วันพุธ, พฤษภาคม 13, 2563

#พรรณิการ์ ยอมรับ #ตามหาความจริง เป็นแคมเปญ #คณะก้าวหน้า ในวาระ 10 ปี #สลายการชุมนุมคนเสื้อแดง



อดีตนักการเมืองสังกัดพรรคอนาคตใหม่ที่ผันตัวมาเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในนาม "คณะก้าวหน้า" ออกมายอมรับว่าอยู่เบื้องหลังขบวนการ "ตามหาความจริง" และเป็นคนยิงเลเซอร์ฉายทับตามสถานที่ต่าง ๆ ขณะที่รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ จาก 5 สน.
กระทรวงกลาโหม, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย, กำแพงวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร, ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์, กำแพงอาคารบริเวณซอยรางน้ำฝั่ง ถ.ราชปรารภ และรางรถไฟฟ้าบีทีเอสใกล้แยกราชประสงค์ คือสถานที่อย่างน้อย 6 แห่งที่ถูก "มือที่มองไม่เห็น" เลือกใช้เป็นฉากหลังฉายลำแสงเลเซอร์ที่มีข้อความว่า "ตามหาความจริง"

เวลาราว 09.00 น. ของวันที่ 11 พ.ค. ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ทั้งทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก เริ่มเผยแพร่ภาพชุดดังกล่าว พร้อมขึ้นคำบรรยายว่า "ปรากฏข้อความปริศนา #ตามหาความจริง หลายจุดสำคัญเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมพฤษภา 2553"

ตลอดทั้งวัน ภาพชุดนี้ที่สังคมยังไม่ทราบแน่ชัดว่าใครคือผู้ผลิตได้ถูกเผยแพร่-ผลิตซ้ำอย่างกว้างขวางทั้งในสื่อกระแสหลักและกระแสรอง จน "ตามหาความจริง" ขึ้นเป็นแฮชแท็กยอดนิยมในทวิตเตอร์ประเทศไทย ด้วยยอดทวีตและรีทวีต 1.18 ล้านครั้งในเวลา 24 ชม. (จนถึง 09.00 น. ของวันที่ 12 พ.ค.)

อดีตนักการเมืองสังกัดพรรคอนาคตใหม่ที่ผันตัวมาเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในนาม "คณะก้าวหน้า" ออกมายอมรับว่าอยู่เบื้องหลังขบวนการ "ตามหาความจริง" และเป็นคนยิงเลเซอร์ฉายทับตามสถานที่ต่าง ๆ ขณะที่รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ จาก 5 สน.

กระทรวงกลาโหม, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย, กำแพงวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร, ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์, กำแพงอาคารบริเวณซอยรางน้ำฝั่ง ถ.ราชปรารภ และรางรถไฟฟ้าบีทีเอสใกล้แยกราชประสงค์ คือสถานที่อย่างน้อย 6 แห่งที่ถูก "มือที่มองไม่เห็น" เลือกใช้เป็นฉากหลังฉายลำแสงเลเซอร์ที่มีข้อความว่า "ตามหาความจริง"

เวลาราว 09.00 น. ของวันที่ 11 พ.ค. ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ทั้งทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก เริ่มเผยแพร่ภาพชุดดังกล่าว พร้อมขึ้นคำบรรยายว่า "ปรากฏข้อความปริศนา #ตามหาความจริง หลายจุดสำคัญเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมพฤษภา 2553"

ตลอดทั้งวัน ภาพชุดนี้ที่สังคมยังไม่ทราบแน่ชัดว่าใครคือผู้ผลิตได้ถูกเผยแพร่-ผลิตซ้ำอย่างกว้างขวางทั้งในสื่อกระแสหลักและกระแสรอง จน "ตามหาความจริง" ขึ้นเป็นแฮชแท็กยอดนิยมในทวิตเตอร์ประเทศไทย ด้วยยอดทวีตและรีทวีต 1.18 ล้านครั้งในเวลา 24 ชม. (จนถึง 09.00 น. ของวันที่ 12 พ.ค.)

ปริศนาคลี่คลาย ใคร "ตามหาความจริง"

พรรณิการ์ วานิช นักเคลื่อนไหวทางการเมืองในนามคณะก้าวหน้า คือหนึ่งในบุคคลที่ร่วม "ตามหาความจริง" ผ่านบัญชีทวิตเตอร์ของเธอซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 8.3 แสนคน

ตลอดวันจันทร์ (11 พ.ค.) พรรณิการ์ทวีตและรีทวีตข้อความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงปี 2553 รวม 10 ข้อความ

ในจำนวนนี้คือการทบทวนยอดผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ โดยอ้างถึงรายงานของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) รวมถึงจำนวนกระสุนจริงที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เบิกจ่ายและใช้ไปกว่า 1.9 แสนนัดในช่วงชุมนุม นปช. โดยอ้างอิงข้อมูลจากเอกสารที่ วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวอาวุโสสายทหารและความมั่นคง นสพ.บางกอกโพสต์ นำมาเผยแพร่ต่อสาธารณะ



ข้อความสุดท้ายของวันที่พรรณิการ์ระบุตอนหนึ่งว่า "ฉายภาพกลางกรุงมันแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น #ความจริงต้องปรากฏ" คล้ายเป็นการเฉลยว่า "นิรนาม" ที่อยู่เบื้องหลัง "ข้อความปริศนา" คือใคร

แฟนเพจเฟซบุ๊กของคณะก้าวหน้าที่มีผู้ติดตาม 3.2 ล้านคน ปล่อยคลิปวิดีโอ "พฤษภา 35|53 ความจริงต้องปรากฏ" ความยาว 52 วินาที โดยแสดงให้เห็นภาพชายกลุ่มหนึ่งกำลังง่วนกับการทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ โปรเจคเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดแสงสี โดยใช้รถตู้คันหนึ่งเป็นฐานปฏิบัติการ

"ไม่ต้องตามหาให้เหนื่อยแรงอีกต่อไปว่าใครคือคนที่ฉายแสงสว่างส่องหาความจริง ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือพวกเรา 'ประชาชน' คนธรรมดาที่ร่วมกัน #ตามหาความจริง" สารจากคณะก้าวหน้าระบุ


พฤษภา 35|53 ความจริงต้องปรากฏ
.
ถีบลงเขา-เผาลงถังแดง
14 ตุลา
6 ตุลา
พฤษภา ’35
พฤษภา ’53
.
กี่ครั้งที่ประชาชนมือเปล่า ถูกสังหารอย่างเลือดเย็น
.
กี่ครั้งที่ผู้ฆ่าและผู้สั่งฆ่า ไม่เพียงไม่ต้องรับโทษ แต่ยังเติบใหญ่ในเส้นทางอำนาจ
.
ทุกครั้งความจริงถูกทำให้เลือนหาย ความยุติธรรมไม่เคยมาถึง
.
พอกันทีกับการที่ขอเพียงมีอำนาจล้นฟ้าจะลงมือฆ่าคนเป็นร้อยก็ไม่ผิด

ฝากไปถึงผู้มีอำนาจว่า ไม่ต้องตามหาให้เหนื่อยแรงอีกต่อไปว่าใครคือคนที่ฉายแสงสว่างส่องหาความจริง
.
ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือพวกเรา “ประชาชน”
คนธรรมดาที่กำลังร่วมกัน
.
#ตามหาความจริง
อย่างไรก็ตาม ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ ปิยบุตร แสงกนกกุล ยังไม่ได้สื่อสารใด ๆ ต่อสาธารณะ ส่วนสมาชิกคณะก้าวหน้าคนอื่น ๆ อาทิ กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ และ ไกลก้อง ไวทยการ ได้รีทวีตข้อความ "ตามหาความจริง" จากผู้ใช้งานทวิตเตอร์อื่น ๆ

"เราเป็นผู้ฉายเลเซอร์ ไม่ต้องไปตามหาที่ไหน"

พรรณิการ์กล่าวกับบีบีซีไทยว่า "ข้อความปริศนา" ที่ปรากฏในหลายพื้นที่รอบกรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งของ "หนังตัวอย่าง" เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของคณะก้าวหน้า ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-20 พ.ค. โดยกิจกรรมสำคัญคือการฉายหนัง และจัดเสวนา

"ไม่อยากให้ใช้คำว่ายอมรับ เพราะเราไม่ได้ปกปิด นี่เป็นแคมเปญที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่ทำโดยประชาชนที่อยากรู้ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย" และ "เราเป็นผู้ฉายเลเซอร์ ไม่ต้องไปตามหาที่ไหน และขออย่าตามคุกคามประชาชนคนตัวเล็กตัวน้อยที่ไม่มีปากเสียง" เธอระบุ

ก่อนปล่อยแคมเปญ "ตามหาความจริง" คณะก้าวหน้าผ่านการขบคิด-ถกเถียงกัน โดยเห็นว่าเดือน พ.ค. มีเหตุการณ์ "ล้อมปราบประชาชน" ถึง 2 ครั้งในปี 2535 และ 2553 ทว่าประชาชนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี กลับไม่มีความทรงจำมากนักเกี่ยวกับเหตุนองเลือดกลางกรุง พวกเขาจึงเริ่มเคลื่อนไหวด้วยการ "ชำระความจริง"


กองโฆษก คณะก้าวหน้า
คำบรรยายภาพอีกมุมจากด้านหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์

"การฉายโปรเจคเตอร์มันช่วยดึงความสนใจจากคนที่ไม่สนใจการเมือง หรือเกิดไม่ทัน เราเลยใช้จุดที่ตรงกับความสนใจของคนเพื่อกระตุ้นและก่อให้เกิดการสืบค้นข้อมูลข้อเท็จจริง ซึ่งปรากฏว่ามีผลตอบรับเกินคาด มีผู้ทวีต/รีทวีตข้อความกว่าล้านครั้ง และมีคนบางส่วนที่เข้าแชร์ประสบการณ์ตรงของตัวเอง" พรรณิการ์บอก

แม้ส่ง "มือที่มองไม่เห็น" ออกยิงเลเซอร์ในช่วงค่ำ แต่พรรณิการ์ยืนยันว่าไม่เกินเวลาห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) 22.00-04.00 น. ตามคำสั่งของรัฐบาลเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงไม่คิดว่าทำอะไรผิด โดยตรวจสอบแล้วว่าไม่มีการกระทำอะไรที่ขัดกฎหมาย เพราะเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่แสดงออกได้อย่างสันติ

เช่นเดียวกับเสียงวิจารณ์ว่าหมิ่นเหม่ต่อการละเมิดสถานที่ราชการและทรัพย์สินของเอกชนที่เธอระบุว่า สถานที่ที่ถูกฉายเลเซอร์ไม่มีที่ไหนได้รับความเสียหาย เพราะแสงไม่ได้ทำอันตรายแก่พื้นผิว อีกทั้งไม่ได้สร้างความเดือดร้อนรำคาญ เพราะไม่ได้ส่องใส่หน้าต่างบ้านใคร ไม่มีเสียงรบกวน และไม่ได้ทำให้รถติดเพราะเป็นช่วงกลางคืนแล้ว

"ถ้าการกระทำในนามของความจริงไปกระทบต่อจิตใจของเขา (ผู้มีอำนาจ) บ้าง ก็ต้องให้เป็นไปตามนั้น เพราะ 10 ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ก็กระทบจิตใจญาติของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บไปตั้งเท่าไร" พรรณิการ์กล่าว


AFP/GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพแกนนำพรรคอนาคตใหม่ถูกตัดสิทธิการเมือง 10 ปีตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้พวกเขาผันตัวไปเล่นการเมืองภาคประชาชนในนามคณะก้าวหน้า

แกนนำหญิงจากคณะก้าวหน้ายังปฏิเสธด้วยว่าคณะของเธอไม่ได้กำลังสร้างความแตกแยกในสังคม แต่มองว่าการสร้างความสมานฉันท์จะเกิดขึ้นได้ ขั้นตอนแรกต้องทำความจริงให้ปรากฏ จากนั้นถึงนำไปสู่การเยียวยา ไม่ใช่ทำด้วยการลืมเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น


แกนนำคณะก้าวหน้าเคยมีประสบการณ์ร่วมชุมนุมกับ นปช. ปี 2553 โดย ช่อ-พรรณิการ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และฝึกงานอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศ เคยไปสังเกตการณ์ที่เวทีราชประสงค์ และตั้งคำถามกับตัวเองว่า "ประเทศนี้เกิดเหตุยิงประชาชนกลางถนน จนข่าวออกไปทั่วโลกขนาดนี้ แต่ประชาชนกลับไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่มีใครเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม"


ขณะที่ผู้นำคณะก้าวหน้าอย่างธนาธรเข้าไปพัวพันกับการชุมนุม นปช. ปี 2553 ในฐานะผู้ชุมนุม โดยเขาเคยบรรยายเหตุผลเอาไว้ว่าทำในฐานะ "นักธุรกิจธรรมดาที่มีความเห็นอกเห็นใจคนเสื้อแดง รักความเป็นธรรม และรักประชาธิปไตย" และระบุว่าวันที่ 10 เม.ย. 2553 เป็น "วันที่มีอิทธิพลกับชีวิตผมมากที่สุดวันหนึ่ง" และเป็นวันที่เขาบอกว่าถูกยิงเข้าที่แขนซ้ายด้วยกระสุนยาง


นอกจากนี้ชื่อของธนาธรยังปรากฏใน "ผังล้มเจ้า" ที่โฆษก ศอฉ. นำมาเผยแพร่ต่อสื่อมวลชนเมื่อ 26 เม.ย. 2553 ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สั่งไม่ฟ้องคดีนี้ เพราะเห็นว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอ จึงถือว่าคดีเป็นอันยุติในปี 2555

ตร.-ทหาร เก็บหลักฐานเอาผิดขบวนการ "ตามหาความจริง"

ขบวนการ "ตามหาความจริง" ที่เปิดปฏิบัติการในสถานที่จริง แล้วก่อให้เกิดการขุดคุ้ยประวัติศาสตร์ช่วงการชุมนุมและสลายการชุมนุม นปช. เดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 สร้างความไม่สบายใจให้แก่ฝ่ายความมั่นคง

สองนายพลที่เคยอยู่ใน ศอฉ. และร่วมนาทีตัดสินใจเปิดปฏิบัติการ "ขอคืนพื้นที่" และ "กระชับวงล้อม" ของ นปช. เมื่อ 10 ปีก่อน หลีกเลี่ยงจะให้ความเห็นเรื่องนี้ โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวเพียงว่า เป็นเรื่องของฝ่ายความมั่นคงที่ต้องตรวจสอบและพิจารณาว่ามีความผิดหรือไม่ในการกระทำเช่นนั้น ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาไม่เหมาะสมในการนำหลายเรื่องมาพัวพันในช่วงที่มีสถานการณ์โควิด-19 ที่ประชาชนกำลังเดือดร้อนอยู่

เช่นเดียวกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี อดีตรอง ผอ.ศอฉ. ที่ปฏิเสธจะให้ความเห็นว่าคณะก้าวหน้าอยู่เบื้องหลัง "ข้อความปริศนา" หรือไม่


AFP/GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เดินเคียงคู่กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก่อนประชุม ศอฉ. ภายในกรมทหารราบที่ 11 ถ.พหลโยธิน เมื่อ 4 พ.ค. 2553

ด้าน พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม ชี้ว่า เป็นการกระทำไม่เหมาะสมกับสถานที่ราชการหรือองค์กรต่าง ๆ และยั่วยุให้เกิดความแตกแยก หวาดระแวงและไม่เชื่อมั่นกัน

"หากมองว่าเป็นการตามหาความจริง เราสามารถค้นหาความจริงจากความคืบหน้าของคดีที่มีกระบวนการตรวจสอบตามกระบวนการยุติธรรมอยู่แล้ว ที่ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายตามหลักฐานและข้อเท็จจริง ซึ่งก็ไม่ได้ปกปิดอะไร หลายคดีก็อยู่ในกระบวนการยุติธรรม บางคดีก็ได้รับการตัดสินไปแล้ว" พล.ท.คงชีพระบุกับสื่อมวลชน

ขณะให้ความเห็นในเรื่องนี้ โฆษกกระทรวงกลาโหมยังไม่ทราบวัตถุประสงค์ของผู้ดำเนินการ แต่คาดว่า "น่าจะทำกันเป็นขบวนการและนำไปขยายผลเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียเพื่อต้องการให้นึกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีต" และ "เป็นการแสดงออกและมีนัยทางการเมืองแอบแฝงของคนกลุ่มนั้น ๆ มุ่งหวังให้เกิดความเข้าใจผิดต่อสถาบันและองค์กร ซึ่งฝ่ายความมั่นคงกำลังติดตามพิจารณาทางกฎหมายอยู่เพื่อตามหาผู้กระทำผิด และก็คงจะไม่ยากเกินไป"

บีบีซีไทยตรวจสอบจุดเกิดเหตุ พบว่า อยู่ในความรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาล (สน.) 5 แห่ง
  • สน.พระราชวัง - กระทรวงกลาโหม
  • สน.สำราญราษฎร์ - อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
  • สน.ปทุมวัน - วัดปทุมฯ, ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์
  • สน.พญาไท - ซอยรางน้ำฝั่ง ถ.ราชปรารภ
  • สน.ลุมพินี - แยกราชประสงค์

AFP/GETTY IMAGES
คำบรรยายภาพคนเสื้อแดงจัดกิจกรรมรำลึกที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อ 10 ต.ค. 2553 หรือ 6 เดือนหลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่สี่แยกคอกวัว และหน้า รร.สตรีวิทย์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 24 รายเฉพาะสองจุดนี้

3 จาก 5 สน. ประกอบด้วย พื้นที่ สน.พระราชวัง, สำราญราษฎร์ และปทุมวัน อยู่ในความรับผิดชอบของกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 (ผบก.น.6) โดย พล.ต.ต.เมธี รักพันธุ์ ผบก.น.6 ได้สั่งการตั้งแต่วานนี้ (11 พ.ค.) ให้ตำรวจใน สน.ท้องที่ ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมข้อมูลรายงานผู้บังคับบัญชาระดับสูงรับทราบ และยังสั่งการให้ออกตรวจตรา หากมีเหตุเกิดขึ้นอีกให้นำตัวผู้ก่อเหตุมาซักถาม แต่ยังไม่สามารถตอบได้ว่ากระทำดังกล่าวมีความผิดหรือไม่อย่างไร

พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) รับผิดชอบงานสืบสวนสอบสวน กำลังติดตามเรื่องนี้อยู่ ส่วนตัวไม่ทราบเรื่องและไม่สามารถให้ข้อมูลใด ๆ ได้

ขณะที่สื่อมวลชนหลายสำนัก อาทิ มติชน, ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการ รายงานตรงกันว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ได้เรียกประชุมติดตามความคืบหน้าคดียิงเลเซอร์ "ตามหาความจริง" ตามสถานที่ต่าง ๆ โดยมี พล.ต.อ.สุวัฒน์, พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) พล.ต.ต.อิทธิพล อัจฉริยะประดิษฐ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.), พล.ต.ต.สันติ ชัยนิรามัย ผบก.สส.บช.น. และ พล.ต.ต.เมธี รักพันธ์ ผบก.น.6 เข้าร่วม

พล.ต.อ.สุวัฒน์ได้กล่าวผ่านสื่อมวลชน ฝากไปยังกลุ่มผู้ก่อเหตุว่าอย่าทำอะไรที่สร้างความขัดแย้งให้คนในชาติ ขณะนี้ฝ่ายกฎหมายอยู่ระหว่างพิจารณาว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดใดบ้าง ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมีข้อมูลอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีการเตรียมเรียกบุคคลใดเข้ามาสอบปากคำ

ที่มา บีบีซีไทย
https://www.bbc.com/thai/thailand-52628876
...