ประเด็นการออก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2560 ที่ทนายอานนท์ปราศรัยถึง ให้ยุบ “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” รวมกับ "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์"— iLaw Club (@iLawclub) August 3, 2020
ดูรายละเอียดได้ที่นี่https://t.co/uUE3ahuE0r
เปรียบเทียบ พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ฉบับ เก่า-ใหม่
17 ก.ค. 2560
โดย iLaw
ไฟล์แนบ พระราชบัญญัติ จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2560.PDF
16 กรกฎาคม 2560 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2560 โดยที่ไม่เคยเห็นข่าวมาก่อนว่า กฎหมายฉบับนี้หน่วยงานใดจัดทำร่างและเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อใด
จากการสืบค้นในฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ของ สนช. ทั้งในหน้าระบบประมวลผลข้อมูลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ และในหน้าเอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ต่างก็ไม่พบข้อมูลว่า กฎหมายนี้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเมื่อใด และมีหลักการของกฎหมายที่พูดคุยกันใน สนช. ว่าอย่างไรบ้าง
แต่เมื่อดูจาก "เหตุผล" ในการออกพระราชบัญญัติที่ระบุไว้ท้ายพระราชบัญญัติ ก็อธิบายว่า โดยที่ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ทรงใช้ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ จึงสมควรให้การจัดการทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อให้การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินนั้นเป็นไปโดยเหมาะสมตามที่จะทรงมีพระราชวินิจฉัยและเป็นไปตามโบราณราชประเพณี ซึ่งจะสอดคล้องกับการจัดระเบียบราชการในพระองค์ตามที่ได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการในพระองค์ขึ้นใช้บังคับแล้วด้วย จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2560 มีความยาวเพียง 3 หน้า 12 มาตรา สาระสำคัญว่าด้วย การจัดการทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ โดยแบ่งทรัพย์สินออกเป็นสองประเภท ได้แก่
(1) “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” หมายความว่า ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และทรัพย์สินที่ทรงได้มาอันเป็นการส่วนพระองค์ รวมทั้งดอกผล
(2) “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์
กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ทันที ในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ก่อนหน้าจะประกาศใช้ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2560 ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์เคยถูกจัดการดูแลรักษาภายใต้ กฎหมายเดิม คือ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 ซึ่งถูกแก้ไขมาแล้วสองครั้ง ในปี 2484 และ 2491
โดยกฎหมายฉบับปี 2479 เขียนให้ "ทรัพย์สินส่วนพระองค์" อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ประเภทอื่น อยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลัง โดยมีคณะกรรมการคณะหนึ่งตั้งขึ้นโดยพระบรมราชานุญาติ
ส่วนการแก้ไขครั้งสำคัญในปี 2491 จัดระบบใหม่ ให้การดูแล "ทรัพย์สินส่วนพระองค์" เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย "ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน" ให้อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง และให้จัดตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อมารับหน้าที่ดูแล "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ประเภทอื่น โดยยังให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั่งเป็นประธาน
ส่วนระบบใหม่ ตามกฎหมายใหม่ ในมาตรา 6 กำหนดว่า การจัดการ การดูแลรักษา การจัดหาผลประโยชน์ และการดําเนินการอื่นใด อันเกี่ยวกับทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อการนี้พระมหากษัตริย์จะทรงมอบหมายให้สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บุคคลใด หรือหน่วยงานใดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์สําหรับทรัพย์สินใดภายใต้เงื่อนไขอย่างใดก็ได้
พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2560 ที่ออกใหม่นี้ ยังมีข้อแตกต่างที่สำคัญจากกฎหมายเดิม ได้แก่
1. ประธานกรรมการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 ฉบับที่ถูกแก้ไขในปี 2491 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แต่กฎหมายใหม่แก้ไขให้ ประธานกรรมการและกรรมการอื่นมาจากการแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย
2. ยุบ “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” รวมกับ "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์"
ตามกฎหมายเดิม มีระบบทรัพย์สินประเภทหนึ่ง เรียกว่า “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง แต่กฎหมายใหม่แก้ไขให้ยกเลิกระบบ “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” แล้ว และให้พระราชวัง หรือทรัพย์สินอื่นในประเภทนี้ไปรวมกับ "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
3. เปลี่ยนหลักการเสียภาษี
ตามกฎหมายเดิม เขียนว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากร เช่นเดียวกับทรัพย์สินของแผ่นดิน แต่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ย่อมไม่อยู่ในข่ายแห่งความยกเว้น ซึ่งหมายความว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นได้รับการยกเว้นภาษีทั้งหมด แต่ทรัพย์สินส่วนพระองค์โดยหลัก "ต้องเสียภาษี" ยกเว้นจะมีกฎหมายใดมายกเว้นเป็นการเฉพาะ
แต่กฎหมายใหม่แก้ไขเป็นว่า ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ทุกประเภทจะต้องเสียภาษีอากรหรือได้รับยกเว้นภาษีอากรย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แปลว่า หลักการเดิมที่ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ต้องเสียภาษีเป็นหลัก ทรัพย์สินส่วนพระองค์ต้องเสียภาษีเป็นหลัก ถูกยกเลิกไป โดยเรื่องใดจะต้องเสียภาษีหรือไม่ขึ้นอยู่กับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ไฟล์แนบ พระราชบัญญัติ จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2560.PDF
16 กรกฎาคม 2560 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2560 โดยที่ไม่เคยเห็นข่าวมาก่อนว่า กฎหมายฉบับนี้หน่วยงานใดจัดทำร่างและเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อใด
จากการสืบค้นในฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ของ สนช. ทั้งในหน้าระบบประมวลผลข้อมูลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ และในหน้าเอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ต่างก็ไม่พบข้อมูลว่า กฎหมายนี้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเมื่อใด และมีหลักการของกฎหมายที่พูดคุยกันใน สนช. ว่าอย่างไรบ้าง
แต่เมื่อดูจาก "เหตุผล" ในการออกพระราชบัญญัติที่ระบุไว้ท้ายพระราชบัญญัติ ก็อธิบายว่า โดยที่ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ทรงใช้ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ จึงสมควรให้การจัดการทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อให้การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินนั้นเป็นไปโดยเหมาะสมตามที่จะทรงมีพระราชวินิจฉัยและเป็นไปตามโบราณราชประเพณี ซึ่งจะสอดคล้องกับการจัดระเบียบราชการในพระองค์ตามที่ได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการในพระองค์ขึ้นใช้บังคับแล้วด้วย จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2560 มีความยาวเพียง 3 หน้า 12 มาตรา สาระสำคัญว่าด้วย การจัดการทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ โดยแบ่งทรัพย์สินออกเป็นสองประเภท ได้แก่
(1) “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” หมายความว่า ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และทรัพย์สินที่ทรงได้มาอันเป็นการส่วนพระองค์ รวมทั้งดอกผล
(2) “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์
กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ทันที ในวันถัดจากวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ก่อนหน้าจะประกาศใช้ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2560 ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์เคยถูกจัดการดูแลรักษาภายใต้ กฎหมายเดิม คือ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 ซึ่งถูกแก้ไขมาแล้วสองครั้ง ในปี 2484 และ 2491
โดยกฎหมายฉบับปี 2479 เขียนให้ "ทรัพย์สินส่วนพระองค์" อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ประเภทอื่น อยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลัง โดยมีคณะกรรมการคณะหนึ่งตั้งขึ้นโดยพระบรมราชานุญาติ
ส่วนการแก้ไขครั้งสำคัญในปี 2491 จัดระบบใหม่ ให้การดูแล "ทรัพย์สินส่วนพระองค์" เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย "ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน" ให้อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง และให้จัดตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อมารับหน้าที่ดูแล "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ประเภทอื่น โดยยังให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั่งเป็นประธาน
ส่วนระบบใหม่ ตามกฎหมายใหม่ ในมาตรา 6 กำหนดว่า การจัดการ การดูแลรักษา การจัดหาผลประโยชน์ และการดําเนินการอื่นใด อันเกี่ยวกับทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อการนี้พระมหากษัตริย์จะทรงมอบหมายให้สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บุคคลใด หรือหน่วยงานใดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์สําหรับทรัพย์สินใดภายใต้เงื่อนไขอย่างใดก็ได้
พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2560 ที่ออกใหม่นี้ ยังมีข้อแตกต่างที่สำคัญจากกฎหมายเดิม ได้แก่
1. ประธานกรรมการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 ฉบับที่ถูกแก้ไขในปี 2491 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แต่กฎหมายใหม่แก้ไขให้ ประธานกรรมการและกรรมการอื่นมาจากการแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย
2. ยุบ “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” รวมกับ "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์"
ตามกฎหมายเดิม มีระบบทรัพย์สินประเภทหนึ่ง เรียกว่า “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า พระราชวัง ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง แต่กฎหมายใหม่แก้ไขให้ยกเลิกระบบ “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” แล้ว และให้พระราชวัง หรือทรัพย์สินอื่นในประเภทนี้ไปรวมกับ "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
3. เปลี่ยนหลักการเสียภาษี
ตามกฎหมายเดิม เขียนว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากร เช่นเดียวกับทรัพย์สินของแผ่นดิน แต่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ย่อมไม่อยู่ในข่ายแห่งความยกเว้น ซึ่งหมายความว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นได้รับการยกเว้นภาษีทั้งหมด แต่ทรัพย์สินส่วนพระองค์โดยหลัก "ต้องเสียภาษี" ยกเว้นจะมีกฎหมายใดมายกเว้นเป็นการเฉพาะ
แต่กฎหมายใหม่แก้ไขเป็นว่า ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ทุกประเภทจะต้องเสียภาษีอากรหรือได้รับยกเว้นภาษีอากรย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แปลว่า หลักการเดิมที่ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ต้องเสียภาษีเป็นหลัก ทรัพย์สินส่วนพระองค์ต้องเสียภาษีเป็นหลัก ถูกยกเลิกไป โดยเรื่องใดจะต้องเสียภาษีหรือไม่ขึ้นอยู่กับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง