วันจันทร์, เมษายน 20, 2563

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า... โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี...





โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี
......

“การลงทุนของ ซี.พี.เข้าเงื่อนไขการลงทุนตามมาตรการดังกล่าว จะได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี และยกเว้นภาษีเครื่องจักร และแน่นอนว่าตามเงื่อนไขยังได้กำหนดไว้อีกว่า โครงการและต้องเริ่มผลิตและมีรายได้ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2563 สำคัญคือต้องจำหน่ายและหรือบริจาคภายในประเทศอย่างน้อย 50% ของปริมาณที่ผลิตได้ในปี 2563-2564”

ดังนั้น หากเป้าหมายของ ซี.พี. คือ การผลิตเพื่อบริจาคแจกฟรีแก่บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงประชาชน ก็เข้าเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดให้สำหรับภายในประเทศ 50% ภายในปี 2564 จะได้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่ม 50% เป็นเวลา 3 ปี ซึ่งต้องพิสูจน์เมื่อสิ้นปี 2564

โรงงานหน้ากากอนามัย ซี.พี. รับสิทธิ์ BOI ยกเว้นภาษี 3 ปี
https://www.prachachat.net/economy/news-451782


Thanapol Eawsakul

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=3111424708924347&set=a.188049254595255&type=3&theater


หลังวิกฤตโควิด -19 โครงสร้างเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะผูกขาดมากขึ้นไปอีก กรณีศึกษาโรงงานหน้ากากอนามัยซีพี
....................
วันที่ 5 มีนาคม 2563 ท่ามกลางปัญหาการขาดแคนหน้ากากอนามัย ก็มี "ข่าวดี"
“ธนินท์ เจียรวนนท์” ประธานอาวุโส เครือซีพี ทุ่ม 100 ล้านบาท เร่งสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยแจกฟรี ช่วยกรณี COVID-19
http://www.cp-enews.com/news/details/cpcsr/3891?fbclid=IwAR3mZ4O866yTY26JpU50bgwyAXD7DjTSPX3nMSVIACQfxg8p2qSxame5760
ในเวลานั้นไม่่มีใครคิดไม่ดีกับซีพี เพราะมหาเศรษฐีระดับนี้เงินแค่ 100 ล้านบาท นี่คือขี้ผง บริจาค ยังมากกว่าอีก
มาวันนี้ 19 เมษายน 2563 มีข่าวเรื่องการที่ โรงงานหน้ากากของซีพี ได้สิทธิ บีโอไอ ด้วยเงื่อนไขที่แปลกประหลาดพอสมควร
โรงงานหน้ากากอนามัย ซี.พี. รับสิทธิ์ BOI ยกเว้นภาษี 3 ปี
https://www.prachachat.net/economy/news-451782
มีมิตรสหาย 2 ท่านได้ให้ตวามเห็นที่มีประโยชน์จึงขอนำมาเผยแพร่อีกครั้ง
มิตรสหายท่านที่ 1
"ผมว่า ไม่ใช่แค่ BOI อะครับ
เข้าใจว่า โดยปกติโรงงานหน้ากากอนามัยไม่น่าจะตั้งได้ง่ายๆ ต้องขออนุญาตเต็มไปหมด แต่วิกฤตรอบนี้ทำให้หน้ากากอนามัยกลายเป็นสินค้าในชีวิตประจำวันแน่ๆ คือต่อให้โรคหายไป แต่คนจะยังใส่กันเป็นปกติ
.
หลังวิกฤต โรงงานนี้น่าจะสร้างกำไรในตัวเองแน่ๆ ยิ่งมีช่องทางการขายหลักคือร้านสะดวกในเครือยิ่งน่าจะไปได้ไกล"
มิตรสหายท่านที่ 2
"1. เปนการออกมาตรการบีโอไอที่ ”จัดให้เฉพาะ "tailor made” แบบที่ไม่เคยเหนมาก่อน ทั้งในแง่
- นับวันยื่นย้อนหลังประกาศนี้_เปนลักษณะ wind fall คือเขาจะลงทุนอยุ่แล้ว_ยื่นมาแล้ว ไม่ต้องส่งเสริมแบบนี้เขาก้ทำ จะเอาการยกเว้นภาษีไปแถมทำไม
- ออกประกาศเดือนเมษา แล้วกำหนดเวลาจำกัดให้ยื่นคำขอแค่เดือน มิย นี้
- มีเงื่อนไขต้องบริจาคหรือขายใน ปท แต่ให้ทำแค่ในช่วงเวลาสั้นๆก้พอ
- แก้เขินนิดหน่อยว่าใครจะปรับปรุง/แก้ไขโรงงานก้ได้ด้วยนะจ๊ะ
2. ในการส่งเสริมหรือpromotionนั้น มักจะไม่ให้แบบ wind fall benefits คือถ้า นลท เขาตั้งใจจะลงทุน/ทำอยุ่แล้ว จะเอาการยกเว้นภาษีไปแถมให้ทำไม มันเปลือง/ผลาญภาษี
กรณีนี้ถ้า นลท ตั้งใจทำโครงการ (คือยื่นคำขอฯไปแล้ว ถึงแม้ไม่ได้มีของแถมเพิ่มแบบนี้) ตั้งแต่ต้นปี ก้ไม่ต้องไปแถมอะไรให้เขาแบบย้อนหลัง_มันทุเรศ แปลว่ามีการเตรียม/เตี๊ยมกันข้างหลังก่อนหน้า แล้วมันก้ประจานว่าระบบที่ทำงานกันอยุ่มันคิด/ทำล่าช้าจนต้องแก้ผ้าให้เขาเอา(ภาษี)ได้ย้อนหลัง
3. ที่ทุเรศมากอีกอย่างคือ ประกาศกลางเมษา แต่กำหนดเวลาว่าให้ยื่นคำขอได้ภายในเดือน มิย
แบบนี้คือการจำกัดคุ่แข่ง/ไม่ได้ตั้งใจส่งเสริมใครอื่นจริงจัง
โครงการเปนร้อยล้าน นลท ดีๆที่ไหนจะทำรายละเอียดโครงการมายื่นขอได้ทัน?!?"
อย่างที่มิตรสหายท่านแรกบอกว่า โควิด-19 หายไป โรงงานนี้ก็ยังอยู่ แถมมีช่องทางจำหน่ายทาง 7/11 อีกด้วย
และภายใต้เงื่อนไงที่ซีพีได้รับ ก็น่าจะทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่น่าจะเข้ามาสุ่ตลาดได้ยากขึ้น ขณะที่รายเดิมก็ อาจจะล้มหายตายจากไปเมื่อยักษ์ใหญ่อย่างซีพีเข้ามา
หลังวิกฤตโควิด -19 โครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่ผูกขาดโดยกลุ่มทุนใหญ่อยู่แล้ว ก็มีแนวโน้มจะผูกขาดมากขึ้นไปอีก