วันเสาร์, เมษายน 25, 2563

"ท่านเจ็บ ผมก็เจ็บ" มาดู รัฐบาลประยุทธ์ “เอื้อ” อะไรให้เหล่ามหาเศรษฐีบ้าง




รัฐ “เอื้อ” อะไรให้เหล่ามหาเศรษฐีบ้าง
.
จากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงว่าจะเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงมหาเศรษฐีไทย 20 คน ขอความช่วยเหลือให้มาร่วมเป็น “ทีมไทยแลนด์” เพื่อร่วมมือกันฝ่าวิกฤตไวรัส COVID-19
.
https://www.thansettakij.com/content/politics/430333
.
เรามาดูกันว่ามหาเศรษฐีในรายชื่อที่ปรากฏออกมา มีใครเคยได้รับการเอื้อประโยชน์อะไรจากรัฐกันมาบ้าง
.
1. ซีพี: เอื้อสร้างหอชมเมือง-รถไฟฟ้าสายสีทอง
.
ชื่อแรกคือกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ของตระกูลเจียรวนนท์ ประกอบกิจการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าเกษตร และขยายไปยังธุรกิจประเภทอื่นๆ แบบครอบจักรวาล
.
ในยุค คสช. ซีพีมีอภิมหาโครงการ ณ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี นั่นคือห้างสรรพสินค้า “ไอคอนสยาม” ที่เมื่อสร้างขึ้นมาแล้วก็ไม่อยากให้มันตั้งอยู่เดี่ยวๆ โดยขาดส่วนต่อขยาย จึงเป็นที่มาของ “หอชมเมือง” ความสูง 459 เมตร โดยใช้ที่ดินราชพัสดุตาบอด 4 ไร่ครึ่งที่ตั้งอยู่ข้างๆ กันในการสร้าง และ “รถไฟฟ้าสายสีทอง” ที่จะส่งตรงผู้โดยสารถึงหน้าห้าง ซึ่งรัฐบาลก็จัดการอำนวยความสะดวกให้คลอดออกมาได้อย่างรวมเร็ว โดยรวมทั้งการยกเว้นให้สร้างสายสีทองเป็นรถไฟลอยฟ้าได้ (ตามมติ ครม. ที่มีอยู่ พื้นที่ดังกล่าวต้องสร้างเป็นรถไฟใต้ดิน) และปล่อยให้เช่าที่สร้างหอชมเมืองในราคาเพียงประมาณ 6 ล้านบาทต่อปีโดยไม่เปิดประมูล อ้างว่าเป็นไปตามแนวนโยบายประชารัฐ
.
https://news.thaipbs.or.th/content/263944
https://themomentum.co/bkk-tower-question-of-interest/
https://www.komchadluek.net/news/scoop/285137
https://www.facebook.com/WorkpointNews/posts/471310616571555:0
https://www.facebook.com/thematterco/posts/1973662389515820/
.
2. ไทยเบฟฯ-บุญรอดฯ: กีดกันรายย่อยผลิตเบียร์
.
ต่อด้วยสองผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่สุดของประเทศ ไทยเบฟเวอเรจ ของตระกูลสิริวัฒนภักดี และบุญรอดบริวเวอรี่ ของตระกูลภิรมย์ภักดี
.
ทั้งสองบริษัทได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ที่ตราขึ้นในยุค คสช. ให้อำนาจออกกฎกระทรวงการอนุญาตผลิตสุรา พ.ศ. 2560 กำหนดให้ผู้ผลิตเบียร์ต้องเป็นบริษัทมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ต้องผลิตเบียร์ได้ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านลิตรต่อปี (เทียบเป็นขวด 330 มล. เท่ากับประมาณ 83,000 ขวดต่อวัน) หรือถ้าเปิดเป็นโรงเบียร์ขาย ณ ที่ผลิตต้องผลิตได้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนลิตรต่อปี (เทียบเป็นเหยือก 1 ลิตร เท่ากับ 273 เหยือกต่อวัน) กลายเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการผลิตเบียร์สูตรของตัวเอง (craft beer) และทำให้การผลิตเบียร์เป็นธุรกิจกึ่งผูกขาดอยู่กับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างไทยเบฟฯ หรือบุญรอดฯ เท่านั้น
.
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/095/59.PDF
https://tdri.or.th/2019/04/th-craft-beer-industry/
.
3. ทีซีซีแลนด์: ต่อสัญญาศูนย์สิริกิติ์
.
ตระกูลสิริวัฒนภักดียังขยายพรมแดนไปลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ผ่านกลุ่มธุรกิจ ทีซีซี แลนด์ กรุ๊ป ซึ่งมีหนึ่งในโครงการขนาดใหญ่คือการเป็นคู่สัญญากับรัฐบริหารศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์มาตั้งแต่ปี 2534
.
17 มกราคม 2560 รัฐบาล คสช. อนุมัติให้แก้ไขสัญญาการบริหารและดำเนินกิจการศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ต่ออายุสัญญาจากเดิม 25 ปี เป็น 50 ปี โดยไม่มีการเปิดประมูลให้เอกชนรายอื่น มีการประเมินว่าการตัดสินใจดังกล่าวทำให้รัฐอาจสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้จากค่าเช่าที่ดินเป็นมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท
.
https://www.posttoday.com/economy/news/477346
https://www.bbc.com/thai/thailand-51660752
.
4. บีทีเอส: ต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้า
.
ต่อด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ นำโดยคีรี กาญจนพาสน์ รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ชาวกรุงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ด้วยราคาค่าโดยสารที่ทำให้สังคมตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าควรหาผู้ให้บริการรายอื่นมาแทนหรือให้หน่วยงานสาธารณะดูแลไปเลยจะดีกว่าไหม
.
เมื่อเดือนกันยายน 2562 คณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรที่พิจารณาศึกษาการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้มีมติไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว โดยเห็นว่าหากสัญญาสิ้นสุดในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเปิดโอกาสให้รัฐมีอำนาจในการกำหนดอัตราค่าโดยสารให้ถูกลง ส่งผลให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงได้ และลดการใช้รถยนต์ในกรุงเทพฯ แต่จนแล้วจนรอด คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ก็ตัดสินใจต่ออายุสัมปทานให้กับบีทีเอสไปอีก 30 ปี จนถึงปี 2602
.
https://www.thaipost.net/main/detail/43356
https://www.matichon.co.th/politics/news_1657562
https://www.thairath.co.th/news/politic/1693290
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/853009
.
5. กลุ่มค่ายมือถือ: ออกคำสั่ง คสช. ยืดจ่ายหนี้
.
ส่งท้ายด้วยกลุ่มผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ 3 ค่ายใหญ่ ที่เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 (โปรดสังเกตว่าเป็นวันหลังจากเลือกตั้งไปแล้ว) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 4/2562 ยืดระยะเวลาจ่ายเงินค่าประมูลคลื่น 4G ของทั้งสามค่ายออกไปเป็น 10 งวด 10 ปี
.
คำสั่งดังกล่าวทำให้รัฐอาจสูญเสียเงินจากการไม่ถูกคิดดอกเบี้ยเป็นจำนวนเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ในขณะที่มาตรการ “บังคับ” ให้ต้องมารับผิดชอบในการให้บริการคลื่น 5G ด้วย (มิฉะนั้นให้จ่ายค่าประมูล 4G ตามเดิม) นั้นก็ดูเหมือนจะเป็นการเอื้อให้สามค่ายเดิมได้สิทธิใน 5G ก่อนโดยไม่เปิดให้รายอื่นได้แข่งขันเลย
.
https://library2.parliament.go.th/giventake/content_ncpo/ncpo-head-order4-2562.pdf
https://prachatai.com/journal/2019/04/82118
https://www.facebook.com/democracyrestoration/photos/a.1169932526469596/2033662696763237/
.
จะเห็นว่าการตอบแทนผลประโยชน์ระหว่างรัฐกับกลุ่มทุนเป็นสิ่งที่มีมาโดยตลอด (และหลายครั้งก็กระทำโดยไม่ชอบมาพากล) ดังนั้นน่าคิดว่าหากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ได้อ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากกลุ่มทุนอย่างเปิดเผยเช่นนี้แล้ว รัฐบาลจะต้องนำอะไรไปตอบแทนกลุ่มทุนเหล่านั้นด้วยหรือไม่? และสุดท้ายแล้วผู้ที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนนั้นก็คือประชาชน ใช่หรือไม่?


กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย Democracy Restoration Group - DRG

https://www.facebook.com/democracyrestoration/photos/a.1169932526469596/2706016799527820/?type=3&theater