วันอังคาร, พฤษภาคม 12, 2563

ทำไมมีแต่ธรรมศาสตร์รำลึก อ.ปรีดี ทั้งที่ อ.ปรีดีทำอะไรไว้เยอะแยะ



https://www.facebook.com/watch/?v=3224805590886511
ooo

ทำไมมีแต่ธรรมศาสตร์รำลึก อ.ปรีดี
ทั้งที่ อ.ปรีดีทำอะไรไว้เยอะแยะ
เป็นคนจัดตั้งแบงก์ชาติ สำนักงานกฤษฎีกา
เป็นคนเริ่มกระจายอำนาจ ออก พ.ร.บ.จัดตั้งเทศบาล
ตั้ง ร.ร.ประชาบาลทุกตำบล
เป็นคนออกประมวลรัษฎากร เก็บภาษีเงินได้อัตราก้าวหน้า
เจรจายกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
ฯลฯ
โดนแย่งผลงานไปหมด ถูกทำให้ลืม
...
(120 ปีชาตกาล อ.ปรีดี)
สลิ่มเขียนประวัติศาสตร์ใหม่
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กำลังจะพระราขทานรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
พวกปฏิวัติฝรั่งเศสชิงสุกก่อนห่าม แล้วก็ฆ่ากันเอง
พระเจ้าซาร์นิโคลาสก็พระราชทานรัฐธรรมนูญจัดตั้งสภาดูมาแล้ว
แต่พวกบอลเชวิคชิงสุกก่อนห่ามทำให้รัสเซียหายนะเป็นคอมมิวนิสต์

Atukkit Sawangsuk
...



Cr.Thanapol Eawsakul
"ในวันที่ผมไปสัมภาษณ์ท่านปรีดีนั้น ผมจำได้แม่นมาก ท่านผู้หญิงพูนศุขเลี้ยงอาหารกลางวันเป็นข้าวคลุกกะปิ ผมจำได้ว่าท่านปรีดีให้สัมภาษณ์แล้วท่านผู้หญิงนั่งอยู่ด้วย เมื่อถามคำถามอะไร ท่านปรีดีก็จะตอบเป็นหลักเป็นฐานในฐานะนักกฎหมาย ท่านผู้หญิงจะเสริมให้ข้อมูลรายละเอียด มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยโดยเฉพาะปี ค.ศ. พ.ศ. และชื่อสกุล (ใครเป็นใคร ลูกเต้าเหล่าใคร แม้แต่คุณป้าสงวน ยืนยง ที่เลี้ยงผมมาที่บ้านซอยสารสินสมัยเรียนสวนกุหลาบฯและธรรมศาสตร์ ท่านก็ทราบว่าเป็นครูโรงเรียนราชินี มาก่อน) ท่านจำได้แม่นยำมาก อัศจรรย์มาก
ในฐานะอาจารย์สอนประวัติศาสตร์ เมื่อคิดกลับไปถึงตอนที่สัมภาษณ์ท่าน ผมไม่เห็นอารมณ์ความเจ็บช้ำ ขุ่น เคืองแค้นของท่านเลย คือท่านจะเล่าเหตุการณ์ตามเนื้อผ้า (แม้แต่เมื่อถูกถามเรื่องกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8)
แน่นอนเราก็รู้สึกได้ว่าท่านทั้งสองเป็นผู้ถูกกระทำ เป็นเหยื่อทางการเมืองที่รุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทยสมัยใหม่ แต่ว่าความรู้สึกโกรธ เกลียด แค้น ไม่ปรากฎ ผมเองก็สัมภาษณ์คนเยอะมาก เห็นอารมณ์ ความโกรธของหลายคนที่สัมภาษณ์ บางคนด่าหรือไม่ก็ด่าฝาก แต่กรณีของสองท่าน เราไม่เห็นสิ่งนั้น เราไม่ได้ยินเลย นี่อาจจะใช่ “ผู้ดี” ในความหมายของ “ดอกไม้สด” และ ใช่ “สุภาพบุรุษสุภาพสตรี” ในความหมายของ “ศรีบูรพา” ก็ได้กระมัง
อีก 13 ปี ต่อมา เมื่อมีการเตรียมงานฉลองกึ่งศตวรรษ 50 ปีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2527 และในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย “ประวัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ผมและคณะได้นัดหมายสัมภาษณ์ท่านเกี่ยวกับการต่อตั้งมหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ในเดือนพฤษภาคม 2526 เรา ได้มีการเตรียมการนัดหมายเป็นอย่างดี แต่กลับกลาย เป็นว่าผมต้องไปงานพิธีเผาศพท่านปรีดีซึ่งถึงแก่กรรมในวันที่ 2 พฤษภาคม 2526
ผมเคยเขียนไว้ว่าผม นึกอิจฉาท่าน อ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ที่ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ท่านปรีดี ก่อนหน้านั้น ท่านสามารถรับฟังเสียงสนทนาของท่า นอ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา เมื่อปี 2525 ได้
หลังจากนั้นผมก็เป็นส่วนหนึ่งในการ “ขุด แต่ง ฟื้นฟู บูรณะ” ประวัติมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และประวัติท่านปรีดี พนมยงค์ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำหนังสือ จัดงานสัมมนา เสวนาทางวิชาการ การสร้างอนุสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ การจัดทำนิทรรศการ ฯลฯ
ในกระบวนการ “ขุดแต่ง ฟื้นฟู บูรณะ” ปรีดี พนมยงค์นั้น ถือว่าเป็นงานที่ไม่สิ้นสุด เช่นเดียวกันการต่อสู้ทางความคิดอื่น ๆ ที่มีมาตลอดประวัติศาสตร์การเมือง โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของสยามประเทศ ที่มักกีดกันสามัญชนออกจากประวัติศาสตร์ โครงการ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (Pridi-Phoonsuk Banomyong E-Library) และเว็บไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (www.pridi-phoonsuk.org) เป็นอีกหนึ่งความพยามยามในการ “ขุดแต่ง ฟื้นฟู บูรณะ” ปรีดี พนมยงค์ กับประวัติศาสตร์สังคมของบ้านเมืองนี้ขึ้นมา"