วันจันทร์, สิงหาคม 31, 2563

อ.ปราชญ์ พูดเรื่องพรรคเพื่อไทย กับ loser mentality



ขอพูดเรื่องพรรคเพื่อไทยหน่อยครับ
ตามที่ผมเข้าใจ ขณะนี้ทุกพรรค (รวมทั้งพรรคร่วมรัฐบาล) เห็นร่วมกันว่าต้องแก้รัฐธรรมนูญเพื่อตั้ง สสร. ขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่มีประเด็นที่เห็นไม่ตรงกันอยู่ 2 เรื่องคือ
1) การตัดอำนาจ สว. ในการโหวตเลือกนายกฯ
2) การอนุญาตให้ สสร. ร่างรัฐธรรมนูญได้ทุกหมวด รวมทั้งหมวด 1 และหมวด 2
นักศึกษาและประชาชนที่ออกมาประท้วงยืนยันทั้ง (1) และ (2) ...พรรคก้าวไกลประกาศจุดยืนแล้วว่าเอาด้วยกับทั้ง (1) และ (2) ...วันก่อนพรรคเพื่อไทยบอกว่าไม่เอา (2) ผมก็ยังหวังว่าอย่างน้อยก็น่าจะเอาด้วยกับ (1) แต่ปรากฏว่าไม่ใช่ วันนี้เพื่อไทยไม่ยอมแม้แต่จะเอา (1)
ข้ออ้างของเพื่อไทยคือ ถ้าเสนอตัดอำนาจ สว. ในการโหวตนายกฯ ไป สว. จะไม่ยอมโหวตผ่านให้ แล้วข้อเสนอเรื่องตั้ง สสร. ก็จะโดนปัดตกไปด้วย
ผมคิดว่าอันนี้แย่ทั้งในแง่หลักการและในแง่กลยุทธ ...แง่หลักการคงไม่ต้องพูดมาก เพราะทุกคนรู้ดีว่า สว. ไร้ความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง แต่กลับมีอำนาจมาก รวมถึงอำนาจในการเลือกนายกฯ
ในแง่กลยุทธ ไม่ว่าจะประเด็นตั้ง สสร. หรือประเด็นตัดอำนาจ สว. ยังไงก็ไม่มีทางที่ สว. จะเป็นพ่อพระ ยินดีโหวตผ่านให้ด้วยจิตกุศล แต่ประชาชนและพรรคการเมืองต้องช่วยกันบีบ สว. ให้ยอมโหวตผ่านให้ ...สามเดือนที่แล้วก่อนมีม็อบปลดแอก ใครจะคิดว่าฝ่ายรัฐบาล (ซึ่งคุม สว.) จะยอมให้ตั้ง สสร.​ ได้ง่ายๆ? วันนี้เขาต้องยอม เพราะเจอแรงบีบจากประชาชน
ในเมื่อตอนนี้โมเมนตัมยังอยู่กับฝ่ายประชาชน ทำไมพรรคเพื่อไทยถึงไม่ร่วมมือกับพรรคก้าวไกลและประชาชนในการบีบต่อ? ทำไมถึงมักน้อย เจียมเนื้อเจียมตัว ทั้งที่ฝ่ายประชาชนยังเป็นฝ่ายบุกและมีแต้มต่อ?
ผมคิดว่ากลยุทธ์ที่ดีที่สุดตอนนี้ไม่ใช่การเรียกร้องแบบเจียมเนื้อเจียมตัว แต่คือการโยนทางสองแพร่งให้ฝ่ายนั้นต้องเลือก ระหว่าง (1) ยอมตั้ง สสร.+ลดอำนาจ สว. ไปด้วยพร้อมกัน หรือ (2) โหวตคว่ำข้อเสนอทั้งคู่ แล้วเจอม็อบลุกฮือ
ผมว่าความคิดแบบเจียมเนื้อเจียมตัว กล้าๆ กลัวๆ ของเพื่อไทย มาจากการเป็นผู้แพ้มานานกว่า 10 ปี ...ที่ผ่านมาเพื่อไทยต้องเดินตามกติกาที่ฝ่ายตรงข้ามวางมาให้ ต้องคอยระมัดระวังไม่ทำอะไรที่ขัดใจฝ่ายตรงข้ามเกินไป (เดี๋ยวจะโดนยุบพรรค เดี๋ยวจะโดนยัดคดี) ทำได้ดีที่สุดคือเก็บคะแนนเล็กๆ น้อยๆ ตามโอกาส
นี่คือ loser mentality ซึ่งไม่เหมาะกับสถานการณ์ที่เป็นฝ่ายบุก ...ตอนนี้ประชาชนเป็นฝ่ายบุก ไม่ใช่ฝ่ายตั้งรับครับ
บางคน (เช่น พี่แขกคำผกา) พยายาม justify การตัดสินใจของเพื่อไทย โดยบอกว่ามันเป็นการตัดสินใจที่เน้น practicality แทนที่จะเน้นหลักการ หรือ ideal ...แต่ในความเป็นจริง practicality นั้นไม่ได้ตรงข้ามกับ idealism เพราะในบางสถานการณ์การยืนยันในหลักการที่ถูกต้อง(ไปก่อน) นั่นแหละคือกลยุทธ์ที่ practical ที่สุด
ผมเชื่อว่าสถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างนั้น ...ถ้าอีก 2-3 เดือนสถานการณ์เปลี่ยน ค่อยยอมผ่อนตอนนั้นก็ยังไม่สาย

...


Atukkit Sawangsuk
3h ·

เขียนอัดเพื่อไทยไว้วันก่อน (ส่งต้นฉบับวันพฤหัส) ยังไม่ทันโพสต์ เห็นข่าวว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านจะพลิกกลับมาช่วยลงชื่อในญัตติปิดสวิทช์ ส.ว.ของพรรคก้าวไกล
เพียงแต่เพื่อไทยยังร่วมลงชื่อไม่ได้ เพราะพรรคมีมติไปแล้ว ต้องรอขอมติใหม่
:
อ้าว ไหนว่าเพื่อไทย practicality เลือกทำเฉพาะที่ทำได้จริง รบแพ้จะรบทำไม ฯลฯ
อ้าว ไหนวัฒนาอธิบายเป็นคุ้งเป็นแคว ว่าลงชื่อได้ญัตติเดียว ไม่งั้นจะเหมืิอนฟ้องซ้ำ (เพิ่งเคยได้ยิน ไม่เห็นใครเคยอ้าง)
คือถ้าเพื่อไทยเปลี่ยนใจก็เป็นเรื่องดี แต่ขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องขำ กลืนคำพูดหมด
ยังไม่รู้ว่าปล่อยข่าวลดกระแสหรือไม่ รอดูว่าจะลงชื่อจริงไหม
:
1.ตัวเองก็เป็นคนรุ่นเก่า เห็นคนรุ่นใหม่หัวแถวไปไกล บางทีก็ห่วงพะวงว่าจะล้ำเกิน ทำไมไปด่าเพื่อไทย
อ้าว แล้วทำไม FC เพื่อไทยยังหยิบเอา สศจ.ปวิน มาด่าก้าวไกล "ของปลอม" ทั้งที่พรรคตัวเองอยู่ข้างหลังนู้น
คือถ้าเราจัดขบวน ก็มีกลุ่มแถวหน้า "ปฏิรูปสถาบัน" "รอแยลลิสต์มาร์เก็ตเพลซ"
ถัดมาก็เป็นพวกหนุนเนื่อง เอาด้วย เห็นด้วยในเนื้อหา แต่ตอนแรกอาจจะพะวงว่า ติดเพดานขนาดนี้จะส่งผลกระทบหรือเปล่า
กระนั้น เอาก็เอาวะ คือมาถึงขั้นนี้แล้ว ทิ้งกันไม่ได้
แต่เพื่อไทยนี่อยู่หลังสุด เหมือนผู้ใหญ่เดินตามหลัง เห็นใบไม้ไหวก็สะดุ้งผวา กลัวโน่นกลัวนี่ไปหมด
คือกระแสแบบนี้ ไม่ได้เรียกร้องให้พรรคการเมืองนำหน้าหรอก แค่ตามให้ทัน ให้สนับสนุน ปกป้อง ช่วยสร้างโอกาส
:
2.พูดอย่างเห็นใจ ต้องยกของ อ.ปราชญ์ ปัญจคุณาธร ที่ว่า "ความคิดแบบเจียมเนื้อเจียมตัว กล้าๆ กลัวๆ ของเพื่อไทย มาจากการเป็นผู้แพ้มานานกว่า 10 ปี ...ที่ผ่านมาเพื่อไทยต้องเดินตามกติกาที่ฝ่ายตรงข้ามวางมาให้ ต้องคอยระมัดระวังไม่ทำอะไรที่ขัดใจฝ่ายตรงข้ามเกินไป (เดี๋ยวจะโดนยุบพรรค เดี๋ยวจะโดนยัดคดี) ทำได้ดีที่สุดคือเก็บคะแนนเล็กๆ น้อยๆ ตามโอกาส
นี่คือ loser mentality ซึ่งไม่เหมาะกับสถานการณ์ที่เป็นฝ่ายบุก ...ตอนนี้ประชาชนเป็นฝ่ายบุก ไม่ใช่ฝ่ายตั้งรับ"
https://www.facebook.com/prach.pan/posts/10164018055910608
loser mentality ที่น่าเห็นใจนี้ทำให้เพื่อไทยไม่ใช่แค่ไม่กล้าเสี่ยงแม้แต่น้อย แต่ยังตามหลังมวลชนไกลลิบ เพราะรู้สึกเสมอว่าตัวเองจะซวย จะโดนเล่นงาน ต้องตามเขาไปห่างๆ
อันนี้ผมไม่ค่อยเชื่อเรื่อง "ดีล" ในแง่จูบปาก แต่ "ดีล" ของจริงคือการเอาคดีความมาบีบคอ เป็นชะนัก ซ่ามากก็โดนหนัก
:
3.ท่าทีเก้ๆกังๆ แบบนี้ ทำให้เพื่อไทยเสียมวลชนให้อนาคตใหม่-ก้าวไกล
แล้วแทนที่จะปรับตัวเพื่อแย่งชิง กลับโกรธแล้วขัดขา
มติพรรคที่ออกมาวันนั้น สาเหตุหลักคือยัวะโรม เรื่องที่โรมตั้งปุจฉาว่า ยื่นอภิปรายไม่ลงมติให้รัฐบาลฟอกตัวหรือเปล่า
ส.ส.เพื่อไทยเรียงหน้าออกมาสวนแต่เช้า
เพื่อไทยแถลงข่าว 99.99% ไม่ช่วย แสดงความสะใจ ลืมนึกไปว่ามันเป็นความต้องการของประชาชน ไม่ใช่แค่ก้าวไกล
มันเป็นปัญหาขบกันระหว่างพรรค แน่ละ โรมไม่ควรพูด แต่เพื่อไทยกลับไปเอาญัตติปิดสวิทช์ สว. มาเป็นเครื่องมือตอบโต้
แล้วก็ต้องมาแถลงอธิบายอีกที ร่ายยาว โดยไม่มีประโยชน์อะไร
สิ่งที่ประชาชนอยากฟังคือจะหวนไปลงมติหนุนไหม
กลับไปแก้ต่างยาวยืดอ้างว่าทีแรกก้าวไกลก็เห็นด้วยกับร่างแก้ไข 256 ห้ามแก้หมวด 1-2
ฝั่งก้าวไกลไม่ตอบโต้ คงเพราะอยากสงบศึก
แต่ที่ว่า "เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น" ให้เพื่อไทยเอาดีบ้าง แบบเสนอแก้ รธน.ทั้งฉบับ ไม่จำกัดหมวด 1-2 เพื่อไทยก็ไม่กล้านะ
:
4.เพื่อไทยควรสรุปบทเรียนว่า ทุกครั้งที่มีปัญหากับอนาคตใหม่-ก้าวไกล (ตั้งแต่อภิปรายไม่ไว้วางใจจนรอบนี)
ยังไม่ต้องชี้ว่าใครถูกใครผิด โดยปรากฏการณ์คือเพื่อไทยเสียท่าตลอด
แม้ว่าจะทำให้ FC เหนียวแน่นยิ่งหมั่นไส้ก้าวไกลฝังใจ
แต่ในวงกว้าง มวลชนก็ถอยห่างเปลี่ยนใจไปเรื่อยๆ
โดยยังไม่ต้องพูดถึงคนรุ่นใหม่ ก้าวไกลกวาดหมด (เว้นแต่เกิดพรรคคนรุ่นใหม่ที่ล้ำกว่าก้าวไกล)
แถมการบ้านข้อใหญ่ สมัยหน้าเพื่อไทยจะยกความได้เปรียบมีขุนพลมากประสบการณ์ ก็น่าจะไม่ได้แล้ว
ขุนพลเพื่อไทยเหลือแต่รุ่นใหญ่ๆ สังขารไม่ให้ ชัชชาติ จาตุรนต์ ภูมิธรรม ก็ไม่อยู่
ส.ส.เขตในสภาก็โดดเด่นไม่กี่คน ไม่มีนักบริหารเลือดใหม่ ถ้าไม่เตรียมหาคนจะยิ่งลำบากไปใหญ่