุ่นวายกับเรื่องของการเมือง
“ห้ามก็ไม่ฟัง นี่ขู่ตัดแม่ตัดลูกไปละ”
“ส่งเสียเรียนมาขนาดนี้ ยังโง่ให้เค้าจูงจมูก”
“หมอคุยกับมันให้หน่อย ว่าไม่ให้เข้าไปยุ่งกับอะไรพวกนี้”
หมอมีคำแนะนำสำหรับพ่อแม่ ดังนี้นะคะ
1. ให้ดีใจที่ลูกมองว่า “การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน” ประเทศจะไม่พัฒนาด้วยวัยรุ่นที่มองแต่ปัญหาของตัวเอง
2. จงเชื่อมั่นว่าวัยรุ่นที่ “ตั้งคำถาม” นำมาซึ่งความงอกงามเสมอ
3. หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดตัดสิน ดูถูก บั่นทอนคุณค่า “โง่” “อุตส่าห์เรียนสูง” “ให้เค้าจูงจมูก” เพราะนั่นไม่ได้ทำให้เกิดการสื่อสารที่สร้างสันติ
4. “รับฟัง” แบบเปิดใจไม่รีบตัดสิน ลูกรู้สึกอะไร อึดอัดอะไร มีความต้องการอะไร ให้คุณค่ากับอะไร ทำไมถึงคิดหรือเชื่อสิ่งนั้น ฟัง... ด้วยความต้องการที่จะเข้าใจ ไม่ใช่ฟังเพื่อสั่งสอน
5. เคารพการให้ “คุณค่า” ในสิ่งที่แตกต่าง (สมัยพ่อแม่อาจให้คุณค่าเรื่องการไม่ตั้งคำถามกับคนที่เคารพหรือมีอำนาจ เด็กสมัยนี้ให้คุณค่ากับสิทธิความเป็นมนุษย์ ความยุติธรรมและความเท่าเทียม)
6. ตั้งคำถามกับสิ่งที่ลูกให้คุณค่า (เราอาจพบว่านั่นก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะมันคือสิทธิขั้นพื้นฐาน) บอกลูกได้ ถึงสิ่งที่เราให้คุณค่า และที่มาของความเชื่อนั้น
7.อย่ารีบปักใจว่าลูกโง่ เด็กสมัยนี้โตมากับความรู้มหาศาล ให้สงสัยความไม่รู้ของตัวเองอยู่ด้วยเสมอ
8. สอนลูกตั้งคำถาม กับสิ่งที่ลูกเชื่อหรือถูกบอกมา อันไหนจริง อันไหนใช่ เพราะอะไรถึงเชื่อสิ่งนั้น ช่วยลูกฝึกการวิเคราะห์แยกแยะ
9. การที่วัยรุ่นลงมือลงแรงเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงกับสิ่งที่เชื่อมั่น นั่นคือพลังงานของวัยหนุ่มสาว ที่เราควรรักษาไว้
10. สอนลูกเรื่อง การเรียกร้องสิทธิ ไม่ควรกระทำโดยการละเมิดสิทธิของผู้อื่น
11. สอนลูก(และตัวเอง) ว่าการใช้ hate speech สร้างความเกลียดชัง หรือการสร้างภาพเลวร้ายให้ตัวบุคคล อาจไม่นำไปสู่การสร้างความเข้าใจในสิ่งที่ตนต้องการ
12. อธิบายลูกว่าความรักความศรัทธาของคนหลายคน อาจไม่ต้องมีเหตุผล แต่เป็นเรื่องที่เราควรให้คุณค่า อย่าทำลายหรือดูถูกความศรัทธาของผู้อื่น
หมอเชื่อว่าความขัดแย้ง การตั้งคำถาม นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเสมอ
การรับฟัง สร้างพื้นที่ปลอดภัย โอบกอดความเห็นต่างด้วยความเข้าใจ การหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง น่าจะเป็นทางออกของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
สุดท้าย ถ้าเข้าใจและเห็นด้วยในสิ่งที่ลูกเชื่อมั่น
“จงเป็นพลังให้พวกเขา”
ถ้าลูกยืนยันจะไปม๊อบ
ก็เตรียมแมสก์ แอลกอฮอล์ ร่มกันฝน และเงินประกันตัว
ถ้าไม่เห็นด้วยในสิ่งที่ลูกเชื่อมั่น แต่ก็ห้ามมันไม่ได้
ก็ช่วยเตรียมแมสก์ แอลกอฮอล์ ร่มกันฝน
แต่บอกลูกได้ว่า พ่อแม่จะมีขอบเขตการช่วยเหลืออยู่แค่ไหน ลูกต้องตัดสินใจ เรียนรู้ และรับผิดชอบกับทางเลือกของตัวเอง
และไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ อยากให้กอดลูกและบอกตัวเองว่า
“โลกข้างหน้า คือโลกที่เป็นของลูก”
#หมอโอ๋เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน
ผู้อยากขออภัยหลายคนที่ไม่อยากให้ใช้พื้นที่ตรงนี้เกี่ยวข้องกับการเมืองนะคะ
ส่วนตัวหมอว่าการเมืองควรเป็นเรื่องพูดได้นะ และการเมืองคือเรื่องของเราทุกคน เราจะเป็นพ่อแม่ที่มีเงิน มีเวลาเลี้ยงลูกได้มากแค่ไหน ลูกจะมีการศึกษาที่ดีพอหรือเปล่า เราจะแก่ไปแบบพึ่งตัวเองได้โดยไม่ต้องทวงบุญคุณลูกมั้ย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้คือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างเลี่ยงเป็นเรื่องอื่นไม่ได้จริงๆ
ป.ล. เขียนความเห็นต่างกันได้ แต่อย่าถึงขั้นให้ต้อง #saveหมอโอ๋ กันเลยนะคะ
ขอบคุณภาพจาก BBC News