วันศุกร์, สิงหาคม 07, 2563

เพดานการพูดเรื่องเจ้า นี่บางทีขึ้นอยู่กับคนฟังยิ่งกว่าคนพูดอีกนะ... ถ้านักเรียนนักศึกษายืนยันที่จะพูดเรื่องนี้ต่อ ปัญหาตอนนี้ก็อยู่ที่สื่อ เต็มไปด้วยข้ออ้าง และเอาแต่หลบอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย ไม่เคยทำหน้าที่ให้สมกับที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะจริงๆ



Rawee Siri-issaranant

เพดานนี่บางทีขึ้นอยู่กับคนฟังยิ่งกว่าคนพูดอีกนะ ผมคลุกอยู่กับเรื่องนี้มาสิบกว่าปี บอกได้เลยว่าบรรยากาศถูกกำหนดโดยผู้ฟังมาก่อนแล้ว (ไม่ว่าจะเป็นผู้ฟังที่นั่งฟังอยู่ตรงนั้น หรือผู้ที่คาดได้ว่าจะรับชมผ่านสื่อ) ทุกครั้งที่เพดานขยับมันจะเกิดขึ้นจากมีจุดอยู่จุดหนึ่งที่สร้างความอัดอั้นจนคนทนไม่ได้แล้วก็มีใครไปกดโดนที่จุดนั้น เหมือนเปิดสวิทช์ ปัง บรรยากาศเปิด เพดานขยับ ในแง่นี้ การพูดของอานนท์เป็นผลมาจากความอึดอัด 2 เรื่องใหญ่ที่เป็นเหมือนจุดระเบิดที่เกิดต่อเนื่องกัน คือ ยุบพรรคอนาคตใหม่ และอุ้มวันเฉลิม
ตั้งแต่หลังรัฐประหารมาผมได้พูดเรื่องเจ้าในที่สาธารณะ 2 ครั้ง ครั้งแรก ไม่เชิงพูด เป็นการอ่านบทกวี แต่เนื้อหาแรงกว่าพูดนะ ในการชุมนุมที่หอประชุมศรีบูรพา ผู้จัดงานไม่แน่ใจว่าตอนนั้นใช้ชื่อกลุ่มประชาธิปไตยใหม่หรือไม่ ก็คือรุ่นที่พวกโรม ลูกเกด การ์ตูน ยังเป็นนักศึกษาและเคลื่อนไหวอยู่ อีกครั้งที่ธรรมศาสตร์เหมือนกัน งานเสวนาที่พี่สมยศจัด ตอนนั้นพี่สมยศเพิ่งออกจากคุกไม่นาน
ทั้งสองงานมีผู้ฟังกลุ่มเดิมๆ ทั้งที่เกรงใจผู้จัดงาน แต่ผมก็รู้สึกว่าต้องพูด ไม่ได้มีการคุยกันก่อนว่าผมจะพูดอะไรยังไงระดับไหน แต่บรรยากาศจากคนฟังคือ เครียด งานแรกหลังผมพูดเสร็จไม่นานทหารก็ขึ้นมาเคลีย ไม่ให้จัดในหอประชุมต่อ งานจึงต้องออกมาต่อข้างนอก เพื่อนนักข่าวบอกว่าเพราะผมคนเดียวเลย งานที่สองแม้คนฟังจะเงียบแต่หลังงานพี่สมยศแกก็ให้กำลังใจ แต่ผมก็รู้ว่าการพูดของผมน่าจะทำให้แกเครียดอยู่เหมือนกัน เพราะเขาเพิ่งออกมา คงไม่มีใครอยากกลับเข้าไปอีก ก็รู้สึกผิดหน่อยๆ บรรยากาศเหล่านี้สะท้อนกลับมาที่ผมทำให้ตัวผมเองรู้สึกดาวน์ลง พูดไปก็ไม่ขยับอะไรให้ดีขึ้น ทำให้คนเครียดไปเปล่าๆ
การพูดของอานนท์จะเห็นได้ว่าบรรยากาศเปลี่ยนไป มีเสียงตอบรับตลอด สาเหตุก็เพราะว่าคนรุ่นใหม่เปิดรับเรื่องนี้ บรรยากาศที่เปลี่ยนไป เพดานที่ขยับขึ้น เป็นเพราะมีพวกเขาเป็นคนฟังมากกว่าอื่นใด พวกเขาคือผู้ขยับเพดานที่แท้จริง ในขณะที่คนที่ผ่านเหตุการณ์วิกฤตการเมืองมาจนขมกับเรื่องนี้จะถูกความกลัวทำให้ชา คนรุ่นใหม่คือลูกคลื่นแห่งบรรยากาศที่จะก่อผลลัพท์ซึ่งแตกต่างออกไป ถ้าคนฟังเปลี่ยน บรรยากาศก็จะเปลี่ยน คนรุ่นเก่าเองก็สามารถทำให้บรรยากาศเปลี่ยนได้ แต่ตัวเขาเองต้องเปลี่ยนก่อน
ถ้านักเรียนนักศึกษายืนยันที่จะพูดเรื่องนี้ต่อ ปัญหาตอนนี้ก็อยู่ที่สื่อ ซึ่งที่ผ่านมาเต็มไปด้วยข้ออ้าง และเอาแต่หลบอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย ไม่เคยทำหน้าที่ให้สมกับที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะจริงๆ เสียที
...

เชียงใหม่วันที่ 9 นี้ จะได้ลงรายละเอียดในแต่ละเรื่องมากขึ้น และน่าจะมีหลายส่วนเข้าร่วม ขอบคุณที่ให้เกียรติเป็นด่านหน้าในการอภิปราย ทราบว่ากิจกรรมจะมีผู้อภิปรายอีกหลายคนรวมทั้งงานศิลปะซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของการชุมนุมที่เชียงใหม่ด้วย
อนึ่ง ยังยืนยันที่จะพูดถึงสถาบันกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมา เพื่อสะท้อนปัญหา และหาทางออกร่วมกัน
อานนท์ นำภา
ooo

Rawee Siri-issaranant
August 4 at 12:17 AM ·

ผมว่าเราควรเริ่มใช้ภาษาเกี่ยวกับกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อมได้แล้ว เช่นเรื่องที่ทรงขอแก้ รธน. ที่ผ่านประชามติ เรื่องนี้ประเด็นสั้นๆ เลยก็คือ รัชกาลที่ 10 ทำผิดรัฐธรรมนูญ และเป็นการผิดหลายชั้นด้วย คือธรรมเนียมปรกติการเซ็นรับรองกฎหมายของกษัตริย์จะขอแก้ไม่ได้มีแต่ไม่เซ็นต์ เรียกว่าวีโต้ แต่นี่ผ่านการทำประชามติมาด้วย การขอแก้นี่คือตบหน้าประชาชนเลย เสียแต่ว่านี่คือร่าง รธน.และการทำประชามติเก๊ๆ ของ คสช.ทีีได้อำนาจมาโดยมิชอบ ก็เลยกลายเป็นผิดซ้อนผิดผิดกันจนเละเทะ
...

Rawee Siri-issaranant
Yesterday at 1:48 AM ·

ปัญหาเรื่องทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ส่วนสำคัญที่สุดไม่ใช่การยุบเลิกทรัพย์สินส่วนสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน แต่คือการกำหนดให้การจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นไปตามอัธยาศัยของกษัตริย์
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือตามที่กฎหมายใหม่กำหนดชื่อว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ นี้เป็นของแผ่นดิน หรือพูดให้ชัดคือเป็นของรัฐ เป็นของส่วนรวมที่ใช้สำหรับตำแหน่งประมุขของรัฐ ไม่ใช่เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของกษัตริย์
แต่กฎหมายใหม่ให้กษัตริย์จัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เหมือนกับเป็นทรัพย์สินส่วนตัว ทำให้ทรัพย์สินส่วนนี้ไม่แตกต่างจากทรัพย์สินส่วนพระองค์
การแยกแยะทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับทรัพย์สินส่วนพระองค์เริ่มมาตั้งแต่สมัยคณะราษฎร แต่กฎหมายใหม่ทำให้ทรัพย์สินสองชนิดนี้ปะปนกันอีกครั้ง และยังเพิ่มอำนาจให้กษัตริย์เป็นผู้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
ปัญหาที่เคยมีมาตั้งแต่สมัยในหลวงภูมิพลคือความคลุมเครือว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นี้เป็นของรัฐหรือเอกชน สมควรจะต้องได้รับการปฏิบัติแบบใด ความคลุมเครือนี้เป็นเหตุให้ไม่สามารถตรวจสอบการทำงานของสำนักงานทรัพย์สินได้
ปัญหาใหม่ในรัชกาลที่ 10 คือการทำให้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่เป็นของรัฐโดยสิ้นเชิง และกษัตริย์จัดการได้ตามใจชอบ นอกจากตรวจสอบไม่ได้แล้ว ทรัพย์สิน 2 ประเภทยังอยู่ปะปนกันและจัดการไม่แตกต่างกัน โดยรัฐไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
การแก้ปัญหานี้สามารถทำได้โดยการร่างกฎหมายทรัพย์สินฉบับใหม่โดยไม่ต้องไปเกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญ
จะต้องยกเลิก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2561 และเขียนกฎหมายใหม่ แยกทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับทรัพย์สินส่วนพระองค์ออกจากกันให้เด็ดขาด กำหนดให้ชัดว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นของรัฐ และกำหนดให้ทรัพย์สินส่วนพระองค์ต้องเสียภาษี โดยจะต้องเรียกคืนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่โอนไปอยู่ในพระปรมาภิไธยกลับคืนมาให้หมด
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะต้องอยู่ภายใต้การบริหารจัดการโดยกระทรวงการคลัง ยกเว้นทรัพย์สินส่วนที่เคยเป็นทรัพย์สินสาธารณะสมบัติของแผ่นดินและทรัพย์สินส่วนพระองค์อยู่ในการดูแลของสำนักราชวังภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรี และจะต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินส่วนพระองค์ของกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ต่อสาธารณะ
ที่ต้องจัดการดังนี้เพื่อให้สถาบันกษัตริย์มีความสะอาดโปร่งใส ทรัพย์สินที่เป็นของส่วนรวมกลับคืนมาอยู่ในการดูแลของรัฐ มีสถานะที่ชัดเจนและไม่สามารถไปหลบอยู่หลังข้ออ้างว่า ไม่เป็นหน่วยงานของรัฐ และไม่เป็นเอกชน ซึ่งทำให้ตรวจสอบไม่ได้และไม่อยู่ภายใต้กฎหมายใดเลยทั้งรัฐและเอกชน
...

Rawee Siri-issaranant

Yesterday at 5:58 AM ·

ประยุทธ์เคยพูดเรื่องทรัพย์สินไว้ว่า "ก็ของพระองค์ท่าน" ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ไม่ใช่ของพระองค์ท่าน เหมือนกับที่ทรัพย์สินของกองทัพบกไม่ใช่ของ ผบ.ทบ. ทำเนียบรัฐบาลไม่ได้เป็นของนายกรัฐมนตรี ตึกรัฐสภาไม่ใช่ของ ส.ส. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินสำหรับพระมหากษัตริย์ใช้สอยแต่ไม่ใช่ของส่วนตัวของกษัตริย์ ไม่สามารถที่จะปล่อยให้จัดการได้ตามใจชอบ ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์และการกำกับดูแลของรัฐ เรื่องแค่นี้พวกโปรเจ้าที่ซีเรียสกับเรื่องคอรัปชั่นกลับไม่เข้าใจ คุณซีเรียสกับการคอรัปชั่นของนักการเมืองแต่ไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับการปล่อยให้ทรัพย์สินจำนวนมหาศาลที่เป็นของรัฐอยู่ภายใต้การจัดการได้ตามอัธยาศัยของกษัตริย์โดยปราศจากการตรวจสอบ? รัชกาลก่อนโดยสำนักงานทรัพย์สินก็รู้ดีว่าไม่ใช่ของส่วนตัว ถึงได้โต้ฟอร์บไปว่าไม่ใช่ทรัพย์สินของในหลวงภูมิพล มันไม่ใช่มรดกของตระกูลที่จะส่งทอดต่อกันมา แต่เป็นทรัพย์สินสำหรับให้ประมุขของรัฐใช้ ภายใต้ "ความรับผิดชอบ" ของรัฐ การปล่อยให้กษัตริย์จัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ตามอัธยาศัย คือการแสดงให้เห็นว่ารัฐปราศจากความรับผิดชอบ เป็นเรื่องเดียวกับความคิดที่ว่ากษัตริย์ยังครอบครองรัฐอยู่ (จึง) สามารถทำอะไรได้ตามใจชอบ มันคือส่วนหนึ่งของภาพใหญ่เกี่ยวกับกษัตริย์ในสังคมไทยซึ่งขัดกับระบอบประชาธิปไตย และจะขัดกันไปเช่นนี้จนกว่าจะทำให้กลับไปอยู่ในหลักการที่ถูกต้อง